1 / 22

บทที่ 14 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Change)

บทที่ 14 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Change).

gellert
Download Presentation

บทที่ 14 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Change)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 14 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Change)

  2. เป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นกับสังคมทุกสังคม แต่อัตราที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกของแต่ละสังคมซึ่งแตกต่างกันออกไปอย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สมาชิกไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นและเลวลงบางครั้งสมาชิกจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบางสิ่งตามการเปลี่ยนนั้นให้ทัน เพื่อให้ระบบสังคมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันอย่างปกติและสามารถตอบสนองบางสิ่งตามการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ทัน

  3. การเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ (1) 1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม มุ่งถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคมและระบบความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากร ระดับการศึกษาของประชาชน อัตราการเพิ่มของประชากร การเปลี่ยนแปลงระบบความสัมพันธ์ของสังคมแบบชนบทไปสู่สังคมเมือง การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจากระบบที่ปราศจากแบบแผนไปสู่การจัดตั้งสหพันธ์กรรมกรและการใช้กฎหมายแรงงาน เป็นต้น

  4. การเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ (2) 2. ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เน้นการประดิษฐ์ของสังคม ทั้งที่เป็นการประดิษฐ์ทางวัตถุ เช่น รถยนต์ ไอที และไม่ใช่วัตถุ เช่น ภาษา ศิลปะ ศีลธรรม ดนตรี การเล่นอันเป็นประเพณีต่าง ๆ รวมถึงความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมจะมีความเกี่ยวข้องระหว่างกัน เป็นกระบวนการต่อเนื่อง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน กระทบต่อแบบแผนการดำเนินชีวิต

  5. รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม • การเปลี่ยนแปลงโดยการปฏิวัติ (Revolution) หมายถึง ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาบันส่วนใหญ่ในสังคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงค่านิยมสำคัญของสังคม อย่างรุนแรงและรวดเร็ว การปฏิวัติมักเกิดขึ้นในกรณีที่สมาชิกเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อสภาวะในสังคมของตนเมื่อเปรียบกับความเป็นอยู่ในอดีต หรือเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่น ความรู้สึกเช่นนี้ เรียกว่า Relative Deprivation การปฏิวัติต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้คงที่

  6. รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม 2. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Trends) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทีละเล็กละน้อยในระยะเวลาอันยาวนาน การเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Mechanical Solidarity อันเป็นสังคมเรียบง่าย แบบชนบท มีค่านิยมจารีตประเพณี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไปสู่สังคมแบบ Organic Solidarity

  7. รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม 3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (Everyday Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์ไม่ค่อยได้สังเกต ดูเหมือนมีอิทธิพลน้อย เพราะสมาชิกไม่รู้ตัว แต่คนในยุคหลังได้สังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในช่วงเวลานั้น จนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ตามมา เช่น ทัศนคติต่อเรื่องเกย์ การทำศัลยกรรมเพื่อความสวยงาม เป็นต้น

  8. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม • การค้นพบ (discovery)ซึ่งหมายถึง การที่สมาชิกสังคมรับรู้ร่วมกันในข้อเท็จจริง หรือรับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของสิ่งที่ทำการศึกษา • การประดิษฐ์ (Invention) ซึ่งหมายถึง การประมวลสิ่งที่ค้นพบและสิ่งที่สังคมเคยนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นสิ่งใหม่ - สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นวัตถุ ( Material Invention) - สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ใช่วัตถุ (Nonmaterial Invention)

  9. องค์ประกอบของการประดิษฐ์องค์ประกอบของการประดิษฐ์ • รูปทรง ( form ) • ส่วนประกอบและการทำหน้าที่ของสิ่งประดิษฐ์ ( function ) • ประโยชน์ที่นำไปใช้ (meaning) • หลักของสิ่งประดิษฐ์นั้น (principle)

  10. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (ต่อ) 3. การแพร่กระจาย (Diffusion) - การแพร่กระจายเป็นกระบวนการสองทาง (two-way process) - การแพร่กระจายเป็นกระบวนการเลือกสรร (selective process) - การแพร่กระจายองค์ความรู้ได้นำไปสู่การดัดแปลงแก้ไขใหม่ในสังคมของผู้รับ (modification)

  11. อัตราการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอัตราการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะที่บางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในอัตราที่แตกต่างกันเหล่านี้ นักสังคมวิทยาได้สรุปไว้ 5 ประการ คือ 1. จำนวนประชากร 2. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม 3. เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ 4. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม 5. การเกิดขึ้นของพฤติกรรมรวมหมู่และขบวนการสังคม

  12. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของ เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลบงทางสังคมแบบเส้นตรง ( linear model ) เขาเสนอว่าปัจจัยที่ทำให้สังคมมีการพัฒนามีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดจากปัจจัยภายในของสังคมนั้นเอง การรวมกันของระบบสังคมย่อยให้กลายเป็นระบบสังคมขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของสังคม (organic ) และองค์ความรู้ความคิดภายในสังคมนั้นด้วย ( Superoganic )

  13. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของ เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (ต่อ) ขั้นตอนของการพัฒนาองค์สังคม 1. สังคมขนาดเล็กไม่ซับซ้อน และปราศจากหัวหน้า 2. สังคมขนาดเล็กไม่ซับซ้อน มีหัวหน้า 3. สังคมที่มีความซับซ้อน 4. สังคมที่มีความซับซ้อนเป็น 2 เท่า 5. สังคมที่มีความซับซ้อนเป็นสามเท่า

  14. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของ คาร์ล มาร์กซ์ ระบบทุนนิยมประกอบไปด้วยคนสองกลุ่มใหญ่ได้แก่ ชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมกร ชนชั้นนายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต นายทุนจะเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการผลิตทุกอย่าง ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ การแข่งขันกันระหว่างนายทุน เมื่อใดที่มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ สินค้าตัวใหม่ ๆ นายทุนจะพยายามแข่งขันเพื่อให้สินค้าของตัวเองสามารถขายออกได้มากกว่าเพื่อ กลวิธีที่เรียกร้องให้คนซื้อของได้มากที่สุด และหยุดการแข่งขันลงที่ราคาใดราคาหนึ่ง

  15. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของ คาร์ล มาร์กซ์ (ต่อ) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยมเจริญได้อย่างรวดเร็ว คือ การใช้เครื่องจักรการแทนแรงงานคน ดังนั้นเพื่อผลกำไรแก่ตนเอง หรือใช้คนงานให้คุ้มค่าจ้างมากที่สุด วิธีการเหล่านี้ในทัศนะของมาร์กเชื่อว่าจะนำความหายนะมาสู่สังคมในที่สุด ทำให้เกิดการแบ่งชนนั้นอย่างชัดเจน และในที่สุดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นจะนำไปสู่การต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจใหม่แนวคิดของมาร์กแม้จะมีส่วนถูกต้องอยู่มาก แต่ระบบทุนนิยมสามารถที่จะปรับตัวและแก้ปัญหาที่มาร์กกล่าวถึงได้

  16. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของวิลเลี่ยม ออกเบิร์น ทฤษฎีความล้าหลัง วัฒนธรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ -วัฒนธรรมทางวัตถุ -วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ มีการเปลี่ยนแปลงได้ช้ากว่าวัฒนธรรมทางวัตถุ ปัจจัยหนึ่งที่ทำวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงช้าคือ กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สูญเสียประโยชน์

  17. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของวิลเลี่ยม ออกเบิร์น (ต่อ) ปัญหาความล้าหลังในสังคมปัจจุบันมีมากขึ้น เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายและตลอดเวลา ทำให้สังคมมีเวลาในการปรับส่วนต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันน้อยมาก

  18. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของDaneil Lerner ทฤษฎีภาวะทันสมัย ( modernization ) ความหมายของภาวะทันสมัยว่า เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งประเทศหรือสังคมที่มีความเจริญด้อยกว่าพยายามพัฒนาให้สังคมของตนเองมีลักษณะ ( Characteristics ) เหมือนกับสังคมที่พัฒนาแล้ว

  19. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของDaneil Lerner(ต่อ) กระบวนการพัฒนาไปสู่ภาวะทันสมัย (1) 1. การใช้เทคโนโลยีแบบพื้นบ้าน เปลี่ยนไปเป็นแบบทันสมัยหรือของตะวันตก 2. การเกษตรแบบพึ่งตนเองในนาแปลงเล็ก เปลี่ยนไปเป็นเกษตรกรรมเพื่อการค้า และนำเงินมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 3. การอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนและสัตว์เปลี่ยนเป็นใช้เครื่องจักรกลเป็นหลัก

  20. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของDaneil Lerner(ต่อ) กระบวนการพัฒนาไปสู่ภาวะทันสมัย (2) 4. ระบบสังคมเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับชนบทมาสู่เมือง เน้นให้เมืองเป็นศูนย์กลางความเจริญ 5. การเปลี่ยนแปลงทางด้านบุคลิกภาพสมาชิก นักสังคมวิทยาเห็นว่าการพัฒนาประเทศไปสู่ภาวะทันสมัย เป็นการพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลงได้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างระบบประเพณีดั้งเดิมกับสภาวะทันสมัยที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น

  21. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของAndre Gunder Frank ทฤษฎีการพึ่งพิง ( Dependency) การพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ระบบทุนนิยมของประเทศด้อยพัฒนายังอยู่ในขั้นแรก ๆ ของการพัฒนาแม้จะได้เริ่มพัฒนามานานพอสมควรแล้วก็ตาม ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วได้ผ่านขั้นตอนนี้ไปนานมาก ประเทศพัฒนาแล้วเปรียบเหมือนศูนย์กลาง ที่มีประเทศด้อยพัฒนาเป็นบริวาร ซึ่งทำให้ประเทศด้อยพัฒนาไม่สามารถควบคุมจัดการเรื่องภายในของตัวเองได้เต็มที่

  22. แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของFernando Henrique Cardoso และ Enzo Falleto ทฤษฎีการพึ่งพิง ( Dependency) การพัฒนาไปสู่สังคมอุตสาหกรรมที่มีความอิสระจากประเทศพัฒนาแล้วแต่เป้าหมายของพวกเขาถูกขัดขวางโดยบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ที่ผูกขาดเทคโนโลยีและทุน ในที่สุดบริษัทของนักธุรกิจท้องถิ่นก็ตกอยู่ใต้การดำเนินการของต่างชาติ ผลคือนักธุรกิจหรือนักบริหารจัดการ (Entreprenuer ) เหล่านี้สูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศของตัวเอง

More Related