1 / 15

สรุป

สรุป. BOD (Biochemical Oxygen Demand) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ (Microorganism) ในขณะที่สลายสารอินทรีย์ หรือใช้สารอินทรีย์เป็นอาหารภายใต้ภาวะที่มีอากาศ (Aerobic Condition)

havyn
Download Presentation

สรุป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุป • BOD (Biochemical Oxygen Demand) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ (Microorganism) ในขณะที่สลายสารอินทรีย์ หรือใช้สารอินทรีย์เป็นอาหารภายใต้ภาวะที่มีอากาศ (Aerobic Condition) • COD (Chemical Oxygen Demand) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่ต้องการทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ภายใต้ภาวะสาร Strong oxidizing และกรดเข้มข้น *** BOD และ COD เป็นตัวชี้วัดความต้องการของออกซิเจนของน้ำ

  2. สรุป ตัวอย่างน้ำเสียที่มีค่า COD = 100 mg/L ค่า BOD โดยประมาณ= COD = 100 = 50 mg/L 2 2

  3. สรุป • DO (Dissolved Oxygen) คือ การหาปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายอยู่ในน้ำ เป็นลักษณะสำคัญที่จะบอกให้ทราบว่าน้ำนั้นมีความเหมาะสมเพียงใดต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ และแนวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในน้ำว่าเป็นประเภทใช้ออกซิเจนอิสระ (Aerobic) หรือไม่ใช้ออกซิเจนอิสระ (Anaerobic)

  4. สรุป • ปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายในน้ำมีความสัมพันธ์กับ 1. อุณหภูมิของน้ำ 2. ความดันบรรยากาศ 3. สิ่งเจือปนในน้ำ (Impurities) • ค่า DO มีความสำคัญในการที่จะรักษาสภาวะของน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ คือให้มี DO ปริมาณพอเหมาะ เช่น ไม่น้อยกว่า 4 มก./ลิตร เป็นต้น

  5. สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี • เหล็กและแมงกานีส ธาตุทั้งสองถ้ามีในน้ำมากเกินไปทำให้เกิดปัญหาในการใช้เพื่อการซักล้างและทำให้เกิดกลิ่น, รส ที่ไม่พึงประสงค์ในอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้น ปริมาณเหล็กและแมงกานีสจึงกำหนดไว้เป็น 0.5 และ 0.3 มก./ลบ.เดซิเมตร ตามลำดับ

  6. สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ทองแดงและสังกะสี ธาตุทั้งสองไม่มีโทษต่อร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ในทางโภชนาการ แต่ถ้ามีมากทำให้รสของน้ำไม่ชวนดื่ม จึงได้มีการกำหนดค่าทองแดงและสังกะสีไว้เป็น 1.0 และ 3.0 มก./ลบ.เดซิเมตร ตามลำดับ

  7. สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • คลอไรด์และซัลเฟต เกลือคลอไรด์ถ้าละลายอยู่ในน้ำมากจะทำให้เกิดรสเค็มไม่ชวนดื่ม ส่วนเกลือซัลเฟตที่ละลายอยู่ในน้ำจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการท้องร่วงขึ้นได้ โดยเฉพาะหากมีแมกนีเซียมรวมอยู่ด้วย โดยทั่วไปซัลเฟตมีผลทำให้เกิดรสได้น้อยกว่าคลอไรด์ • การกำหนดมาตรฐานน้ำบริโภคจึงกำหนดให้น้ำบริโภคมีปริมาณคลอไรด์และซัลเฟตอยู่ไม่เกิน 250 และ 400 มก./ลบ.เดซิเมตร ตามลำดับ

  8. สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ความกระด้าง ไม่มีผลต่อสุขภาพอนามัยมากนัก แต่มีผลต่อการซักล้างทำให้เปลืองสบู่และทำให้เกิดตะกรันในหม้อต้มน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้น้ำมีรสเฝื่อน จึงกำหนดค่าความกระด้างไว้เป็น 300 มก./ลบ.เดซิเมตร

  9. สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ไนเตรท มีพิษต่อร่างกายหากมีอยู่ในปริมาณสูงในน้ำบริโภค โดยเฉพาะในเด็กทารกซึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน เกิดอาการตัวเขียวและอาจทำให้เด็กถึงแก่ความตายได้ จึงกำหนดค่าไนเตรท (ในรูปของไนโตรเจน) มีค่าไม่เกิน 10 มก./ลบ.เดซิเมตร

  10. สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • ฟลูออไรด์ โดยธรรมชาติ ฟลูออไรด์จะมีอยู่ในน้ำและอาหารบางชนิดในปริมาณเล็กน้อย ถ้ามีอยู่ในน้ำบริโภคในระดับเกินกว่า 1.5 มก./ลบ.เดซิเมตร อาจมีผลทำให้ฟันผิดปกติ และหากมีอยู่ในระดับ 3.0 – 8.0 มก./ลบ.เดซิเมตร จะมีผลทำให้กระดูกฝิดปกติ • ค่ามาตรฐานจึงกำหนดค่าฟลูออไรด์ไม่เกินกว่า 1.0 มก./ลบ.เดซิเมตร

  11. สรุป คุณภาพน้ำทางเคมี (ต่อ) • คลอรีนอิสระตกค้าง สำหรับน้ำบริโภคที่มีการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคควรที่จะให้มีปริมาณคลอรีนอิสระตกค้างอยู่ในระหว่าง 0.2 – 0.5 มก./ลบ.เมตร หรือตามที่หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น • ตัวอย่าง เช่น น้ำประปาที่มีท่อส่งยาวอาจต้องเติมคลอรีนให้มีคลอรีนเหลืออยู่ในท่อต้นทางประมาณ 1 มก./ลิตร เพื่อให้ปลายท่อมีคลอรีนไม่น้อยกว่า 0.2 มก./ลิตร หรือกรณีที่เกิดโรคระบาดอาจเติมคลอรีนเป็น 2 เท่าของปกติก็ได้

  12. สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ • สารหนู จากข้อมูลทางด้านสุขภาพอนามัยพบว่าปริมาณสารหนูขนาด 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร เป็นเกณฑ์ที่ปลอดภัย จึงกำหนดค่าสารหนูในน้ำบริโภคไม่ควรเกิน 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร • แคดเมียม จัดเป็นสารพิษที่มีความเป็นพิษสูงแม้ได้รับเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อย ดังนั้น จึงกำหนดค่าของแคดเมียมไว้ไม่เกิน 0.005 มก./ลบ.เดซิเมตร

  13. สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ (ต่อ) • โครเมี่ยม เนื่องจากโครเมี่ยม มีอันตรายต่อคนมาก จึงกำหนดค่าโครเมี่ยมไว้ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร • ไซยาไนด์ จัดว่าเป็นสารพิษที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์อย่างเฉียบพลัน ดังนั้น จึงได้กำหนดมาตรฐานของไซยาไนต์ไว้ไม่เกิน 0.5 มก./ลบ.เดซิเมตร

  14. สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ (ต่อ) • ตะกั่ว เป็นสารพิษที่เกิดโทษอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารก เด็ก และหญิงมีครรภ์ จะไวต่อสารนี้มาก ดังนั้น ในน้ำบริโภคจึงกำหนดให้มีระดับตะกั่วอยู่ได้ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.เดซิเมตร

  15. สรุป คุณภาพน้ำทางสารพิษ (ต่อ) • ปรอท เป็นสารพิษสูงและไม่มีประโยชน์ใด ๆ ต่อร่างกาย ปรอทมีผลทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท ดังนั้นจึงกำหนดให้น้ำบริโภคมีปรอทอยู่ไม่เกิน 0.001 มก./ลบ.เดซิเมตร • ซิลิเนียม เป็นสารที่มีพิษคล้ายสารหนู มีผลต่อระบบประสาท อาจมีอาการไอ อาเจียน เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ ค่าซิลิเนียมในน้ำบริโภคไม่ควรเกิน 0.01 มก./ลบ.เดซิเมตร

More Related