1 / 64

โดย : รศ. ดร.กรรวี บุญชัย ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เอกสารประกอบการบรรยาย. การประเมินทางเลือกในวิชาพลศึกษา. เรื่อง. Alternative Assessment In Physical Education. โดย : รศ. ดร.กรรวี บุญชัย ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Download Presentation

โดย : รศ. ดร.กรรวี บุญชัย ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการบรรยายเอกสารประกอบการบรรยาย การประเมินทางเลือกในวิชาพลศึกษา เรื่อง Alternative Assessment In Physical Education โดย: รศ. ดร.กรรวี บุญชัยภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  2. Albert Einstein ได้แสดงให้เห็นภาวะของนักพลศึกษาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการที่จะพยายามประเมินผู้เรียน • มิใช่ทุกสิ่งที่คำนวณได้จะสามารถนับได้ และมิใช่ทุกสิ่งที่นับได้จะสามารถคำนวณได้

  3. สิ่งที่ท้าทายยิ่งใหญ่ของนักพลศึกษาที่เผชิญหน้าในปัจจุบันคือ การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลไม่เฉพาะในการประเมินนักเรียนเท่านั้นแต่รวมทั้งการกำหนดคะแนนของนักเรียนด้วย

  4. วิธีการประเมินผลที่เป็นมาตรฐานมากมายที่ใช้ได้ เช่น แบบทดสอบทักษะทางกีฬา (skill tests) และข้อสอบข้อเขียน (written tests) อย่างไรก็ตาม นักพลศึกษาพบว่าแบบทดสอบดังกล่าว เป็นแบบการวัดแบบเดิม (traditional methods)

  5. ซึ่งรูปแบบของการประเมินแบบที่เคยปฏิบัติกันมาไม่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ หรือเป็นรูปแบบที่ดูเหมือนว่าไม่วัดในสิ่งที่ครูต้องการจะวัด เช่น ครูได้สอนเกี่ยวกับการตีลูกหน้ามือ หลังมือ การส่งลูก ตีลูกวอลเลย์ ตำแหน่งและยุทธวิธีการเล่นประเภทคู่ และการนับคะแนนในกีฬาเทนนิส

  6. เพื่อประเมินนักเรียน ครูใช้แบบทดสอบทักษะ โดยให้นักเรียนคนหนึ่งยืนที่ตาข่ายและโยนลูกบอลให้เพื่อนตีลูกทั้งหน้ามือและหลังมือโดยกำหนดเป้าหมายไว้ในสนาม แบบทดสอบดังกล่าวอาจจะเที่ยงตรงในการวัดการตีลูกหน้ามือและหลังมือไปยังเป้าหมายที่กำหนดไว้

  7. แต่แบบทดสอบดังกล่าวอาจจะไม่ใช่ตัวบ่งชี้ควาสามารถของนักเรียนในการเล่นเทนนิส เพราะครูได้สอนทักษะอื่น ๆในการเล่นด้วย เช่น ยุทธวิธีในการเล่น ตำแหน่งในการเล่น และการนับคะแนน

  8. นักพลศึกษาจึงมองหาแนวทางในการประเมินความสามารถในการเล่นเกมของผู้เรียนด้วยการใช้ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งในการเล่น และแสดงความสามารถในการเล่นภายใต้กติกาที่กำหนด จึงมีความจำเป็นสำหรับครูในการพัฒนาวิธีการประเมินที่มีความหมายมากกว่า

  9. จากการเคลื่อนไหวในการปฏิรูปการศึกษา ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1990 (2533) และในประเทศไทยก็เช่นเดียกัน (พ.ศ. 2542) มีผลต่อการประเมินและการประกันคุณภาพทางการศึกษาอย่างมาก รวมทั้งในวิชาชีพพลศึกษาด้วย

  10. รูปแบบใหม่ของการประเมินที่นำมาใช้ในกระบวนการสอนและการเรียนรู้ ได้แก่ “alternative assessment” และ “authentic assessment”

  11. Alternative Assessment • หมายถึงรูปแบบการประเมินใด ๆก็ตามที่แตกต่างไปจากการประเมินที่เคยปฏิบัติกันมา (traditional test) • การประเมินแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Untraditional”

  12. การประเมินผลในลักษณะนี้เป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ของเด็กซึ่งสนับสนุน Creative Education อนุญาตให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงาน/ผลงาน เช่น การวาดภาพการเตะที่ถูกต้อง การจัดทำวีดิทัศน์สำหรับทักษะกีฬาเฉพาะอย่าง เป็นต้น

  13. ตัวอย่างของ Alternative Assessment • Projects • Even Tasks • Observations • Checklists • Portfolio • Student Log or Journals • Rating Scales

  14. ตัวอย่างของ Alternative Assessment • Personal Fitness Log • Oral Reports • Worksheets • Interview/Focus Groups • Slide Shows • Video production • Poster • Essays/Reports • Research Paper

  15. Alternative Assessment/Authentic Assessment • Wiggins (อ้างใน Lacy & Hastad, 2003, p. 314) ได้ปรับมาตรฐานเพื่อประเมินว่าเครื่องมือในการประเมินเป็น Authentic Assessment หรือไม่ และเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางพลศึกษาหรือไม่

  16. คล้ายคลึงกับเกมเท่าที่จะเป็นไปได้ งานนั้นผู้เรียนสามารถปฏิบัติขณะที่ผู้เรียนอยู่ในการเล่นเกม • ต้องการองค์ความรู้ด้วย เช่น กติกา ยุทธวิธี และตำแหน่งในการเล่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้สอนไปแล้ว

  17. กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะเช่นเดียวกับการเล่นเกม หรือในสภาพการเคลื่อนที่ ไม่ใช่ในลักษณะอยู่กับที่

  18. จากแหล่งข้อมูลพบว่า ใช้คำว่า “Alternative” และ “Authentic” สลับกัน อย่างไรก็ตามในสาขาวิชาพลศึกษา เครื่องมือในการประเมินทางเลือก (alternative assessment) เช่น Portfolio, Student Log มากกว่าการใช้แบบทดสอบทักษะที่ใช้กันมาหรือเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ

  19. และ Authentic Assessment ใช้ในการอธิบายการประเมินงานในบริบทของเกมหรือกีฬา และวัดความสามารถในการเล่นเกมมากกว่าการแยกทักษะ • ดังนั้น “Authentic Assessment” เป็นรูปแบบหนึ่งของ “Alternative Assessment”

  20. เหตุผลสำหรับการใช้การประเมินทางเลือกเหตุผลสำหรับการใช้การประเมินทางเลือก • ครูจะต้องประเมินในการสอนแต่ละครั้ง ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นทางการทุกครั้ง ครูจะตัดสินใจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ซึ่งอาจจะใช้แบบการประเมินเป็นระยะ หรือในบางครั้งใช้การตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดคะแนนของนักเรียน

  21. การประกันคุณภาพ (Accountability) • ความกดดันของโรงเรียนในปัจจุบันคือ ต้องแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า (progress) และการเรียนรู้ (learning) และยังต้องแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดของระดับชาติอย่างไร

  22. ดังนั้นประสิทธิภาพของนักพลศึกษาก็คือแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน นักพลศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโปรแกรม พลศึกษาในโรงเรียน แนวทางหนึ่งก็คือการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินที่ fair, objective, accurate ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน

  23. Weakness of Standard Testing Practices • ทำไมแบบทดสอบมาตรฐานในการวัดทักษะ (standardized skill tests) จึงไม่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการนำมาประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งก็มีเหตุผลหลายประการ

  24. ประการแรก แบบทดสอบมาตรฐานที่มีเกณฑ์มาตรฐาน (norms) เที่ยงตรงสำหรับเฉพาะกลุ่ม เช่น AAHPER Football Skills Test, 1966 สำหรับนักเรียนชาย อายุ 10-18 ปี ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานอาจจะไม่เหมาะกับเพศ อายุของนักเรียนที่ครูต้องการประเมิน

  25. ประการที่ 2 แบบทดสอบมาตรฐานอาจจะวัดเนื้อหา สาระที่ครูสอน แบบทดสอบอาจจะวัดเพียงทักษะเดียว ในขณะที่ครูต้องการประเมินในการเล่นทั้งหมด

  26. ประการที่ 3 แบบทดสอบมาตรฐานใช้เวลาในการดำเนินการ ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ ครูที่มีชั่วโมงสอนมาก อาจจะมีเวลาไม่มากระหว่างห้องเรียนในการจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการดำเนินการทดสอบ ทำให้ผลการทดสอบขาดความเที่ยงตรง

  27. ประการสุดท้าย แบบทดสอบมาตรฐานจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้น เพื่อนนักเรียนจะเป็นคนโยนลูกบอลหรือกลิ้งลูกบอลในขณะที่อยู่กับที่ไม่ใช่จากการตีด้วยแร็กเกต การเล่นเกิดจากสภาพจริงแบบทดสอบส่วนใหญ่ไม่ใช่

  28. ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า แบบทดสอบมาตรฐานมีประโยชน์สำหรับการประเมินแบบเป็นระยะ (formative feedback) สำหรับทักษะเฉพาะอย่าง หรือในการประเมินตนเอง (self-testing)

  29. การประเมินตามสภาพจริง (Authenticity) • นักพลศึกษาเห็นด้วยที่ว่า เป้าหมายสูงสุดของการสอนกีฬาประเภททีม และประเภทเดี่ยว คือให้นักเรียนมีทักษะเพื่อความสนุกสนานในการเล่นเกมในกีฬานั้น ๆ

  30. ถ้านักพลศึกษาต้องการที่จะรู้ว่านักเรียนสามารถเล่นเกมได้ดีแค่ไหน ครูก็ต้องใช้วิธีการสังเกตที่เป็นระบบ ในการประมินการเล่นเกม ครูอาจจะสนใจองค์ความรู้ด้านเจตพิสัย เช่น ความมีน้ำใจนักกีฬา ความร่วมมือ หรือความรู้เกี่ยวกับกติกา และยุทธวิธี จึงจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือ

  31. ความเป็นปรนัย (Objectivity) • นักพลศึกษาต้องการประเมินความชำนาญในการเล่นเกมจริง ๆซึ่งอาจจะใช้การสังเกตอย่างง่าย ๆและสร้างการตัดสินแบบอัตนัย (subjective judgment) วิธีการดังกล่าวไม่มีความยุติธรรมในการตัดสินระดับคะแนน

  32. การเฝ้าดูนักเรียนเล่มเกม ซึ่งเรียกว่า “eyeballing” วิธีดังกล่าวถือว่าขาดความเป็นปรนัย ขาดความเชื่อถือได้ และไม่สามารถประกันได้ว่านักเรียนทุกคนมีโอกาสในการแสดงทักษะของตัวเอง

  33. เช่น สมมติว่า ครูประเมินความสามารถในการเล่นฟุตบอลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ทีมที่ 1 มีนักเรียนที่มีทักษะและประสบการณ์สูง ซึ่งมีเกมรุกที่ดีตลอดเกม นักเรียนในทีมนี้จะได้คะแนนดีในการเล่มทีม แม้ว่านักเรียนเหล่านั้นมีทักษะดีจริง ๆหรือไม่

  34. ในขณะที่นักเรียนในอีกกลุ่มหนึ่งที่มีทักษะน้อยกว่า อาจจะไม่สามารถแสดงทักษะ ถ้าขาดการสังเกตอย่างมีระบบ นักเรียนที่ขาดทักษะคงเคลื่อนไหวไปตามเกม แต่การทุ่มเทให้กับทีมมีน้อย นักเรียนกลุ่มนี้ได้รับการประเมินที่ขาดความเป็นปรนัย

  35. ความถูกต้อง (accuracy) • ถ้าครูต้องการประเมินทักษะส่วนบุคคลมากกว่าการเล่นเกม การประเมินผลทางเลือกจะมีประสิทธิภาพในประเด็นนี้ ครูสามารถปรับการประเมินในสภาพการเคลื่อนที่มากกว่า closed environment ซึ่งมีความถูกต้องมากกว่า

  36. เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้มีหลากหลาย เช่น แบบประมาณค่า (rating scales) หรือตรวจสอบรายการ (checklists) สามารถใช้ได้ทั้งในการประเมินทักษะและการเล่นเกม • ส่วน แฟ้มสะสมงาน (portfolio) หรือ Log ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในกิจกรรมนั้น ๆลึกซึ้งมากขึ้น

  37. ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ (Validity และ Reliability) • แม้ว่าการประเมินทางเลือกดูจะทำให้การประเมินนักเรียนน่าตื่นเต้น แต่มีประเด็นสำคัญ 2 ประการที่ควรได้รับการพิจารณา

  38. ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ต้องรักษาไว้ความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ต้องรักษาไว้ • ในการใช้การประเมินทางเลือกครูต้องให้ความสำคัญทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าว

  39. ประเด็นของความเที่ยงตรงประเด็นของความเที่ยงตรง • จากที่กล่าวมาแล้วว่าแบบทดสอบมาตรฐานอาจจะไม่วัดเนื้อหา/สาระจริง ๆที่ครูสอน ประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ ความเที่ยงตรงนั่นเอง วิธีทีง่ายที่สุดในการตรวจความเที่ยงตรงของการประเมิน คือเปรียบเทียบกับจุดประสงค์ของการสอน

  40. ตัวอย่าง จุดประสงค์ของการเรียนรู้คือ นักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการตีลูกหน้ามือ (groundstroke) ไปยังสนามด้านตรงข้ามด้วยฟอร์มที่ดี • เพื่อที่จะวัดว่านักเรียนสามารถตีลูกหน้ามือ (groundstroke) ได้หรือไม่เครื่องมือที่สารถนำมาใช้ เช่น แบบตรวจสอบรายการ หรือแบบประมาณค่า

  41. เกณฑ์ในแบบประเมินควรสอดคล้องกับส่วนประกอบของการตีลูกหน้ามือที่เน้นในชั้นเรียน ในลักษณะเช่นนี้จะเป็นการประเมินที่เที่ยงตรง เพราะว่าวัดตามจุดประสงค์การสอน (instructional objectives)

  42. หรือนักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการตีลูกหน้ามือ (groundstroke) ไปยังสนามด้านตรงข้ามด้วยฟอร์มที่ดีและใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสมในการเล่นประเภทคู่ ในกรณีนี้เครื่องมือในการประเมินต้องควรสอดคล้องกับส่วนประกอบที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การสอน

  43. ความสามารถในการตีลูกหน้า(groundstroke) มีฟอร์มที่ดี และใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสม ซึ่งสามารถใช้ได้ระหว่างการเล่นประเภทคู่

  44. ประเด็นของความเชื่อถือได้ประเด็นของความเชื่อถือได้ • ความเชื่อถือได้เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับเครื่องมือในการประเมินทางเลือก เช่นเดียวกับแบบทดสอบอื่น ๆคือ “แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรง แบทดสอบนั้นจะมีความเชื่อถือได้”

  45. อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือความเป็นปรนัย – is as free bias as possible

  46. Types of Alternative Assessments • Students Projects • Portfolios • Even Tasks • Student Logs and Journals • Observations

  47. แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) • ใช้เมื่อต้องทราบว่า ใช่ หรือไม่ใช่เท่านั้น • ใช้มากในการประเมินแบบเป็นระยะ (formative assessment) • และใช้เมื่อกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ไว้ว่า “ผู้เรียนมีทักษะ...........................”

  48. แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) • การใช้แบบตรวจรายการ ครูต้องแน่ใจว่านักเรียนมีการฝึกซ้อมอย่างเพียงพอในทักษะนั้น ๆ • กำหนดขุ้นตอนในการสร้าง

  49. แบบตรวจสอบรายการ (Checklist):การวิ่ง ลงสู่พื้นด้วยส้นเท้า-ปลายเท้า Yes No วิ่งอย่างเต็มฝีเท้า Yes No โน้มตัวไปข้างหน้า Yes No แขนแกว่งในระดับไหล่และ สวิงตัดเข้าหาลำตัว Yes No เท้าทั้งสองรับน้ำหนัก Yes No

  50. แบบตรวจสอบรายการ (Checklist):ควบม้า(Gallop) เกณฑ์ (Criteria): หันหน้าไปยังทิศทางที่เคลื่อนที่ Yes No • เคลื่อนที่ไปข้างหน้า Yes No • วิ่งโหย่งด้วยเท้าหลัง Yes No • เท้านำเป็นเท้าเดิมตลอด Yes No

More Related