1 / 31

โครงการ โรงเรียน คุณภาพประจำ ตำบล ตามนโยบาย “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ ”

โครงการ โรงเรียน คุณภาพประจำ ตำบล ตามนโยบาย “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ ”. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เป้าหมายโครงการ. เชิงคุณภาพ.

hearne
Download Presentation

โครงการ โรงเรียน คุณภาพประจำ ตำบล ตามนโยบาย “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามนโยบาย “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  2. เป้าหมายโครงการ เชิงคุณภาพ 1) โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการทางการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน 2) นักเรียนในตำบลได้รับโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท 3) โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น เชิงปริมาณ โรงเรียนจากทุกตำบลในประเทศไทย ตำบลละ 1 - 2 โรงเรียน เพื่อเข้ารับการพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

  3. 1 การสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ และรายได้ (มท./พม.) 2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด (ปปส.) 3 การลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน (มท.) แผน ตำบล มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน 4 การลด/ป้องกันปัญหาอาชญากรรม (ตำรวจ/มท.) 5 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มท.) การสร้างความรักความสามัคคีปรองดอง ความรักชาติ และความภูมิใจในชาติ (มท.) 6 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในตำบล (ทส.) 7 8 การพัฒนาการเกษตรระดับตำบล (กษ) 9 การส่งเสริมสุขภาวะเพื่อตำบลเข้มแข็ง (สธ.) 10 โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (ศธ.) 11 หนึ่งตำบลหนึ่งกีฬา (กก.)

  4. แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)

  5. เป็นโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มีความพร้อมเข้าร่วมพัฒนา เป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนในอนาคตได้ หลักเกณฑ์การคัดเลือก เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคม และการสื่อสารสะดวก เป็นโรงเรียนที่มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาโรงเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป็นโรงเรียนที่ได้รับการยอมรับและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เป็นโรงเรียนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ยินดีให้ความร่วมมือและการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การบริหารส่วนภูมิภาค และศึกษาธิการจังหวัด มีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรอง โรงเรียนผ่านกระบวนการประชาคม การพิจารณา กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบ

  6. คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลคณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับตำบล คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับตำบล แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) คณะกรรมการคัดเลือก 3ระดับ คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับอำเภอ คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับอำเภอ คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับจังหวัด คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับจังหวัด

  7. ตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ) โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก ให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จึงเปรียบเสมือนการได้รับโอกาส การยกย่องเชิดชูเกียรติยศ และความรุ่งโรจน์ ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในระดับตำบลมีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษา ตามนโยบาย 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยจะได้รับการส่งเสริมความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร การจัดการสถานศึกษา ของภาคีเครือข่ายที่เปรียบเสมือนดาว 5 ดวง ซึ่งเป็นตัวแทนของ เอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ตลอดจนมีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทย ให้มีความมั่นคงที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

  8. ตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ) ดาว 5 ดวง หมายถึง โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเป็นโรงเรียนห้าดาว ที่เกิดจากความร่วมมือของ เอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน โรงเรียนและเลข 1 อยู่ตรงกลางหมายถึง โรงเรียน 1 ตำบล ที่มีความมั่นคง มีความพร้อมที่จะให้บริการทางการศึกษา ตามนโยบายที่ว่า 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ มงกุฎ หมายถึง เกียรติยศ ความเป็นที่ 1 ความเป็นเลิศ และชัยชนะ อย่างมีคุณภาพ หนังสือลายธงชาติ หมายถึง การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ องค์ความรู้ ความเป็นไทย มีความอ่อนน้อมพร้อมที่จะพัฒนาประเทศสู่ความเจริญรุ่งเรือง ช่อมะกอก หมายถึง ชัยชนะและความสำเร็จ ความเจริญงอกงาม ด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา

  9. พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ MOU กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  10. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. เสนอแนะแนวทางการดำเนินการ แนวทางการแก้ไขปัญหา • 2. ส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานและร่วมติดตามการปฏิบัติงาน • 3. สนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณ • 4. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา • 5. ส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือ เพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

  11. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1. ส่งเสริม สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านส่งเสริมการศึกษา 2. ส่งเสริม สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ขององค์กร และการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน 3. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม กระทรวงมหาดไทย *** ส่งเสริม สนับสนุนภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ***

  12. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1. สนับสนุนด้านเทคโนโลยี ด้านดิจิทัลสื่อดิจิทัล และการสื่อสารรวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพอินเทอร์เน็ต 2.สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเครื่องมือ สื่อรูปแบบต่างๆ 3.สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล และการถ่ายทอดองค์ความรู้ 4. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดแหล่งเรียนรู้ รวมถึงการฝึกอบรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  13. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านสุขภาพและโภชนาการ • 2. สนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือผู้มีความต้องการพิเศษ • 3. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพขององค์กร และการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health Literacy) กระทรวงสาธารณสุข

  14. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและบริเวณโดยรอบโรงเรียน • 2. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ขององค์กร และการจัดแหล่งเรียนรู้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  15. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านพลังงาน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ บุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์ • 2. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ขององค์กร และการจัดแหล่งเรียนรู้

  16. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมปัญหาความต้องการพื้นฐานต่างๆ • 2. วางแผนการขับเคลื่อนแผนพัฒนา มาตรการ แนวทางการดำเนินการการแก้ไขปัญหารวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ติดตามการปฏิบัติงาน • 3. ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ และร่วมพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้เชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • 4. ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาทักษะที่สำคัญและทักษะจำเป็นของนักเรียน ครู และผู้บริหาร • 5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ • 6. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการพัฒนาโรงเรียน • 7. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสื่อและนวัตกรรมด้านการบริหารและด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นคลังความรู้ • 8. ส่งเสริมสนับสนุนการถอดบทเรียนการพัฒนาและการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  17. คณะกรรมการ ขับเคลื่อนโครงการ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ด้านพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพทางการจัดการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และแผนงานงบประมาณ ด้านแผนงานงบประมาณ การเงิน การคลัง และสินทรัพย์ ด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ด้านพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้านวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จิตสาธารณะ ด้านออกแบบ กราฟิก การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ด้านพัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชน สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ คณะกรรมการอำนวยการ ด้านพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคตและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาค ฝ่ายเลขานุการ

  18. ประชาชนจะได้อะไรจากโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ” ตอบโจทย์การพัฒนาระดับภูมิภาค ตอบโจทย์การพัฒนาในโรงเรียน ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ 1. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง 2. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 3.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 4. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 5. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 6. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 7. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 8. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 9. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 10. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 11.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 12. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 13. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 14. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 15. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 16. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 1. ความเป็นพลเมืองดี 2. พัฒนาการทางสติปัญญา 3. ความฉลาดทางอารมณ์ ทัศนคติที่ดี 4. ทักษะชีวิต ทักษะผู้เรียนในอนาคต 5. พัฒนาการด้านร่างกายสมวัย 6. ภาษาและการสื่อสาร อย่างน้อย 2 ภาษาไทย - อังกฤษ 7. จบการศึกษา-ประกอบอาชีพได้ (ได้รับการแนะแนวถูกต้องและรอบด้าน) 8. เด็กเก่ง ICT 9. โครงงาน STEM การเรีนยนรู้ผ่านกิจกรรมอิเลคทรอนิกส์ FabricationLab Coding ฯลฯ 1. อยากให้โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเป็นอย่างไร 2. อยากเห็นผู้บริหารโรงเรียนเป็นอย่างไร 3. อยากเห็นครูเป็นอย่างไร 4. อยากเห็นนักเรียนเป็นอย่างไร (ระหว่างเรียน และเมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนนี้ไปแล้ว) เก็บข้อมูล : จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่า และนักเรียนปัจจุบัน เอกชนบ้านวัด รัฐ โรงเรียน

  19. กลุ่มที่ 1 ด้านพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพทางการจัดการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และแผนงานงบประมาณ (สนผ. สนก.) มีหน้าที่ 1.จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การบริหารงบประมาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทั้งโรงเรียน 2.ผู้บริหาร ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้โดยง่าย 3. สนับสนุนข้อมูลสารสนเทศในการขับเคลื่อนโครงการ 4. จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนพัฒนาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอื่นๆ 5. จัดทำข้อเสนอการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณด้านการจัดการศึกษา

  20. กลุ่มที่ 2 ด้านพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา (สพค. สนก.) มีหน้าที่ • 1. จัดหลักสูตรและอบรมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา พัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็น • 2. จัดหลักสูตรและอบรมครู และบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มสมรรถนะในการจัดการเรียน สร้างแรงจูงใจพัฒนาทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ

  21. กลุ่มที่ 3 ด้านวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จิตสาธารณะ (สวก. สนก.) มีหน้าที่ • 1. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดกรอบงาน ด้านวิชาการ จัดทำเอกสาร คู่มือแนวทางการดำเนินงาน • 2. ส่งเสริมและพัฒนาการวัดและประเมินผลคุณภาพการศึกษา • 3. ให้บริการเครื่องมือวัดและประเมินผลคุณภาพการศึกษา • 4. ประเมินคุณภาพของผู้เรียนในระดับชาติ ทั้งด้านความรู้ และด้านคุณลักษณะหรือค่านิยม • 5. ประสานความร่วมมือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • 6. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการถอดบทเรียน (Best Practice) • 7. ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนที่ส่งเสริม • ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ

  22. กลุ่มที่ 3 ด้านวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จิตสาธารณะ (สวก. สนก.) มีหน้าที่ • 8. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Active Learning, Critical Thinking) จัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอน และการจัดทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นพัฒนาจิตสาธารณะเพื่อการบริการชุมชนและสังคม • 9. ส่งเสริมและพัฒนาคลังความรู้ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • 10. ยกระดับและพัฒนาหลักสูตร – เทคนิค – วิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ • 11. พัฒนาความสามารถด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆในสถานศึกษา • 12. วิจัยและพัฒนาสื่อต้นแบบและนวัตกรรมสื่อการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย • 13. พัฒนาระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายใน ระบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬา เครือข่ายการเรียนรู้และการวิจัยทางการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาระบบและมาตรฐานการแนะแนว

  23. กลุ่มที่ 4 ด้านพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคตและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาค(สทร.สนก.) มีหน้าที่ • 1. ค้นคว้าและวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ • 2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบ ICT • 3. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการเรียนการสอน • 4. วิจัยและพัฒนาต้นแบบการใช้สื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร เทคโนโลยี • 5. พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อความเสมอภาคในการใช้และการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • 6. สนับสนุนการดำเนินงานด้านสื่อเทคโนโลยี • 7. ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตามและประเมินผลการนำรูปแบบและนวัตกรรมด้านสื่อเทคโนโลยี

  24. กลุ่มที่ 5 ด้านพัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชน สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (สพว. สกก. สมป. สนผ. สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผนการดำเนินงานการศึกษาวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม • 2. จัดทำกรอบการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ รูปแบบและนวัตกรรม สร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนรวม • 3. เผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม • 4. ประสานเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรทุกภาคส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุนคุณภาพการศึกษา • 5. ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจาก • ภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

  25. กลุ่มที่ 5 ด้านพัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชน สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (ศพว. สกก. สมป. สนผ. สนก.) มีหน้าที่ • 6. กำหนดนโยบายด้านมาตรการจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่นและชุมชน ในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา • 7. เปิดพื้นที่ให้นักวิจัยและผู้นำรุ่นใหม่ สามารถพัฒนาและขยายผลงานวิจัย • 8. ดำเนินการนำร่องในการนำรูปแบบและนวัตกรรมไปใช้ในโรงเรียน • 9. แสวงหาความร่วมมือหรือทุน เพื่อการพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษา

  26. กลุ่มที่ 6ด้านแผนงานงบประมาณ การเงิน การคลัง และสินทรัพย์ (สคส. สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบริหารสินทรัพย์ • 2. ประสานความร่วมมือด้านการเงิน การจัดการเงินสนับสนุน • 3. ตรวจสอบและจัดระบบการควบคุมการใช้จ่ายเงิน • 4. ดำเนินการเกี่ยวกับเครือข่ายข้อมูลทางการเงิน การคลัง การพัสดุ

  27. กลุ่มที่ 7 ด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (สตผ. ศนฐ. สนก.) มีหน้าที่ • 1. นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และสรุปรายงานผลพร้อมทั้งเผยแพร่ผลการดำเนินงานต่อสาธารณชน • 2. เสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการ • 3. ส่งเสริม และประสานการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

  28. กลุ่มที่ 8ด้านออกแบบ กราฟิก การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ (สอ. สทร. สนก.) มีหน้าที่ • 1. พิจารณาวางแผนออกแบบ กราฟิก การประชาสัมพันธ์ และกำหนดรูปแบบการประชาสัมพันธ์ • 2. ประสานติดตามรวบรวมข้อมูลเพื่อการแถลงข่าว/การจัดทำข่าว รับรองสื่อมวลชน พร้อมทั้งเผยแพร่ข่าวทางสื่อต่างๆ • 3. บันทึกภาพนิ่ง และภาพวิดีโอของโครงการ • 4. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินโครงการ

  29. กลุ่มที่ 9ด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร. สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผนการดำเนินงานด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ • 2. จัดทำข้อเสนอนโยบาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและนิติการ • 3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่น • 4. เสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ • 5. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ

  30. กลุ่มที่ 10 ฝ่ายเลขานุการ(สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผน กำหนดกรอบงาน ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย กำกับ ติดตามคณะกรรมการด้านต่างๆ และรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ • 2. ประสานการดำเนินงานกับคณะกรรมการทุกฝ่ายในการดำเนินการตามนโยบาย • 3. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการอำนวยการมอบหมาย

More Related