1 / 53

คอนกรีตสด ( Fresh Concrete )

คอนกรีตสด ( Fresh Concrete ). สมาชิกในกลุ่ม. นางสาวประกายดาว สังข์ทอง 5210110329 นางสาวจุฑารัตน์ จอมประชา 5210110101 นายนิพิฐพนธ์ มธุรพฤกษ์ 5201011295 นางสาวกนกวรรณ ยอดทอง 5210110004. คอนกรีตสด ( Fresh Concrete ).

harlow
Download Presentation

คอนกรีตสด ( Fresh Concrete )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คอนกรีตสด(Fresh Concrete)

  2. สมาชิกในกลุ่ม • นางสาวประกายดาว สังข์ทอง 5210110329 • นางสาวจุฑารัตน์ จอมประชา 5210110101 • นายนิพิฐพนธ์ มธุรพฤกษ์ 5201011295 • นางสาวกนกวรรณ ยอดทอง 5210110004

  3. คอนกรีตสด (Fresh Concrete) • คอนกรีตสด คือ คอนกรีตที่คงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะแข็งตัวในเวลาต่อมา และมีความข้นเหลวเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานหล่อเป็นคอนกรีตแข็งตัวแล้วที่มีรูปร่าง และคุณสมบัติตามต้องการได้

  4. คุณสมบัติของคอนกรีตสดคุณสมบัติของคอนกรีตสด คอนกรีตสด มีความสำคัญมาก แม้ว่าคอนกรีตสดจะเป็นเพียงสภาพชั่วคราวของคอนกรีตก่อนการแข็งตัว แต่เนื่องจากคุณสมบัติของคอนกรีตแข็งตัวแล้วที่ดีได้แก่ รูปร่างและความสวยงาม กำลัง การเปลี่ยนรูปร่าง ความต้านทางการซึมผ่านของน้ำ และความอดทน เหล่านี้เป็นผลมาจากการอัดแน่นคอนกรีตสดที่ดี รวมถึงการลำเลียง การเท และการแต่งผิวหน้า ล้วนแต่เป็นผลมาจากคุณสมบัติ “ความสามารถในการเทได้” ของคอนกรีตสดที่ดีทั้งสิ้น

  5. คอนกรีตสดที่ดี จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ได้แก่ มีเนื้อสม่ำเสมอเหมือนกันทุกส่วน มีความสามารถเทได้ดี โดยไม่เกิดการแยกตัวขึ้น และไม่เกิดการเยิ้มมากเกินไป มีเวลาการก่อตัวนานพอที่จะสามารถทำงานได้ทัน และยังอาจจำเป็นต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสมกันลักษณะการใช้งานโดยเฉพาะด้วย คอนกรีตสดที่ดี

  6. คุณสมบัติของคอนกรีตสดขึ้นอยู่กับส่วนผสมได้แก่ ปริมาณน้ำ คุณสมบัติของมวลรวม ชนิดของปูนซีเมนต์ วัสดุที่ใช้ในส่วนผสมคอนกรีต และสารผสมเพิ่ม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาและอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ ความชื้น และอุณหภูมิ เป็นต้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณสมบัติของคอนกรีตสด

  7. ปริมาณน้ำในส่วนผสม น้ำมีอิทธิพลต่อความสามารถทำงานได้ของคอนกรีตสด โดย การเพิ่มปริมาณน้ำทำให้คอนกรีตสดมีสภาพเหลว ทำให้เทและอัดแน่นได้ง่าย แต่จะทำให้กำลังลดลงเมื่ออัตราส่วนน้ำกับปูนซีเมนต์สูงขึ้น เมื่อคอนกรีตสดมีความเหลวเกินไปยังเกิดการแตกตัวได้ง่าย

  8. คุณสมบัติของมวลรวม • รูปร่างและลักษณะผิวของมวลรวมมีผลต่อคุณสมบัติของคอนกรีต อนุภาคของมวลรวมที่กลมจะทำให้คอนกรีตมีความสามารถทำงานได้ดีกว่ามวลรวมที่มีรูปร่างเป็นเหลี่ยมเป็นมุม นอกจากนี้มวลรวมกลมยังมีพื้นที่ผิวน้อยทำให้ต้องการปริมาณซีเมนต์เพสต์มาเคลือบและหล่อลื่นน้อย • มวลรวมที่มีอนุภาคเล็ก จะมีพื้นที่ผิวมากทำให้ต้องการน้ำและซีเมนต์เพสต์มากขึ้น • มวลรวมที่มีรูพรุนสูงมีการดูดซึมน้ำมากทำให้การสูญเสียการยุบตัวเกิดเร็วขึ้น และต้องเผื่อปริมาณของน้ำดังกล่าวในส่วนผสมไว้ด้วย

  9. ชนิดของปูนซีเมนต์ • ปูนซีเมนต์ที่มีความว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา จะทำปฏิกิริยาได้รวดเร็วและความสามารถเทได้ของคอนกรีตจะลดลง ปูนซีเมนต์ที่มีความละเอียดมาก เช่น ปูนซีเมนปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3จะต้องการน้ำมากกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดอื่นที่มีอัตราส่วนผสมเหมือนกันเพราะมีพื้นที่ผิวมากและว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา

  10. ความสามารถเทได้ของคอนกรีตจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เพราะความร้อนทำให้การระเหยของน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกรณีที่อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะยิ่งทำให้การสูญเสียน้ำเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เวลาและอุณหภูมิ

  11. การผสมซ้ำ(Retempering) เพื่อปรับค่ายุบตัวของคอนกรีตโดย ใส่น้ำในคอนกรีตผสมซ้ำในขณะที่คอนกรีตยังไม่ก่อตัว และแข็งตัวจะสามารถทำให้ความสามารถทำงานดีขึ้นได้อีก การแก้ไขด้วยวิธีนี้จึงควรทำด้วยความระมัดระวัง และถ้าเป็นไปได้ควรใช้วิธีการเติมสารเคมีผสมเพิ่มเพื่อให้ค่ายุบตัวสูงขึ้น หรือเติมน้ำปูนข้นที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ที่ไม่สูงกว่าของคอนกรีตที่ผสม ซึ่งทำให้คอนกรีตมีค่ากำลังยุบตัวตามที่ต้องการได้

  12. สารผสมเพิ่ม • การเพิ่มความสามารถเทได้ของคอนกรีตสามารถทำได้โดยใช้สารหน่วงการก่อตัวนอกจากนี้สารกักกระจายฟองอากาศและสารลดน้ำก็ช่วยทำให้ความสามารถเทได้ของคอนกรีตดีขึ้น การใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนในคอนกรีตจะช่วยให้ความสามารถเทได้ดีขึ้นและลดการแยกตัวในคอนกรีต แต่จะทำให้กำลังอัดในช่วงอายุต้นมีค่าต่ำลง

  13. ทฤษฏีเกี่ยวกับการเสียรูปของคอนกรีตทฤษฏีเกี่ยวกับการเสียรูปของคอนกรีต ทฤษฏีเกี่ยวกับการเสียรูปภายใต้แรงกระทำ โดยธรรมดาแล้วของเหลวมีพฤติกรรมตามกฎการไหลความหนืดของนิวตัน(Newton’s Law of Viscous Flow) คือ τ = ηD เมื่อ τ คือหน่วยแรงเฉือน (Shear Stress) η คือ สัมประสิทธิ์ความหนืด (Coefficient of Viscosity) D คือ อัตราการเฉือน (Rate of Shear)หรือ เกรเดียนของความเร็ว (Velocity Gradient)

  14. คอนกรีตเป็นของเหลวที่มีของแข็งอยู่หนาแน่นมาก โดยทั่วไปแล้วอัตราส่วนโดยปริมาตรของแข็งต่อของเหลวมีค่าประมาณ 4.5:1 การเสียรูปของคอนกรีตสดเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีแรงเฉือนสูงพอจึงทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนตัวขึ้น วัสดุที่มีพฤติกรรมเช่นนี้จัดอยู่ในแบบจำลองของบิงแฮม (Bingham Model) ซึ่งสามารถเขียนเป็นกราฟเส้นตรงได้และมีสมการดังนี้ τ -τ₀ = μD τ ₀ คือ หน่วยแรงเฉือนคราก μ คือ ความหนืดพลาสติก (Plastic Viscosity)

  15. ความสามารถเทได้(Workability) • ความสามารถเทได้ หมายถึง ความง่ายของการเทคอนกรีตโดยที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ความสามารถเทได้ของคอนกรีตสำหรับงานแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับขนาดของคอนกรีตที่เท ความซับซ้อนของรูปร่างของคอนกรีต ปริมาณเหล็กเสริม ลักษณะความข้นเหลว ของคอนกรีตสด ชนิดและประเภทของการใช้เครื่องสั่นคอนกรีต

  16. ความสามารถเทได้ของคอนกรีตที่นิยมใช้วัดกันมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ความข้นเหลว(Consistency) ความสามารถไหลได้(Flowability) ความสามารถอัดแน่นได้(Compactability) ความสามารถสูบส่งได้(Pumpability) ความสามารถเทเข้าแบบได้(Placeability) การยุบตัว(Slump) ความสามารถแต่งผิวได้(Finishability) การเกาะตัว(Cohesiveness) และความกระด้าง (Harshness) เป็นต้น

  17. การทดสอบความสามารถเทได้การทดสอบความสามารถเทได้ • การวัดความเทได้ทำให้รู้ถึงความเหมาะสมของคอนกรีตในการขนส่ง การเทเข้าแบบ และการอัดแน่น เนื่องจากนี้การเปลี่ยนแปลงความสามารถเทได้ของคอนกรีตยังแสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในส่วนผสมของคอนกรีตและสามารถใช้เป็นตัวควบคุมคุณภาพของคอนกรีตได้อีกด้วย

  18. การวัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตมีอยู่หลายวิธี ได้แก่ • การทดสอบค่ายุบตัว(Slump Test) • ทดสอบการไหลแผ่ (Flow Test) • การทดสอบโต๊ะการไหล (Flow Table Test) • การทดสอบคอมแพคติงแฟคเตอร์ (Compacting Factor Test) • การทดสอบการจมของลูกบอลเคลลี (Kelly’s Ball Penetration Test) การทดสอบรีโมลดิง (Remoulding Test) • และการทดสอบวีบี (Vebe Test) วีธีเหล่านี้วัดความสามารถหลายๆด้านของความสามารถเทได้ ของคอนกรีต ตามลักษณะและประเภทของงานต่างๆ

  19. การทดสอบหาค่ายุบตัว • การทดสอบค่ายุบตัว (Slump Test) เป็นวิธีที่ใช้กันมานานและเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะทำได้ง่าย ใช้เวลาสั้นๆ เหมาะสำหรับการทดสอบคอนกรีตภาคสนาม • เครื่องมือประกอบด้วยกรวยดัดและเหล็กกระทุ้ง กรวยดัดตอนบนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 102 มิลลิเมตร ตอนล่างมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 203มิลลิเมตร สูง 305มิลลิเมตร มีหูจับ และมีแผ่นเหล็กยื่นออกมาให้ใช้เท้าเหยียบทั้งสองข้าง ส่วนเหล็กกระทุ้งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16มิลลิเมตร ยาว600มิลลิเมตร ปลายกลมมน

  20. วิธีทดสอบมีอยู่ในมาตรฐาน ASTM C143 บรรจุคอนกรีตสดลงในแบบรูปโคน 3ชั้น แต่ละชั้นให้มีปริมาตรเท่าๆกัน ขั้นที่1 ใส่คอนกรีตสูงประมาณ6-7เซนติเมตร กระทุ้งด้วยเหล็กกระทุ้ง 25ครั้ง ให้ทั่วพื้นที่ ใส่คอนกรีตชั้นที่ 2จนได้ความสูงประมาณ15เซนติเมตร กระทุ้งให้ทะลุถึงคอนกรีตชั้นที่1 เล็กน้อย ใส่คอนกรีตชั้นที่ 3ให้พ้นขอบจนเต็มแล้วกระทุ้งให้ทะลุคอนกรีตชั้นที่2เล็กน้อย ปาดผิวหน้าคอนกรีตให้เรียบ ดึงแบบขึ้นในแนวดิ่ง โดยไม่หมุนหรือเอียง

  21. การวัดค่ายุบตัว

  22. รูปแบบของการยุบตัว โดยทั่วไปมีอยู่ 3รูปแบบ คือ • 1.การยุบตัวแบบถูกต้อง (True Slump) เป็นการยุบตัวของคอนกรีตภายใต้น้ำหนักของคอนกรีตเอง • 2.การยุบตับแบบเฉือน (Shear Slump) เป็นการยุบตัวแบบเฉือนซึ่งเป็นการยุบตัวที่เกิดจากการเลื่อนไถลของคอนกรีตส่วนบนในลักษณะเฉือนลงไปด้านข้าง • 3.การยุบตัวแบบล้ม (Collapse Slump) เป็นการยุบตัวที่เกิดจากคอนกรีตมีความเหลวมาก

  23. ค่าคลาดเคลื่อนของค่ายุบตัวค่าคลาดเคลื่อนของค่ายุบตัว มาตรฐานทั่วไปกำหนดให้ค่าคลาดเคลื่อนของค่ายุบตัวมีค่า ± 2.5 เซนติเมตร เช่น ถ้าต้องการค่ายุบตัว 7.5เซนติเมตร ค่าที่ยอมรับได้คือ 7.5±2.5 เซนติเมตร หรือ 5.0 –10เซนติเมตร

  24. การเทคอนกรีตงานเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ คอนกรีตควรมีค่ายุบตัวมากกว่า 15 เซนติเมตร

  25. การเทคอนกรีตงานถนนโดยทั่วไป ใช้คอนกรีตที่มีค่ายุบตัว7.5±2.5เซนติเมตร

  26. การทดสอบการไหลแผ่(Flow Test) • เป็นการทดสอบแสดงถึงความข้นเหลวของคอนกรีตโดยการวัดการกระจายของคอนกรีตภายใต้การตกกระทบ ทดสอบโดยใส่คอนกรีตในแบบหล่อรูปกรวยตัดที่ตั้งอยู่กลางแท่นทดสอบการไหลแผ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 762มิลลิเมตร จะยกแบบหล่อขึ้นและปล่อยให้แท่นทดสอบการไหลแผ่ตกกระทบจากระยะความสูง 12.7มิลลิเมตร เป็นจำนวน 15ครั้งใน 15วินาที ค่าการไกลแผ่คิดเป็นร้อยละของการขยายตัวของคอนกรีตที่ฐาน • คอนกรีตจะแตกตัวได้ง่ายถ้ามีความกระด้างไม่เกาะตัวกัน ถ้าคอนกรีตเหลวซีเมนต์เพสต์จะไหลออกมานอกกองคอนกรีต

  27. การทดสอบโต๊ะการไหล (Flow Table Test) • (Flow Table Test)ใช้ทดสอบพวกคอนกรีตไหล การทดสอบทำโดยบรรจุคอนกรีตในรูปกรวย กระทุ้งเบาๆ ด้วยไม้กระทุ้ง ปาดคอนกรีตส่วนเกินออก และทำพื้นให้สะอาดจึงยกกรวยออก ยกแผ่นไม้ขึ้นสูง 40มิลลิเมตรและปล่อยให้ตกกระทบกับฐานจำนวน 15ครั้ง ในเวลา1นาที วัดการกระจาย สองค่าจะเป็นค่าการไหลและบ่งบอกถึงความสามารถเทได้ของคอนกรีต การกระจายของคอนกรีตเฉลี่ย 400มิลลิเมตร แสดงถึงคอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ปานกลาง และถ้ามีการกระจายเฉลี่ย 500มิลลิเมตร แสดงถึงคอนกรีตมีความสามารถเทได้สูง

  28. (Flow Table Test)

  29. โดยบรรจุคอนกรีตในกรวยข้างบน เปิดบานประตูที่อยู่ด้านล่างปล่อยให้คอนกรีตตกลงไปในกรวยล่าง จากนั้นเปิดประตูล่างปล่อยให้คอนกรีตหล่นด้วยตัวเองลงในแบบหล่อ ปาดคอนกรีตที่ตกลงมาให้เสมอกับปากของแบบหล่อและนำไปชั่งน้ำหนัก เพื่อหาความหนาแน่น การทดสอบคอมแพคติงแฟคเตอร์(Compacting Factor Test)

  30. สามารถทำได้ง่ายเหมาะสำหรับการใช้งานในงานสนามเครื่องมือประกอบด้วยลูกเหล็กรัศมี 76 มิลลิเมตร หนัก 13.6 กิโลกรัม การทดสอบทำโดยการวัดระยะของลูกเหล็กจมลงในคอนกรีตสดภายใต้น้ำหนักของตัวเอง สามารถใช้วัดคอนกรีตในรถเข็นหรือที่เทลงแบบแล้ว วิธีการทดสอบการจมของลูกบอลเคลลี

  31. การทดสอบรีโมลดิง • การทดสอบวิธีนี้ใช้วัดจำนวนครั้งของการตกกระทบที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปของคอนกรีตเครื่องมือนี้ยึดแน่นบนแท่นทดลองการไหล การทดสอบสามารถทำได้โดยหล่อคอนกรีตในแบบหล่อ สำหรับหาค่ายุบตัวซึ่งบรรจุอยู่ในเครื่องทดสอบ ใช้แผ่นกดหนัก 1.9กิโลกรัม วางบนคอนกรีต จากนั้นปล่อยให้แท่นทดลองการไหลตกกระทบจากระยะความสูง 6.3มิลลิเมตร ในอัตรา 1ครั้ง ต่อ1วินาที จนกระทั่งแผ่นกดอยู่ห่างจากฐาน 81มิลลิเมตร ซึ่งทำให้คอนกรีตเปลี่ยนรูปจากรูปกรวยมาเป็นรูปทรงกระบอก จำนวนครั้งของการตกกระทบบ่งบอกถึงความสามารถทำงานได้ของคอนกรีต

  32. เครื่องทดสอบVebetest

  33. การทดสอบเวลาวีบีการทดสอบเวลาวีบีการทดสอบเวลาวีบีการทดสอบเวลาวีบี รายละเอียดการทดสอบมีอยู่ในมาตรฐานBS EN 12350-3 การทดสอบใช้โต๊ะเขย่า (Vibrating Table) ที่ความถี่ 50 Hz และความเร่งสูงสุด 3g ถึง 4g โดยหล่อคอนกรีตในแบบหล่อสำหรับหาค่ายุบตัวที่กลางเครื่องมือ เลื่อนแผ่นแก้วหรือแผ่นพลาสติกใสวางลงบนคอนกรีตสด เริ่มการเขย่าจนกว่าผิวล่างของแผ่นแก้วสัมผัสกับคอนกรีตทั่วแผ่น โดยช่องอากาศใต้แผ่นจะค่อยๆถูกกำจัดออกไปจนหมด เวลาที่ใช้สำหรับการเขย่าเพื่อให้ผิวของแผ่นแก้วใสสัมผัสกับคอนกรีตทั้งหมดคือเวลาวีบี ซึ่งคิดเป็นวินาที

  34. การทดสอบเวลาวีบี การทดสอบเวลาวีบีจะเหมาะสำหรับคอนกรีตที่มีความข้นเหลวต่ำหรือคอนกรีตที่ค่อนข้างแห้ง ซึ่งแตกต่างกับวิธีคอมแพคติงแฟคเตอร์ที่เหมาะกับคอนกรีตที่มีความข้นเหลวสูง นอกจากนี้การใช้ความชำนาญในการระบุเวลาที่ผิวล่างของแผ่นแก้วสัมผัสคอนกรีตทั่วแผ่นเป็นสิ่งสำคัญ วิธีนี้ไม่สมควรใช้กับส่วนผสมคอนกรีตที่มีมวลรวมขนาดใหญ่เกิน40มิลลิเมตร

  35. การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถเทได้การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถเทได้ มาตรฐานBS 1881ได้แนะนำถึงวิธีทดสอบที่ควรเลือกใช้ในการกำหนดความสามารถทำงานได้ของคอนกรีตที่มีความข้นเหลวตั้งแต่ต่ำมากจนถึงสูงมากดังนี้

  36. การแยกตัวและการเยิ้มน้ำการแยกตัวและการเยิ้มน้ำ การแยกตัว (Segregation) การแยกตัวของคอนกรีต หมายถึงการที่ส่วนผสมของคอนกรีตไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการแยกตัวของมวลรวมที่มีขนาดใหญ่ออกจากมอร์ตาร์ การแยกตัวของคอนกรีตสามารถแบ่งออกเป็น2แบบใหญ่ๆดังนี้ 1. การที่มวลรวมขนาดใหญ่ เช่น หินซึ่งมีน้ำหนักมากมีแนวโน้มที่จะแยกจากส่วนผสม เนื่องจากสามารถกลิ้งไปได้ไกลว่าส่วนผสมอื่นในขณะที่เทคอนกรีตลงบนที่มีความลาดชัน การแยกตัวกรณีนี้มักเกิดได้ง่ายในคอนกรีตที่ค่อนข้างแห้งและมีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ค่อนข้างน้อย

  37. 2 เกิดจากการแยกตัวของซีเมนต์เพสต์ออกจากมวลรวมเนื่องจากส่วนผสมเหลวเกินไปหรือมีการจี้เขย่านานเกินไปจนมวลรวมจมลงสู่ก้นแบบขณะที่ซีเมนต์เพสต์ลอยอยู่ด้านบน เนื้อคอนกรีตสดเกิดการแยกตัว

  38. เครื่องมือทดสอบการต้านทานต่อการแยกตัวของคอนกรีตสด

  39. การเยิ้มน้ำ (Bleeding) การเยิ้มน้ำของคอนกรีตจัดเป็นการแยกตัวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการแยกตัวของน้ำออกจากคอนกรีต น้ำเป็นส่วนผสมที่มีความถ่วงจำเพาะต่ำที่สุดในคอนกรีต และน้ำบางส่วนสามารถลอยขึ้นสู่ผิวบนหน้าของคอนกรีตสืบเนื่องจากส่วนผสมอื่นที่เป็นของแข็งไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้

  40. รูปการเยิ้มของน้ำและน้ำยาเนื่องจากใส่น้ำหรือสารลด น้ำพิเศษ ในส่วนผสมของคอนกรีตมากเกินไป

  41. วิธีการทดสอบการเยิ้มน้ำของคอนกรีตวิธีการทดสอบการเยิ้มน้ำของคอนกรีต มี 2 วิธี วิธีที่ 1 ทดสอบตัวอย่างที่บรรจุในภาชนะโดยการกระทุ้งแน่น และ การวัดปริมาณน้ำที่เยิ้มออกมาอยู่ที่ผิวหน้าคอนกรีตโดยวัดทุก 10 นาทีในช่วง40นาทีแรกหลังจากนั้นทำการวัดทุก30นาที วิธีที่ 2 ทดสอบคอนกรีตที่บรรจุในภาชนะโดยการเขย่าแน่น และหลังจากนั้นเขย่าเป็นช่วงๆ โดยการเปิดเครื่องสั่นหรือโต๊ะเขย่าเป็นเวลา 3วินาที และปิดเป็นเวลา 30 นาที สลับกันไป และทำการวัดการเยิ้มน้ำของคอนกรีตหลังจาก 1ชั่วโมง

  42. เนื้อคอนกรีตสดมีลักษณะแห้ง และมีความสามารถเทได้ต่ำเนื่องจากคอนกรีตเริ่มก่อตัวและมีการสูญเสียน้ำไปบางส่วน

  43. การทดสอบคอนกรีตสดด้านอื่นๆการทดสอบคอนกรีตสดด้านอื่นๆ การเก็บตัวอย่างคอนกรีตสด วิธีเก็บตัวอย่างคอนกรีตสด ใช้สำหรับการเก็บตัวอย่างจากเครื่องผสมคอนกรีตประเภทต่างๆ และจากเครื่องมือที่ใช้ลำเลียงและขนคอนกรีตผสมเสร็จจากโรงงาน(Central-Mixed Concrete)มาตรฐานกำหนดให้เก็บตัวอย่างจากหลายส่วนของคอนกรีตแล้วนำมารวมกัน สำหรับเครื่องผสมคอนกรีตแบบอยู่กับที่(Stationary Mixer) และรถผสมคอนกรีต(Truck Mixer) เก็บตัวอย่างให้เก็บอย่างน้อย 2 ครั้ง และสำหรับเครื่องผสมคอนกรีตสำหรับปูทาง(Paving Mixer) ให้เก็บตัวอย่างอย่างน้อย 5 ครั้ง

  44. การก่อตัวของคอนกรีต (Setting Time of Concrete) การก่อตัวของคอนกรีต ไม่สามารถประมาณได้จากการทดสอบระยะเวลาการก่อตัวของซีเมนต์เพสต์เพราะมีค่าแตกต่างกันมากพอ สมควร ดังนั้นจึงต้องวัดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตซึ่งจะช่วยวางแผนก่อสร้าง การลำเลียงการขนส่ง และการเทคอนกรีตเข้าแบบ และสามารถใช้วัดความมีประสิทธิภาพของสารผสมเพิ่มจำพวกสารหน่วงและสารเร่งการก่อตัวของคอนกรีต

  45. ความหนาแน่นของคอนกรีตความหนาแน่นของคอนกรีต ความหนาแน่นของคอนกรีตสามารถหาได้โดยตรงจากการชั่ง น้ำหนักคอนกรีตที่มีปริมาตรแน่นอน ความหนาแน่นของคอนกรีตจะมีประโยชน์ในการคำนวณน้ำหนักของคอนกรีตที่ใช้ในการออกแบบส่วนผสม ใช้เป็นน้ำหนักบรรทุกคงที่ของอาคารในการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือกำหนดความหนาแน่นของคอนกรีตต่ำสุดเพื่อใช้เป็นน้ำหนักที่จะต้านทานแรงดันของน้ำในการออกแบบเขื่อนคอนกรีต เป็นต้น

  46. การวัดปริมาณอากาศ การวัดปริมาณอากาศในคอนกรีตมี3วิธี 1.วิธีวัดน้ำหนัก ปริมาณอากาศในคอนกรีตหาได้จากการเปรียบเทียบหน่วยน้ำหนักของคอนกรีตที่วัดได้ตามมาตรฐานASTM C138กับหน่วยน้ำหนักของคอนกรีตที่ปราศจากอากาศตามทฤษฎี ดังสมการ A= W-T x 100 T A คือ ปริมาณของอากาศ T คือ หน่วยน้ำหนักคอนกรีตที่ปราศจากอากาศจากทฤษฎีคำนวณจากคุณสมบัติของส่วนผสม Wคือ หน่วยน้ำหนักของคอนกรีตที่วัดได้

  47. 2.วิธีวัดปริมาตร วิธีนี้เป็นการวัดปริมาตรของอากาศโดยตรงด้วยวิธีแทนที่อากาศในคอนกรีตด้วยน้ำ วิธีทดสอบมีอยู่ในมาตรฐาน ASTM C173 3. วิธีวัดความดัน วิธีวัดความดันเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการวัดปริมาณอากาศของคอนกรีตสด วิธีนี้ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีตภายใต้ความดันซึ่งเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของอากาศภายในคอนกรีตภายใต้ความดันโดยอาศัยกฎของบอยล์ รายละเอียดของการทดสอบมีอยู่ในมาตรฐาน ASTM C231

More Related