1 / 28

การวัดทัศนคติ

การวัดทัศนคติ. แนวความคิดในการวัดทัศนคติ. หลักของการวัดทัศนคติ.

greg
Download Presentation

การวัดทัศนคติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวัดทัศนคติ แนวความคิดในการวัดทัศนคติ

  2. หลักของการวัดทัศนคติ การวัดทัศนคติ คือ การสร้างชุดของข้อความขึ้นมาชุดหนึ่งแล้วให้ผู้ตอบแสดงทัศนคติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความต่างๆ ในแต่ละชุด จำนวนข้อความที่ใช้ในแต่ละชุดอาจมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะศึกษารวมทั้งกระบวนการกลั่นกรองผลของการทดลองใช้ในรอบแรก สเกลที่ใช้ในการวัดเป็นเพียงเครื่องมือของวิธีการวัดที่อาจจะไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็ทำหน้าที่ในการช่วยจำแนกบุคคลที่ตอบแบบสอบถามออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามที่กำหนดไว้

  3. หลักสำคัญที่ผู้วิจัยพุงระวังในการสร้างและประเมินผลข้อความต่างๆ ที่ใช้ในการวัด คือ 1. ความเป็นมิติเดียวกัน (Unidimensionality) 2. ความเป็นเส้นตรง (Linearity) และมีช่วงเท่ากัน (Equal Intervals) 3. ความเชื่อถือได้ (Reliability) 4. ความถูกต้อง (Validity) 5. ความสามารถในการสร้างใหม่ได้ (Reproducibility)

  4. 1. ความเป็นมิติเดียวกัน ข้อความที่จะใช้วัดนั้นควรจะสร้างขึ้นมาเพื่อวัดในเรื่องเดียวกัน ข้อความเพียงรายการเดียวอาจมาสามารถวัดทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรงได้ จำเป็นต้องใช้ข้อความอื่นที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในเรื่องนั้นเข้ามาช่วยในการวัด ข้อความที่นำเข้ามานั้นต้องมั่นใจว่าเกี่ยวข้องกับทัศนคติที่จะศึกษาได้จริง เช่น ทัศนคติของบุคคลเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ อาจจะใช้ข้อความเกี่ยวกับการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนาพุทธเข้ามาช่วยสร้างข้อความ เช่น การทำบุญตักบาตร การฟังเทศน์ การปฏิบัติตามคำสั่งสอน การเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ เช่น การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน การถวายสลากภัตต์ การเวียนเทียน เพื่อจะศึกษาว่าบุคคลมีทัศนคติต่อข้อความเหล่านั้นในระดับใด

  5. 2. ความเป็นเส้นตรงและความมีช่วงเท่ากัน หมายถึงสเกลที่ใช้ในการตอบข้อความนั้น สามารถจัดเรียงลำดับตำแหน่งของคนบนเส้นตรงเดียวกันและมีการกำหนดค่าคะแนนแต่ละข้อความให้มีช่วงเท่ากัน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ 3. ความเชื่อถือได้ หมายถึงสเกลวัดที่สร้างขึ้นจากข้อความต่างๆ ในชุดหนึ่งเพื่อทำการศึกษาในช่วงเวลาที่ต่างกันควรจะได้ผลที่สอดคล้องกัน 4. ความถูกต้อง หมายถึงข้อความที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถวัดในสิ่งที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ ? 5. ความสามารถในการสร้างใหม่ได้ ถ้าการวัดที่ใช้มีวิธีการที่ดี ผู้วิจัยสามารถจะทำนายได้ว่าคะแนนที่หน่วยในการวิเคราะห์แต่ละหน่วยได้รับนั้นจะตอบคำถามในแต่ละข้อเช่นไร ?

  6. ข้อความที่ใช้ในการวัดทัศนคติข้อความที่ใช้ในการวัดทัศนคติ 1. ควรจะเป็นข้อความสั้นๆ ไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก 2. เป็นข้อความที่มีความหมายน่าสนใจ หรือดึงดูดความสนใจของผู้ตอบ 3. ไม่ควรใช้ข้อความที่มีลักษณะปฏิเสธ 4. ข้อความที่คลุมเครือไม่ชัดเจน

  7. แบบของการวัดทัศนคติ 1. ลิเคิร์ท สเกล (Likert Scal) 2. เทอร์สโตน (Thurstone Scale) 3. กัทท์แมน สเกล (Guttman Scale)

  8. 1. ลิเคร์ทสเกล เป็นวิธีการวัดทัศนคติที่อาศัยผลรวมของค่าคะแนนจากชุดข้อความที่ใช้ศึกษาเป็นเครื่องจำแนกว่าบุคคลมีระดับทัศนคติเช่นไร เป็นวิธีที่สะดวก สร้างได้ง่าย เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีหลักในการสร้างดังนี้ (1) กำหนดข้อความเกี่ยวกับทัศนคติที่จะศึกษาขึ้นมาชุดหนึ่ง เช่น ถ้าต้องการใช้ข้อความในการวัด 10 รายการ อาจจะตองสร้างข้อความขึ้นมาอย่างน้อย 15 รายการ ข้อความในแต่ละรายการ ควรมีลักษณะในเชิงสนับสนุนหรือมองในด้านดี และมีข้อความที่มีลักษณะต่อต้านหรือมองในด้านลบ ควรเลี่ยงข้อความที่ทีลักษณะเป็นกลาง (2) จำแนกความเห็นในข้อความต่างๆ ออกเป็น 5 ระดับ ด้วยกัน คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Strongly Agree) เห็นด้วย (Agree) ไม่แน่ใจ (Neutral) ไม่เห็นด้วย (Disagree) และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Strongly Disagree)

  9. (3) กำหนดค่าคะแนนให้กับระดับความเห็นในข้อ 2 ค่าคะแนนที่กำหนดให้โดยทั่วไปจะมีลักษณะ ดังนี้

  10. (4) นำข้อความที่สร้างขึ้นนั้นไปทำการทดสอบเพื่อตรวจดูความสมบูรณ์และความน่าเชื่อถือ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ในขั้นปฏิบัติต่อไป (5) คัดเลือกข้อความที่มีประสิทธิภาพมาทำการวิเคราะห์

  11. ข้อความที่ใช้วัดทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคของชายและหญิงข้อความที่ใช้วัดทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคของชายและหญิง

  12. Corrected Item - Total Correlation Scale Mean if Item Deleted Scale Variance if Item Deleted Alpha Variance if Item Deleted Reliability Q01 48.6000 61.4000 .2253 .5909 Q02 48.7333 60.2095 .3724 .5737 Q03 48.2667 59.7810 .3824 .5716Q04 48.6667 63.8095 .0895 .6106 Q05 48.6000 65.4000 .0052 .6239 Q06 48.0000 64.8571 .0859 .6078 Q07 48.9333 63.4952 .0934 .6110 Q08 48.6667 57.0652 .6234 .5451 Q09 48.5333 61.1238 .2596 .5863 Q10 48.5333 68.1238 -.1130 .6368

  13. Corrected Item - Total Correlation Scale Mean if Item Deleted Scale Variance if Item Deleted Alpha Variance if Item Deleted Reliability Q11 48.4667 63.8810 .0812 .6118 Q12 48.8000 60.6000 .2761 .5838 Q13 48.8000 66.1143 -.0155 .6240 Q14 48.6667 61.8095 .1889 .5963 Q15 48.6667 57.0952 .6234 .5451 Q16 48.4000 58.5429 .3616 .5703 Q17 48.6000 58.9714 .4116 .5666 Q18 48.2667 63.0667 .1632 .5992 Q19 48.3333 61.2381 .2850 .5838 Q20 47.9333 64.2095 .0797 .6112 ส่วนที่ 2 Reliability Coefficients In of Cases = 15.0 N of Item = 20Alpha = .6059

  14. ในผลลัพธ์ที่ได้ แบ่งได้ 2 ส่วนใหญ่ๆ โดยมีความหมายตามลำดับ ดังนี้ เป็นส่วนที่แสดงค่าสถิติต่างๆ สำหรับวิเคราะห์ความสัมพันธ์ หรือความสอดคล้องภายในระหว่างคะแนนของข้อถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของทุกข้อความเมื่อข้อถามนั้นถูกตัดออกไปโดยมีค่าต่างๆ ดังนี้ ส่วนที่ 1 ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมของทุกข้อถามที่เหลือหลังจากมีการตัดข้อถามในบรรทัดนี้ออกไป Mean คือ คือ ค่าความแปรปรวนรวมของทุกข้อถามที่เหลือหลังจากมีการตัดข้อถามในบรรทัดนี้ออกไป Varlance Corrected Item-Total Correlation คือ ค่าสัมประสิทธ์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวม ของทุกข้อถามกับข้อถาม คือ ค่าระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่เหลือหลังจากมีการตัดข้อถามในบรรทัดนี้ออกไป ค่านี้จะบอกให้ทราบว่าถ้าต้องการให้เครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นสูงขึ้นกว่าเดิมจะต้องตัดข้อถามใดออก จากตัวอย่างพบว่าข้อถามที่ควรตัดออกเป็นอันดับแรกคือ ข้อถามข้อ Q05 เพราะจะทำให้ค่าระดับความเชื่อมั่นสูงที่สุดเมื่อเทียบกับการตัดข้อถามข้ออื่น Alpha If Item Deleted .6239

  15. เป็นส่วนที่แสดงค่าระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือพร้อมกับแสดงจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม และจำนวนข้อถามที่นำมาวิเคราะห์ดังนี้ ส่วนที่ 2 N of Cases N of Items Alpha แสดง จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม แสดง จำนวนข้อถามที่นำมาวิเคราะห์ แสดง ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ สรุปผล เครื่องมือที่ใช้มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.6059 (จากค่า Alpha) ถือว่าอยู่ในระดับใช้ได้ แต่ถ้าต้องการให้ความเชื่อมั่นสูงขึ้นควรจะตัดข้อถาม Q05 ออกไปจะมีผลทำให้ค่าความเชื่อมั่นเพิ่มสูงขึ้นเป็น 0.6239 (ดูจาก Alpha If item Deleted)

  16. มาตรจำแนกความหมาย (Semantic Differentials) มาตรจำแนกความหมาย พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1957 โดย Osgood, Suci และ Tennenbaum เพื่อนำมาใช้วัดเจตคติหรือความเชื่อที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต่อมา ได้มีการนำมาตรจำแนกความหมายมาใช้วัดความหมายของมโนทัศน์ที่ต้องการวัด วัดความเชื่อเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และวัดเจตคติที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เจตคติต่อวิชาชีพ เป็นต้น มาตรจำแนกความหมายประกอบด้วยคุณศัพท์ 2 คำที่มีความหมายตรงกันข้าม (Opposite Adjectives) ช่วงระหว่างคำคุณศัพท์แบ่งเป็น 7 ช่วง โดยคำคุณศัพท์ 2 คำที่มีความหมายตรงกันข้ามอยู่ส่วนต้นสุดและปลายสุด การให้คะแนนจะให้คะแนน 1-7 โดนเรียงจากคำตอบที่มีความหมายเชิงลบมากที่สุดไปยังคำตอบที่มีความหมายเชิงบวกที่สุด

  17. ตัวอย่าง แบบมาตรจำแนกความหมาย ร้อน หนาว สวย ขี้เหล่ อ่อนแอ แข็งแรง ทุกข์ สุข

  18. การสร้างแบบสอบถาม

  19. แบบวัดทัศนคติที่ดีต่อการทำความดีแบบวัดทัศนคติที่ดีต่อการทำความดี นิยามเชิงปฏิบัติการปริมาณการเห็นประโยชน์และโทษของการทำความดี ความรู้สึกชอบ พอใจ หรือไม่ชอบ ไม่พอใจที่จะมีพฤติกรรมดังกล่าว รวมทั้งความพร้อม หรือแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมการทำความดี หรือหลีกเลี่ยงความการทำความดี

  20. แบบสอบถามเพื่อการวิจัยแบบสอบถามเพื่อการวิจัย คำแนะนำในการตอบ ขอให้นักศึกษาอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วพิจารณาว่าข้อความนั้นๆ ตรงกับการรับรู้ของนักศึกษาว่าจริงหรือไม่ เพียงใด แล้วให้ทำเครื่องหมายถูก (/) ลงบนเส้นที่ขีดไว้ให้ เพียงแห่งเดียวในแต่ละข้อ กรุณาตอบให้ครบทุกข้อ

  21. ตอนที่ 1 ทัศนคติต่อการทำความดี 1. การรักษาเกียรติของมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งยุ่งยาก (r = .425, t = 5.752) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 2. การช่วยเหลือเพื่อนเป็นการเสียเปรียบ (r = .450, t = 6.013) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 3. ฉันไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรักษาคำพูด (r = .447, t = 6.296) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย

  22. 4. การทำความดีทำให้เกิดความยุ่งยากแก่ฉัน (r = .486, t = 7.370) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 5. การทำตามกฎหมายเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก (r = .505, t = 8.072) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 6. ฉันพอใจที่ทำงานได้เสร็จทันเวลา (r = .417, t = 4.916) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 7. ฉันรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานเพื่อส่วนรวม (r = .481, t = 6.659) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย

  23. 8. ฉันรู้สึกสบายใจที่เข้าห้องเรียนตรงตามเวลา (r = .427, t = 6.277) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 9. ฉันรู้สึกไม่ชอบที่ต้องช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า (r = .525, t = 6.373) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 10. ฉันพร้อมที่จะยอมรับผิด ถ้าทำความผิด(r = .465, t = 7.033) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 11. ฉันพร้อมที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด (r = .478, t = 7.087) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย

  24. 12. ฉันพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย (r = .587, t = 8.172) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 13. ฉันพร้อมที่รักษาทรัพย์สมบัติที่เป็นสาธารณะ (r = .519, t = 6.781) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 14. ฉันพร้อมที่จะไปที่นัดหมายตรงตามเวลา (r = .458, t = 6.497) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย 15. ฉันยินดีที่จะสละความสุขส่วนตัวเพื่อรักษาความสะอาดของมหาวิทยาลัย (r = .447, t = 6.296) ................ ................ ................ : ................ ................ ................ จริงที่สุด จริง ค่อนข้างจริง : ค่อนข้างไม่จริง ไม่จริง ไม่จริงเลย

More Related