1 / 94

รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ วุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.เชียงใหม่ สมาชิกคลังปัญญา จ.แม่ฮ่องสอน

จุดประกายครูจากโครงงานสาระต่างๆเพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับสอนผู้เรียนโดยใช้ Tablet. รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ วุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.เชียงใหม่ สมาชิกคลังปัญญา จ.แม่ฮ่องสอน 43/1 หมู่ 8 ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 มือถือ 089-6353143 อีเมล : kwaokeur@hotmail.com

Download Presentation

รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ วุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.เชียงใหม่ สมาชิกคลังปัญญา จ.แม่ฮ่องสอน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จุดประกายครูจากโครงงานสาระต่างๆเพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับสอนผู้เรียนโดยใช้ Tablet รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ วุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.เชียงใหม่ สมาชิกคลังปัญญา จ.แม่ฮ่องสอน 43/1 หมู่ 8 ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 มือถือ 089-6353143อีเมล : kwaokeur@hotmail.com ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 วันที่ 3,5 กันยายน 2558

  2. หัวข้อเรื่องที่จะบรรยายหัวข้อเรื่องที่จะบรรยาย ความตระหนักของวิทยากรต่องานในหน้าที่ของครู ก่อนบรรยายตามหัวข้อจะเกริ่นเรื่อง “โครงงาน” ก่อน เพราะจะนำ กิจกรรมนี้ไปใช้เป็นสื่อในการสอนให้นักเรียนโดยใช้ Tablet ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา (พ.ศ.2533) จนถึงจุดกำเนิด ของโครงงานบางสาระจาก โรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ.2540 จนมาสู่โครงงานสาระต่างๆใน ปัจจุบัน

  3. จุดประกายครูให้นำโครงงานมาแปลงเป็นรูปสื่อในการสอนจุดประกายครูให้นำโครงงานมาแปลงเป็นรูปสื่อในการสอน นักเรียนโดยใช้ Tablet สรุป

  4. ความตระหนักของวิทยากรต่องานในหน้าที่ของครูความตระหนักของวิทยากรต่องานในหน้าที่ของครู

  5. การสอนให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่สำคัญที่ครูจะต้องเสริมให้กับนักเรียน มิใช่เน้นแต่เนื้อหาเพียงอย่างเดียวกิจกรรมหนึ่งที่ฝึกนักเรียนให้รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม คือ กิจกรรม “โครงงาน”

  6. ก่อนบรรยายตามหัวข้อจะเกริ่นเรื่อง “โครงงาน” ก่อน เพราะจะนำกิจกรรมโครงงานนี้ไปใช้เป็นสื่อในการสอนนักเรียน โดยใช้ Tablet

  7. ข้อแนะนำในการทำโครงงานข้อแนะนำในการทำโครงงาน อยากให้ความมั่นใจกับครูว่า “โครงงานเป็นเรื่องไม่ยาก” โครงงานจะเกิดได้ ครูต้องมีตัวอย่างโครงงานที่ครูสนใจเป็นพิเศษ ประจำตัว แล้วนำมาจุดประกายโดยเล่าให้นักเรียนฟัง โดยใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด ให้นักเรียนเกิดความสงสัย เกิดความอยากรู้ โครงงานต้องเริ่มที่ตัวนักเรียน เกิดจากความสนใจของนักเรียน ครู เป็นเพียงผู้ชี้แนะ นักเรียนคิดหัวข้อโครงงานยังไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ขอให้นักเรียนสนใจว่า อยากจะศึกษาอะไรก็พอ ให้ลองศึกษาขั้นต้นก่อน แล้วค่อยๆทำไป เมื่อทำเสร็จแล้วจึงตั้งชื่อโครงงานภายหลังก็ได้

  8. นักเรียนยังไม่เข้าใจตัวแปร ทักษะ ก็ไม่เป็นไร ศึกษาทดลองไปก่อนแล้วจึงค่อยเรียนรู้ภายหลังก็ได้ ครูควรมีการรวบรวมบทคัดย่อโครงงานต่างๆที่เคยมีนักเรียนทำไว้แล้ว หรือ มีฐานข้อมูลโครงงานเรื่องที่ครูสนใจ ถ้าครูได้สัมภาษณ์นักเรียนที่เป็นต้นคิดโครงงานและได้ทราบเบื้องหน้าเบื้องหลังที่โครงงานดังกล่าวกว่าจะสำเร็จมาได้ ตลอดจนภาพที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน แล้วนำมาเล่า / จุดประกายให้นักเรียนของครูได้อยากที่จะเรียนรู้และลองคิดต่อจากโครงงานนั้นก็จะเกิดเป็นโครงงานใหม่ของนักเรียนขึ้นได้

  9. โครงงาน:การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักเรียนอย่างมีโครงงาน:การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักเรียนอย่างมี หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และต้องสำเร็จรูปในตัว เริ่มตั้งแต่นักเรียนเป็นคนคิดโครงงาน วางแผน ทำการศึกษา อภิปราย และ สรุปผลการศึกษา จากนั้นก็จัดทำรายงาน แผง โครงงาน และ สุดท้ายเป็นการนำเสนอผลงานโครงงานของนักเรียน ต่อที่ประชุม โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา

  10. โครงงานที่ทำกันโดยทั่วไป มี 3 ประเภท ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล ประเภททดลอง ประเภทสิ่งประดิษฐ์

  11. หัวข้อโครงงานของนักเรียนอาจได้จากหัวข้อโครงงานของนักเรียนอาจได้จาก • ความสนใจส่วนตัว • ปัญหาท้องถิ่น • การเล่น • การเข้าค่าย • การสังเกต • ฯลฯ • ปัญหาใกล้ตัว • ภูมิปัญญา • การอ่านหนังสือ วารสาร • โครงงานอื่น • ความคิดสร้างสรรค์ • แบบเรียน

  12. ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา (พ.ศ.2533) จนถึงจุดกำเนิด ของโครงงานบางสาระจาก โรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ.2540 จนมาสู่โครงงานสาระต่างๆในปัจจุบัน

  13. ความเป็นจริงที่ครูควรตระหนักโครงงานทุกเรื่องต้องมีที่มาที่ไป มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง มีทั้งประสบความสำเร็จ ทั้งล้มเหลวระหว่างทำ ที่ทำไป บางทีก็ไม่ได้คิดไว้ก่อน ทำไป คิดไป แต่สุดท้ายก็ผ่านไปได้ และ สำเร็จเป็นโครงงานได้ในที่สุด

  14. โครงงานเรื่อง “แมลงวัน : เครื่องบินของเชื้อโรค” รร.มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม (ป.1) รร.พระหฤทัย เชียงใหม่ (อนุบาล 2) เริ่มทำโครงงานเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2533

  15. แมลงวัน : เครื่องบินของเชื้อโรค

  16. โครงงานเรื่อง “ชนิดของน้ำที่ใช้แช่กับการคายดินของหอยแครง” (รร.พระหฤทัย เชียงใหม่ ชั้นป.1)

  17. การศึกษาชนิดของน้ำที่ใช้แช่กับการคายดินของหอยแครงการศึกษาชนิดของน้ำที่ใช้แช่กับการคายดินของหอยแครง

  18. การทดลองการแตกของฝักต้อยติ่งในน้ำชนิดต่างๆการทดลองการแตกของฝักต้อยติ่งในน้ำชนิดต่างๆ ด.ช.ธนูชัย สมิตะสิริ (ป.3) รร.มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม อ.เมือง เชียงใหม่ นำเสนอในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา วค.นครสวรรค์ (พ.ศ.2535)

  19. ที่มาของโครงงาน น้ำทำให้ฝักต้อยติ่งแตก แต่พอนำต้นที่มีฝักต้อยติ่งไปใส่ไว้ใน แอลกอฮอล์ 95 % ปรากฏว่า ฝักต้อยติ่งไม่แตก สงสัยว่า ถ้าเอาฝักต้อยติ่งไปแช่ในน้ำอย่างอื่น ฝักต้อยติ่งจะ แตกหรือไม่ ?

  20. โครงงาน “เทคนิคการทำไอศกรีมสมุนไพรอย่างง่าย” อาจารย์ที่ปรึกษา อ.จินตนา โม้ทอง อ. จินตนา โฉมจังหรีด อ. ประทวน สงฆ์สระน้อย โรงเรียนจตุคามวิทยาคม ต. ดอน อ. ปักธงชัย จ. นครราชสีมา 30150 รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานการประกวดโครงงานของสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ ดช. ถาวร โฉมเกษม ป.3 ดช. อภิศักดิ์ ภาบุตระ ป.3 ดช. จตุพร ทันคง ป.3

  21. ที่มาของโครงงาน • นักเรียนได้มีโอกาสเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ สนใจฐานการทำไอศกรีมเป็นพิเศษ • สังเกตว่า นักเรียนบางคนทำได้ 1 แท่ง แต่บางคนทำได้หลายแท่ง จึงสงสัยว่านักเรียนแต่ละคนอาจใช้วิธีทำไอศกรีมต่างกัน • ปัจจุบันมีผู้สนใจนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ตะไคร้ กระเจี๊ยบ ใบเตย มะนาว จึงสนใจนำมาเป็นส่วนผสมของไอศกรีมด้วย

  22. วัตถุประสงค์ เพื่อหาเทคนิคในการทำไอศกรีมสมุนไพรอย่างง่าย

  23. วิธีศึกษา 1) การเตรียมน้ำสมุนไพรแต่ละชนิด ได้แก่ 1.1. น้ำตะไคร้ (2 ต้น) 1.2. น้ำกระเจี๊ยบ (5 ดอก) 1.3. น้ำใบเตย (2 ใบ) 1.4. น้ำมะนาว (2 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับน้ำ 500 ลบ.ซม. ใส่หม้อตั้งไฟ หลังจากน้ำเดือด 10 นาทีเติมน้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ แล้วต้มต่ออีก 10 นาที ยกลงเท ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น

  24. 2) วิธีทำไอศกรีมวิธีต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 วิธี วิธีที่ 1 วิธีเอามือจับหลอดทดลอง แล้วใช้แท่งแก้วคน วิธีที่ 2 วิธีจับหลอดทดลองคน วิธีที่ 3 วิธีจับหลอดทดลองคน พร้อมกับใช้แท่งแก้วคน วิธีที่ 4 วิธีตั้งหลอดทดลองทิ้งไว้เฉยๆ 3) แต่ละวิธี จะทดลองกับน้ำสมุนไพรแต่ละชนิดจำนวน 4 ชนิด 4) จับเวลาที่ใช้ในการแข็งตัวของไอศกรีมผสมน้ำสมุนไพรแต่ละชนิด 5) นำความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการทำไอศกรีมเผยแพร่ให้เพื่อนๆ พี่

More Related