1 / 24

วัตถุประสงค์ : โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ

การพัฒนาโรงเรียนสู่ โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ โดย... น.ส.วรลักษณ์ คงหนู สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาระบบและกลไก เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย สสส. วันที่ 22 – 23 เมษายน 2553 ณ จังหวัดเชียงใหม่ / ลำปาง. วัตถุประสงค์ : โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ.

hazina
Download Presentation

วัตถุประสงค์ : โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการโดย...น.ส.วรลักษณ์ คงหนูสำนักโภชนาการ กรมอนามัยศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย สสส.วันที่ 22 – 23 เมษายน 2553ณ จังหวัดเชียงใหม่ / ลำปาง

  2. วัตถุประสงค์ : โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ • เพื่อศึกษาการบริหารจัดการบูรณาการงานโภชนาการใน • โรงเรียนนำร่องให้เป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice Model) • ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการที่มีประสิทธิภาพยั่งยืน • เพื่อให้ได้ข้อเสนอนโยบายระดับองค์กร / ท้องถิ่น และผลักสู่ • นโยบายระดับชาติ • กลุ่มเป้าหมาย : เด็กนักเรียนอายุ 6 – 14 ปีในโรงเรียนนำร่อง

  3. Ultimate Goal ปี 2555 • แนวโน้มของเด็กวัยเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีภาวะโภชนาการสมวัยเพิ่มขึ้น Outcome ปี 2554 - 2555 • เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์ • มีนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนประถมศึกษา • ระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ผ่านกระบวนการยกระดับโรงเรียนให้เป็น • แหล่งเรียนรู้การจัดการที่ดีด้านอาหารและโภชนาการ Output ปี 2553 - 2554 • Best Practice Model การพัฒนาสู่โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ • ข้อเสนอนโยบายด้านอาหารและโภชาการในโรงเรียนประถมศึกษา • ระดับองค์กร / ท้องถิ่น เพื่อผลักสู่นโยบายระดับชาติ

  4. (ร่าง) นิยาม : โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ • โรงเรียนที่มีการดำเนินงานงานอาหารและโภชนาการ ครอบคลุม 5 • องค์ประกอบ ดังนี้ • องค์ประกอบที่ 1 : การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม • องค์ประกอบที่ 2 : การบริหารจัดการอาหารโรงเรียนที่มีคุณภาพและ • ได้มาตรฐานโภชนาการ • องค์ประกอบที่ 3 : การจัดปัจจัยเอื้อต่อการเรียนรู้ด้านโภชนาการในโรงเรียน • องค์ประกอบที่ 4 : การติดตามประเมินผลและการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • องค์ประกอบที่ 5 : การบริหารจัดการที่ทำให้เกิดโรงเรียนที่พึงประสงค์ • ด้านโภชนาการ • ผ่านกระบวนการถอดบทเรียนด้านการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดี • ในการ บูรณาการงานอาหารและโภชนาการสู่งานประจำแบบมีส่วนร่วม • จากทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

  5. Roadmap : การพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ • Preparatory plan • คัดเลือกโรงเรียนนำร่อง • ประสานผู้บริหาร/ต้นสังกัด/โรงเรียน • ประชุมบูรณาการ • คณะทำงาน • ครูแกนนำ/ผู้ปกครอง • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • (ศธ/สธ/เกษตร/อบต.ฯลฯ) สื่อสารสาธารณะ • - ประกาศนโยบาย, กำหนดวิสัยทัศน์ • พันธกิจ แผนงาน / โครงการ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ เก็บข้อมูลพื้นฐาน (Situation analysis) นิเทศ ติดตาม ประเมิน ผล / เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านอาหารและโภชนาการ (ผู้บริหาร ครู แม่ค้า แม่ครัว เครือข่ายผู้ปกครอง) การบริหารจัดการสู่ต้นแบบ พัฒนาคุณภาพอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม พัฒนาสิ่งแวดล้อม ใน-รอบรั้วโรงเรียน บูรณาการความรู้อาหารและโภชนาการสู่ 8 กลุ่มสาระ พัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ ถอดบทเรียน - บริหารจัดการ - นวัตกรรม Best Practice Model ข้อเสนอนโยบาย ระดับองค์กร / ท้องถิ่น เพื่อผลักสู่นโยบายชาติ

  6. การบูรณาการความรู้อาหารและโภชนาการ สู่ 8 กลุ่มสาระ ชุดการเรียนรู้กลาง 7 core content ลดหวาน มัน เค็ม กินผัก ผลไม้ ป้องกันโรคอ้วน ฉลาก ฉลาดเลือก ออกกำลังกาย มาตรฐานอาหาร(โภชนบัญญัติและ ธงโภชนาการ) การเฝ้าระวัง การเจริญเติบโตของเด็ก

  7. (ร่าง) เกณฑ์การประเมินโรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ • การดำเนินงานอาหารและโภชนาการครอบคลุม 5 ด้าน ดังนี้ • องค์ประกอบที่ 1 :การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม • 1.1 นำกิจกรรมการเรียนการสอนลงสู่หลักสูตรสถานศึกษา โดยบูรณาการประเด็นคุณภาพอาหารและโภชนาการ (เน้น ผัก ผลไม้ ลดหวาน มัน เค็ม ฉลากโภชนาการ และการออกกำลังกาย) ไม่น้อยกว่า 4 กลุ่มสาระ • 1.2 จัดทำชุดความรู้และคู่มือครูด้านอาหารและโภชนาการ • 1.3 จัดทำสื่อและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านอาหารและโภชนาการ เช่น คูปองเปลี่ยนพฤติกรรมดื่มน้ำหวาน เป็นน้ำสะอาด • 1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมให้เครือข่ายผู้ปกครองและหรือชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน เช่นจัดทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆที่เหมาะสม

  8. องค์ประกอบที่ 2 :การบริหารจัดการอาหารโรงเรียนที่มีคุณภาพและ ได้มาตรฐานโภชนาการ 2.1 กำหนดประเภทและคุณภาพของอาหาร ขนม และเครื่องดื่มในโรงเรียน ตามหลักโภชนาการ โดยเน้น “ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มผัก ผลไม้” เช่น ส่งเสริมให้มีร้านขายผลไม้แทนขนมกรุบกรอบ 2.3 ใช้โปรแกรมอาหารกลางวัน เพื่อจัดอาหารให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและ ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า 2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดอาหารมื้ออื่น เช่น มื้อเช้า มื้อเย็น ตามความ จำเป็นสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส 2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนเชิดชูเกียรติผู้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมโภชนาการ โรงเรียนให้ได้มาตรฐาน เช่น ผู้ประกอบการ ชุมชน ฯลฯ

  9. องค์ประกอบที่ 3 : การจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรม โภชนาการที่พึงประสงค์ และการออกกำลังกาย 3.1 สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของเด็ก นักเรียน เช่น มีเสียงตามสาย นิทรรศการ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและ เชื่อมโยงการเรียนรู้เสริมหลักสูตร 3.2 จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย สำหรับเด็กนักเรียนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยง 3.3 ร้านอาหารในโรงเรียนไม่มีการจัดวางชุดเครื่องปรุงรส 3.4 จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ และการสร้างสื่อ 3.5 การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมหลักสูตร

  10. 3.6 การมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมนักเรียน เช่น จัดรณรงค์การกินผักผลไม้ (ขอตัดออกเพราะกับซ้ำข้อ 1.4 องค์ประกอบที่ 1) 3.7 ส่งเสริมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันและการเรียนรู้ ที่นำไปสู่จาน อาหารกลางวันของนักเรียน เช่น เลี้ยงปลา ปลูกผัก ฯลฯ 3.9 ส่งเสริมให้ผู้นำนักเรียน (เช่น สภานักเรียน) และนักเรียนมีส่วนร่วมในการ จัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ

  11. องค์ประกอบที่ 4 :การติดตามประเมินผลและการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปฯ เพื่อประเมินภาวะ โภชนาการเด็กนักเรียน 4.2 ประเมินตนเองในการดำเนินงานอาหารโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ 4.3 สร้างบรรยากาศการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ และการคัดกรอง เด็กกลุ่มเสี่ยงแบบครบวงจร โดยอยู่ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  12. องค์ประกอบที่ 5 : การบริหารจัดการที่ทำให้เกิดต้นแบบที่ดี ด้านโภชนบูรณาการในโรงเรียน หรือโรงเรียน ที่พึงประสงค์ด้านอาหารและโภชนาการ 5.1 ด้านบุคลากรในโรงเรียน 5.1.1 ผู้บริหารโรงเรียน และครูที่รับผิดชอบงานอาหารโรงเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้มีความรู้ด้านโภชนาการ จนสามารถบริหารจัดการให้เกิดการส่งเสริมโภชนาการโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบการพัฒนางานโภชนาการในโรงเรียน อันประกอบด้วย ครูอื่นๆ นักเรียน แม่ครัว ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง

  13. 5.2. ด้านระบบ / กลไกที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา 5.2.1 นำข้อมูลจากการนิเทศ การประเมินผล ทั้งภายใน ภายนอก และการเฝ้า ระวังทางโภชนาการ มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนางาน 5.2.2 มีเครื่องมือการประเมินตนเองด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน และ แนวทางในการผลักดันให้ถูกใช้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 5.2.3 ให้ผู้บริหารโรงเรียนรายงานการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน ในที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาทราบ 5.2.4 ดำเนินการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการสร้างการ มีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

  14. 5.3 ด้านนโยบาย 5.3.1 ผลักดันให้เกิดนโยบายการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน เพื่อเด็กเติบโตสมวัย 5.3.2 สร้างกลไกการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ที่นำไปสู่การมีผู้รับผิดชอบในทุกระดับ 5.3.3 มีการติดตาม และประเมินผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

  15. 2. มีบุคลากรที่สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ “การจัดการอาหารและ โภชนาการในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพยั่งยืน” ได้ 3. ผ่านกระบวนการถอดบทเรียน และมีการนำบทเรียนไปประยุกต์ใช้ เพื่อ พัฒนาต่อยอด และขยายผลได้ 5. มีโครงการพัฒนางานและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง 6. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ฝึกอบรม ด้านการจัดการอาหาร และโภชนาการในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

  16. การติดต่อ ประสานงาน นายสง่า ดามาพงษ์ และ น.ส.วรลักษณ์ คงหนู ผู้จัดการศูนย์ประสานงานโครงการโภชนาการสมวัย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 02 590 4333 , 02 590 4315 มือถือ : 089 815 6502 (คุณวรลักษณ์) Fax 02 590 4333 E-mail : food2552@gmail.com wkongnoo@gmail.com Web โครงการ : www: pnic.go.th

More Related