1 / 42

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล. PPE. “ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วย ความปลอดภัยเสมอ ”. ความปลอดภัยในทีม. ต้องใช้ PPE ในกรณีที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด การบาดเจ็บได้ การใช้ PPE ไม่สามารถใช้เป็นหลักแทนการควบคุมทางวิศวกรรม และ/หรือการควบคุมของฝ่ายบริหารจัดการได้

Download Presentation

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE

  2. “ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วย“ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วย ความปลอดภัยเสมอ ” ความปลอดภัยในทีม

  3. ต้องใช้PPE ในกรณีที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด การบาดเจ็บได้ การใช้ PPEไม่สามารถใช้เป็นหลักแทนการควบคุมทางวิศวกรรม และ/หรือการควบคุมของฝ่ายบริหารจัดการได้ การใช้ PPEมิได้เป็นการขจัดอันตรายให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ถ้าหากว่าอุปกรณ์มีการชำรุดเสียหาย หมายความว่าอันตรายสามารถ เกิดขึ้นได้เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย จะต้องสวมใส่PPEอยู่เสมอ PPE

  4. ประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน ประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน เลือกและจัดหาPPEที่มีความเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน ของพนักงานแต่ละฝ่าย ฝึกอบรมพนักงานให้สามารถใช้ PPEได้อย่างถูกวิธี มาตรฐานการใช้ PPE

  5. นายจ้างต้องประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงาน ที่มีความ จำเป็นต้องใช้PPE อันตรายที่เกิดขึ้น รวมถึงการรั่วไหลของสารเคมี วัสดุตก หล่น ความผิดปกติต่างๆ อุณหภูมิที่สูงมาก รังสี การ ทำงานของอุปกรณ์และอุปกรณ์ควบต่างๆ หรือของมีคม เป็นต้น การประเมินความเสี่ยง

  6. จะต้องสามารถป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอันตรายที่เหมือนกันให้แก่ พนักงานแต่ละคนที่ปฏิบัติงานเหมือนกันได้ มีการออกแบบและผลิตที่ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักอาชีวอนามัยและมีความคงทน ต้องมีความกระชับและพอดีกับพนักงานแต่ละคน ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่ผ่านการรับรองแล้ว การเลือกใช้ PPE

  7. เพื่อให้ทราบว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้ PPE เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของPPE เพื่อให้ทราบถึงวิธีการสวมใส่ การถอด และการปรับแต่งต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัดต่างๆของPPEแต่ละชนิด เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษา วิธีใช้และการทำความสะอาด ที่ถูกต้องเหมาะสม จุดประสงค์ในการฝึกอบรมการใช้ PPE

  8. เมื่อมีการการเปลี่ยนแปลงลักษณะงาน เมื่อมีการการเปลี่ยนแปลงลักษณะงาน มีการเปลี่ยนแปลงของประเภทของ PPEที่นำมาใช้ พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ PPEยังไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าพนักงานไม่ได้ให้ความเอาใจใส่กับการ ฝึกอบรมในครั้งที่ผ่านมาเท่าที่ควร เมื่อใดที่ต้องมีการฝึกอบรมการใช้ PPE ซ้ำ

  9. ช่องทางของการเกิดอันตรายช่องทางของการเกิดอันตราย • การสูดดม • การซึมผ่านทางผิวหนัง • การกลืน • หัวใจสำคัญของความปลอดภัยก็คือ การมีความรู้ความเข้าใจในอันตรายและวิธีการป้องกันตนเอง

  10. ป้องกันใบหน้าและดวงตา ป้องกันใบหน้าและดวงตา ป้องกันการสูดดม ป้องกันศีรษะ ป้องกันเท้า อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้า ป้องกันผิวหนังและมือ ป้องกันเสียง ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

  11. เพื่อป้องกันพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต่อใบหน้าและดวงตา จากการกระเด็นของวัสดุต่างๆ โลหะที่มีความร้อน สารเคมีเหลว กรด ด่าง ไอของสารเคมีหรือรังสี การป้องกันใบหน้าและดวงตา

  12. LENS-ทำหน้าที่รวมแสง IRIS-ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้ามาที่ดวงตา RECEPTORS-จับภาพ OPTIC NERVE-ทำหน้าที่เป็นสายส่งข้อมูลจาก RECEPTORS ในดวงตาไปยังสมอง ดวงตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อและเส้นเลือดจำนวนมาก ดวงตา

  13. ในแต่ละปีมีผู้คนจำนวนมากต้องตาบอด เนื่องจากการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ซึ่งถ้าหากมีการป้องกันใบหน้าและดวงตาที่ดีแล้วนั้น ก็จะสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ การป้องกันใบหน้าและดวงตา

  14. แว่นตา แว่นตาสำหรับกันลมและฝุ่น ฝาครอบสำหรับบังใบหน้า หมวก/แว่นตาสำหรับงานเชื่อม ประเภทของการป้องกันใบหน้าและดวงตา

  15. เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่การควบคุมทางด้านวิศวกรรมไม่สามารถป้องกันพนักงานจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากฝุ่นละออง หมอก ควัน หรือไอของสารเคมีได้ การป้องกันการสูดดม

  16. การสูดดมสารที่เป็นพิษต่อร่างกายเป็นผลทำให้ปอดได้รับอันตรายการสูดดมสารที่เป็นพิษต่อร่างกายเป็นผลทำให้ปอดได้รับอันตราย เมื่อปอดได้รับอันตราย ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบหายใจได้ง่ายขึ้น สารพิษส่วนใหญ่ที่สูดดมเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด อันตรายต่อปอด

  17. ระดับของอันตรายเกินกว่า PEL ในระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆทางด้านวิศวกรรม หรือการ ควบคุมการปฏิบัติงาน การซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลประเภทนี้ ต้องให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้ดีมากกว่าที่ PELกำหนดไว้ มีการตอบสนองฉุกเฉินเมื่อไม่ทราบประเภท และ/หรือความ เข้มข้นของสารพิษ ใช้อย่างสม่ำเสมอ การป้องกันการสูดดม

  18. แบบฟอกอากาศ แบบให้ออกซิเจนเพิ่ม แบบผสมทั้ง 2 ประเภท ประเภทของเครื่องกรองอากาศ

  19. การตรวจทางการแพทย์ คัดเลือกตามอันตรายที่จะเกิดขึ้น ทดสอบการสวมใส่ให้กระชับ ขนที่ใบหน้า ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ ฝึกอบรมเป็นการเฉพาะตามแต่ลักษณะของการปฏิบัติงาน ข้อจำกัดต่างๆ การป้องกันการสูดดม

  20. เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายแก่ศีรษะ จากการตกหรือเคลื่อนที่ของวัสดุต่างๆ หรือในบริเวณที่กระแสไฟฟ้าสามารถมาสัมผัสที่ศีรษะได้ การป้องกันศีรษะ

  21. การป้องกันศีรษะ อันตรายที่เกิดขึ้นต่อศีรษะ อาจรวมถึงอันตรายต่อ—สมอง—ดวงตา—จมูก—ปาก—ซึ่งจากประเด็นนี้ การป้องกันความปลอดภัยให้แก่ศีรษะจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

  22. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การถูกไฟฟ้าช็อต การถูกกระแทกที่ศีรษะ การโดนสารเคมี การตกหล่นหรือกระเด็นของวัสดุต่างๆจะทำให้ศีรษะเกิดอาการเคล็ด แตกและสมองได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้กระตุกเกร็งและเกิดแผลไฟไหม้ขึ้น สารเคมีต่างๆจะทำให้ดวงตาและผิวเกิดอาการแสบและระคายเคืองได้

  23. หมวกกันกระแทกและหมวกแข็งหมวกกันกระแทกและหมวกแข็ง ประเภท 1—มีขอบรอบ ประเภท 2—ไม่มีขอบรอบ ระดับ 1—ลดแรงกระแทกจากวัสดุที่ตกหล่น และลดอันตรายจากการสัมผัสสื่อไฟฟ้าแรงดันต่ำ (ผ่านการทดสอบการป้องกันกระแสไฟฟ้าที่ 2, 200 โวลต์) ระดับ 2—ลดแรงกระแทกจากวัสดุที่ตกหล่น และลดอันตรายจากการสัมผัสสื่อไฟฟ้าแรงดันสูง (ผ่านการทดสอบการป้องกันกระแสไฟฟ้าที่ 22, 000 โวลต์) ระดับ 3—ลดแรงกระแทกจากวัสดุที่ตกหล่น แต่ไม่สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ การป้องกันศีรษะ

  24. ข้อจำกัดคือ การลดแรงกระแทกของวัสดุขนาดเล็กที่ตกลงมาแทงหรือทะลุส่วนบนของหมวกได้ (ข้อนี้ความหมายไม่ชัดเจนครับ) ไม่มีการป้องกันการกระแทก หรือการแทงมาจากด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลัง ตรวจสอบสภาพของหมวกทุกวัน เพื่อดูรอยแตกร้าว หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหมวกจากการกระแทกหรือจากการปฏิบัติงาน ถ้าตรวจสอบพบความเสียหายใดๆ ให้ยกเลิกการใช้อุปกรณ์นั้นและนำไปซ่อมแซม การป้องกันศีรษะ

  25. เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายต่อเท้า จากการตกหล่นหรือการกลิ้งของวัสดุ การลื่นหรือวัสดุที่สามารถแทงพื้นรองเท้าได้ และในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า การป้องกันเท้า

  26. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การกระแทก สารเคมีที่หยดลงมา การโดนทับ ไฟฟ้า ลื่นไถล อุณหภูมิ

  27. ป้องกันนิ้วเท้าจากการถูกกระแทกและโดนทับป้องกันนิ้วเท้าจากการถูกกระแทกและโดนทับ ป้องกันความปลอดภัยให้กับกระดูกเท้า ป้องกันอันตรายจากกระเสไฟฟ้า (ไม่เกิน 600 โวลต์ภายใต้สภาวะแห้ง) ป้องกันการเป็นสื่อไฟฟ้า (ลดปริมาณไฟฟ้าสถิตให้เหลือน้อยที่สุด) ป้องกันพื้นรองเท้าจากการถูกเจาะหรือแทง การป้องกันเท้า

  28. มีพื้นรองเท้าที่ป้องกันการลื่นมีพื้นรองเท้าที่ป้องกันการลื่น ใช้ได้กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ เลือกขนาดที่เหมาะสมกับตนเอง ตรวจสอบร่องรอยการฉีดขาด แตก การสึกของพื้นรองเท้าตลอดจนความเสียหายอื่นๆ ดูแลรักษาตามคำแนะนำของผู้ผลิต กระบวนการแลกเปลี่ยนรองเท้า การป้องกันเท้า

  29. เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า วัสดุที่ดีที่สุดก็คือ ยาง ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ ANSI ซึ่งได้แก่ถุงมือยาง วัสดุปูพื้น ผนัง ฝาครอบอุปกรณ์ต่างๆ ถุงเท้าและเสื้อซับใน อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้า

  30. เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่ร่างกายและมืออาจได้รับอันตรายจากสารเคมีที่จะซึมเข้าสู่ผิวหนัง การถูกบาดหรือถลอก หรือการเผาไหม้จากความร้อนหรือสารเคมี เป็นต้น การป้องกันต้องมีความเหมาะสมตามแต่อันตรายที่จะเกิดขึ้น การป้องกันผิวหนังและมือ

  31. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การเกิดแผล อันตรายจากการสัมผัส การทำซ้ำๆ ถูกบาด เจาะ อาการเคล็ดหรือถูกกระแทกจากอุปกรณ์ต่างๆ สัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ สารชีวเคมี กระแสไฟฟ้าหรืออุณหภูมิที่สูงมากๆ การเคลื่อนไหวของมือที่ซ้ำมากๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

  32. ขึ้นอยู่กับประเภทของอันตรายขึ้นอยู่กับประเภทของอันตราย ตรวจสอบกับ MSDS เพื่อศึกษาอันตรายจากสารเคมี ถุงมืออาจไม่จำเป็นสำหรับงานทุกประเภท ซึ่งในบางงานนั้น การใส่ถุงมืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อาการแพ้ ต่อยางไม้สดหรือฝุ่นละออง เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ การเลือกถุงมือ / เครื่องแต่งกาย

  33. ทำมาจากวัสดุที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามไม่มีวัสดุใดที่สามารถป้องกันสารเคมีทุกชนิดได้ อาจใช้ป้องกันสารเคมีชนิดหนึ่งได้ดี แต่อาจเกิดอันตรายหากใช้ป้องกันสารเคมีชนิดอื่น คำแนะนำของโรงงานผู้ผลิตในการป้องกันสารเคมี ควรระมัดระวังการรวมกันของสารเคมี การทำความสะอาดและการเลิกใช้ อนามัยส่วนบุคคล : การทำความสะอาดส่วนบุคคล การเลือกถุงมือ / เครื่องแต่งกาย

  34. ความสามารถในกานป้องกันสารเคมีแต่ละชนิดความสามารถในกานป้องกันสารเคมีแต่ละชนิด • ความสามารถในการป้องกันสารเคมีแต่ละชนิด • วัสดุที่ใช้ทำถุงมือ (NITRILE)—สารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ (ไอโซโพรพานอล)—การเสื่อมสภาพ (E)—ระยะเวลาการเจาะทะลุ (>480 นาที)—อัตราการแทรกซึม (.001) • ระยะเวลาการเจาะทะลุ: คือระยะเวลาระหว่างที่สารเคมีเริ่มสัมผัสพื้นผิวของถุงมือ และ ระยะเวลาที่มีการตรวจพบสารเคมีในถุงมือ โดยทั่วไปจะแสดงไว้โดยเครื่องหมาย “มากกว่า” (>) จากตัวอย่างนี้พบว่า ใช้เวลาทั้งสิ้น 480 นาทีจากนั้นก็หยุดลง และอาจจะแสดงค่านี้ไว้ว่า ND เมื่อไม่มีการตรวจพบสารเคมีนั้นๆ • การเสื่อม: คือการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพอย่างใดอย่างหนึ่งของถุงมือเมื่อสัมผัสกับสารเคมี ซึ่งได้แก่ การพองนูน อ่อนนุ่มลง หดหรือฉีกขาด จากตัวอย่างนี้ มีค่าอยู่ที่ E ซึ่งคือดีมาก หมายความว่าถุงมือชนิดนี้ไม่มีการเสื่อมสภาพหรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่นำมาทดสอบ ทั้งนี้อัตราการเสื่อมสภาพที่ดีไม่ได้เป็นการรับประกันว่าระยะเวลาการเจาะทะลุจะดีไปด้วย • อัตราการแทรกซึม: คือระยะเวลาที่สารเคมีชนิดหนึ่งๆสามารถซึมผ่านถุงมือเข้าไปได้ กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการซึมที่พื้นผิวของถุงมือ ตลอดจนการแพร่กระจายของสารเคมีไปทั่วทั้งถุงมือ และการออกทางผิวด้านในของถุงมือ ทั้งนี้มีหน่วยเป็น pg/cm2/MIN (ไม่โครกรัม/ตารางเซนติเมตร/นาที) ควรมีค่าไม่เกิน LDL หรือ Lower Detection Limit ของอุปกรณ์ จากตัวอย่างนี้ มีค่าเท่ากับ 0.001 แต่บางครั้งอาจแสดงค่าเป็น E หรือ P ซึ่งคือ ดีมาก หรือ ไม่ดี ตามลำดับ

  35. ความหนา—ต้องพิจารณาเรื่องความยึดหยุ่นและความรู้สึก (ของมือ) ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ความคงทน ผ้าซับในและผิวหน้าของถุงมือ การเลือกถุงมือ

  36. เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากเสียงที่มีระดับความดังมาก (8 ชม. TWA> 85 เดซิเบล) แนะนำให้ใช้ในบริเวณที่มีเสียงสูงมากๆ เช่น MER และสำหรับใช้ในขณะที่ปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดเสียงสูง ต้องมี NNR ที่เหมาะสม การป้องกันเสียง

  37. การป้องกันเสียง เป็นอันตรายต่อโครงสร้างที่อ่อนแอของหู ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียประสิทธิภาพการได้ยิน 2 ประเภท ดังนี้ • การสื่อ—ขัดขวางการส่งถ่ายเสียงไปยังหูชั้นใน—ส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด • ประสาทสัมผัส—เกี่ยวกับอวัยวะที่เรียกว่า Corti และเส้นประสาทที่ใช้สำหรับการฟัง—ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ในสถานที่ทำงานนั้น การสูญเสียประสิทธิภาพในการฟังส่วนใหญ่คือการสูญเสียของประสาทสัมผัส

  38. ควรตรวจสอบสภาพของ PPEอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูความเสียหายต่างๆทั้งก่อนและหลังการใช้งาน จะต้องทำความสะอาด PPEก่อนนำไปเก็บ จัดเก็บ PPE อย่างเหมาะสมและหลีกเลี่ยงสภาวะต่างๆที่อาจก่อความเสียหายได้ เช่นความร้อน แสง หรือความชื้น เป็นต้น การดูแลรักษา PPE

  39. หัวหน้าแผนกเป็นผู้จัดหา PPE ให้แก่พนักงาน หากพนักงานไม่มี PPEใช้เมื่อต้องปฏิบัติงาน ให้แจ้งหัวหน้าแผนกทันที พนักงานจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายหรือสูญหายของ PPE พนักงานจะต้องปฏิบัติตามนโยบายการใช้ PPE การรับและการเปลี่ยนPPE

  40. พนักงานต้องใช้PPEให้ถูกต้อง ตามที่ได้รับการฝึกอบรมมาและตามคำแนะนำต่างๆ การปฏิบัติงานส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้PPEแทบทั้งสิ้น การใช้ PPE เป็นข้อกำหนดหนึ่งในการปฏิบัติงาน กรณีพนักงานไม่สามารถใช้ PPE ใดได้ ต้องเลือก PPEชนิดอื่นให้ใช้แทน ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวต้องสามารถป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงานนั้นได้ หรือพนักงานผู้นั้นต้องเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ไป ความรับผิดชอบของพนักงาน

  41. พนักงานไม่มีสิทธิเลิกใช้PPE โดยจะยอมรับความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน พนักงานไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้ ไม่อนุญาตให้พนักงานเข้าไปปฏิบัติงานในสถานที่ที่อาจเกิดอันตรายโดยไม่มีการป้องกันใดๆ PPE มีไว้สำหรับเพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงาน ความรับผิดชอบของพนักงาน

  42. นายจ้างควรแน่ใจว่า พนักงานได้รับและใช้PPE อย่างเหมาะสมถูกต้องแล้ว เมื่อจะเข้าไปปฏิบัติงานในสถานที่ที่เป็นอันตราย การใช้PPEควรเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานของพนักงาน และต้องมีการบังคับใช้ให้เป็นเช่นเดียวกับกฎข้อบังคับอื่นๆ ความรับผิดชอบของนายจ้าง

More Related