1 / 20

พิธีกร ( Master of Ceremony: MC )

พิธีกร ( Master of Ceremony: MC ). ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเรียกผู้ที่ทำ หน้าที่พูดหรือกำกับรายการในพิธีการต่างๆ ว่า “โฆษก” จึงทำ ให้เกิด ความ เข้าใจผิดกันมาตลอด เพราะในการจัดพิธีการนั้นเราจะเรียกผู้ดำเนินรายการว่า “พิธีกร” ซึ่งทั้ง 2 คำ นี้มี ความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

Download Presentation

พิธีกร ( Master of Ceremony: MC )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พิธีกร(Master of Ceremony: MC)

  2. ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเรียกผู้ที่ทำ หน้าที่พูดหรือกำกับรายการในพิธีการต่างๆ ว่า “โฆษก” จึงทำ ให้เกิด ความเข้าใจผิดกันมาตลอด เพราะในการจัดพิธีการนั้นเราจะเรียกผู้ดำเนินรายการว่า “พิธีกร” ซึ่งทั้ง 2 คำ นี้มี ความหมายแตกต่างกัน ดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า โฆษก คือ ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา เช่น โฆษกสถานีวิทยุ หรือ ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกรัฐบาล พิธีกร คือ ผู้ดำเนินการในพิธี หรือ ผู้ดำเนินรายการ พิธีกร คือ บุคคลที่รับผิดชอบด้านพิธีการ มีหน้าที่ดำเนินรายการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้ว คำว่า “พิธีกร” เริ่มใช้ทางสถานีไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม คำ ว่า “ผู้ดำเนินรายการ” เริ่มใช้ทาง สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เมื่อสมัยที่ยังเป็นช่อง 5 สี (อุฬาร เนื่องจำ นง อ้างใน บุญศรี ปราบ ณ ศักด์ิ) นับตั้งแต่นั่นมาประชาชนเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่าง “พิธีกร” กับ “โฆษก” มากขึ้น ในภาษาอังกฤษ คือ Master of ceremonies ซึ่งมักใช้คา ว่า MC ใน dictionary มีความหมายว่า “person who superintends the forms to be observed on various social occasion”

  3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพิธีกรคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพิธีกร เนื่องจากในงานพิธีการต่างๆนั้น ผู้มาร่วมประกอบพิธีทุกคนจะมุ่งความสนใจไปที่จุดเดียวกัน คือ พิธีกร เพราะต้องการพิธีกรจะเริ่มอย่างไร จะดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนอย่างไร จะจบอย่างไร ดังนั้นพิธีกรจึงเป็น จุดเด่นของพิธีการนั้นๆ จึงต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้

  4. ด้านบุคลิกภาพ เบิกบานแจ่มใส แต่งกายเรียบร้อยสุภาพ ถูกกาละเทศะ ถ้าแต่งเครื่องแบบต้องแต่งให้ได้ครบและถูกต้องตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีทุกประการ เช่น ป้ายชื่อไม่มีเครื่องหมายสังกัด อากัปกิริยากระตือรือร้น แต่ไม่ลุกลี้ลุกลน ใบหน้าเบิกบานแจ่มใส มองผู้อื่นอย่างเป็นมิตร มีท่าทีโอภาปราศรัยและต้อนรับขับสู้ มีความทรงจำดี ด้านการพูด - มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด เช่น การทักที่ประชุม การพูดให้สละสลวย- การพูดเชื่อมโยง ไม่พูดห้วนๆสั้นๆ เกินไปหรือไม่มีขยะถ้อยคำ มากเกินไป- ไม่พูดมากเกินไป น้อยเกินไป ไม่พูดวกวน- ไม่พูดด้วยท่าทีเคร่งเครียดเป็นทางการเกินไป- บางโอกาส บางงาน อาจมีลูกเล่นหรือมุขตลกประกอบ- ไม่พูดพล่าม หรือเพ้อเจ้อเกินไป- ไม่มีลักษณะเป็นการอ่านข้อความมากกว่าการพูด

  5. ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ - มีปฏิภาณไหวพริบ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี- ปรับตัวได้ตามสถานการณ์- จิตใจสุขุมเยือเย็น- ควบคุมอารมณ์ได้ดี หรือมีสมาธิดี ด้านความรู้ความสามารถ มีความรู้ในเรื่องพิธีการที่ตนดำเนินการอยู่อย่างครบวงจร จึงจะเกิดความมั่นใจ หรือเชื่อมั่นไม่ประหม่าเก่งการบริหารหรือการจัดการ เช่น การวางแผนงาน การเตรียมงานในระยะสั้น ระยะยาว การเตรียมงานในระยะกระชั้นชิด การมอบหมายงานให้ผู้อื่นช่วย การประสานงานในจุดต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ความรู้ ความสามารถเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยการศึกษา การแสวงหาความรู้ และสังเกตจากการจัดงานที่แท้จริง แล้วนำมาสรุปเป็นองค์ความรู้ของตน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตนเอง และจะเกิดผลดีแก่ตนเอง และการจัดงานนั้นๆ

  6. บทบาทหน้าที่พิธีกร 1. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม / ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่นตามลำดับ ในแต่ละกิจกรรม1. แจ้งกำหนดการ 2. แจ้งรายละเอียดของรายการ 3. แนะนำ ผู้พูด ผู้แสดง 4. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ 2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ เช่น 1. กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน 2. เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม 3. เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน

  7. 3. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการต่าง ๆ เช่น1. กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ2. แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำ หนดการ3. แจ้งขอความร่วมมือ4. กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม 4. เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี / รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำ หน้าที่ในวาระที่เหมาะสม เช่น1.กล่าวยกย่องสรรเสริญ ชื่นชมบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในพิธี2. กล่าวถึงจุดเด่นของงานพิธีนั้น ๆ3. กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล 5. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี / รายการ เช่น1. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ2. มีมุขขา ขึ้นเป็นระยะ ๆ

  8. 6. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน / กลุ่มผู้ร่วมงาน เช่น1. กล่าวละลายพฤติกรรม2. กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี 7. เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ เช่น 1. กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้2. กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ

  9. พิธีกรต้องมีหัวใจพิธีกร 4 ข้อ คือ ต คือ การเตรียมการ ทั้งเตรียมตัวเอง เตรียมงาน เตรียมบรรยากาศ ของงานป คือ ประสานงาน ประชุมผู้เกี่ยวข้องแบ่งงานให้ผู้รับผิดชอบ มีผู้ช่วยหลายๆคนทำหน้าที่แตกต่างกันไปใครทำ อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต่อจากใครศ คือ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เช่น เป็นพิธีกรพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน จะต้องทราบว่า ขั้นตอนที่ 1คืออะไร 2-3 คืออะไร อะไรควรทำ อะไรควรละเว้นก คือ แก้ไข หลังจากประเมินผลแล้วให้งานที่ทำ ดีขึ้นในครั้งต่อไป ไม่ใช่ทำผิดพลาด ซ้ำา แล้วซ้า อีก

  10. เทคนิคการใช้ไมโครโฟน (Microphone) ไมโครโฟน (Microphone) ถือเป็นอุปกรณ์ที่จำ เป็นสำหรับผู้ที่ทำ หน้าที่พิธีกรเป็นอย่างมาก การเป็นพิธีกรจะประสบความสำ เร็จ หรือพบกับความล้มเหลวนั้น ไมโครโฟนนับเป็นตัวแปรสำคัญ งานพิธีหลายแห่งมีปัญหาที่เครื่องเสียงหรือไมโครโฟน นอกจากจะตรวจความพร้อมก่อนเวลาเล็กน้อย เพราะฉะนั้นเทคนิคการใช้ไมโครโฟน จึงเป็นทักษะพื้นฐานที่พิธีกรควรทราบ1) พิธีกรควรทำ การทดสอบไมโครโฟนก่อนการใช้งานทุกครั้ง เสียงเป็นอย่างไร ชัดเจนแค่ไหน และทิ้งระยะห่างระหว่างไมโครโฟน กับปากประมาณ 4-6 นิ้ว จะเหมาะที่สุด อย่าถือหรือเลื่อนไมโครโฟนเข้าไปจนชิดปาก ถ้าเป็นไมโครโฟนที่มีความไว อาจพูดห่างได้ โดยฟังหรือสังเกตจากคนที่พูดก่อนเรา2) สังเกตตำแหน่งสวิชท์เปิดปิดไมโครโฟน ก่อนพูดต้องเปิดให้เรียบร้อยและพูดจบต้องปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเสียงอื่นๆแทรกขณะไม่ได้ใช้ไมโครโฟน นอกจากนี้ขาตั้งไมโครโฟนก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีหลายรูปแบบ เช่น บางรุ่นจะใช้วิธีหมุนเกลียว บริเวณขาไมค์ บางรุ่นจะใช้วิธียกที่ข้อต่อ

  11. 3) ไม่ควรทดลองเสียงพูดด้วย คา ว่า”ฮัลโหล...ฮัลโหล” หรือเคาะ หรือเป่าลมใส่ไมโครโฟนเป็นอันขาดควรใช้คา ว่า“สวัสดีค่ะ (ครับ)”4) การพูดโดยการใช้ไมโครโฟน ไม่ควรหลุกหลิก และหันหน้าไปอธิบายที่แผ่นป้ายหรือกระดานดำหรือลุกไปมาจนห่างไมโครโฟน จะทำให้เสียงที่พูดขาดตอนไม่สม่า เสมอ5) เมื่อพูดจบแต่ละช่วงหากท่านจำเป็นต้องยืนอยู่บนเวที และต้องถือไมโครโฟนไว้ ควรถือไว้ระดับเอวอย่ายืนถือแบบตามสบายโดยขนาบข้างลา ตัว เพราะจะทำให้เสียบุคลิกภาพและนี่คือเรื่องราวของเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เที่ยวกับการใช้ไมค์โครโฟน ซึ่งพิธีกรทุกคนควรจะทราบเพราะสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ เหล่านี้อาจจะสร้างความสำเร็จและความล้มเหลวให้พิธีกรได้เช่นนั้น

  12. เทคนิคการใช้ภาษา ความจริงเรื่องการใช้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกกำหนดโดยหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีใช้อยู่แล้วตามลักษณะของการใช้ แต่เราจำ เป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธี ซึ่งจะทำ ให้เราสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งกับบุคคลสถานที่ และเวลาโดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่พิธีกร ทั้งนี้ โดยหมายรวมทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง

  13. ภาษาที่จะต้องใช้จะแบ่งออกเป็นดังนี้1) คำราชาศัพท์ 2) ภาษาทางราชการ 3) ตัวย่อต่างๆ 4) ชื่อเฉพาะ5) ศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง 6) ภาษาแสลงต่างๆในที่นี้จะไม่อธิบายละเอียดว่า ภาษาประเภทที่กล่าวถึงแต่ละประเภทมีวิธีการใช้อย่างไร แต่จะขอนำเสนอวิธีการที่จะส่งเสริมให้ท่านในฐานะพิธีกรได้พัฒนาการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง สิ่งหนึ่งท่านจะต้องคำนึงเสมอก็คือผู้ฟังหรือผู้ชมมักจะคาดหวังว่าท่านคือผู้รอบรู้ในการพูดและเป็นแม่แบบของการพูดมิฉะนั้นท่านคงจะไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นพิธีกร ซึ่งการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองในการใช้ภาษามีวิธีการดังนี้1) จะต้องมีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปัจจุบันที่สุด และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ(Dictionary) ประจา โต๊ะทา งานและที่บ้านเพื่อพร้อมที่จะค้นคว้าเมื่อมีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน หรือ ความหมายของคำ2) จะต้องมีหนังสือเกี่ยวกับการใช้ราชาศัพท์ การอ่านคา ย่อ การอ่านชื่อเฉพาะต่างๆไว้ประกอบการค้นคว้า3) ต้องเป็นคนทันสมัยเสมอ นั่นคือ ต้องรู้ความเคลื่อนไหวของโลก ของสังคมว่าขณะนี้มีอะไรเกิดขึ้นเมื่อโลกเปลี่ยนไปวิวัฒนาการของภาษาก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น ภาษาของวัยรุ่นก็จะมีศัพท์แปลกเพิ่มมากขึ้นเมื่อไปพูดกับคนกลุ่มใดจะได้หยิบมาใช้เป็นสีสันในการพูดได้

  14. 1) เวลาพูดหากมีคำราชาศัพท์ เช่น โปรดเกล้าฯ ต้องอ่านว่า โปรดเกล้ากระหม่อม เป็นต้น 2) หากเป็นคำย่อต้องพูดเป็นคำเต็ม เช่น น.ส.วรรณภา วรรณศรี ต้องพูดว่า นางสาว........................... ส.ส.ต้องพูดว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น 3) หากเป็นชื่อเฉพาะต้องอ่านตามที่เจ้าของชื่อระบุ เช่น นายสุรเกียรต์ิ เสถียรไทย หากพิจารณาตามหลัก ภาษาไทย คำว่า “สุรเกียรติ์” มีตัวการันต์ บังคับอยู่บน”ติ” แสดงว่าไม่ต้องออกเสียง ซึ่งน่าจะอ่านว่า “สุ-ระ- เกียน” แต่เป็นชื่อเฉพาะเจ้าของชื่อต้องการให้อ่านว่า ”สุ-ระ-เกียด” เราก็ต้องอ่านตามชื่อเฉพาะ เป็นต้น 4) การพูดโดยใช้คำภาษาต่างประเทศปะปนไปกับภาษาไทย ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ฟังและ สถานการณ์นั้นๆ เป็นหลัก 5) การพูดที่มีเสน่ห์อาจจะต้องสอดแทรกด้วยคำคม สุภาษิตคำพังเพย พิธีกรควรจะรวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้ และหากจะยกมาเปรียบเปรยก็ควรจะใช้วิธีท่องจำ ดีกว่ายกขึ้นมาอ่าน 6) ฟังการอ่านข่าว หรือการบรรยายในงานพระราชพิธี หรืองานพิธีที่สำคัญเสมอเพื่อให้ได้แบบอย่างของ การพูด

  15. การเตรียมตัวทำหน้าที่พิธีกรการเตรียมตัวทำหน้าที่พิธีกร 1.ศึกษาข้อมูล/วิเคราะห์สถานการณ์ ผู้นำ ผู้ชม โอกาส วัตถุประสงค์ของงานพิธีรายการที่กำหนดไว้ เพื่อทราบความมุ่งหมายของการทำหน้าที่2.เตรียมเนื้อหาและคำพูด เริ่มต้นอย่างไร ? มุขตลก ขา ขัน แทรกอย่างไร คำคม ลูกเล่น จุดเด่นที่ควรกล่าวถึง ต้องเตรียมค้นคว้าศึกษาจากศูนย์ข้อมูลมาให้พร้อม3.ตรวจสอบความเหมาะสม ของบทความที่เตรียมมาว่าเหมาะสมกับเวลาหรือไม่4.ต้องมีการฝึกซ้อมไม่ว่าจะซ้อมหลอกหรือซ้อมจริง ต้องมีการฝึกซ้อม5.ศึกษาสถานที่จัดงานหรือพิธีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า6. เตรียมเสื้อผ้าและชุดการแต่งกาย อย่างเหมาะสมกับกิจกรรม พร้อมดูแลตั้งแต่ หัวจรดเท้า

  16. เทคนิคการเป็นพิธีกร 1. ศึกษาจุดเด่น จุดด้อย ของพิธีกรที่ชื่นชอบ อะไรคือสิ่งที่ทำ ให้พิธีกรคนนั้นเป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วไปแล้วลองหา เอาสิ่งที่คิดว่าดี มาประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเอง2. ติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างใกล้ชิด เพื่อทา ตนเองให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ3. เรียนรู้การใช้เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน หรือเล่นมุข ด้วยการดัดแปลงเหตุการณ์เฉพาะหน้ามาเติมเสน่ห์ให้กับการดำเนินรายการ4. จัดทำคลังความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น การใช้คำพูด สำนวน สุภาษิต คำ พังเพย คำคมต่างๆ เก็บสะสมความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อนำมาใช้ประกอบการดำเนินรายการ5. ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้วยการมองเหตุการณ์ต่าง ๆ ในมุมที่คนอื่นมองข้าม แล้วสร้างให้เกิดเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม6. อ่านหนังสือให้มาก7. เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องการเป็นพิธีกรอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นการพัฒนาความรู้ให้กับตนเอง

  17. เทคนิคการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเทคนิคการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในการทำหน้าที่พิธีกรบ่อยครั้งที่ต้องพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และต้องแก้ไขเหตุการณ์เหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เทคนิคในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับผู้ทำหน้าที่พิธีกร มีดังนี้ -เมื่อถึงเวลาแล้วผู้พูดหรือประธานยังมาไม่ถึง -เมื่อเครื่องเสียงไม่เป็นใจ -เมื่อพิธีกรอ่านข้อความผิด -เมื่อผู้ฟังออกอาการเบื่อหลับ -เมื่อต้องเป็นพิธีกรจำเป็น

  18. ข้อควรปฏิบัติในการทำหน้าที่พิธีกร หรือโฆษก- ทำจิตใจให้แจ่มใส- ไปถึงก่อนเวลา- อุ่นเครื่องแก้ประหม่า- ทำหน้าที่สุดฝีมือ- เลื่องลือผลงานข้อพึงระวัง สำหรับการทำหน้าที่เป็นพิธีกร- ต้องดูดีมีบุคลิก- ต้องรักษาเวลาอย่างเคร่งเครียด- ต้องแสดงออกอย่างสุภาพและให้เกียรติ ร่าเริงแจ่มใส ให้ความเป็นกันเอง- ต้องมีการประสานงานด้านข้อมูล และพร้อมเผชิญปัญหาโดยไม่หงุดหงิด- ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจนให้ชวนฟัง น่าติดตาม- ต้องเสริมจุดเด่นของคนอื่นไม่ใช่ของตัวเอง- สร้างความประทับใจ ด้านสุภาษิต หรือ คำคม

  19. ตัวอย่างพิธีกรชั้นนำของเมืองไทยตัวอย่างพิธีกรชั้นนำของเมืองไทย ปัญญา นิรันดร์กุล ไตรภพ ลิมปพัทธ์

  20. จบการนำเสนอ นาย ณัฐวุฒิ อินทธรรมมา ศษ/ท53A 24 115310201130-7

More Related