1 / 27

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

การ จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบ ฝึก เสนอ อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด จัดทำโดย นางสาวกำไลทอง วงค์ ยา เลขที่ 1 นางสาวสุนิสา หมูแพง เลขที่ 6 นางสาวฐิติยา สุวรรณ มาโจ เลขที่ 13 สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 1 ปี 3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก.

Download Presentation

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสนออาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิดจัดทำโดยนางสาวกำไลทอง วงค์ยา เลขที่ 1 นางสาวสุนิสา หมูแพง เลขที่ 6 นางสาวฐิติยา สุวรรณมาโจ เลขที่ 13สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 1 ปี 3

  2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

  3. ความหมายแบบฝึก คือ การจัดประสบการณ์ การฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้องหลากหลายและแปลกใหม่

  4. ทฤษฎีและแนวคิดลักษณะของแบบฝึก River ( 1968 : 97 – 105 ) กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกไว้ดังนี้ 1. ต้องมีการฝึกนักเรียนมากพอสมควรในเรื่องหนึ่งๆ ก่อนที่จะมีการฝึกเรื่องอื่นๆ 2. แต่ละบทควรฝึกโดยใช้แบบประโยคเพียงหนึ่งแบบเท่านั้น 3. ฝึกโครงสร้างใหม่กับสิ่งที่เรียนรู้แล้ว 4. ประโยคที่ฝึกควรเป็นประโยคสั้นๆ

  5. ทฤษฎีและแนวคิด ( ต่อ ) 5. ประโยคและคำศัพท์ ควรเป็นแบบที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวันที่นักเรียนรู้จัก 6. เป็นแบบฝึกที่นักเรียนใช้ความคิดด้วย 7. แบบฝึกควรมีหลายๆแบบ 8. ควรฝึกให้นักเรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนไปแล้วไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  6. หลักจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพสำหรับนำไปใช้กับนักเรียนนั้นต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้และทฤษฎีที่ถือว่าเป็นแนวความคิดพื้นฐานของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเข้าช่วยเพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน เดโชสวนานนท์  (2521 : 159 – 163)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์และสกินเนอร์  (Thorndike  and  Skinner)  ดังนี้ ธอร์นไดค์ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ขึ้น  3 กฎซึ่งนำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะได้แก่

  7. 1.  กฎแห่งผล  (Law  of  Effect)  มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองจะดียิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมตอบสนองของตนถูกต้องการให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อีก 2.  กฎแห่งการฝึกหัด  (Law  of  Exercise)  มีใจความว่าการที่มีโอกาสได้กระทำซ้ำๆ ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งนั้น ๆ จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นการฝึกหัดที่มีการควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้

  8. แนวทางการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการสร้างแบบฝึก1.ศึกษาปัญหาและความต้องการ 2.วิเคราะห์เนื้อหาหรือทักษะที่เป็นปัญหาออกเป็นเนื้อหาหรือทักษะย่อยๆ เพื่อใช้ในการสร้างแบบทดสอบและแบบฝึกหัด3.พิจารณาวัตถุประสงค์ รูปแบบ และขั้นตอนการใช้แบบฝึก 4.สร้างแบบทดสอบ 5.สร้างบัตรฝึกหัด6.สร้างบัตรอ้างอิง7.สร้างแบบบันทึกความก้าวหน้า 8.นำแบบฝึกไปทดลองใช้ 9.ปรับปรุงแก้ไขแบบฝึก

  9. การหาประสิทธิภาพแบบฝึก ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523: 495) ได้เสนอแนะขั้นตอนการหาประสิทธิภาพแบบฝึกไว้ดังนี้ 1.การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน ทำโดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่องและพฤติกรรมสุดท้าย ซึ่งค่าประสิทธิภาพจะกำหนดเป็นค่า E1 คือประสิทธิภาพของกระบวนการ และ E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์คิดเป็นร้อยละของผลเฉลี่ยคะแนนที่ได้ 2.การกำหนดเกณฑ์โดยการทดสอบทางสถิติ ทำได้โดยการนำแบบฝึกที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้แล้วหาค่าความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน

  10. 3.การกำหนดระดับประสิทธิภาพของแบบฝึก ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( 2533 : 129 - 130 ) กล่าวถึง การบริหารประสิทธิภาพของสื่อทำได้ 2 วิธี คือ 1. ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ การประเมินแบบฝึกนั้นเป็นการตรวจสอบหรือประเมินประสิทธิภาพของแบบที่นิยมประเมิน 2. ประเมินโดยไม่ต้องตั้งเกณฑ์ไว้ล่วงหน้า เป็นการประเมินประสิทธิภาพของสื่อด้วยการเปรียบเทียบผลการสอบของผู้เรียนภายหลังจากที่เรียนจากสื่อนั้นแล้ว

  11. ข้อค้นพบจากการวิจัย จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Schvendlinger (1977 : 51 ) ได้ศึกษาผลการเรียนสะกดคำของนักเรียนเกรด 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกหัดที่มีรูปภาพเหมือนของจริง มีผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยไม่ใช้รูปภาพเหมือนจริง

  12. 2.ความคิดสร้างสรรค์ อภิญญา แก้วชื่น (2528: 40) ได้ศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกมาโดยใช้ภาษาและรูปภาพขอนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ของกลุ่มที่ฝึกจากแบบฝึกเสริมทักษะการคิดที่เป็นการ์ตูนโครงสร้างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  13. 3.ความสามารถในการเรียน วลี สุมิพันธ์ (2530: 68) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่เรียนซ่อมเสริมโดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะและครูเป็นผู้สอน ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน

  14. 4.ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ปฐมพร บุญลี (2545) วิจัยการสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกสูงกว่าก่อนได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  15. ประโยชน์ของแบบฝึกเพ็ตตี้ (Petty, 1963, pp. 469 - 472 อ้างถึงใน พนมวันวรดลย์, 2542, หน้า 38 - 39) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึก ดังนี้ 1.  เป็นส่วนเพิ่มหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก เพราะแบบฝึกเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ 2.  ช่วยเสริมทักษะทางการใช้ภาษา แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กฝึกทักษะการใช้ภาษาได้ดี แต่ต้องอาศัยการส่งเสริมและเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย

  16. 3.  ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเด็กมีความสามารถทางภาษาแตกต่างกัน การให้เด็กทำแบบฝึกที่เหมาะสมกับความสามารถจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในด้านจิตใจมากขึ้น 4.  แบบฝึกช่วยเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทนโดยกระทำ ดังนี้ 4.1  ฝึกทันทีหลังจากที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องนั้น ๆ 4.2  ฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง 4.3  เน้นเฉพาะเรื่องที่ต้องฝึก 5.  แบบฝึกที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้หลังจากบทเรียนในแต่ละครั้ง

  17. 6.  แบบฝึกที่จัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม เด็กสามารถเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นแนวทางและทบทวนด้วยตนเองได้ต่อไป 7.  การให้เด็กทำแบบฝึกช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของเด็กได้ชัดเจนซึ่งจะช่วยให้ครูดำเนินการปรับปรุงแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ทันท่วงที 8.  แบบฝึกที่จัดทำขึ้น นอกเหนือจากที่มีอยู่ในหนังสือเรียน จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนอย่างเต็มที่

  18. 9.  แบบฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อย จะช่วยให้ครูประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการที่จะต้องจัดเตรียมสร้างแบบฝึกอยู่เสมอ 10.  แบบฝึกหัดช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นรูปเล่มแน่นอนย่อมลงทุนต่ำกว่าที่จะพิมพ์ลงกระดาษไขทุกครั้ง ผู้เรียนสามารถบันทึกและมองเห็นความก้าวหน้าของตนเองได้อย่างมีระบบระเบียบ

  19. คำถาม1.ข้อใดคือข้อที่เกี่ยวกับการสร้างแบบฝึก ก.มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าจะฝึกทักษะในด้านใด แล้วจัดเนื้อหาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ข.ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน ค.ต้องมีคำชี้แจงง่าย สั้นๆ อ่านเข้าใจแบบฝึกได้ด้วยตนเอง ง.ถูกทุกข้อ

  20. 2.การสร้างแบบฝึกให้มีประสิทธิภาพควรเป็นอย่างไร ก.ครูควรจะจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับจิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก ข.ใช้ระยะสั้น จบสมบูรณ์ด้วยตนเอง ค.ใช้แบบฝึกง่ายๆ สั้นๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย ง.ถูกทั้ง ก และ ค

  21. 3.ขั้นตอนการสร้างแบบฝึกมีกี่ข้อ ก. 9 ข้อ ข.10 ข้อ ค. 11 ข้อ ง. 12 ข้อ

  22. 4.ข้อใดคือขั้นตอนการสร้างแบบฝึก ก. ศึกษาปัญหาและความต้องการ โดยศึกษาจากการผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข.พิจารณาวัตถุประสงค์ รูปแบบ และขั้นตอนการใช้แบบฝึก ค. ก และ ข ง.ไม่มีข้อถูก

  23. 5.ลักษณะของแบบฝึกควรเป็นแบบใด ก.มีจุดมุ่งหมาย กฎเกณฑ์ กติกา ในการทำกิจกรรมมีชัดเจน ข.แบบฝึกควรมีหลายๆแบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย ค.ใช้เวลาช่วงสั้นๆ พอสมควรกับระยะเวลา ง.ไม่มีข้อถูก

  24. เฉลย1 ตอบ ง.2 ตอบ ง.3. ตอบ ก4 ตอบ ค.5 ตอบ ค.

  25. จบการนำเสนอขอบคุณค่ะ

More Related