1 / 25

รายวิชา 204215 การจัดการบริการสารสนเทศ หน่วยที่ 9 ความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ

รายวิชา 204215 การจัดการบริการสารสนเทศ หน่วยที่ 9 ความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ. โดย อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข. 9 . ความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ. 9 .1 ความหมายและความสำคัญของความร่วมมือใน งานบริการสารสนเทศ 9 .2 ประเภทของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ

Download Presentation

รายวิชา 204215 การจัดการบริการสารสนเทศ หน่วยที่ 9 ความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายวิชา 204215การจัดการบริการสารสนเทศ หน่วยที่ 9 ความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ โดย อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข

  2. 9. ความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ 9.1 ความหมายและความสำคัญของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ 9.2 ประเภทของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ 9.3 ระดับของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ

  3. 9.1 ความหมายและความสำคัญของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ 9.1.1ความหมายของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ 9.1.2 ความสำคัญของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ

  4. 9.1.1 ความหมายของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ ความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ หมายถึง การที่สถาบันบริการสารสนเทศตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ซึ่งอยู่ต่างสังกัดและมีงบประมาณของตนเองเป็นเอกเทศ ร่วมมือกันอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการในการดำเนินงานด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน เพื่อประโยชน์ต่อการบริการสารสนเทศและการดำเนินงานร่วมกันของสถาบันบริการสารสนเทศ

  5. 9.1.2 ความสำคัญของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ • ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้กว้างขวางขึ้น • ช่วยให้สถาบันบริการสารสนเทศจัดบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสถาบันบริการสารสนเทศ โดยหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำซ้อน

  6. . 9.2 ประเภทของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ 9.2.1 ความร่วมมือด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม (Cooperation on Bibliographic Control) 9.2.2 ความร่วมมือด้านยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan - ILL) 9.2.3 ความร่วมมือด้านบริการช่วยการค้นคว้า (Reference Collaboration)

  7. 9.2.1 ความร่วมมือด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม • บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึงบัญชีรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับการรวบรวม ไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักเกณฑ์สากล ในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท

  8. 9.2.1 ความร่วมมือด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม • การควบคุมทางบรรณานุกรม (Bibliographic Control) หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวมรายการทรัพยากร-สารสนเทศที่มีอยู่ในแหล่งต่าง ๆ ให้เป็นระบบและครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล

  9. 9.2.1 ความร่วมมือด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม (ต่อ) • ผลผลิตของความร่วมมือด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม ได้แก่ สหบรรณานุกรมหรือสหรายการ (Union Catalog) • ตัวอย่างของสหรายการได้แก่ ฐานข้อมูลสหรายการ (Union Catalog) ของโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (Thai Library Integrated System-Thai LIS)ฐานข้อมูลWorldCat ของOCLC

  10. 9.2.1 ความร่วมมือด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม (ต่อ) • ประโยชน์ของสหรายการในงานบริการสารสนเทศ คือ เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตรวจสอบรายการที่ห้องสมุดมีเพื่อประกอบการตัดสินใจในการยืมระหว่างห้องสมุด

  11. 9.2.2ความร่วมมือด้านยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan - ILL) • เป็นการยืมหรือทำสำเนา • ผ่านตัวกลาง (บรรณารักษ์, นักสารสนเทศ) • มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ

  12. 9.2.3ความร่วมมือด้านบริการช่วยการค้นคว้า9.2.3ความร่วมมือด้านบริการช่วยการค้นคว้า • ความร่วมมือด้านบริการช่วยการค้นคว้าแบบดั้งเดิม (Traditional ReferenceCollaboration) • ความร่วมมือด้านบริการช่วยการค้นคว้าแบบดิจิทัล (Digital ReferenceCollaboration) เช่น Question Point ของ OCLC

  13. QuestionPoint • เป็นระบบจัดการงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าผ่านเว็บ ที่เอื้อให้ผู้ใช้บริการสามารถขอรับบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าจาก OCLC ในลักษณะบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าเสมือน (Virtual Reference)

  14. 9.2.3ความร่วมมือด้านบริการช่วยการค้นคว้า(ต่อ)9.2.3ความร่วมมือด้านบริการช่วยการค้นคว้า(ต่อ) • พัฒนาโดย OCLC และหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน • ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกและมีค่าใช้จ่าย • ระบบจะรับคำถามและส่งไปยังบรรณารักษ์บริการช่วยการ • ค้นคว้าในท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกเพื่อให้บรรณารักษ์เลือกคำถาม • และหาคำตอบ

  15. 9.3 ระดับของความร่วมมือในงานบริการสารสนเทศ . 9.3.1 ความร่วมมือระดับสถาบัน (In-campus Level) 9.3.2 ความร่วมมือระดับท้องถิ่น (Local Level) 9.3.3 ความร่วมมือระดับภูมิภาค (Regional Level) 9.3.4 ความร่วมมือระดับชาติ (National Level) 9.3.5 ความร่วมมือระดับนานาชาติ (International Level)

  16. 9.3.1 ความร่วมมือระดับสถาบัน (In-campus Level) • เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศที่สังกัดอยู่ภายใต้องค์กรเดียวกัน • มักเป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่ใช้ระบบกระจายศูนย์ (Decentralization) • ตัวอย่าง เช่น เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร

  17. 9.3.2 ความร่วมมือระดับท้องถิ่น (Local Level) • เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน • ตัวอย่าง • - เครือข่ายสารสนเทศนครราชสีมา (NARINET) • - เครือข่ายห้องสมุดจังหวัดอุบลราชธานี • - เครือข่ายสารสนเทศนครศรีธรรมราช (LIGORNET)

  18. 9.3.2 ความร่วมมือระดับท้องถิ่น (Local Level) - เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี - Illinois Library and Information Network (ILLINET) - Nort East Florida library Information Network (NEFLIN) - The Ohio Library and Information Network (OhioLINK)

  19. 9.3.3 ความร่วมมือระดับชาติ (National Level) • เป็นความร่วมมือของสถาบันบริการสารสนเทศประเภทเดียวกันหรือสาขาวิชาเดียวกันที่ตกลงดำเนินงานร่วมกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ • ตัวอย่าง – ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) • เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

  20. 9.3.3 ความร่วมมือระดับชาติ (National Level) • เครือข่ายห้องสมุดแพทย์แห่งชาติ (The National Network of Libraries of Medicine- NN/LM) • เครือข่ายห้องสมุดวิจัยเพื่อการศึกษาวิชาทหาร (Military Education Research Library Network)

  21. 9.3.4ความร่วมมือระดับภูมิภาค (Regional Level) • เป็นความร่วมมือของสถาบันบริการสารสนเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค • ตัวอย่าง • - โครงการเครือข่ายข้อมูลภูมิภาคตะวันตก

  22. 9.3.4ความร่วมมือระดับภูมิภาค (Regional Level) • เครือข่ายสารสนเทศด้านการแพทย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Medical Information Center- SEAMIC) • เครือข่ายสารสนเทศภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (Asia-Pacific Information Network)

  23. 9.3.5 ความร่วมมือระดับนานาชาติ (International Level) • เป็นความร่วมมือของสถาบันบริการสารสนเทศที่ขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมสถาบันบริการสารสนเทศที่ตั้งอยู่ทั่วโลก • มักเป็นความร่วมมือในการจัดหา จัดเก็บ จัดทำเครื่องมือช่วยค้นและให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน

  24. 9.3.5 ความร่วมมือระดับนานาชาติ (International Level) • ตัวอย่าง • - เครือข่ายสารสนเทศทางการเกษตรนานาชาติ (International Information System for the Agricultural Science and Technology – AGRIS)

  25. 9.3.5 ความร่วมมือระดับนานาชาติ (International Level) - ระบบสารสนเทศทางสิ่งแวดล้อม (International Referal System for Sources of Environmental Information – INFOTERRA) - เครือข่ายระบบสารสนเทศประชากร (Population Information Network – POPIN) - เครือข่ายระบบสารสนเทศกระบือ (International Buffalo Information System)

More Related