1 / 23

Broadband Power line (BPL)

Broadband Power line (BPL). โดยอาจารย์ นัณฑ์ศิ ตา ชูรัตน์. Broadband Power line (BPL) คืออะไร .

glenys
Download Presentation

Broadband Power line (BPL)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Broadband Power line (BPL) โดยอาจารย์นัณฑ์ศิตา ชูรัตน์

  2. Broadband Power line (BPL) คืออะไร Broadband Power line (BPL) คือเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ที่ทำให้สามารถส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล และมัลติมีเดีย โดยผ่านระบบนำจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้าที่มีใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป ทั้งที่เป็นระบบจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำ (LV distribution cable) หรือระบบจ่ายไฟฟ้าแรงปานกลาง (MV distribution cable) โดยอาจมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น Power Line Communications (PLC), Power Line Telecommunications (PLT), Broadband over Power line (BPL) หรือ Ethernet over Power line และอาจมีการให้คำนิยามและรายละเอียดของเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไปด้วย แต่ ในที่นี้จะเรียก เทคโนโลยีในลักษณะนี้ทั้งหมดว่า เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้า

  3. Broadband Power line (BPL) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟฟ้าในระบบจ่ายไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม เพื่อให้บริการ รับ ส่ง ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความเร็วต่ำ(narrowband PLC) เช่น • การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน • การเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน • และใช้ในการควบคุม สั่งการของหน่วยงานให้บริการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า เช่น การควบคุมการทำงานของ switch gear (เพื่อปิด-เปิด อุปกรณ์ป้องกันระบบจ่ายไฟฟ้า) การอ่านมาตรวัดไฟฟ้าอัตโนมัติ (automatic meter reading - AMR) หรือการแจ้งอัตราค่าไฟฟ้า (tariff broadcast) เป็นต้น

  4. โดยพัฒนามาจากในระยะเริ่มแรกที่หน่วยงานให้บริการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า (power utility providers) ใช้สายส่งแรงสูง เพื่อติดต่อสื่อสาร และใช้ในการควบคุมสถานีจ่ายไฟฟ้า (substation)ระหว่างกัน และในปัจจุบันได้พัฒนาขีดความสามารถให้รับส่งข้อมูลความเร็วสูง(broadband PLC) เช่น high speed Internet, video streaming, VoIP ผ่านระบบจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำได้ด้วย จึงสามารถใช้ เป็นโครงข่ายส่วนเข้าถึงผู้ใช้บริการ (access network) ทดแทนคู่สายโทรศัพท์ได้

  5. ความเป็นมาของเทคโนโลยีความเป็นมาของเทคโนโลยี หน่วยงานให้บริการสาธารณูปโภคด้าน ไฟฟ้าร่วมกับผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้มีการริเริ่มนำเทคโนโลยี PLC มาใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 โดยใช้คลื่นพาห์ในช่วงความถี่ 15 – 500 kHz ป้อนในสายส่งแรงสูง เพื่อใช้ในการโทรมาตร (telemetry) ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1930 – 1940 ได้มีการนำ ripple carrier signaling มาใช้ในระบบจ่ายไฟฟ้า 10 – 20 kV และ 240/415 V ในช่วงปี ค.ศ. 1970 บริษัท Tokyo Electric Power ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการอ่านมาตรวัดไฟฟ้า ระยะไกล (remote meter reading) และประสบความสำเร็จ จนกระทั่งประมาณปี 1985 ได้ให้ความสนใจ และทำการศึกษาในการนำ digital communications และ digital signal processing มาส่งผ่านสายไฟฟ้า และ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบัน PLC สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบทั้งในส่วนของ หน่วยงานให้บริการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าเอง และประชาชนทั่วไป

  6. เทคโนโลยี Broadband PLC ลักษณะทางเทคนิคของระบบ BPL อุปกรณ์ที่ใช้งานในลักษณะนี้จะส่งสัญญาณที่ความถี่ในช่วง 1.6 – 30 MHz (อุปกรณ์บางยี่ห้ออาจสูงถึง 80 MHz)และมีอัตราการรับ-ส่งข้อมูลแบบอสมมาตร (asymmetry) ตั้งแต่ 256 kbps จนถึง2.7 Mbps โดยที่อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (repeater) อาจมีความเร็วสูงถึง 40 Mbps และสามารถต่อโมเด็มได้ถึง 256 จุด ส่วนที่สถานีจ่ายไฟแรงปานกลาง(MV substation) มีความเร็วที่เชื่อมต่อกับโครงข่าย Internet อยู่ที่ 135 Mbps

  7. ลักษณะทางเทคนิคของระบบ BPL (ต่อ) ผู้ให้บริการอาจใช้เทคโนโลยีนี้ร่วมกับโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง(Optical Fiber) หรือโครงข่ายไร้สายอื่นๆเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งอุปกรณ์ที่ใช้งานในระบบ BPL เป็นสองส่วน คือ • อุปกรณ์ส่วนที่รับส่งข้อมูลผ่านสายไฟฟ้าแรงต่ำซึ่งอยู่ภายในอาคารบ้านเรือน(In-building BPL) ที่อยู่ภายหลังมาตรวัดไฟฟ้าแล้วและไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานให้ บริการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า • และส่วนที่รับส่งข้อมูลผ่านสายไฟฟ้าแรงปานกลางหรือแรงต่ำซึ่งอยู่ภายนอกอาคารบ้านเรือน (Access BPL) ซึ่งมักเป็นส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานให้บริการสาธารณูปโภคด้าน ไฟฟ้า

  8. อุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ใช้ในลักษณะ In-building BPL มักจะเป็น BPL modem หรืออุปกรณ์ในส่วนของผู้ใช้บริการ(Customer Premises Equipment: CPE) เท่านั้น อุปกรณ์ที่ใช้ในลักษณะ Access BPL ประกอบด้วย • injector, • repeater • และ extractor

  9. อุปกรณ์ injector(หรือ concentrator) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง เข้ากับสายไฟฟ้าแรงปานกลาง (Medium Voltage) เพื่อส่งสัญญาณในการให้บริการ BPL ซึ่งสายไฟฟ้าแรงปานกลางนี้อาจจะแขวนอยู่เหนือศีรษะหรือเป็นท่อลอดใต้พื้นดิน สำหรับสายไฟฟ้าที่อยู่เหนือศีรษะโดยทั่วไปจะอยู่สูงกว่าพื้น ดินประมาณ 10 เมตร สายส่งไฟฟ้าที่เป็นวงจรจ่ายไฟฟ้าแรงปานกลาง จากสถานีย่อย (substation) จะเป็นสายส่งไฟฟ้าสามเฟส โดยมีลักษณะการจัด วางสายหลายลักษณะ เช่น แนวนอน แนวตั้งหรือรูปสามเหลี่ยม เป็น

  10. อุปกรณ์ extractor เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างสายไฟฟ้าแรงปานกลางกับที่พักอาศัยเพื่อให้บริการ BPL ซึ่งปกติจะติดตั้งอยู่กับหม้อแปลงไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าแรงต่ำเพื่อส่งสัญญาณไปยังบ้านโดยตรงผ่านสายไฟฟ้า • extractor บางตัวสามารถที่จะเพิ่มระดับสัญญาณ BPL ให้เพียงพอสำหรับการส่งต่อไปให้สายไฟฟ้าแรงต่ำได้ • และบางประเภทสามารถทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณ (repeater) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์จำพวก BPL เช่น Wi-Fi เป็นต้น ซึ่งเป็นการขยายโครงข่ายไปยังผู้ใช้บริการเนื่องจากสายไฟฟ้าแรงปานกลางที่มี ระยะทางยาว ๆ ทำให้สัญญาณลดทอนหรือผิดเพี้ยน จึงจำเป็นต้องใช้ BPL repeater เพื่อเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณให้เหมาะสมกับการใช้งาน

  11. การติดตั้งระบบ BPL กับระบบนำจ่ายไฟฟ้า

  12. ระบบ BPL สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะการใช้งานได้ดังต่อไปนี้ • ระบบ BPL ประเภทที่หนึ่ง • ระบบ BPL ประเภทที่สอง • ระบบ BPL ประเภทที่สาม

  13. ระบบ BPL ประเภทที่หนึ่ง แรก ใช้เทคนิคการผสมสัญญาณแบบ Orthogonal Frequency Division Multiplexing (OFDM) เพื่อกระจายสัญญาณ BPL ใช้แถบความถี่ที่กว้างโดยการใช้ คลื่นพาห์ย่อย ๆ เป็นจำนวนมาก โดยมีอุปกรณ์ BPL injector ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจาก Internet backbone ให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณ BPL(OFDM) ส่งผ่านไปยังสายไฟฟ้าแรงปานกลาง และในทางกลับกัน ก็จะแปลงข้อมูลจาก BPL ไปเป็นข้อมูลที่ส่งต่อเข้าInternet backbone ทั้งนี้จะเชื่อมต่อเข้ากับสายส่งไฟฟ้าเพียงเฟสเดียว

  14. ระบบ BPL ประเภทที่สอง ใช้วิธีการมอดูเลต OFDM แต่ต่างจากระบบแรกในส่วนของการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการ โดยระบบนี้จะใช้อุปกรณ์ extractor เพื่อรับสัญญาณจากสายส่งไฟฟ้าแรงปานกลางแล้วแปลงเป็นการส่งข้อมูลไร้สายไป ยังผู้ใช้บริการ โดยใช้อุปกรณ์ IEEE802.11b Wi-Fi™ (ระบบ BPL ประเภทแรก ใช้วิธีการส่งสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงต่ำ) ซึ่งอุปกรณ์ปลายทางอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์พกพาส่วนตัวก็ได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้แทนการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านสาย ส่งไฟฟ้าแรงตํ่า

  15. ระบบ BPL ประเภทที่สาม ใช้เทคนิค Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS) ส่งสัญญาณผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงปานกลางไปยังผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการในแต่ละจุดให้บริการ (BPL cell) จะใช้ช่วงความถี่เดียวกัน และใช้เทคนิคCarrier Sense Multiple Access (CSMA) ในการเลือกใช้ช่องความถี่เหมือนกับระบบ BPL ประเภทแรก ซึ่งยอมรับการรบกวนช่องใช้งานเดียวกันได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละตัวในระบบจะใช้ช่วงความถี่เดียวกันในการรับส่งข้อมูล

  16. สถาปัตยกรรมโครงข่าย BPL ประกอบด้วยโครงข่าย 3 ส่วน คือ 1)โครงข่ายส่วนเชื่อมต่อกับโครงข่ายหลัก(backhaul) ซึ่งมักเป็นโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง และอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการโครงข่าย 2) โครงข่าย BPL ในส่วนที่ใช้สายไฟฟ้าMV และ 3) โครงข่าย BPL ในส่วนที่ใช้สายไฟฟ้าLV ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งที่บ้านหรืออาคารของผู้ใช้บริการ(CPE) ด้วย

  17. สถาปัตยกรรมโครงข่าย BPL ในส่วนที่ใช้สายไฟฟ้า โครงข่าย BPL ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้บริการโดยตรง ดังนั้น สถาปัตยกรรมโครงข่าย จึงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นต้นว่า สถานที่ตั้งโครงข่าย (อาคารสูง บ้านเรือน นิคมอุตสาหกรรม) ความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ ระยะทางของโครงข่าย และการออกแบบโครงข่ายว่าประกอบด้วยโครงข่ายย่อยมากน้อยแค่ไหน

  18. ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยี BPL ข้อดี • ให้บริการสื่อสารข้อมูลได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากระบบไฟฟ้าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีการติดตั้งใช้งานครอบคลุมทุกพื้นที่ • ไม่ต้องลงทุนเดินสายสัญญาณใหม่ และใช้เวลาไม่นานในการติดตั้งระบบ ข้อเสีย • สัญญาณ BPL เป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวนไปยังระบบสื่อสารอื่น ๆ ที่ใช้งานในย่าน ความถี่ HF เดียวกัน เช่น กิจการวิทยุสมัครเล่น, วิทยุคลื่นสั้น , วิทยุควบคุมการบิน ฯลฯ เนื่องจากสายไฟฟ้าไม่มีการ ป้องกันการแพร่กระจายคลื่น (untwisted and unshielded) ดังนั้น จึงไม่สามารถส่งสัญญาณ BPL ด้วยกำลังส่งสูง ทำให้สัญญาณ BPL ไวต่อสัญญาณรบกวน จากภายนอก, สัญญาณรบกวนภายในระบบไฟฟ้า ส่งผลให้ใช้งาน BPL ได้ใน ระยะทางไม่ไกลนัก (ประมาณ 2 กม. ในโครงข่ายไฟฟ้าแรงดันปานกลางและ 250 ม. ใน โครงข่ายสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ) แก้ไขได้โดยการเข้ารหัสป้องกันความผิดพลาด, ใช้เทคนิคการ Modulation ที่เหมาะสม

  19. คำศัพท์ MV distribution cable = ระบบจ่ายไฟฟ้าแรงปานกลาง LV distribution cable= ระบบจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำ Power Line Communications - PLC= เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้า switch gear การควบคุมการทำงานของ เพื่อปิด-เปิด อุปกรณ์ป้องกันระบบจ่ายไฟฟ้า power utility providers = หน่วยงานให้บริการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า carrier wave = สัญญาณคลื่นพาห์ Customer Premises Equipment: CPE= อุปกรณ์ในส่วนของผู้ใช้บริการ substation = สถานีย่อย backhaul = โครงข่ายหลัก

  20. ใบงาน นำมาส่งสิ้นคาบเรียน • Broadband Power line (BPL) คืออะไร • ความเป็นมาของBroadband Power line (BPL) • ลักษณะทางเทคนิคของระบบ BPL • ระบบ BPL สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทอะไรบ้าง • สถาปัตยกรรมโครงข่าย BPL 6. อุปกรณ์ Injector ,Repeater,extractorคืออะไร 7. จงอธิบายข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยี BPL

More Related