1 / 19

การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Video Script Writing

การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Video Script Writing. โดย ; วรพจน์ นวลสกุล นักวิชาการโสต ทัศน ศึกษา 8 สำนัก วิทย บริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. จุดมุ่งหมายการเรียน. เพื่อให้ น.ศ.เห็นความสำคัญของการเขียนสคริปต์ เพื่อให้ น.ศ.มีความรู้ความเข้าใจ ในการเขียน สคริปต์แต่ละประเภท

gail-mccoy
Download Presentation

การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Video Script Writing

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์Video Script Writing โดย; วรพจน์ นวลสกุล นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 8 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  2. จุดมุ่งหมายการเรียน เพื่อให้ น.ศ.เห็นความสำคัญของการเขียนสคริปต์ เพื่อให้ น.ศ.มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนสคริปต์แต่ละประเภท เพื่อให้ น.ศ.มีความรู้ในรูปแบบต่างๆของสคริปต์รายการ เพื่อให้ น.ศ.มีทักษะในการเขียนสคริปต์ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการผลิตรายการวีดิทัศน์ได้

  3. การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ VDO Script Writing บทโทรทัศน์ (Script) ว่าเป็นการนำเอาเนื้อหาเรื่องราวที่มีอยู่ หรือจินตนาการขึ้นมาเพื่อนำเสนอให้ผู้ชม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ด้วยเหตุนี้เอง บทโทรทัศน์จึงเป็นหัวใจของการผลิตรายการโทรทัศน์ (สังคม ภูมิพันธุ์. 2530) ผู้เขียนบทโทรทัศน์ หรือ Script Writer จำเป็นที่จะต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่างๆ มีความเข้าใจในจิตวิทยาการรับรู้ของมนุษย์ ความชอบ ความสนใจ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อและความศรัทธา รวมทั้งการใช้ภาษาที่เหมาะสม

  4. การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์การเขียนสคริปต์รายการวีดิทัศน์ VDO Script Writing บทโทรทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนชมชวนฟัง มีการเกริ่นนำ (Introduction)การดำเนินเรื่อง (Content) และบทสรุป (Conclusion) ที่กระชับสอดคล้องสอดแทรกมุขตลก เกร็ดความรู้ หรือเทคนิคแปลกๆ มีลีลาที่น่าสนใจเพื่อให้เกิดการจดจำได้ดี แล้วจึงนำมาขัดเกลาสร้างสรรค์ ให้มีความเหมาะสมทั้งภาพและเสียงรวมทั้งการใส่เสียงดนตรีประกอบ

  5. ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script บทโทรทัศน์สามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้ แบบไม่เข้าตารางหรือแบบเรียงลำดับ(Open Script) แบบเข้าตาราง(Shooting Script)

  6. ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script 1. แบบไม่เข้าตารางหรือแบบเรียงลำดับ(Open Script) เป็นแบบที่ไม่แบ่งคอลัมน์ภาพ และคอลัมน์เสียง หากแต่เขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการระบุฉากลักษณะภาพลักษณะเสียงและเวลาตามลำดับ ส่วนใหญ่ใช้กับการบันทึกเทปโทรทัศน์ในสติวดิโอ เช่น การสัมภาษณ์พูด-คุย ของผู้ดำเนินรายการ หรือพิธีกรกับผู้ร่วมรายการ สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้ว ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกเทปที่ไม่ซับซ้อนมากนัก

  7. ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script 2. แบบเข้าตาราง(Shooting Script) เป็นการวางรูปแบบบทโทรทัศน์ให้ส่วนของภาพอยู่ซีกซ้ายเรียกว่าคอลัมน์ภาพ และส่วนของเสียงอยู่ซีกขวาเรียกว่าคอลัมน์เสียง คอลัมน์ภาพใช้สำหรับเขียนลักษณะของมุมภาพตัวหนังสือเพื่ออธิบายมุมกล้องหรืออาจวาดเป็นภาพร่างหรือภาพถ่าย(Storyboard)ลงไปในคอลัมน์ภาพก็ได้ >> ที่สำคัญคือคำสั่งหรือคำศัพท์เกี่ยวกับภาพที่นำมาใช้นั้น ต้องเป็นที่เข้าใจของผู้ร่วมงานการผลิตทั้งหมด

  8. ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ประเภทของสคริปต์รายการวีดิทัศน์ Type of video script 2. แบบเข้าตาราง(Shooting Script)ต่อส่วนคอลัมน์เสียงใช้สำหรับเขียนคำบรรยาย ดนตรีประกอบหรือเสียงพิเศษอื่นๆ นอกจากนั้นยังสามารถใช้เขียนคำอธิบายสิ่งต่างๆ ให้กับผู้แสดง และผู้บรรยายด้วย เช่น การใช้อารมณ์ในน้ำเสียง สีหน้า แววตาการเคลื่อนไหว การควบคุมเสียงเปล่งเสียงหรือการทอดเสียง เป็นต้น อาจขยายคอลัมน์ภาพและคอลัมน์เสียง ให้สามารถกำหนดรายละเอียดมากยิ่งกว่าเดิมได้

  9. บทวีดิทัศน์ VDO Script • บทแบบสมบูรณ์ • บทแบบกึ่งสมบูรณ์หรือแบบย่อ • บทแบบกำหนดการแสดงและช่วงเวลา • บทแบบเรียงลำดับเรื่องที่เสนอ • บทแบบเปิด

  10. บทวีดิทัศน์ VDO Script บทแบบสมบูรณ์Fully Scripted Showเป็นการแสดงรายละเอียดของภาพและเสียง จะบอกคำพูดทุกคำที่ผู้พูด/บรรยาย จะพูดในรายการ ตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมกับบอกรายละเอียดด้านภาพโดยสมบูรณ์ ได้แก่ รายการละคร รายการสารคดี รายการข่าว และรายการโฆษณาสินค้า ประโยชน์ของการเขียนบทประเภทนี้ คือสามารถมองภาพรวมของรายการได้อย่างดีเพราะมีการกำหนดมุมกล้องขนาดของภาพ การเคลื่อนไหวกล้องไว้กราฟิก และเสียงต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน

  11. บทวีดิทัศน์ VDO Script Story Boards (สตอรีบอร์ด) เป็นการร่างแนวความคิดเชิงรูปธรรมที่ผู้เขียนสคริปต์จินตนาการถึงเนื้อหา (บทประพันธ์) ให้ผู้ผลิตรายการ ทำการกำกับมุมภาพ กำกับนักแสดง กำกับการถ่ายทำ บันทึกเสียง บรรยากาศสถานที่ รวมทั้งแนวทางการตัดต่อให้คล้ายคลึงกับสถานที่จริง หรือตามที่ออกแบบไว้มากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้กับการถ่ายทำภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งมีทุนสูงและมีความละเอียดอ่อนในการผลิตมาก

  12. บทวีดิทัศน์ VDO Script 2. บทแบบกึ่งสมบูรณ์หรือแบบย่อ Semi-Scripted Show มีลักษณะคล้ายแบบสมบูรณ์ แต่ไม่กำหนดรายละเอียดของมุมกล้อง ทิ้งว่างไว้เพื่อให้ผู้กำกับรายการได้กำหนดเอง บางรายการอาจกำหนดคำสั่งบนด้านภาพ/ด้านคำพูด/คำบรรยายบ้าง บทสนทนาก็ไม่ได้ระบุหมดทุกตัวอักษรหรือทุกคำ เพียงแต่ให้ประโยคเริ่มต้น/ประเด็นที่จะพูดและประโยคสุดท้าย เพื่อเป็นสัญญาณชี้แนะเท่านั้น บทประเภทนี้ ได้แก่ รายการเพื่อการศึกษา รายการสัมภาษณ์ เป็นต้น ที่ผู้สนทนาหรือผู้บรรยายพูดเองเป็นส่วนใหญ่ไม่มีระบุในบท

  13. บทวีดิทัศน์ VDO Script 3. บทแบบกำหนดการแสดงและช่วงเวลาShow Format เขียนบอกเฉพาะคำสั่งต่างๆ ที่สำคัญในรายการ ฉากที่สำคัญ ลำดับรายการ และกำหนดเวลาแต่ละตอน/break รายการที่ใช้บทประเภทนี้ ได้แก่ รายการประจำของสถานี รายการสนทนา รายการข่าวสั้น รายการปกิณกะ รายการอภิปราย รายการนิตยสารและ Variety Show

  14. บทวีดิทัศน์ VDO Script 4. บทแบบเรียงลำดับเรื่องที่เสนอ เขียนเพื่อแสดงรายการที่จะเสนอตามลำดับก่อน-หลังโดยระบุไว้เพียงคร่าวๆ ไม่มีคำสั่ง/รายละเอียดเกี่ยวกับภาพและเสียงโดยเฉพาะ บางครั้งบริษัทโฆษณาจะเขียนบทประเภทนี้ให้กับผู้ผลิต ว่าต้องการให้มีภาพสินค้าอะไรบ้างที่ออกอากาศ และมีคำพูดโฆษณาอย่างไรบ้างพอสังเขป ผู้กำกับรายการจำเป็นต้องนำบทประเภทนี้มากำหนดช่วงเวลาก่อน-หลัง เพื่อให้ทีมงานทั้งหมดได้เข้าใจ ว่าจะทำงานตามขั้นตอนอย่างไร บทประเภทนี้นิยมใช้นำเสนอในรายการถ่ายทอดสด (live)

  15. บทวีดิทัศน์ VDO Script 5. บทแบบเปิดOpen Scriptเป็นบทที่มีการเรียงลำดับประเด็นที่พูดหรือสัมภาษณ์ เช่น ประเด็นที่พิธีกรจะถาม และประเด็น สำหรับผู้ร่วมในรายการให้สัมภาษณ์หรือตอบเท่านั้น บทโทรทัศน์แบบนี้ไม่มีการกำหนดรายละเอียดใดๆเลย เกี่ยวกับภาพและเสียงมักใช้ในการบันทึกเทปโทรทัศน์ เพื่อที่จะนำไปตัดต่อแก้ไขอีกครั้งภายหลัง

  16. บทสรุป รายการวีดิทัศน์ไม่ว่าจะลักษณะใดก็ตาม ต้องอาศัยบทหรือสคริปต์ ตามลักษณะรูปแบบรายการ บางเรื่องต้องการรายละเอียดมาก เช่น บทสารคดี ละครที่อาศัยคำต่อคำ เพื่อแสดงลักษณะการถ่ายภาพและการจัดฉาก บทบางลักษณะไม่จำเป็นที่ต้องลงรายละเอียด เพียงต้องการโครงร่างเท่านั้นก็ใช้ได้ แต่ผู้เขียนบทโทรทัศน์จำเป็นต้องมีความรู้กับทักษะพื้นฐาน และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตรายการเป็นอย่างดี การเขียนบทโทรทัศน์มีจุดมุ่งหมายอย่างน้อย 3 ประการ คือ (สุรพล บุญลือ. 2540) • เพื่อกำหนดลักษณะรูปแบบของรายการ • เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระของภาพและเสียงในรายการ • เพื่อจัดลำดับเนื้อหาของรายการให้เป็นขั้นตอน สะดวกต่อการผลิต

  17. แนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาแนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ใช้หลักการเขียน ‘เรียงความ’ ในการเขียนสคริปต์ แต่เพิ่มมุมมองด้านภาพ เข้าไปเพื่อช่วยในการสื่อความหมายให้ผู้ชมทำความเข้าใจได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น (มองคำพูด/คำบรรยายให้เป็นภาพ) แบ่งเนื้อหาที่จะเสนอออกเป็น 4 ส่วน 1.บทนำ (introduction) เป็นการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง จะกล่าวถึงความสำคัญจำเป็น การปูพื้นเบื้องต้นให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจโดยรวม 2.เนื้อหา (content) เป็นเรื่องราวรายละเอียดต่างๆ ทั้งหมด มีการจัดเรียงลำดับขั้นตอนของเนื้อหาที่จะนำเสนอให้ถูกต้องเข้าใจง่าย กะทัดรัดตรงประเด็นสละสลวยแต่ไม่เยิ่นเย้อในภาษาและสำนวน โดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยา ซึ่งมีมากมายหลายวิธีให้เลือก ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด 3. บทสรุป (conclusion) จะเป็นส่วนที่คลี่คลายเนื้อเรื่อง สรุปหรือขมวดเนื้อหาสาระ ข้อคิดที่ได้จากและรายละเอียดที่ได้เสนอไป หรืออาจทิ้งท้ายประเด็นที่ผู้ชมจะทำต่อ

  18. แนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาแนวทางการเขียนสคริปต์ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา 4. เข้าตารางถ่ายทำตัดต่อ (shooting script) เป็นการนำสคริปต์บทบรรยาย/สัมภาษณ์ ไปเข้าตารางเพื่อกำหนดมุมภาพให้สอดคล้องกับคำบรรยาย/คำพูดในแต่ละฉาก (scene) พร้อมกับใส่หรือสอดแทรกเสียงดนตรี บทสัมภาษณ์ เทคนิคหรือคำสั่งพิเศษ กราฟิก เพื่อให้ช่างภาพและผู้ตัดต่อทำการตัดต่อภาพผสมเสียง เรียงร้อยเนื้อหาตามสคริปต์ที่ร่างไว้ รวมทั้งไตเติ้ลเปิด-ปิดเรื่อง

  19. ฝึกเขียนสคริปต์ ให้นักศึกษาฝึกการเขียนสคริปต์แบบเข้าตาราง (Shooting Script) จากบทบรรยายที่ให้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ แบ่งตารางออกเป็นคอลัมน์ จำนวน 5 คอลัมน์ มี Graphic Title ความยาว 10 sec. กำหนดมุมภาพวิดีโอ/กราฟิก/ตัวอักษรให้ชัดเจน ใส่คำบรรยายให้สอดคล้อง/สื่อความหมายกับภาพ กำหนดเวลาแต่ละฉาก ใส่ Effects/เทคนิคพิเศษ/คำสั่ง ที่ต้องการเพิ่มเติม

More Related