1 / 35

เครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง. จัดทำโดย นางสาวพรนภา จักสาน นางสาวเบญจ วรรณ ดำแดงดี นางสาวสุพัดชา ชูไว นายเกรียงไกร คำประเสริฐ ระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 เสนอ คุณกร วิชญ์ คำมา วิทยาลัยการอาชีพเชียงคำ. ประวัติเครื่องสำอาง.

Download Presentation

เครื่องสำอาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครื่องสำอาง จัดทำโดย นางสาวพรนภา จักสาน นางสาวเบญจวรรณ ดำแดงดี นางสาวสุพัดชา ชูไว นายเกรียงไกร คำประเสริฐ ระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 เสนอ คุณกรวิชญ์ คำมา วิทยาลัยการอาชีพเชียงคำ

  2. ประวัติเครื่องสำอาง การใช้เครื่องสำอางจัดเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีการค้นพบว่า มีการใช้เครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณจีนอินเดียและต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวกรีกเป็นชาติแรกที่มีการแยกการแพทย์และเครื่องสำอางออกจากกิจการทางศาสนา และยังถือว่าการใช้เครื่องสำอางเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อร่างกายให้ถูกต้องสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตรประจำวัน

  3. ศิลปะการใช้เครื่องสำอางและเครื่องหอมได้ถึงขีดสุดในระหว่าง 2 ศตวรรษแรกแห่งจักรวรรดิโรมัน แล้วค่อยๆ เสื่อมลง และเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลงในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ศิลปะการใช้เครื่องสำอางจึงแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป นอกจากนี้ ชาวอาหรับก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการผลิตเครื่องสำอาง โดยได้มีการดัดแปลง แก้ไขส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การใช้กรรมวิธีการกลั่นเพื่อให้มีความบริสุทธิ์สูง การใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย เป็นต้น

  4. เมื่อศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แพร่หลายเข้าสู่ในประเทศฝรั่งเศสมากขึ้น เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสได้พยายามเสนอให้มีการแยกกิจการด้านเครื่องสำอางไว้เฉพาะ โดยให้แยกออกจากกิจการด้านการแพทย์ เนื่องจากกิจการด้านการแพทย์และเครื่องสำอางต้องอยู่ในการควบคุมของกฎหมายในระหว่างปีค.ศ. 1400 – ค.ศ. 1500และความพยายามก็ประสบความสำเร็จในปีค.ศ. 1600

  5. ประเภทของเครื่องสำอางเครื่องสำอางสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่โดยทั่วไปมักจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

  6. เครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการทำความสะอาดผิวหนัง หรือใช้เพื่อป้องกันผิว หนังไม่ให้เกิดอันตรายจาสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอางประเภทนี้ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมล้างหน้า ครีมกันผิวแตก น้ำยาช่วยกระชับผิวให้ตึง เป็นต้น เครื่องสำอางที่ไม่ได้ใช้แต่งสีของผิว

  7. เครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการแต่งสีของผิวให้มีสีสวยขึ้นจากผิวธรรม ชาติที่เป็นอยู่ เช่น แป้งแต่งผิวหน้า ลิปสติก รู้ช เป็นต้น เครื่องสำอางตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ มอก.152-2518 จะสามารถแบ่งเครื่องสำอางได้เป็น 6ประเภทดังนี้ เครื่องสำอางที่ใช้แต่งสีผิว

  8. 1เครื่องสำอางสำหรับผม (Hair cosmetics) -แชมพู (shampoos) -น้ำยาโกรกผม (hair rinses) -น้ำยาจับลอนผม (wave sets) -น้ำยาดัดผม (hair permanent waving) -สิ่งปรุงเพื่อใช้กำจัดรังแค (antidandruff) -สิ่งปรุงแต่งสีของเส้นผมและขน (hair colouring) -สิ่งปรุงปรับสภาพเส้นผม (hair conditioners) -สิ่งปรุงแต่งทรงผม (hair dressing or hair grooming)

  9. 2.เครื่องสำอางแอโรซอล(aerosol cosmetics)3.เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า (face cosmetics) -ครีมและโลชั่นล้างหน้า (cleansing cream and lotions) -สิ่งปรุงสมานผิวและสิ่งปรุงทำให้ผิวสดชื่น (astringent preparations and skin fresheners) 

  10. -สิ่งปรุงรองพื้น (foundation preparations) -สิ่งปรุงผัดหน้า (face powders) -สิ่งปรุงแต่งตา (eye make-up preparations) -รู้ช (rouges) -ลิปสติก (lipsticks) -อิโมลเลียนต์ (emollients)

  11. 4.เครื่องสำอางสำหรับลำตัว (body cosmetics) -ครีมและโลชั่นทาผิว (emollient creams and lotions) -ครีมและโลชั่นทามือและทาตัว (hand, body creams and lotions) -สิ่งปรุงป้องกันแดดและแต่งให้ผิวคล้ำ (sun tan preparations) -น้ำยาทาและล้างเล็บ (nail lacquers and removers) -สิ่งปรุงระงับเหงื่อและกลิ่นตัว (antiperspirants and deodorants)

  12. 5.เครื่องหอม (fragrances) -น้ำหอม (alcoholic fragrances) -ครีมหอมและเครื่องหอมชนิดแข็ง (emulsified and solid fragrances)6.เบ็ดเตล็ด (miscellaneous cosmetics) -สิ่งปรุงสำหรับการโกน (shaving preparations) -สบู่สำหรับการโกน (shaving soaps) -ครีมสำหรับการโกน (shaving creams) 

  13. -สิ่งปรุงสำหรับใช้ก่อนการโกน (pre-shave preparations) -สิ่งปรุงสำหรับใช้หลังการโกน (after-shave preparations) -สิ่งปรุงที่ทำให้สีผิวจางและฟอกสีผิว (skin lighteners and bleaching preparations) -สิ่งปรุงผสมน้ำอาบ (bath preparations) -ฝุ่นโรยตัว (dusting powders) -สิ่งปรุงทำให้ขนร่วง (depilatories)

  14. เครื่องสำอางที่พบในท้องตลาดอาจจะแบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้1.เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง ได้แก่-ครีมทาผิว-ผลิตภัณฑ์ขจัดสิว-ผลิตภัณฑ์ขจัดสีผิวและขจัดฝ้า-ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและขจัดกลิ่นตัว-ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด-ผลิตภัณฑ์ป้องกันแมลงกัดต่อย

  15. 2.เครื่องสำอางสำหรับผมและขน ได้แก่-แชมพูและครีมนวดผม-ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผม-ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวดและกำจัดขน3.เครื่องสำอางสำหรับแต่งตาและคิ้ว4.เครื่องสำอางสำหรับแต่งใบหน้า-ผลิตภัณฑ์พอกและลอกหน้า-ผลิตภัณฑ์กลบเกลื่อน-ผลิตภัณฑ์รองพื้นแต่งหน้า-แป้งผัดหน้าและแป้งโรยตัว

  16. 5.เครื่องสำอางสำหรับแต่งแก้ม6.เครื่องสำอางสำหรับแต่งปาก7.เครื่องสำอางสำหรับทำความสะอาดผิวปาก และฟัน-ครีมล้างหน้าและครีมล้างมือ-ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก8.เครื่องสำอางสำหรับเล็บ9.เครื่องสำอางสำหรับเด็ก10.ผลิตภัณฑ์น้ำหอม

  17. คุณลักษณะเครื่องสำอางในการผลิตเครื่องสำอาง มีลักษณะการเตรียมหรือการผลิตเหมือนกับการเตรียมหรือการผสมยา แต่ในกรณีของการเตรียมเครื่องสำอางจะมีลักษณะที่เฉพาะเด่นชัดที่แตกต่างจากการผลิตยาอยู่ 3 ประการ คือ

  18. 1.เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดม2.มีลักษณะสวยงาม ทั้งลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการบรรจุหีบห่อ3.ใช้งานได้ง่าย สะดวกต่อการพกพา เครื่องสำอางโดยทั่วไป จะต้องบอกคุณลักษณะของเครื่องสำอางนั้นๆ ไว้ ตามมาตร ฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เช่น ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ วิธีใช้ ข้อควรระวัง ภาชนะและการบรรจุ รวมถึงการทดสอบ การตรวจหาปริมาณ และการวิเคราะห์ต่างๆ

  19. ประโยชน์ของเครื่องสำอาง1.ช่วยตกแต่งให้ผิวดูเนียนและผุดผ่องขึ้น เช่น แป้งแต่งหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ครีมต่างๆ2.ช่วยทำความสะอาดรักษาอนามัยและสุขภาพผิวของปากและฟัน เช่น สบู่และยาสีฟัน3.ช่วยกลบเกลื่อนให้แลดูเป็นธรรมชาติ เช่น กลบฝ้าและไฝต่างๆ4.ช่วยตกแต่งทรงผมให้อยู่ทรง และสวยงามตามที่ต้องการ5.ช่วยทำให้สบายผิว แก้ความอับชื้น เช่น แป้งฝุ่นโรยตัว6.ทำให้จิตใจสดชื่น รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากกลิ่นหอมของเครื่องสำอาง

  20. คำจำกัดความของเครื่องสำอางคำจำกัดความของเครื่องสำอาง มีมากมายหลายแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้ความหมายว่ามีความต้องการสื่อหรือมีวัตถุประสงค์อย่างไร โดยมีหลักการและพื้นฐานในการให้คำจำกัดความดังต่อไปนี้

  21. หนังสือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.152-2518) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ได้ให้คำจำกัดความเครื่องสำอางว่า เครื่องสำอางหมายถึง :-ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงเพื่อใช้บนผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ โดยถู ทา พ่น หรือ โรย เป็นต้น เช่นในการทำความสะอาดป้องกัน แต่งเสริมเพื่อความงาม หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ-สิ่งใดๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

  22. หนังสือพิมพ์เภสัชกรรม สมัยสยาม ปีที่สิบห้า เล่มสาม พฤษภาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ.2505 ได้ให้คำจำกัดความว่า เครื่องสำอาง คือผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มีความตั้งใจหรือจงใจผลิตขึ้นมาสำหรับใช้กับบุคคลใดโดย ตรง เพื่อความมุ่งหมายในการทำความสะอาด หรือการทำให้เกิดความสวยงามโดยเฉพาะ ภายใต้กฎหมายควบคุมอาหาร ยา และเครื่องสำอางของสหรัฐอเมริกา ความหมายรวมไปถึง ยาและสารต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งจะต้องถูกควบคุมตามกฎหมาย และในด้านปฏิบัติการหรือเทคนิคต่างๆ ที่จะใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง รวมทั้งวิธีรักษาและเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการทำความสะอาดร่างกายและการทำให้เกิดความสวยงามที่ใช้ในร้านเสริมสวยด้วย

  23. พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ.2517 เครื่องสำอางหมายถึงวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือด้วยอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม ตลอดจนเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วยวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ หรือวัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง

  24. พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญต่อเครื่องสำอางเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันสำหรับผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัยไม่เฉพาะแต่กลุ่มผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงลูกค้าที่เป็นผู้ชายซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ และนับวันจะก้าวมามีบทบาท

  25. มากขึ้นตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มอิ่มตัวได้แก่ แชมพู ครีมนวดผม และสบู่ก้อน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มค่อนข้างดี คือ พวกครีมกันแดด ครีมต่อต้านริ้วรอย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวขาว ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือได้ว่าอยู่ในกลุ่มเวชสำอาง

  26. ส่วนประกอบดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไปเวชสำอางที่จัดเป็นเครื่องสำอาง- ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุ- ผลิตภัณฑ์ป้องกันอันตรายจากแสงแดด- ผลิตภัณฑ์ขจัดรังแค- ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย (antiperspirant)

  27. เวชสำอางที่ไม่อาจจัดเป็นเครื่องสำอาง- แสดงสรรพคุณทางยา เช่น แก้คัน บรรเทาอาการผื่นแพ้ ผิวอักเสบ ขจัดสิว ทำให้ผิวขาว เสริมทรวงอก ยับยั้งผมร่วง สร้างเส้นผมใหม่- ผสมสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เช่น corticosteroid, antibiotics, retinoic acid hydroquinone, hormones, minoxidil

  28. เวชสำอางที่จัดเป็นยา- แก้คัน ผื่นแพ้ ผิวหนังอักเสบ- มีส่วนผสมของ corticosteroid, antibiotics- ผลิตภัณฑ์สำหรับสิวที่มีส่วนผสมของantibiotics, retinoic acid, benzoyl peroxide- ผลิตภัณฑ์สำหรับฝ้าที่มีส่วนผสมของ hydroquinone, azelaic acid- ผลิตภัณฑ์เสริมทรวงอก- ผลิตภัณฑ์ปรับเปลี่ยนสีผิว ผลิตภัณฑ์ในช่องปาก เช่น ระงับเชื้อ แก้ปวดฟัน รำมะนาด

  29. คำถามท้ายเรื่อง • มีการใช้เครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยใด • อียิปต์โบราณ จีน อินเดีย • เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ • มาเลเซีย เวียดนาม • ถูกทุกข้อ

  30. 2. เมื่อศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แพร่หลายมากขึ้น และได้เข้าสู่ในประเทศใด • เกาหลี • ญี่ปุ่น • ฝรั่งเศส • อินเดีย

  31. 3. เครื่องสำอางสำหรับลำตัว (body cosmetics) มีกี่ประเภท • 2 ประเภท • 3 ประเภท • 4 ประเภท • 5 ประเภท

  32. 4. เครื่องสำอาง ใช้สำหรับการทำความสะอาดผิวหนัง หรือใช้เพื่อป้องกันผิวได้แก่ประเภทใด • สบู่ แชมพู ครีมล้างหน้า ครีมกันผิวแตก น้ำยาช่วยกระชับผิวให้ตึง • แป้งแต่งหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ครีมต่างๆ • แชมพูและครีมนวดผม • ถูกทั้ง ข และ ค

  33. 5. เครื่องสำอางต้องอยู่ในการควบคุมของกฎหมายในระหว่างปี ค.ศ. ใด • ค.ศ. 1200 - ค.ศ. 1400 • ค.ศ. 1400 - ค.ศ. 1500 • ค.ศ. 1500 - ค.ศ. 1600 • ค.ศ. 1600 - ค.ศ. 1800

  34. 6.

  35. จบการนำเสนอ

More Related