1 / 42

Week 2 : การเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต

Week 2 : การเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุรัสกร อยู่สุข burasakorn@hotmail.com ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Ch. 2 ท่องโลกอินเตอร์เน็ต . ประเภทของอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ในปัจจุบัน

hali
Download Presentation

Week 2 : การเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Week 2 : การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุรัสกร อยู่สุข burasakorn@hotmail.com ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

  2. Ch. 2 ท่องโลกอินเตอร์เน็ต • ประเภทของอินเตอร์เน็ต • เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน • อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต • ISP • Broadband & ADSL & Satellite

  3. ประเภทของอินเตอร์เน็ตแบ่งเป็น 8 ประเภท • การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Dial Upเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว มีความเร็ว 56 Kbps ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต • การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ หัวข้อสีแดงจะมีอธิบายเพิ่มเติม

  4. หัวข้อสีแดงจะมีอธิบายเพิ่มเติมหัวข้อสีแดงจะมีอธิบายเพิ่มเติม การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Leased Line ไม่ผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน เป็นการลากเส้นใหม่สายตรงกับ node อินเตอร์เน็ต ความเร็วที่ได้จะคงที่ การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน การเชื่อมต่อต้องใช้ ADSL Modem ในการเชื่อมต่อ ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ LAN Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Cableเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ ช้Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ LAN Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

  5. หัวข้อสีแดงจะมีอธิบายเพิ่มเติมหัวข้อสีแดงจะมีอธิบายเพิ่มเติม การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellites) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต อยู่ที่ไหนก็สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้ (ถ้าฟ้าไม่ปิด, ฝนไม่ตก) ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ผู้ให้บริการ เช่นอยู่บนเกาะต่างๆ เช่น สมุย เป็นต้น(ปล.ปัจจุบันสมุยก็มีเน็ตADSL ความเร็วสูง 4mbps แล้ว) WiFiอินเตอร์เน็ตไร้สาย คุณสามารถถือ notebook เข้าไปในบริเวณที่มีการให้บริการ WiFiอินเตอร์เน็ตไร้สาย แล้วใช้บริการได้ โดยการซื้อเวลา, หรือบางแห่งให้บริการฟรี, บางแห่งต้องขโมยเล่นเอา WiMaxอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงระยะทางไกล ระยะทางหวังผลได้คือ 45km เป็นบริการที่ยังไม่เดินหน้าเท่าไหร่ในเมืองไทย เพราะติดปัญหาเรือง license

  6. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN • บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN

  7. องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ISDN • 1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล • 2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps • 3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter • 4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

  8. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Cable • บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิล (Cable) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ความเร็วของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps • สำหรับผู้ใช้ที่ติดตั้งเคเบิ้ลทีวีตามบ้าน หรือตามองค์กรบริษัท สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารนี้โดยติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Cable Modem เข้ากับสายเคเบิ้ลทีวีที่เดินตรงมายังบ้านของท่านซึ่งสะดวกมาก เนื่องจากท่านยังสามารถชมรายการที่ส่งมาทางเคเบิ้ลพร้อมกับการแอกเซสเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือจัดส่งอีเมล์ ไปยังเพื่อนของท่านได้พร้อมกัน

  9. องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็มองค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม • 1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial ) • 2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม • 3. CableModem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ • 4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net

  10. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน ADSL • บริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิมแต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิมชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์คือ DSL Access Moduleเพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิมและลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง • ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมีADSL Modemที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 1/8 Mbps (อัพโหลดที่ 1 Mbps และดาวน์โหลดที่ 8 Mbps) หรือต่ำกว่านี้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการและสัญญาณบริเวณใกล้เคียง

  11. องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL • 1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ • 2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา • 3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net

  12. Internet PSTN ADSL connection ISP splitter ADSL modem

  13. ข้อได้เปรียบของ ADSL

  14. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม • บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว(One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย

  15. องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม • 1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก • 2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์ • 3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload) • 4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

  16. เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน • 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเป็นการ • 1.1เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก(Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมีโมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลได้ • 1.2 เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตภายในบ้านผ่านโมเด็มแบบปกติ

  17. 2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง(Mobile Internet) โดยโทรศัพท์มือถือต้องสนับสนุนระบบ WAP, GPRS, EDGE, CDMA, 3Gโดยโทรศัพท์มือถือจะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ในปัจจุบันบริษัทโทรศัพท์มือถือได้มีการผลิต SIM card ที่เป็นInternet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

  18. 2.1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง

  19. 2.2 GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย

  20. 2.3 EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) เป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องจาก GPRS (General Packet Radio Service) ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้บริการด้านมัลติมีเดียต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น เช่น VDO Conference , Transfer Data การต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตผ่านทางเครื่องโทรศัพท์มือถือ หรือผ่านทางคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คหรือเครื่องพีซี ระบบ EDGE นี้ใช้ได้ทั้งระบบ GSM และ TDMA ซึ่งเป็นระบบดิจิทัลด้วยกันทั้งคู่ แต่แตกต่างกันเรื่องระบบ Cellular และโครงสร้างภายในบ้างเล็กน้อย โดยที่ EDGE มีความเร็วสูงถึง 236 Kbps จึงมากกว่า GPRS ถึง 4 เท่า โดยโทรศัพท์มือถือจะปรับการเชื่อมต่อให้รวดเร็วขึ้นได้ด้วยตัวเองเมื่อเข้าสู่เครือข่าย

  21. 2.4 โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจาก นี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย

  22. 2.5 โทรศัพท์ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น สำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+ HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps

  23. 3. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 1.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

  24. สรุปคือเราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ กับโทรศัพท์มือถือได้ผ่านทาง  USB Cable สายเคเบิลสำหรับเชื่อมต่อ โดยต้องมี driver ของสายเคเบิลเรียบร้อยแล้ว  Bluetooth เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล  Infrared ระบบการสื่อสารไร้สายอีกรูปแบบหนึ่ง หมายเหตุ -โทรศัพท์มือถือที่มีการเชื่อมต่อต้องเปิดใช้บริการ WAP, GPRS, EDGE, CDMA, 3G เรียบร้อยแล้ว- คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อต้องมีระบบปฏิบัติการ Windows เช่น Windows 2000, Windows XP, Windows Visa

  25. แต่ถ้าเราไม่ใช้มือถือ ไม่มีเบอร์บ้าน เราก็สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน AirCard AirCard คืออะไร AirCard คือ อุปกรณ์ทีใช้เชื่อมต่อกับ notebook หรือ PC ตังโต๊ะ เพือเล่น internet แบบไร้สาย ผ่าน ผู้ให้บริการมือถือเช่น AIS หรือ DTAC โดย AirCard จะมีทังแบบทีเป็น PCMCIA หรือ ExpressCard ทีออกแบบมาเพื่อใช้กับ notebook หรือ AirCard แบบ USB ทีใช้กับ computer ได้ทุกเครื่องทีมี USB port ในปัจจุบันนี้เมืองไทยมีทั้ง GPRS, EDGE, 3G โดยผู้ให้บริการ AIS, DTAC และ true Aircard จะเร็วอยู่ที่ 7.2M ในขณะที่ Bluetooth ถ้ามือถือรุ่นใหม่ๆ จะได้ประมาณ 1-3M

  26. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อเครือข่าย แบบเชื่อมต่อกันด้วยสายส่งข้อมูลมีได้หลายรูปแบบเช่น สายทองแดงสาย Coaxial สายไฟเบอร์ออปติกระบบ ATM แบบไม่ใช้สายสัญญาณเช่นวงจรสื่อสารผ่านดาวเทียมวงจรสื่อสารผ่านไมโครเวฟความเร็วรับส่งข้อมูลมีตั้งแต่ 24 Kbps, 64 Kbps. ถึง 2 Mbps., จนถึงGbps.

  27. สื่อนำสัญญาณแบบต่างๆ ได้แก่ สายทองแดง, สาย coaxial, สาย fiber, ดาวเทียม, ไมโครเวฟ

  28. การ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหรือแลนการ์ด (Network Interface Card : NIC) อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิลคือการ์ดเชื่อมเครือข่าย การ์ดนี้ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเสียบลงบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ส่วนพอร์ตในการเชื่อมต่อกับสายเคเบิลจะอยู่ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

  29. ฮับ (Hub)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิลในเครือข่ายมีลักษณะเป็นช่องเสียบสายเคเบิลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์กับเครื่องพีซีอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องไคลเอนต์

  30. รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนตัวกลางนำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น จากไฟเบอร์ออฟติกมายังโคแอกเชียล หรือการเชื่อมระหว่างตัวกลางเดียวกันก็ได้ การใช้รีพีตเตอร์จะทำให้เครือข่ายทั้งสอง เสมือนเชื่อมกัน โดยที่สัญญาณจะวิ่งทะลุถึงกันได้หมด รีพีตเตอร์จึงไม่มีการกันข้อมูล แต่จะมีประโยชน์ในการเชื่อมต่อความยาวให้ยาวขึ้น

  31. บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้

  32. เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราเตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราเตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  33. เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกตเวย์จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็นเราเตอร์ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่าไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย

  34. Spliter

  35. ISP (Internet Service Provider) • บริษัทธุรกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ของศูนย์คอมพิวเตอร์ใด • ผู้ใช้บริการจะต้องชำระเงินตามระบบ อาจจะเป็นรายเดือนหรือรายปี • Internet Thailand เป็น ISP แห่งแรกที่เป็นบริษัทเอกชน • ISP บริษัทเอกชนอื่นๆ CS Internet, Loxinfo Info, New Samart Cybernet

  36. จะใช้ Internet ได้อย่างไร ? • วิธีการใช้บริการ • USER NAME เมื่อสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการ Internet (ISP) จะได้รับ • Username (หรือ User-ID หรือ login-name) และ Password • ทุกครั้งที่ติดต่อกับ ISP จะต้องป้อน Username และ Password • Username จะเป็นส่วนหนึ่งของ Internet Address ที่ใช้ติดต่อกับเครื่องอื่น

  37. ผู้ให้บริการ Internet : ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรายอื่นๆ

  38. Break

More Related