1 / 47

แนวทางการจัดทำข้อสอบ

แนวทางการจัดทำข้อสอบ. กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. ภารกิจในการจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเรียน. หลักสูตรกศ.พื้นฐาน 2544 ส่วนกลางและภาคจัดทำให้สถานศึกษา หลักสูตร กศน.51(นำร่อง) -วิชาบังคับ ส่วนกลางและภาคจัดทำ -วิชาเลือก สนง.กศน.จังหวัดจัดทำ

Download Presentation

แนวทางการจัดทำข้อสอบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการจัดทำข้อสอบ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

  2. ภารกิจในการจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเรียนภารกิจในการจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเรียน • หลักสูตรกศ.พื้นฐาน 2544 ส่วนกลางและภาคจัดทำให้สถานศึกษา • หลักสูตร กศน.51(นำร่อง) -วิชาบังคับ ส่วนกลางและภาคจัดทำ -วิชาเลือก สนง.กศน.จังหวัดจัดทำ • หลักสูตรกศน.51(ทั่วประเทศ) -วิชาบังคับ ส่วนกลางและภาคจัดทำ -วิชาเลือก สนง.กศน.จังหวัดจัดทำ

  3. การกำหนดตารางสอบปลายภาคเรียนการกำหนดตารางสอบปลายภาคเรียน • 1. ส่วนกลาง จัดทำกำหนดตารางการสอบปลายภาคเรียนทั่วประเทศ เฉพาะวิชาบังคับทุกหลักสูตร- พื้นฐาน 2544 - กศน.51(นำร่อง) - กศน.51(ทั่วประเทศ) • 2. สำนักงานกศน.จังหวัด จัดทำกำหนดตารางการสอบวิชาเลือกเอง ในภาพรวมของจังหวัด

  4. กำหนดการสอบปลายภาคเรียนที่1/2553กำหนดการสอบปลายภาคเรียนที่1/2553 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  5. กำหนดการสอบปลายภาคเรียนที่1/2553 (ต่อ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  6. แบบทดสอบที่สถานศึกษาใช้สอบแบบทดสอบที่สถานศึกษาใช้สอบ ก่อนเรียน ระหว่างภาคเรียน ปลายภาคเรียน - แบบปรนัยเลือกตอบ (สถานศึกษามอบหมายผู้ออกข้อสอบปลายภาคเรียน แล้วจัดส่งให้สำนักงาน กศน.ดำเนินการคัดเลือกและปรับแก้ไข) -สถานศึกษาดำเนินการ

  7. การกำหนดตารางสอบ NT ส่วนกลาง จัดทำแผนตารางสอบดังนี้

  8. การสร้างแบบทดสอบปลายภาคเรียนการสร้างแบบทดสอบปลายภาคเรียน • สถานศึกษามอบหมายผู้ออกข้อสอบตามผังข้อสอบที่สำนักงาน กศน. กำหนด ตามรายวิชาที่สถานศึกษาเปิดให้ลงทะเบียนเรียนใน แต่ละภาคเรียน • สำนักงาน กศน.จะมีหนังสือแจ้งกำหนดวันให้สถานศึกษาจัดส่งข้อสอบมาให้คัดเลือกทั้งหลักสูตรเก่า และหลักสูตรใหม่ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

  9. ปัญหาที่พบในการคัดเลือกข้อสอบปัญหาที่พบในการคัดเลือกข้อสอบ 1. ข้อสอบที่หลายจังหวัดส่งมาซ้ำกันมาก คำถามและคำตอบ เหมือนกันทุกประการ 2. ส่งข้อสอบที่สำนักงาน กศน.เคยส่งให้สถานศึกษานำไปจัดสอบ ในภาคเรียนที่ผ่านมา ส่งกลับคืนมาให้สำนักงาน กศน.เจ้าของข้อสอบ 3. ข้อสอบที่ครูออกมา ส่วนใหญ่วัดความรู้ความจำกันมาก เช่น ถามว่า แบ่งเป็นกี่ประเภท กี่กลุ่ม กี่รูปแบบ ฯลฯ 4. คำตอบถูกมีหลายข้อ, คำตอบถูกผิดเด่นชัดมาก, เฉลยผิด. 5. คำถามชี้แนะคำตอบ ฯลฯ

  10. ตัวอย่างข้อสอบที่ส่งมาตัวอย่างข้อสอบที่ส่งมา • 1. ประเภทของโครงงานแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท ก. 4 ประเภท ข. 2 ประเภท ค. 3 ประเภท ง. 5 ประเภท ควรปรับแก้ไขเป็น ข้อใดจัดเป็นโครงงานประเภทสำรวจ? หรือ การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืชจัดเป็นโครงงานประเภทใด?

  11. ตัวอย่างข้อสอบ (ต่อ) • 1. การป้องกันและต่อต้านยาเสพติด ควรทำโดยวิธีใดบ้าง ก. ป้องกันตนเอง ค. ป้องกันชุมชนให้ปลอดภัย ข. ป้องกันและแก้ไขในครอบครัว ง. ถูกทุกข้อ 2. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการชุมชน ก. วิเคราะห์ชุมชน ค. วิถีประชาธิปไตย ข. ประสานแหล่งงบประมาณ ง. สร้างทีมงานหมู่บ้าน

  12. ทบทวนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนทบทวนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียน • สัดส่วนการวัดและประเมินผล - ระหว่างภาคเรียน 60 - ปลายภาคเรียน 40

  13. วิธีการประเมินระหว่างภาคเรียนวิธีการประเมินระหว่างภาคเรียน • ใช้วิธีการที่หลากหลาย - การทำแบบฝึกหัด,รายงาน - การนำเสนอผลงาน - ทำแฟ้มผลงาน,โครงงาน - ทดสอบย่อย - การประเมินการปฏิบัติจริง ฯลฯ

  14. ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินแฟ้มผลงานตัวอย่างเกณฑ์การประเมินแฟ้มผลงาน • 1. เกณฑ์ทางกายภาพ ได้แก่ การจัดรูปเล่ม การเรียงลำดับเนื้อหา ความน่าสนใจ ความสวยงามเรียบร้อย ฯลฯ (10 คะแนน) • 2. กระบวนการทำงาน (20 คะแนน) • 3. ผลงาน , ชิ้นงาน หรือเอกสารรายงาน (20 คะแนน) ตัวอย่างชิ้นงาน เช่น การประดิษฐ์ การทดลอง การศึกษาค้นคว้า การสำรวจ ฯลฯ

  15. วิธีการประเมินปลายภาคเรียนวิธีการประเมินปลายภาคเรียน • เพื่อทราบผลการเรียนรู้โดยรวมของผู้เรียนตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา โดยอาจใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ดังนี้ - แบบทดสอบปรนัย - แบบทดสอบอัตนัย - แบบประเมินการปฏิบัติจริง

  16. การตัดสินผลการเรียนรายวิชาการตัดสินผลการเรียนรายวิชา • ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนมารวมกับคะแนนปลายภาคเรียน และต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่าผ่าน การเรียนในรายวิชานั้น แล้วนำคะแนนไปให้ค่าระดับผลการเรียน ซึ่งกำหนดเป็น 8 ระดับดังนี้

  17. การตัดสินผลการเรียนรายวิชาการตัดสินผลการเรียนรายวิชา ได้ 80% -100 %ให้ระดับ 4 หมายถึง ดีเยี่ยม ได้ 75% - 79 %ให้ระดับ 3.5 หมายถึง ดีมาก ได้ 70 % - 74 % ให้ระดับ 3 หมายถึง ดี ได้ 65 % - 69 % ให้ระดับ 2.5 หมายถึงค่อนข้างดี ได้ 60 % - 64 %ให้ระดับ 2 หมายถึงปานกลาง ได้ 55 % - 59 %ให้ระดับ 1.5 หมายถึงพอใช้ ได้ 50 % - 54 %ให้ระดับ 1 หมายถึงผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ได้ 0 % - 49 % ให้ระดับ 0 หมายถึงต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด

  18. เกณฑ์การจบหลักสูตร กศน.2551 1. ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรายวิชาครบตามโครงสร้าง หลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา ดังนี้ 1.1 ประถม ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต(บังคับ36เลือก12) 1.2 ม.ต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต(บังคับ40เลือก16) 1.3 ม.ปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต(บังคับ44เลือก32) 2. ผ่านเกณฑ์การประเมิน กพช. ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง 3. ผ่านการประเมินคุณธรรม ในระดับพอใช้ขึ้นไป(ผู้เรียนมีพฤติกรรม ตามตัวบ่งชี้ ร้อยละ50 – 69 ของพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละคุณธรรม) 4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ

  19. หลักการวัดและประเมินผลการเรียนหลักการวัดและประเมินผลการเรียน • 1. วัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัด • 2. กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้ชัดเจน • 3. ใช้แบบทดสอบที่มีคุณภาพ วัดจุดประสงค์และ เนื้อหาได้ครบถ้วน • 4. วัดได้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ

  20. หลักการวัดและประเมินผลการเรียน(ต่อ)หลักการวัดและประเมินผลการเรียน(ต่อ) • 5. มีความยุติธรรมในการวัด • 6. แปลผลของการวัดและประเมินผลได้ถูกต้อง • 7. ควรเน้นการวัดผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ • 8. นำผลการวัดและประเมินผลไปใช้อย่างคุ้มค่า

  21. คำถามก่อนสร้างข้อสอบ 1. จะวัดผลในแต่ละมาตรฐานและเนื้อหามากน้อยเพียงใด 2. จะวัดผลโดยวิธีใด - การทดสอบ - การวัดภาคปฏิบัติ - การทำแฟ้มผลงาน, แบบฝึกหัด, รายงาน ฯลฯ 3. จะสร้างข้อสอบอย่างไร

  22. คำถามก่อนสร้างข้อสอบ(ต่อ)คำถามก่อนสร้างข้อสอบ(ต่อ) 4. คำถามในข้อสอบควรวัดพฤติกรรมใดบ้าง 5. จะสร้างคำถามที่ดี ตัวเลือกที่ดีอย่างไร 6. จะตรวจให้คะแนนอย่างไร 7. จะนำคะแนนมาประเมินผลอย่างไร

  23. ขั้นตอนการสร้างข้อสอบขั้นตอนการสร้างข้อสอบ • 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการวัด • 2. วิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด(จัดทำตารางวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมที่ต้องการวัดตามที่หลักสูตรต้องการ) • 3. เลือกแบบของข้อสอบ

  24. ขั้นตอนการสร้างข้อสอบ(ต่อ)ขั้นตอนการสร้างข้อสอบ(ต่อ) • 4. เขียนร่างข้อสอบ • 5. พิมพ์จัดชุดทั้งฉบับ • 6. นำไปทดสอบปลายภาคเรียน • 7. วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ(รายข้อ, ทั้งฉบับ)

  25. คุณสมบัติของผู้สร้างข้อสอบคุณสมบัติของผู้สร้างข้อสอบ • 1. ต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสร้างข้อสอบ • 2. ต้องรู้เทคนิคการสร้างข้อสอบ - การเขียนคำถาม - การเขียนตัวเลือก ตัวถูก(เฉลย) - รู้หลักการสร้างข้อสอบ คุณสมบัติที่ดีของ ข้อสอบ

  26. ตัวอย่างผังข้อสอบ ผังการออกข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียน หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระทักษะการเรียนรู้ ระดับ ประถม  ม.ต้น ม.ปลาย รายวิชา การวิจัยอย่างง่าย มาตรฐานที่ 1.5 ให้มีความรู้ความเข้าใจในงานวิจัยอย่างง่าย

  27. บัตรข้อสอบ • การส่งข้อสอบให้สำนักงาน กศน.เพื่อคัดเลือก ให้สถานศึกษาส่งโดยการพิมพ์หรือเขียนลงบนบัตรข้อสอบตามแบบฟอร์มที่สำนักงาน กศน. กำหนด

  28. บัตรข้อสอบ บัตรข้อสอบ กศน.อำเภอ/เขต..................................................สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. ................................................................... ระดับ ประถมศึกษา ม.ต้น ม.ปลาย สาระ.....................................................................รายวิชา................................................................รหัสวิชา........................ มาตรฐานที่.............................................................................................................................................................................. มาตรฐานการเรียนรู้................................................................................................................................................................ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง........................................................................................................................................................... หัวเรื่อง....................................................................................................................... ............................................................ พฤติกรรมที่วัด จำ  เข้าใจ  นำไปใช้  วิเคราะห์  สังเคราะห์  ประเมินค่า ข้อที่...................... ………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………… ………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………… เฉลย........................ ............................................ผู้ออก ...........................................ผู้ตรวจ1

  29. พฤติกรรม 1.ด้านพุทธิพิสัย (วัดความสามารถด้านสติปัญญา) 2.ด้านเจตพิสัย (วัดด้านอารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ) 3.ด้านทักษะพิสัย (วัดความสามารถในการปฏิบัติงาน) เครื่องมือวัด 1.ใช้แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ 2.ใช้แบบสังเกต แบบสำรวจรายการ แบบสอบถาม 3.ใช้แบบทดสอบปฏิบัติ แบบสังเกต แบบสำรวจรายการ เครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรม

  30. ☺ปรนัย ☻แบบเติมคำ ☻แบบถูกผิด ☻แบบจับคู่ ☻แบบเลือกตอบ ☺ อัตนัย แบบทดสอบ

  31. ข้อสอบแบบเลือกตอบ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.ตัวคำถาม 2.ตัวเลือก -ตัวถูก - ตัวลวง

  32. รูปแบบการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบรูปแบบการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ 1.แบบคำถามเดี่ยว 2. แบบตัวเลือกคงที่ 3. แบบสถานการณ์

  33. ตัวอย่าง ข้อสอบเลือกตอบแบบคำถามเดี่ยว • คำถามวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือวันสำคัญใด ก. วันอัฐมีบูชา ข. วันวิสาขบูชา ค. วันมาฆะบูชา ง. วันอาสาฬหบูชา

  34. ตัวอย่าง ข้อสอบเลือกตอบแบบตัวเลือกคงที่ • คำชี้แจง ใช้ตัวเลือก ก. – ง. ตอบคำถามข้อ1-3 ก. วันขี้น 15 ค่ำเดือน 3 ข. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ค. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ง. วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 1. วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันใด 2. วันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานหลักโอวาทปาฏิโมกข์ตรงกับวันใด 3. วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ตรงกับวันใด

  35. ตัวอย่าง ข้อสอบเลือกตอบแบบสถานการณ์ คำชี้แจง ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 1 – 2 “ แล้วตรัสบอกลูกน้อยกลอยสวาท เจ้าหน่อเนื้อเชื้อชาติดังราชสีห์ อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน “ (จากเรื่อง พระอภัยมณี) 1. ใครเป็นผู้พูด 2. บทร้อยกรองข้างต้นเป็นคำประพันธ์ชนิดใด ก. อุศเรน ก. กลอนแปด ข. นางเงือก ข. กาพย์ยานี 11 ค. พระอภัยมณี ค. โคลงสี่สุภาพ ง. นางสุวรรณมาลี ง. กาพย์ฉบัง 16

  36. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ • 1. กำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด • 2. เลือกชนิดของแบบทดสอบ • 3. จัดทำผังข้อสอบ • 4. เขียนข้อสอบ • 5. จัดชุดแบบทดสอบ(ชุดที่ 1, ชุดที่2)และจัดพิมพ์ • 6. ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบและปรับปรุงแก้ไข • 7. จัดพิมพ์แบบทดสอบฉบับนำไปใช้จริง

  37. ตัวอย่างการสร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหาตัวอย่างการสร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหา

  38. การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านสติปัญญาการเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านสติปัญญา 1. ความรู้–ความจำ(Knowledge) 2. ความเข้าใจ(Comprehension) 3. นำไปใช้(Application) 4. วิเคราะห์(Analysiss) 5. สังเคราะห์(Synthesis) 6. ประเมินค่า(Evaluation)

  39. พฤติกรรมการวัดด้านสติปัญญาพฤติกรรมการวัดด้านสติปัญญา • 1. ความรู้ – ความจำ (Knowledge) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการระลึกเรื่องราว ข้อความ เนื้อหานั้นออกมาได้

  40. 1. ความรู้-ความจำ(Knowledge) 1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง ☺ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และนิยาม ☺ ความรู้เกี่ยวกับสูตร กฎ และความจริง 1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ ☺ ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน ☺ ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม

  41. 1.ความรู้-ความจำ (ต่อ) 1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ(ต่อ) ☺ ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท ☺ ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ☺ ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ 1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง ☺ ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชา ☺ ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง

  42. 2. ความเข้าใจ(Comprehension) ความสามารถในการแปลความ ตีความและขยายความ ☺ แปลความ ☺ ตีความ ☺ ขยายความ

  43. 3. การนำไปใช้(Application) ☺ นำหลักการความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้

  44. 4.การวิเคราะห์(Analysis) ความสามารถในการจำแนกความสำคัญ ความสัมพันธ์และหลักการของเรื่องราว ข้อความ บทความ ฯลฯ ☺ วิเคราะห์ความสำคัญ ☺ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ☺ วิเคราะห์หลักการ

  45. 5. การสังเคราะห์(Synthesis) ความสามารถในการนำเนื้อหาความรู้ต่าง ๆมาผสมผสานให้เกิดเป็นข้อความใหม่ บทความใหม่ แผนปฏิบัติงาน องค์ประกอบใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม ☺ สังเคราะห์ข้อความ ☺ สังเคราะห์แผนงาน ☺ สังเคราะห์ความสัมพันธ์

  46. 6. ประเมินค่า(Evaluation) ความสามารถในการวินิจฉัย สรุป ตีค่าอย่างมีหลักเกณฑ์ ☺ ประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน ☺ ประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก

  47. สวัสดี

More Related