1 / 12

เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า

เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า. เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า

Download Presentation

เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า

  2. เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าพัฒนามาจากเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา พิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเครื่องเดี่ยวกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประสิทธิภาพในการทำงานสูง เนื่องจากควบคุมด้วยระบบไมโครโพรเซสเซอร์ทำงานอัตโนมัติ ตั้งแต่การแทรกข้อความ การพิมพ์การกำหนดคอลัมน์ พิมพ์ถึงกลางวางศูนย์ จัดหลักเลขอัตโนมัติ ตั้งระยะความเร็วในการพิมพ์ ฯลฯ และสามารถจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำภายในเครื่อง หรือจะเชื่อมต่อกับไมโครคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย โดยเครื่องพิมพ์ดีดจะทำหน้าที่เป็นทั้งคีย์บอร์ดและปริ้นเตอร์ในตัวเองขณะเดียวกันก็สามารถออนไลน์ไปอีกแห่งได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้ถึงระบบและวิธีการใช้เครื่องพิมพ์ดีด เพื่อ สามารถใช้งานได้ถูกต้องและรวดเร็ว

  3. ประวัติและวิวัฒนาการของเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกเป็นภาษาอังกฤษ ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2237 โดย Henry Mill วิศวกรชาวอังกฤษ และได้จดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องมือเรียกว่า WritingMachine ต่อมา William Austin Burt ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือ เรียกว่า Typographer มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมทำด้วยไม้ วิธีพิมพ์หมุนแป้นคล้ายหน้าปัดนาฬิกากาตัวอักษรที่ต้องการพิมพ์ เมื่อพบแล้วก็กดลงในกระดาษ ส่วน Prigin ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเขียนหนังสือสำหรับคนตาบอดเรียกว่า Ktypographic ประกอบด้วยที่รวมแป้นอักษร เมื่อเคาะแป้น ก้านอักษรจะดีดตีไปที่จุดศูนย์กลางของเครื่อง และ Christorpher Latham shole นำประดิษฐ์ชาวอเมริกัน

  4. คิดเครื่องมือที่เขียนเป็นคำและตัวเลขได้ เรียกว่า Typewriter เขาได้ตั้งโรงงานผลิตเครื่องพิมพ์ดีดีขึ้นและได้ขายลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัท E-Remington&Son จนถึงปี พ.ศ. 2416 จึงมีเครื่องพิมพ์ดีดมาตรฐานออกสู่ตลาด สำหรับ Edwardd B. Hev and Lewis G-Mager ผลิตเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อ Rogal ที่ใช้แรงกดแป้นอักษรน้อยลงและสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าเดิม วิวัฒนาการเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเกิดจากแนวความคิดของ แอควิน แมคฟาร์แลนด์ ชาวอเมริกัน เลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้มีโอกาสเห็นเครื่องพิมพ์ดีดีภาษาอังกฤษจึงมีความคิดที่จะดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย ภาษาไทย เขาจึงเข้ารับการฝึกงานที่โรงงานผลิตเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อสมิทพรีเมียร์และคิดวิธีแก้ตัวอักษร วางสระ วรรณยุกต์ทั้งหมดไว้ในเครื่อง

  5. แต่ภาษาไทยมีอักษรจำนวนมากจึงจำเป็นต้องตัดอักษรบางตัวออก เครื่องพิมพ์นี้ต้องใช้นิ้วจิ้มอักษรทีละตัว และได้รับการแก้ไขปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ดีขึ้นโดยน้อยชายชื่อ ยอร์ช บี แมค ฟาร์แลนด์ เครื่องพิมพ์สมิทพรีเมียร์นี้ เป็นเครื่องพิมพ์ดีดแคร่ตาย พิมพ์สัมผัสสิบนิ้วไม่ได้ ต่อมาโรงงานสมิทพรีเมียร์ปิดกิจการและไปร่วมกับบริษัทเรมิงตันผลติเครื่องพิมพ์ดีดแบบยกแคร่และแบบกระเป่าหิ้ว สามารถพิมพ์สัมผัสอักษรได้สิบนิ้ว แต่มีข้อเสียคือ การพิมพ์ขัดกับการเขียน เช่น ตัว ฝ จะต้องพิมพ์ ผ แล้วต่อหาง คำว่า “ กิน ” ต้องพิมพ์สระ “ อิ ” ก่อนแล้วจึง พิมพ์ ก ดังนั้น ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ ร่วมกับนายสวัสดิ์ มากประยูร วิศวกรออกแบบประดิษฐ์ตัวอักษร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ฝ่ายวิชาการ ได้ร่วมกันวางแป้นอักษรขึ้นใหม่

  6. ใช้เวลา 7 ปี จึงสำเร็จในปี พ.ศ. 2474 เรียกว่า “ เกษมณี ” ซึ่งพิมพ์ได้ถนัดและรวดเร็วที่สูดและได้ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ เครื่องพิมพ์แบบเกษมณีนี้ได้มีผู้วิจัยและพบว่ามีข้อบกพร่องในการพิมพ์ จึงออกแบบวางแป้นอักษรขั้นใหม่เรียกว่า “ ปัตตะโขติ ” เสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งสภาวิจัยฯ ยอมรับว่าเครื่องพิมพ์แบบปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้นประมาณ 25.8% ทำให้วงการพิมพ์ดีดสับสน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้หน่วยราชการที่ได้รับงบประมาณ จัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดแบบปัตตะโชติแทน จนถึงปี พ.ศ. 2516 นโยบายนี้ถูกยกเกโดยมติคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดได้พัฒนาจากพิมพ์ดีดธรรมดาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Typewriter) พิมพ์ได้รวดเร็ว ใช้ได้ที่ภาษไทยและภาษาอังกฤษในเครื่องเดียวกัน

  7. ควบคุมด้วยระบบไมโครโพรเซสเซอร์ทำงานอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นการแก้คำผิดการแทรกข้อความ พิมพ์กำหนดคอลัมน์ พิมพ์กึ่งกลาง ขีดเส้นใต้ ฯลฯ ความเร็วในการพิมพ์ 15 ตัวอักษร/วินาที มีแป้นพิมพ์อักษร 48 ตัว สามารถทำให้เป็นตัวหนา เอน ยกกำลัง หรือตัวห้อยท้ายได้ มีหน่วยความจำ 12,000 – 28,000 ตัวอักษร จอภาพ LCD มีระบบผลึกเหลวที่ง่ายต่อการอ่าน การแก้ไขและพิสูจน์อักษร เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์บางเครื่องสามารถส่งข้อความจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งด้วยตัวอักษรที่มีคุณภาพ นำไปใช้งานได้ทันทีไม่ต้องพิมพ์ใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับจอไมโครคอมพิวเตอร์ได้ โดยเครื่องพิมพ์ดีดีจะทำหน้าที่เป็นทั้งคีย์บอร์ดและ ปริ้นเตอร์ในตัวเองขณะเดียวกันก็สามารถออนไลน์ไปอีกแห่งได้

  8. ประเภทของวัสดุที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าประเภทของวัสดุที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า วัสดุที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานของเครื่องพิมพ์ดีดไปฟ้านั้น ประกอบด้วยวัสดุ ดังนี้ 1. จานพิมพ์ดีด (Print Wheel) เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าจะต้องมีจานพิมพ์ภาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อใช้สับเปลี่ยนในการพิมพ์งาน โดยทั่วไปจานพิมพ์ดีดจะทำด้วยพลาสติกและมีขนาดมาตรฐานเดียวกัน แต่มีจานพิมพ์บางรุ่นมี 96 ตัวอักษร สำหรับขนาดของตัวอักษรแบ่งได้ดังนี้ • แบบไปกา (pica) หรือขนาด 10 ตัวอักษร/นิ้ว • แบบอีลิท (Elite) หรือขนาด 12 ตัวอักษร/นิ้ว • แบบตัวเรียงพิมพ์ (Proportional Letter) • แบบอื่น ๆ ได้แก่ จานพิมพ์ขนาด 15 ตัวอักษร/นิ้ว จานพิมพ์ชนิดตัวอักษรสวยงามซึ่งมีให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น จานพิมพ์ของบริษัทโอลิมเปีย มีแบบ Thai – Modern , Thai – Conner เป็นตัน

  9. 2. ตลับหมึกพิมพ์ (Ribbon or Carbon Cassette) ตลับหมึกพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 2.1 ชนิดทำจากฝ้า (Ribbon Cassette) ตลับหมึกพิมพ์ชนิดทำจากผ้ามีราคาถูกสามารถพิมพ์ดีดได้มากตามความต้องการ หรือพิมพ์จนกว่าผ้าหมึกจะซีดจางแล้วจึงเปลี่ยนใหม่ก็ได้เพราะแกนผ้าหมึกจะหมุนกลับไปมา ทำให้สามารถพิมพ์ได้จนกว่าจะพอใจ แต่มีข้อจำกัดคือ เวลาพิมพ์ผิดไม่สามารถใช้เทปลบคำผิดได้ ต้องใช้น้ำยาลบคำผิดหรือยางลบแทน ทำให้งานที่พิมพ์ออกมาขาดความสวยงาม 2.2 ชนิดพลาสติกคาร์บอน (Carbon Cassette) ตลับหมึกพิมพ์ชนิดคาร์บอนจะมีตราคาแพงกว่าตลับหมึกพิมพ์ที่ทำจากผ้า และเมื่อใช้หมดแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เนื่องจากเนื้อพลาสติกคาร์บอนจะถูกพิมพ์ลงไปที่กระดาษ แต่มีข้อดีคือ งานที่พิมพ์ออกมาเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม ไม่เห็นรอยลบ เพราะเมื่อพิมพ์ผิดสามารถลบคำผิดด้วยเทปลบคำผิดได้

  10. 3. เทปลบคำผิด (Correction Tape) เทปลบคำผิดเป็นวัสดุที่ใช้ลบตัวอักษรที่ใช้กับผ้าหมึกพิมพ์ชนิดพลาสติกคาร์บอนเท่านั้น มีให้เลือกใช้ได้ 2 ชนิด เช่นเดียวกับตลับผ้าหมึกพิมพ์ คือ 3.1 ชนิดดูดคิดผิด เทปชนิดดูดคำผิดนี้จะมีแถบแสดงเป็นสีเหลือง ตัวเทปลบจะดูดหมึกพิมพ์ตัวอักษรที่พิมพ์ผิดในกระดาษขึ้นมาทำให้ไม่เห็นรอยลบงานที่พิมพ์จึงสะอาดเรียบร้อยและสวยงาม 3.2 ชนิดปิดคำผิด เทปลบชนิดปิดคำผิดนี้จะมีแถบแสดงเป็นสีฟ้า และมีราคาถูกว่าชนิดดูดคำผิด แต่มีข้อเสียคือ งานพิมพ์ที่ลบด้วยเทปปิดคำผิดถ้าเก็บไว้นาน ๆ สีขาวที่ปิดทับตัวอักษรผิดนั้นจะหลุดออกมาทำให้มองเป็นคำผิดเดิมได้

  11. การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องพิมพ์ดีดอยู่ในสภาพใช้งานได้เป็นอย่างดีและและมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรดูแลและบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีดดังนี้ 1. ศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้เครื่องแต่ละชนิดจากคู่มือการใช้เครื่อง 2. ถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้งที่ทำความสะอาดเครื่อง 3. ใช้ผ้าแห้งสะอาดทำความสะอาดเครื่อง ห้ามใช้น้ำ ทินเนอร์ หรือแอลกอฮอล์ทำความสะอาดเครื่องโดยเด็ดขาด 4.วางเครื่องในสถานที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้แสงแดดส่งถึงเครื่องโดยตรง 5. ระวังอย่าให้วัสดุที่เป็นโลหะหรือของเหลว เช่น ลวดเสียบ คลิปหนีบกระดาษ น้ำ หรือน้ำมันตกหล่นเข้าไปในเครื่อง เพราะจะทำให้เครื่อง เสียหายได้

  12. 6. อย่าพิมพ์ดีดโดยไม่มีกระดาษพิมพ์ เพราะจะทำให้ลูกยางใหญ่และจานพิมพ์ชำรุด 7. ระมัดระวังการใส่และถอดจานพิมพ์ ผ้าหมึกพิมพ์ เทปลบคำผิดให้ถูกต้องเรียบร้อย 8. ควรมีผู้ใช้ประจำคนเดียวโดยมอบให้ดูแลรักษาและทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ 9. ปิดสวิตช์เครื่อง ถอดปลั๊ก และใช้ผ้าคลุมเครื่องทุกครั้งที่เลิกใช้งานเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและความชื้น 10. อย่าแก้ไขซ่อมแซมเครื่องพิมพ์ดีดด้วยตนเอง ถ้ามีปัญหาหรือข้อขัดข้องควรเรียกช่างผู้ชำนาญมาซ่อมแก้ไข

More Related