1 / 57

ประสบการณ์แปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย : ความสำเร็จหรือล้มเหลว ?

ประสบการณ์แปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย : ความสำเร็จหรือล้มเหลว ?. ผศ.ดร. ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (puree.sirasoontorn@econ.tu.ac.th). รัฐวิสาหกิจ. คำจำกัดความของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ว่ารัฐวิสาหกิจหมายถึง

Download Presentation

ประสบการณ์แปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย : ความสำเร็จหรือล้มเหลว ?

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประสบการณ์แปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย:ความสำเร็จหรือล้มเหลว?ประสบการณ์แปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย:ความสำเร็จหรือล้มเหลว? ผศ.ดร. ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (puree.sirasoontorn@econ.tu.ac.th)

  2. รัฐวิสาหกิจ • คำจำกัดความของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ว่ารัฐวิสาหกิจหมายถึง ก. องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม ก. และ/หรือ ข. มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม ค. และ/หรือ ก. และ/หรือ ข. มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ จ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจตาม ง. และ/หรือ ก. และ/หรือ ข. และ/หรือ ค. มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

  3. รัฐวิสาหกิจ • บมจ. ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ • บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม เป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ • บมจ. ธนาคารกรุงไทย เป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่

  4. เหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ • บริการสาธารณูปโภคมีลักษณะ “ผูกขาดโดยธรรมชาติ” เช่นไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ • บริการสาธารณูปโภคต้องใช้เงินลงทุนสูง จ้างพนักงานจำนวนมาก และอาศัยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภาคเอกชนยังไม่พร้อม ขาดความรู้และประสบการณ์ เช่น การจัดสร้างที่พักอาศัย การสร้างเส้นทางคมนาคม

  5. เหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ • จัดสาธารณูปโภคพื้นฐานให้แก่คนยากคนจน ชาวชนบท และผู้ด้อยโอกาส และเพื่อกระจายความเจริญไปสู่เขตชนบทและกลุ่มชนผู้ยากจน • ส่งเสริมกิจการบางประเภท เช่นการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในรูปของสถาบันการเงิน (ธนาคารเพื่อสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารเพื่ออุตสาหกรรม)

  6. เหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ • แก้ปัญหาการครองชีพของประชาชน เช่น องค์การแก้ว องค์การทอผ้า องค์การแบตเตอรี่ องค์การฟอกหนัง องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป • กระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ/หรือ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารรัตนสิน (ผลโดยอ้อมจากการยึดทรัพย์ เช่น บริษัททิพยประกันภัยจำกัด)

  7. เหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเหตุผลในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ • ความมั่นคงของประเทศ เช่น สาธารณูปโภค ยุทธปัจจัยของกองทัพในยามสงคราม (องค์การแบตเตอรี่ องค์การแก้ว องค์การฟอกหนัง องค์การเชื้อเพลิง) • ส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรม เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การกีฬาแห่งประเทศไทย องค์การสวนพฤกษศาสตร์ องค์การสวนสัตว์ • หารายได้ให้รัฐบาล ขณะเดียวกันก็ควบคุมสินค้าอันตราย เช่น สุรา ยาสูบ

  8. ประเภทของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยประเภทของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย • การจัดตั้งโดยกฎหมายมหาชน • รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะคือ พระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่เทียบเท่าเช่น ประกาศคณะปฏิวัติ พระราชกำหนด มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๖ ราย • รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๓ ราย

  9. ประเภทของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยประเภทของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย • การจัดตั้งโดยกฎหมายเอกชน • รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๕ ราย • รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยระเบียบหรือข้อบังคับ จำนวนทั้งสิ้น ๕ ราย

  10. รัฐวิสาหกิจของประเทศไทยรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย • รัฐวิสาหกิจมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจค่อนข้างสูงทั้งในแง่การผลิต การใช้จ่าย การลงทุน และการจ้างงาน

  11. ข้อมูลเบื้องต้นของรัฐวิสาหกิจ (2548)

  12. ข้อมูลเบื้องต้นของรัฐวิสาหกิจ (2548)

  13. ประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ • รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กระจายความเจริญ เช่น ถนน ไฟฟ้า รถไฟ โทรศัพท์ • รัฐวิสาหกิจหลายแห่งทำกำไรส่งให้แก่รัฐเป็นจำนวนมาก เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โรงงานยาสูบ และรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า • สร้างงาน และผลิตพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในวิชาชีพที่ขาดแคลน เช่นวิศวกรด้านไฟฟ้า

  14. ปัญหาของรัฐวิสาหกิจ • รัฐวิสาหกิจขาดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (กำไรหรือขาดทุนไม่ได้เป็นตัวชี้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่) • ประสิทธิภาพหมายถึงผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีโดยใช้ต้นทุนต่ำสุด • กำไร (เพราะผูกขาดและสามารถตั้งราคาโดยบวกกำไรได้ แต่อาจไม่มีประสิทธิภาพ) • ขาดทุน (เพราะรัฐกำหนดเพดานราคาไว้ที่ต่ำกว่าต้นทุน) เช่น ขสมก.

  15. สาเหตุของปัญหา • รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ผูกขาด ให้บริการเพียงรายเดียว ไม่ต้องแข่งขัน ขาดความกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน • รัฐวิสาหกิจมีรัฐบาล (ประชาชน) เป็นเจ้าของ แต่การดำเนินงานผ่านผู้บริหารและพนักงานของรัฐวิสาหกิจ ยากแก่การตรวจสอบ จึงอาจทำให้ผู้บริหารและพนักงานเหล่านี้ดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของตนเอง

  16. สาเหตุของปัญหา • ระบบบริหารยังมีลักษณะเป็นราชการ ขาดระบบแรงจูงใจให้แก่พนักงานในการเพิ่มประสิทธิภาพ • รัฐวิสาหกิจดำเนินงานเพื่อตอบสนองหลายวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อสร้างงาน (จ้างคนเยอะ) เพื่อให้บริการแก่สังคม (ตั้งราคาสินค้าและบริการในราคาถูก แต่รัฐบาลอยากให้รัฐวิสาหกิจมีฐานะการเงินที่ดี)

  17. สาเหตุของปัญหา • การรวมตัวของพนักงานรัฐวิสาหกิจอย่างเข้มแข็งเพื่อต่อรองและเรียกร้องผลประโยชน์ต่าง ๆ จึงทำให้การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทำได้ยาก

  18. การแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจการแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจ • เพิ่มการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่มีรัฐวิสาหกิจดำเนินงาน • เข้มงวดการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจ • ปรับองค์กรและโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ • กำหนดให้รัฐวิสาหกิจมีแผนวิสาหกิจและประเมินผลงานเหมือนกับวิสาหกิจในภาคเอกชน (ดูแลโดย สคร.) • การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

  19. ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • ความหมายอย่างกว้าง=> ลดบทบาทของภาครัฐและเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน • การลดการกำกับดูแลหรือการเปิดเสรี เช่นการเปิดเสรีโทรคมนาคม • การขายทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจให้เอกชน (เปลี่ยนความเป็นเจ้าของ) เช่น ปตท. อสมท. ทอท. • การให้เอกชนมาบริหารงานแทน

  20. ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • ความหมายอย่างแคบ=>เน้นการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการบริหารภายในองค์กร • การขายทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจให้เอกชน • การให้เอกชนมาบริหารงานแทน • การยุบเลิกกิจการ • เลือกวิธีการแปรรูปได้

  21. การขายทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจให้เอกชนการขายทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจให้เอกชน ขายในตลาดหลักทรัพย์ ขายให้กลุ่มผู้ลงทุนเฉพาะราย ขายหมดหรือขายบางส่วน การให้เอกชนมาทำแทน สัญญาการบริหารจัดการ สัญญาเช่า สัมปทาน การให้เอกชนลงทุนดำเนินการแต่รัฐรับซื้อผลผลิต การร่วมลงทุน ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

  22. วัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจวัตถุประสงค์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • เพื่อแก้ปัญหาของรัฐวิสาหกิจ • ให้รัฐวิสาหกิจดำเนินงานแบบเอกชน ใช้วินัยของตลาด เพิ่มประสิทธิภาพและกำไร • ให้บริการมีเพียงพอ ราคาถูก และคุณภาพดี • ลดภาระทางการเงิน (ไม่ต้องให้เงินอุดหนุน ไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้) • สร้างรายได้จากการแปรรูป • หากแปรรูปในตลาดหลักทรัพย์ สามารถพัฒนาตลาดทุน

  23. ปัจจัยภายนอก • องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) => Letter of Intent 1-7

  24. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ • แนวทางในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ • เปิดให้มีการแข่งขันเสรีในกิจการที่มีการผูกขาด • ปรับบทบาทของรัฐวิสาหกิจให้มีฐานะเป็นเพียงหน่วยปฏิบัติ • ให้มีองค์กรกำกับรายสาขา • วิธีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • กลุ่มที่รัฐลดความเป็นเจ้าของให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ ๕๐ • กลุ่มที่รัฐคงสภาพการเป็นเจ้าของไว้แต่จะเพิ่มบทบาทภาคเอกชนบางส่วน

  25. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • แผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ • วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจคือ กำหนดขอบเขตและทิศทางการแปรรูปและปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจเพื่อช่วยให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนารัฐวิสาหกิจสาขาต่าง ๆ อย่างเป็นประสิทธิผล ให้บริษัทของไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม และเป็นการลดภาระทางการเงินของภาครัฐ

  26. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • แผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • กำหนดสาขาพลังงาน (๕ ราย) สาขาโทรคมนาคมและสื่อสาร (๓ ราย) สาขาประปา (๓ ราย) สาขาขนส่ง (๑๔ ราย) และสาขาอื่น ๆ (ประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงิน อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ เกษตรกรรม และสังคมและเทคโนโลยี) • กำหนดวิธีการแปรรูปตามความหมายอย่างกว้าง

  27. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • การจัดตั้งสำนักงานรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐในกระทรวงการคลัง (ตอนนี้กลายเป็น สคร.) • คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) • กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ • พิจารณาดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน • พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

  28. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ • กฎหมายที่ออกมาเพื่อแปลง “ทุน” ของรัฐวิสาหกิจให้เป็น “ทุนเรือนหุ้น” ของรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัท เพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐในการเปลี่ยนสถานะรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นให้เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (Corporatization) แต่ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ

  29. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • เสนอให้แก้ไขกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น • พรบ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 • พรบ. การให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 • เสนอให้แบ่งแยกหน้าที่ของการกำหนดนโยบาย (Policy) การกำกับดูแล (Regulation) และการประกอบกิจการ (Operation) ออกจากกัน

  30. การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • ให้รายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แบ่งเป็นสามส่วน • ปรับปรุงรัฐวิสาหกิจและเป็นกองทุนสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • สนับสนุนรายจ่ายของรัฐบาลทางด้านสวัสดิการสังคม • ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน • กำหนดมาตรการเพื่อช่วยพนักงานรัฐวิสาหกิจ หากต้องออกจากงานเพราะการแปรรูป

  31. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 2544 • กำหนดวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย => อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมาย • การเลือกวิธีการแปรรูป => เสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Share Issued Privatization: SIP) เพื่อพัฒนาตลาดทุนเป็นหลัก • การคัดเลือกรัฐวิสาหกิจ => เลือกเพียงแต่รัฐวิสาหกิจที่มีกำไรมาแปลงสภาพและแปรรูป

  32. รัฐวิสาหกิจที่มีกำไรสูงสุดในปี 2543

  33. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 2544 • ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์จำนวน ๖ ราย • TOT (Telecom)* • CAT (Telecom)** • Thai (Transport.) • KTB (Bank) • PTTEP (Energy) • MCOT (Telecom) • AOT (Transport) • PTT (Energy) *TOT & **CAT ได้แปลงสภาพในปี 2545 และ 2546 ตามลำดับ

  34. รัฐวิสาหกิจซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ • PTT is Thailand’s fully integrated oil&gas and petrochemical complex, with a fully-fledged operation covering upstream (exploration and production), midstream (refining and production of olefins feedstock) and downstream (retail oil distribution). PTT Public Limited Company (PTT) • Thai Airways International Public Company Limited is the national carrier. It operates domestic, regional and intercontinental flights radiating from its home base in Bangkok. Thai Airways International (THAI) • Airport Authority of Thailand is the operator of national airports of Thailand. There are 5 airports under AOT, locating in Bangkok, Chiang Mai, Hat Yai, Phuket and Chiang Rai. AOT Public Limited Company (AOT) • MCOT is a mass communication operator. Its service include Television operators, Global television network, radio and news & entertainment. MCOT Public Limited Company (MCOT) Krung Thai Bank Public Limited Company (KTB) • Krung Thai Bank is financial assistance service provider. • PTT Exploration and Production Company Limited or PTTEP, has the mission to explore, develop, and produce petroleum reserves to maximize Thailand’s highest possible benefit from energy resources. PTTEP Public Limited Company (PTTEP)

  35. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 2544

  36. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 2544 • แปรรูปโดยขาดการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่รัฐวิสาหกิจดำเนินงานอยู่เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน • แปรรูปโดยขาดการปรับโครงสร้างองค์กร ยังคงผูกรวมในแนวดิ่งและแนวนอน และดำเนินกิจการผูกขาดโดยธรรมชาติ เช่น ปตท. • แปรรูปอย่างรวดเร็ว (สังเกตจากวันที่แปลงสภาพและแปรรูป)

  37. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 2544 • แปรรูปเพียงบางส่วน (Partial privatization) • รัฐยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ • มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่รัฐวิสาหกิจ • การแปรรูปแบบ SIP มีประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลโปร่งใสมากขึ้น • การประเมิน “มูลค่า” รัฐวิสาหกิจก่อนการแปรรูป

  38. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 2544 • การกำหนดราคาหุ้นที่เสนอขายเบื้องต้น • การจัดสรรหุ้น • ให้แก่ผู้มีอุปการคุณ ในกรณีของ ปตท. และ ทอท. (กรณีของ อสมท. ใช้วิธี Random) • การจัดสรรหุ้นของพนักงาน • ระดมทุนแล้วนำไปลดภาระหนี้และลงทุนในกิจการของตนเอง

  39. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์การประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ • ผลกระทบทางการคลัง • ผลกระทบต่อโครงสร้างความเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ • ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ • ผลกระทบต่อตลาดทุน • ผลกระทบต่อพนักงานรัฐวิสาหกิจ

  40. ผลกระทบทางการคลัง • ต้นทุนทางตรง=> ค่าใช้จ่ายในการเสนอหุ้น • ไม่มากนักต่ำกว่าของต่างประเทศ (4-5% ใน UK)

  41. ผลกระทบทางการคลัง • Underpricing=> ราคาปิดของหุ้นที่ซื้อขายในวันแรกที่เข้าตลาดสูงกว่าราคา IPO • ผู้ถือหุ้นได้รับ Initial returns จากการซื้อหุ้น (แสดงว่ารัฐได้รับเงินจากการระดมทุนน้อยกว่าที่ควรจะได้) • แต่ Initial returns นี้ต่ำกว่าการทำ IPO ของบริษัทเอกชน และต่ำกว่า การทำ SIP ทั่วโลก (ประมาณร้อยละ 34) • เนื่องจากนักลงทุนมีข้อมูลเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจก่อนเข้าสู่ตลาด จึงทำให้ง่ายต่อการประเมินกระแสเงินสดในอนาคตของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้

  42. ผลกระทบทางการคลัง

  43. ผลกระทบทางการคลัง • “ความสูญเสียทางการคลัง” หมายความว่า ในฐานะเจ้าของเดิม รัฐเสียประโยชน์จากการเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจในรูปของกำไรที่หายไป • ขาดทุนทางการคลังจากการ SIP ปตท. และ ทอท. • กำไรทางการคลังจากการ SIP อสมท. • เพราะก่อนแปรรูป ปตท. และ ทอท. เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดีมีกำไร ดำเนินกิจการผูกขาด ไร้องค์กรกำกับดูแล ในขณะที่ธุรกิจที่ อสมท. ดำเนินงานมีคู่แข่ง

  44. ผลกระทบทางการคลัง

  45. ผลกระทบที่มีต่อโครงสร้างความเป็นเจ้าของผลกระทบที่มีต่อโครงสร้างความเป็นเจ้าของ • การจัดสรรหุ้นเพียงบางส่วนยังขาดความโปร่งใสและให้สิทธิประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม (เช่นการจัดสรรหุ้นให้ผู้มีอุปการคุณ) • ผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือกระทรวงการคลัง • การกระจายหุ้นยังไม่ทั่วถึง โดยกระจุกตัวอยู่ที่ผู้ถือหุ้นเก้ารายแรก (ถัดจากกระทรวงการคลัง) และเป็น ผู้ถือหุ้นต่างชาติเสียส่วนใหญ่ (ในรูปของ Nominee หรือสงสัยว่าเป็น Nominee)

More Related