1 / 33

6. สนามแม่เหล็ก

N S. 6. สนามแม่เหล็ก. สนามแม่เหล็ก. ในหัวข้อที่ผ่านมาเราได้ศึกษาเกี่ยวกับสนามไฟฟ้าสำหรับประจุไฟฟ้าที่ไม่เคลื่อนที่ แต่สำหรับบริเวณรอบๆ ประจุไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนที่จะมีสนามแม่เหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย.

hoai
Download Presentation

6. สนามแม่เหล็ก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S 6. สนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็ก ในหัวข้อที่ผ่านมาเราได้ศึกษาเกี่ยวกับสนามไฟฟ้าสำหรับประจุไฟฟ้าที่ไม่เคลื่อนที่ แต่สำหรับบริเวณรอบๆประจุไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนที่จะมีสนามแม่เหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถ้าให้แทนสนามแม่เหล็กทิศของสนามแม่เหล็กชี้ในทิศขั้วเหนือดังรูปซึ่งแสดงสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กโดยใช้เข็มทิศโดยเส้นสนามแม่เหล็กจะชี้จากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้ รูปเข็มของเข็มทิศสามารถใช้ในการหาทิศของสนามแม่เหล็ก

  2. N S N N S N (a) (b) (c) รูปแสดงการจัดเรียงตัวของสนามแม่เหล็กโดยใช้ผงเหล็ก (a) รูปแบบของสนามแม่เหล็กรอบแท่งแม่เหล็ก (b) รูปแบบของสนามแม่เหล็กเนื่องจากขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกัน (c) รูปแบบของสนามแม่เหล็กเนื่องจากขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกัน

  3. แม่เหล็กธรรมดา (หรือแม่เหล็กถาวร) • แม่เหล็กทุกชนิดมีขั้ว 2 ขั้วขั้วหนึ่งคือ ขั้วเหนืออีกขั้วเป็นขั้วใต้ • แม่เหล็กขั้วเหมือนกันเข้าใกล้กันมันจะผลักกัน และขั้วต่างกันมันจะดูดกัน • แม่เหล็กไฟฟ้ามีหลักการพื้นฐานเหมือนกันเพียงแต่ว่าโลหะจะเป็นแม่เหล็กได้ก็ต่อเมื่อใส่กระแสไฟฟ้าเข้าไปเท่านั้น แม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าใช้ไฟจากแบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ถ้าเราต่อสายไฟให้ครบวงจรโดยต่อสายไฟจากขั้วบวกไปที่ขั้วลบโดยตรง อิเล็กตรอนซึ่งเป็นประจุลบจะเคลื่อนที่จากขั้วลบไปที่ขั้วบวกของแบตเตอรี่ • อิเล็กตรอนไหลจากขั้วลบไปที่ขั้วบวกอย่างรวดเร็ว • พลังงานภายในแบตเตอรี่จะหมดอย่างรวดเร็วดังนั้นไม่ควรต่อสายไฟตรง ควรใช้สวิทซ์ หรือต่อตัวต้านทานหรือภาระ (เช่น มอเตอร์ หลอดไฟ วิทยุ)ให้กับแบตเตอรี่ด้วย • สนามแม่เหล็กจะเกิดขึ้นรอบสายไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลสนามแม่เหล็กที่เกิดขี้นนี้จะ นำเราไปสู่ การสร้างแม่เหล็กไฟฟ้า

  4. แม่เหล็กเป็นสารประกอบของเหล็กและออกซิเจนเป็นวัตถุที่สามารถดูดสารแม่เหล็กบางชนิดได้แม่เหล็กเป็นสารประกอบของเหล็กและออกซิเจนเป็นวัตถุที่สามารถดูดสารแม่เหล็กบางชนิดได้ คุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็ก 1. มีทิศออกจากขั้วเหนือเข้าสู่ขั้วใต้ 2. ถ้ามีเส้นแรงแม่เหล็กปริมาณมากเส้นแรงแม่เหล็กจะรวมกันหรือต้านกันออกไปทำให้เกิดจุดสะเทินซึ่งเป็นจุดที่มีค่าความเข้มสนามแม่เหล็กเป็นศูนย์ สนามแม่เหล็กคือบริเวณหรือขอบเขตที่แม่เหล็กส่งเส้นแรงแม่เหล็กที่มีอำนาจการดึงดูดออกไปได้ถึง ฟลักซ์แม่เหล็ก คือปริมาณเส้นแรงแม่เหล็กหรือจำนวนของเส้นแรงแม่เหล็ก ความเข้มสนามแม่เหล็กB หมายถึงจำนวนเส้นแรงแม่เหล็กต่อหน่วยพื้นที่ที่เส้นแรงแม่เหล็กตกตั้งฉาก B = ความเข้มของสนามแม่เหล็ก (T หรือ Wb/m2 ) = ฟลักซ์แม่เหล็ก (Wb) A = พื้นที่ที่ตั้งฉาก (m2)

  5. สนามแม่เหล็กเกิดรอบวงของเส้นลวดสนามแม่เหล็กเกิดรอบวงของเส้นลวด สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบเส้นลวด เพราะว่าสนามแม่เหล็กรอบเส้นลวดเป็นวงกลมและมีทิศตั้งฉากกับเส้นลวดเราจึงสามารถเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็กได้โดยขดเส้นลวดให้เป็นวง ต่อสายไฟไว้กับแบตเตอรี่โดยผ่านสวิทซ์หนึ่งอันดังรูปวางเข็มทิศไว้บนสายไฟ ขณะที่ยังไม่มีการปิดสวิทซ์ เข็มทิศจะชี้ไปยังทิศเหนือตลอดและนิ่งอยู่อย่างนั้นแต่เมื่อเราปิดและเปิดสวิทซ์เป็นจังหวะเข็มทิศจะสวิงไปมาเพราะกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและผลักเข็มทิศออกไป ถ้าเรากลับขั้วของแบตเตอรี่และทดลองซ้ำ เข็มทิศจะถูกผลักไปอีกด้านหนึ่ง สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นเป็นรูปวงกลมล้อมรอบเส้นลวดสนามแม่เหล็กจะอ่อนลงเมื่ออยู่ห่างจากเส้นลวด ทิศทางของสนามแม่เหล็กมีทิศทางตั้งฉากกับเส้นลวดเสมอ แม่เหล็กไฟฟ้าแบบง่ายๆ ถ้าเราเพิ่มขดลวดขึ้นอีกวงสนาม แม่เหล็กจะเพิ่มความเข้มขึ้นยิ่งมีวงขดมากสนามแม่เหล็กยิ่งมากตาม แม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ดังนั้นถ้าเกิดไม่มีกระแสไฟฟ้าอำนาจของสนามแม่เหล็กจะหมดไป

  6. เราสามารถให้นิยามสนามแม่เหล็ก ที่จุดหนึ่งๆได้ในเทอมของแรงแม่เหล็กซึ่งสนามกระทำต่ออนุภาคประจุ q ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วโดยในเวลาเริ่มต้นสมมติว่าไม่มีสนามไฟฟ้าและสนามแรงโน้มถ่วง การทดลองกับประจุทดสอบที่เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กให้ผลดังนี้ • ขนาดของแรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคเป็นสัดส่วนตรงกับประจุ q และความเร็ว v ของอนุภาค • ขนาดและทิศทางของขึ้นอยู่กับความเร็วของอนุภาคและขนาดและทิศทางของสนามแม่เหล็ก • เมื่ออนุภาคมีประจุเคลื่อนที่ขนานกับเวกเตอร์สนามแม่เหล็กแรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคเป็นศูนย์ • เมื่อเวกเตอร์ความเร็วของอนุภาคทำมุมกับสนามแม่เหล็กแรงแม่เหล็กจะกระทำในทิศทางที่ตั้งฉากกับและนั่นคือจะตั้งฉากกับระนาบที่เกิดจากและ • แรงแม่เหล็กที่กระทำต่อประจุบวกมีทิศตรงข้ามกับแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อประจุลบซึ่งเคลื่อนที่ในทิศเดียวกัน • ขนาดของแรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคที่เคลื่อนที่เป็นสัดส่วนตรงกับเมื่อเป็นมุมที่เวกเตอร์ความเร็ว v ของอนุภาคกระทำต่อทิศของB - -

  7. + - q (b) (a) เมื่อทิศของFBอยู่ในทิศของถ้า q เป็นบวกและและจะมีทิศตรงข้ามถ้า q เป็นลบ ทิศของFBจะตั้งฉากกับv และB ใช้กฎมือขวาหาทิศของ โดยการชี้นิ้วทั้งสี่ของมือขวาไปในทิศของvแล้ววนไปตามทิศของBทิศของนิ้วหัวแม่มือคือทิศของ รูปทิศของแรงแม่เหล็กซึ่งกระทำต่ออนุภาคมีประจุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v ในสนามแม่เหล็ก B (a) แรงแม่เหล็กตั้งฉากกับและ(b) แรงทางแม่เหล็กซึ่งมีทิศตรงข้ามกันกระทำต่ออนุภาคมีประจุซึ่งมีประจุตรงข้ามกันโดยอนุภาคทั้งสองเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเดียวกันในสนามแม่เหล็ก รูป(a) กฏมือขวาสำหรับกำหนดทิศของแรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุ q เคลื่อนที่ด้วยความเร็วในสนามแม่เหล็กทิศของ มีทิศตามนิ้วหัวแม่มือ (b) ถ้า q เป็นบวก ชี้ขึ้น (c) ถ้าq เป็นลบ ชี้ลง ดังนั้น สามารถเขียนแรงแม่เหล็กได้ดังนี้ จากสูตร F จะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อvขนานกับB ( = 0oหรือ 180o ) และมีค่าสูงสุดเป็นqvBเมื่อvตั้งฉากกับB (  = 90o )

  8. ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างแรงไฟฟ้าและแรงแม่เหล็กมีดังนี้ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างแรงไฟฟ้าและแรงแม่เหล็กมีดังนี้ แรงไฟฟ้า แรงแม่เหล็ก • แรงแม่เหล็กตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กเสมอ • แรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคไฟฟ้าจะเกิดขึ้นได้เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ • แรงแม่เหล็กไม่ก่อให้เกิดงานเมื่ออนุภาคไฟฟ้าย้ายที่ • แรงไฟฟ้าอยู่ในทิศของสนามไฟฟ้าเสมอ • แรงไฟฟ้าที่กระทำต่ออนุภาคไฟฟ้าไม่ขึ้นกับความเร็วของอนุภาค • แรงไฟฟ้าทำให้เกิดงานในการย้ายประจุไฟฟ้า

  9. ถ้าอนุภาคไฟฟ้ามวล m ที่มีประจุ q เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กที่ สม่ำเสมอ B และความเร็วต้น v มีทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก แล้วอนุภาคจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมโดยระนาบการเคลื่อนที่จะ ตั้งฉากกับทิศของสนามแม่เหล็ก โดยวงโคจรมีรัศมี r ตามสมการ ความถี่เชิงมุมของการหมุนของอนุภาคนี้จะได้

  10. ตัวอย่าง An electron moving in a magnetic field อิเล็กตรอนในหลอดภาพโทรทัศน์เคลื่อนที่ไปยังด้านหน้าของหลอดด้วยความเร็ว 8x106 m/s ตามแนวแกน x ดังรูปรอบๆคอหลอดภาพเป็นขดลวดซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขนาด 0.025 T มีทิศทำมุม 60oกับแกน x และวางตัวอยู่ในระนาบ xy จงคำนวณหาแรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออิเล็กตรอนและความเร่งของอิเล็กตรอน วิธีทำ ขนาดของแรงแม่เหล็ก เพราะว่า v x Bมีทิศตามแนวแกน z (จากกฎมือขวา) และประจุมีค่าเป็นลบดังนั้นFBอยู่ในทิศแกน –z ความเร่งของอิเล็กตรอนคือมีทิศตามแนวแกน-z

  11. แรงแม่เหล็กกระทำต่อตัวนำที่มีกระแสไหล ลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กจะได้รับแรงแม่เหล็กด้วยเพราะว่ากระแสไฟฟ้าคือกลุ่มอนุภาคที่มีประจุที่เคลื่อนที่ ดังนั้นแรงลัพธ์ที่กระทำโดยสนามแม่เหล็กต่อลวดตัวนำคือผลรวมแบบเวกเตอร์ของแรงแต่ละแรงที่กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงที่กระทำต่ออนุภาคจะส่งถ่ายให้กับเส้นลวดเมื่ออนุภาคชนกับอะตอมของเส้นลวด เราสามารถทำการทดลองให้เห็นว่าแรงทางแม่เหล็กกระทำต่อลวดตัวนำที่มีกระแสไหลได้โดยการแขวนลวดระหว่างขั้วของแม่เหล็กดังรูปสนามแม่เหล็กพุ่งเข้าหาหน้ากระดาษในบริเวณพื้นที่วงกลมเมื่อกระแสในเส้นลวดเป็นศูนย์เส้นลวดจะวางตัวอยู่ในแนวดิ่งดังรูป(a) เมื่อมีกระแสไหลขึ้นในแนวดิ่งดังรูป( b)เส้นลวดจะถูกผลักไปทางด้านซ้ายถ้าทำการกลับทิศกระแสดังรูป(c)ลวดจะถูกผลักไปทางด้านขวา รูปเส้นลวดแขวนในแนวดิ่งขนานกับหน้าของแท่งแม่เหล็ก B ที่มีทิศพุ่งเข้าหาแผ่นกระดาษ (a) ไม่มีกระแส (I = 0 ) (b) กระแส I ไหลขึ้น เส้นลวดจะถูกผลักไปทางด้านซ้ายมือ (c ) กระแส I ไหลลง เส้นลวดจะถูกผลักไปทางด้านขวามือ

  12. รูปส่วนของลวดตัวนำที่มีกระแสไหลวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กBรูปส่วนของลวดตัวนำที่มีกระแสไหลวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กB เราสามารถอธิบายได้โดยพิจารณาส่วนของลวดความยาว L มีพื้นที่หน้าตัด A มีกระแส I วางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอBดังรูปแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อประจุ q ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วvคือ qv x Bในการหาแรงรวมที่กระทำต่อเส้นลวดทำได้โดยคูณแรงที่กระทำต่อประจุqv x Bกับจำนวนประจุในส่วนของเส้นลวดนั้นๆเนื่องจากปริมาตรของส่วนของเส้นลวดเป็น AL จำนวนของประจุในแต่ละส่วนเล็กๆนี้คือ nAL เมื่อ n คือจำนวนประจุต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรดังนั้นแรงแม่เหล็กรวมที่กระทำต่อเส้นลวดยาว L คือ เมื่อกระแสในเส้นลวดคือ I = nqvA ดังนั้น เมื่อLคือเวกเตอร์ที่ชี้ในทิศการไหลของกระแส I มีขนาดเท่ากับความยาว L ของเส้นลวดแต่สูตรนี้ใช้ได้กับส่วนของเส้นลวดตรงที่วางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอเท่านั้น

  13. รูปส่วนของเส้นลวดรูปทรงใดๆมีกระแส I อยู่ในสนามแม่เหล็กแรงแม่เหล็กที่กระทำบนส่วน ใดๆคือทิศพุ่งออกจากกระดาษ ต่อไปจะพิจารณาส่วนของเส้นลวดที่มีลักษณะใดๆที่มีภาคตัดขวางสม่ำเสมอวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กดังรูปสนามแม่เหล็กที่กระทำต่อส่วนของเส้นลวดในกระบวนการเป็นไปดังสมการ โดยสมมติให้ มีทิศทางพุ่งออกจากกระดาษดังรูป

  14. แรงจะมีค่าสูงสุดเมื่อ ตั้งฉากกับกระแส และแรงจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อ ขนานกับกระแส แรงทั้งหมดที่กระทำต่อเส้นลวด หาได้จากการอินทิเกรทสมการนี้ตลอดความยาวลวด เมื่อ a และ b แสดงตำแหน่งปลายของเส้นลวด ผลที่ได้จากการอินทิเกท คือขนาดของสนามแม่เหล็กและทิศทางของสนามที่กระทำต่อ

  15. พิจารณา 2 กรณีพิเศษซึ่งมีสนามแม่เหล็กที่คงที่ทั้งขนาดและทิศ เส้นลวดโค้งมีกระแส I ไหลผ่านวางอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ แรงสุทธิที่กระทำต่อเส้นลวดโค้งเทียบเท่ากับแรงที่กระทำกับเส้นลวดตรง ที่เชื่อมระหว่างปลายของเส้นลวดโค้ง ดังรูป เนื่องจากสนามไฟฟ้ามีค่าคงที่สามารถดึง ออกจากเครื่องหมายอินทิเกรตออกจากสมการได้ กรณีที่ 1 รูปเส้นลวดโค้งมีกระแส I ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ แรงแม่เหล็กสุทธิที่กระทำต่อเส้นลวดโค้งเทียบเท่ากับแรงที่กระทำกับเส้นลวดตรงL/ที่เชื่อมระหว่างปลายของเส้นลวดโค้ง เนื่องจากปริมาณ แสดงถึงผลรวมแบบเวกเตอร์ของทุกๆ ความยาว ในช่วง a ถึง b ถ้าให้ผลรวมที่ได้เป็นเวกเตอร์ มีทิศชี้จาก a ไปยัง b สมการนี้จะกลายเป็น

  16. กรณีที่ 2 เส้นลวดโค้งเชื่อมต่อกันเป็นลูปปิดมีกระแสไฟฟ้า I ไหลผ่านและวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ ดังรูป จะได้ว่า แรงแม่เหล็กสุทธิจะเป็นศูนย์ เนื่องจากผลรวมแบบเวกเตอร์ตลอดเส้นทางปิดจะมีค่าเป็นศูนย์ ดังนั้น สรุปได้ว่า

  17. แรง กระทำต่อเส้นลวดที่เป็นเส้นตรงมีขนาด F1= ILB = 2IRB เพราะว่า L = 2R เนื่องจากเส้นลวดตั้งฉากกับสนาม ทิศทางของ จะพุ่งออกจากกระดาษ เพราะว่า มีทิศตามแกนบวก z ซึ่งพุ่งออกจากกระดาษดังรูป รูปแรงสุทธิที่กระทำต่อเส้นลวดรูปครึ่งวงกลมปิดซึ่งมีกระแส I มีค่าเป็นศูนย์ ตัวอย่าง Force on a semicircular conductor เส้นลวดโค้งเป็นครึ่งวงกลมปิด รัศมี R มีกระแสไฟฟ้า I ไหลผ่านและวางตัวอยู่สนามแม่เหล็กสม่ำเสมอในระนาบ xy โดยสนามแม่เหล็กมีทิศในแกนบวก y ดังรูป จงหาขนาดและทิศทางของแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อเส้นลวดในส่วนที่เป็นเส้นตรง และในส่วนที่เป็นเส้นโค้ง วิธีทำ

  18. ในการหาแรง F2 ที่กระทำต่อส่วนโค้ง ทำได้โดยแสดง dF2 ในรูปของส่วนของความยาว ds ดังรูป ถ้า คือมุมระหว่าง B และ ds ขนาดของ dF2 คือ เนื่องจาก s = R จะได้ว่า ds = Rd ทำการอินทิเกรตจะได้ว่า ในการหาแรงรวม F2 ที่กระทำต่อส่วนโค้งทำได้โดยการอินทิเกรตสมการด้านบนเพื่อทำการรวมส่วนของความยาวเล็กๆ ds โดยที่ทิศทางของแรงที่กระทำต่อส่วนต่างของของลวดมีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษ ดังนั้นแรงลัพธ์ F2 บนเส้นลวดมีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษเช่นกัน ทำการอินทิเกรต dF2 ในช่วง ถึง จะได้ว่า เนื่องจาก F2 ซึ่งมีขนาดเป็น 2IRB มีทิศพุ่งออกและF1 ซึ่งมีขนาดเป็น 2IRB มีทิศพุ่งเข้า ดังนั้นแรงสุทธิที่กระทำต่อลูปปิด (close loop) เป็นศูนย์

  19. ทอร์คในวงปิดซึ่งวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอทอร์คในวงปิดซึ่งวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ รูป (a) overhead view ของลูปกระแสสี่เหลี่ยมในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอไม่มีแรงกระทำต่อด้านที่ 1 และ 3 เพราะว่าด้านเหล่านี้ขนานกับBแรงกระทำต่อด้าน 2 และ 4 (b) Edge view ของลูปแสดงทิศF1และF1ชี้ลงแรงเหล่านี้ทำให้เกิดทอร์คซึ่งทำให้ลูปหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 2 4 a พิจารณาวงปิดรูปสี่เหลี่ยมมีกระแส I วางตัวในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอซึ่งมีทิศขนานไปกับระนาบของวงปิด ดังรูป (a) พบว่าไม่มีแรงแม่เหล็กกระทำต่อเส้นลวดด้าน 1 และ 3 เพระว่าเส้นลวดจะขนานไปกับสนามดังนั้น (a) 3 b b/2 (b) อย่างไรก็ตามมีแรงแม่เหล็กกระทำต่อด้านที่ 2 และ 4 เพราะว่าด้านนี้วางตัวตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็กมีขนาดเป็น 2 • x 4 • 0

  20. ทิศทางของ F2ซึ่งเป็นแรงที่กระทำต่อเส้นลวด 2 พุ่งออกจากหน้ากระดาษแรง F4 ที่กระทำต่อเส้นลวด 4 มีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษดังรูป(a)ดังนั้นสามารถเขียนรูปแบบของแรง F2และ F4ได้ดังรูป (b) ถ้าวงปิดมีจุดหมุนที่ O วงปิดสามารถหมุนรอบ O แบบตามเข็มนาฬิกา (มองจากด้านที่ 3 ) โดยมีขนาดของทอร์คสูงสุดเป็น เมื่อแขนโมเมนตัมรอบจุด O เป็น b/2 สำหรับแรงแต่ละแรงและเนื่องจากพื้นที่ที่ปิดล้อมวงปิดเป็น A = ab ดังนั้น ทอร์คสูงสุด คือ

  21. 1 b 4 1 •    0 0 a x 3 2 3 (b) (a) รูปลูปกระแสสี่เหลี่ยมในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ (a) เวกเตอร์พื้นผิวAตั้งฉากกับระนาบของลูปทำมุมกับสนามแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อด้าน 2 และ 4 หักล้างกันแรงที่กระทำต่อด้าน 1 และ 3 ทำให้เกิดทอร์คต่อลูป(b) Edge view ของลูป

  22. ค่าทอร์คสุทธิ์ที่สูงที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อสนามแม่เหล็กขนานกับระนาบของวงปิดต่อไปสมมติว่าสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอทำมุม< 90° กับเส้นที่ตั้งฉากกับระนาบของวงปิด (A) ดังรูป (a)เพื่อความสะดวกสมมติให้ B ตั้งฉากกับด้าน 1 และ 3 จะเห็นว่าแรงF2และF4ที่กระทำต่อด้านที่ 2 และ 4 หักล้างกันเนื่องจากผ่านจุดกำเนิดไม่ทำให้เกิดทอร์คแรงF1และF3ทำให้เกิดทอร์ค จากรูป (b) พบว่าแขนโมเมนต์รอบจุด O ของแรงF1และF3คือ (a/2) sinเนื่องจากว่าดังนั้นทอร์คสุทธิ์รอบจุด O มีขนาด เมื่อ A = ab คือพื้นที่วงปิดผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าทอร์คสูงสุดมีค่าเป็น IAB เมื่อสนามตั้งฉากกับเส้นปรกติ(เส้นที่ตั้งฉากกับระนาบของวงปิด) ( = 900) และจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อสนามเส้นปกติที่ตั้งฉากกับระนาบ ( = 00)

  23. สูตรที่ใช้แสดงทอร์คที่กระทำต่อวงปิดที่วางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอBคือสูตรที่ใช้แสดงทอร์คที่กระทำต่อวงปิดที่วางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอBคือ เมื่อA คือเวกเตอร์ที่ตั้งฉากกับระนาบของวงปิดมีขนาดเท่ากับพื้นที่ของวงปิดโดยสามารถหาทิศของAได้โดยใช้กฎมือขวาโดยทำการวนนิ้วทั้งสี่ไปตามทิศของกระแสในวงปิดนิ้วหัวแม่มือจะชี้ในทิศของA ผลคูณ IAนิยามว่าเป็นไดโพลโมเมนต์แม่เหล็ก (magnetic dipole moment ) หรือเรียกสั้นๆว่าmagnetic moment ของวงปิด หน่วย SI ของไดโพลแม่เหล็กคือ ampere-meter2 (A.m2) ดังนั้นทอร์คที่กระทำกับวงปิดซึ่งมีกระแสไหลผ่านซึ่งวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กBคือ

  24. จากสูตรพบว่าไดโพลแม่เหล็กมีพลังงานต่ำสุดเป็น เมื่อ ชี้ไปในทิศทางเดียวกับB และจะมีค่าสูงสุดเป็น เมื่อชี้ไปในทิศทางตรงข้ามกับB ถ้าขดลวดประกอบด้วยลวด N เส้นแต่ละเส้นมีกระแสและพื้นที่เท่ากันไดโพลโมเมนต์แม่เหล็กรวม (the total magnetic dipole moment) คือ จากความรู้ที่ผ่านมาพบว่าพลังงานศักย์ของไดโพลไฟฟ้าในสนามไฟฟ้ามีค่าเป็น U = -P.E ดังนั้นพลังงานศักย์ของไดโพลแม่เหล็กที่วางตัวในสนามแม่เหล็กมีลักษณะที่คล้ายกันคือ

  25. ตัวอย่าง The magnetic dipole moment of a coil ขดลวดสี่เหลี่ยมขนาด 5.4 cm 8.5 cm มีจำนวนขดลวด 25 ขดและมีกระแสไฟฟ้าขนาด 15 mA ไหลผ่านให้สนามแม่เหล็กขนาด 0.35 T ในทิศทางที่ขนานกับระนาบของขดลวด • จงคำนวณหาขนาดของโมเมนต์ไดโพลแม่เหล็ก • (b) จงหาขนาดของทอร์คที่กระทำต่อขดลวด วิธีทำ • ขนาดของโมเมนต์ไดโพลแม่เหล็ก (b) ขนาดของทอร์คที่กระทำต่อขดลวด เพราะว่าตั้งฉากกับจะได้ว่า แบบฝึกหัด จงคำนวณขนาดของทอร์คที่กระทำต่อขดลวดซึ่งทำมุม (a) 60o (b) 00กับ ตอบ (a) (b) 0

  26. ตัวอย่าง Satellite attitude control ดาวเทียมส่วนใหญ่จะใช้ขดลวดที่เรียกว่า torquersในการปรับวงโคจรโดยอุปกรณ์นี้จะเกิดอันตรกิริยากับสนามแม่เหล็กโลกทำให้เกิดทอร์คต่อดาวเทียมในทิศแกน x y และ z ในการใช้ประโยชน์ของระบบ attitude control โดยใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลแสงอาทิตย์ถ้าเครื่องมือมีไดโพลโมเมนต์แม่เหล็กเป็น 250 A.m2จงหาค่าทอร์คที่มากที่สุดที่ให้กับดาวเทียม เมื่อ torquers ทำงานขณะที่สนามแม่เหล็กโลกมีขนาด3.0x10-5 T วิธีทำ ทอร์คสูงสุดเมื่อโมเมนต์ไดโพลแม่เหล็กของ torquer ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กโลก

  27. (เพิ่มเติม) • เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนราบที่วางอยู่ในสนามแม่เหล็ก B จะเกิด ปรากฏการณ์ฮอล(Hall Effect) และวัดความต่างศักย์ตามขวางในแถบตัวนำซึ่งเรียกว่า ศักย์ไฟฟ้าของฮอล (Hall Voltage) ได้เป็น VH = vdBd ให้ n เป็นจำนวนพาหะไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร และ A เป็นพื้นที่หน้าตัดของแถบตัวนำแล้วจะได้ เมื่อให้พื้นที่ A = td เมื่อ t เป็นความหนา และ d เป็นความกว้างของแถบตัวนำแบน แล้วจะได้ และสัมประสิทธิ์ของฮอล (Hall Coefficient) จะได้

  28. มีหน่วยเป็น Wb/m2 เรียกว่าเทสลา (tesla; T) สรุป 6. สนามแม่เหล็ก • แรงแม่เหล็กที่กระทำบนประจุ q ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ในสนามแม่เหล็ก คือ ขนาดของแรงนี้คือ FB = qvB sin เมื่อ เป็นมุมระหว่าง และ T =Wb/m2 =N/A.m • ในกรณีที่อนุภาคประจุไฟฟ้า q เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เข้าไปในบริเวณที่มี ทั้งสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก แรงลัพธ์ ที่กระทำบนประจุ q หา ได้ตามสมการลอเรนซ์ คือ

  29. เมื่อ คือเวกเตอร์ที่ชี้ในทิศการไหลของกระแสไฟฟ้า I มีขนาดเท่ากับความยาว L ของตัวนำ • ตัวนำยาว L ที่มีกระแสไฟฟ้าไหล I และวางอยู่ในสนามแม่เหล็กที่ สม่ำเสมอ ตัวนำนี้จะถูกสนามแม่เหล็กกระทำด้วยแรง • สำหรับตัวนำเส้นลวดใดๆ ที่มีกระแส I ไหลผ่านและวางอยู่ในสนาม แม่เหล็กที่สม่ำเสมอ แรงแม่เหล็กที่กระทำต่อความยาวน้อยๆ ของลวดตัวนำ คือ และแรงลัพธ์ ที่สนามแม่เหล็ก กระทำบนลวดตัวนำทั้งหมด คือ Note ถ้าเป็นเส้นลวดโค้งเชื่องต่อกันเป็นลูปปิด แรงแม่เหล็กจะเป็นศูนย์

  30. โมเมนต์แม่เหล็ก ของวงกระแส คือ มีหน่วยเป็น A.m2 • เมื่อ คือพื้นที่ของวงกระแสและมีทิศตั้งฉากกับระนาบของวงกระแส • ทอร์ก ที่กระทำบนวงกระแส เมื่อวงกระแสวางอยู่ในสนามแม่เหล็กที่ สม่ำเสมอ เป็น • ถ้าอนุภาคไฟฟ้ามวล m ที่มีประจุ q เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กที่ สม่ำเสมอ B และความเร็วต้น v มีทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กแล้ว อนุภาคจะเคลื่อนที่เป็นวงกลม โดยระนาบการเคลื่อนที่จะตั้งฉากกับทิศ ของสนามแม่เหล็ก โดยวงโคจรมีรัศมี r เป็น ความถี่เชิงมุมของการหมุนของอนุภาคนี้จะได้

  31. เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนราบที่วางอยู่ในสนามแม่เหล็ก B จะเกิด ปรากฏการณ์ฮอล(Hall Effect) และวัดความต่างศักย์ตามขวางในแถบตัวนำซึ่งเรียกว่า ศักย์ไฟฟ้าของฮอล (Hall Voltage) ได้เป็น VH = vdBd ให้ n เป็นจำนวนพาหะไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร และ A เป็นพื้นที่หน้าตัดของแถบตัวนำแล้วจะได้ เมื่อให้พื้นที่ A = td เมื่อ t เป็นความหนา และ d เป็นความกว้างของแถบตัวนำแบน แล้วจะได้ และสัมประสิทธิ์ของฮอล (Hall Coefficient) จะได้

  32. http://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/oldnews/48/magnetic/OnlineTest_V4/index.asphttp://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/oldnews/48/magnetic/OnlineTest_V4/index.asp แบบฝึกหัด • โปรตอนตัวหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขนาด 4x106 m/s ผ่านสนามแม่เหล็กซึ่งมีความเข้ม 1.7 T เกิดแรงแม่เหล็กกระทำต่อโปรตอนขนาด 8.2x10-13 Nจงหามุมระหว่างความเร็วของโปรตอนและสนามแม่เหล็ก • ลูกบอลโลหะมีประจุสุทธิ 5 C ถูกปาออกไปทางหน้าต่างในแนวระดับด้วยอัตราเร็ว 20 m/s เมื่อหน้าต่างมีความสูงเหนือพื้นดิน 20 m สนามแม่เหล็กมีความเข้มสม่ำเสมอ 0.01 T ในทิศตั้งฉากกับระนาบของทางเดินลูกบอลโลหะ จงหาขนาดของแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อลูกบอลโลหะก่อนกระทบพื้นดิน • เป็ดตัวหนึ่งบินไปทางทิศเหนือด้วยความเร็ว 15 m/s ผ่านเมืองแอตแลนตา ซึ่งมีความเข้มสนามแม่เหล็กโลก 5x10-5 T ในทิศทำมุม 60oใต้เส้นระดับเหนือใต้ ถ้าตัวเป็ดมีประจุไฟฟ้าสุทธิ 0.04 C แรงแม่เหล็กโลกที่กระทำต่อตัวเป็ดเป็นเท่าไร

  33. เอกสารประกอบการค้นคว้าเอกสารประกอบการค้นคว้า ภาควิชาฟิสิกส์. เอกสารประกอบการสอนฟิสิกส์เบื้องต้น, คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาฟิสิกส์. ฟิสิกส์2, คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย D.C. Giancoli. Physics Principles with Applications, 3rded., Prentic-Hall, ISBN: 0-13-666769-4, 1991. D. Halliday, R.Resnick and K.S. Krane. Volume Two extended Version Physics, 4th ed., John Wiley & Sons, 1992. R.A.Serway, Physics for Scientists & Engineers with Modern Physics, 4th ed., 1996. http://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/howstuffwork/electro-mag/electro-magthai1.htm http://www.skn.ac.th/skl/skn422/file/field.htm http://www.physics.uoguelph.ca/tutorials/tutorials.html http://www.thinkquest.org/library/site_sum.html?tname=10796&url=10796/index.html http://www.launc.tased.edu.au/online/sciences/physics/tutes1.html http://www.colorado.edu/physics/2000/index.pl http://www.dctech.com/physics/tutorials.php http://www.physics.sci.rit.ac.th

More Related