1 / 51

วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น Vaccines and Cold chain system

วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น Vaccines and Cold chain system. ภญ.จุราพร สุรมานิต ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลเชียงยืน. หัวข้อในการบรรยาย. วัคซีนคืออะไร วัคซีนพื้นฐานเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ผลข้างเคียงของวัคซีน ระบบลูกโซ่ความเย็นสำคัญอย่างไร. วัคซีนคืออะไร.

gaerwn
Download Presentation

วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น Vaccines and Cold chain system

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น Vaccines and Cold chain system ภญ.จุราพร สุรมานิต ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลเชียงยืน

  2. หัวข้อในการบรรยาย • วัคซีนคืออะไร • วัคซีนพื้นฐานเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค • ผลข้างเคียงของวัคซีน • ระบบลูกโซ่ความเย็นสำคัญอย่างไร

  3. วัคซีนคืออะไร • วัคซีน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสิ่งที่มีชีวิตหรือที่ได้จากการสังเคราะห์หรือกระบวนการอื่นใดที่นำมาใช้ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคของมนุษย์ เพื่อป้องกัน รักษา หรือลดความรุนแรงของโรค

  4. วัคซีนมี 3 ประเภท • Toxoid  Diphtheria toxoid, Tetanus toxoid • Inactivated หรือ Killed vaccine • ผลิตจากเชื้อทั้งตัว  Pertussis vaccine, JE vaccine เป็นต้น • ผลิตจากบางส่วนของเชื้อ Hepatitis B vaccine, Influenza vaccine เป็นต้น • Live attenuated vaccine  OPV, BCG, Measles, MMR เป็นต้น

  5. ตารางการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตารางการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

  6. ช่วงอายุกลุ่มเป้าหมายในการให้วัคซีนช่วงอายุกลุ่มเป้าหมายในการให้วัคซีน

  7. วัคซีนป้องกันโรคที่อยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุมกันวัคซีนป้องกันโรคที่อยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุมกัน

  8. วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG วัคซีน) • วัคซีนนี้ประกอบด้วยเชื้อวัณโรคพันธุ์ Mycobacterium bovisที่ยังมีชีวิตอยู่แต่หมดฤทธิ์ในการทำให้เกิดโรค • ใน 1 ml ของวัคซีนBCG ชนิดผงแห้งประกอบด้วยเชื้อ BCGมีน้ำหนักระหว่าง 0.5-1 มก และมีจำนวนเชื้อระหว่าง 2-10 ล้านตัวต่อ ml • บรรจุหลอดละ 10 dose ใช้ผสมNSS 1 ml • ฉีด BCG ทาง intradermal ครั้งละ 0.1 ml ในทุกอายุ • ก่อนฉีดเขย่าขวดบรรจุก่อนทุกครั้งเพื่อให้วัคซีนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน • ภูมิต้านทานจะเกิดขึ้นหลังฉีด เต็มที่ประมาณ 2 เดือน

  9. วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) • เป็นวัคซีนชนิดน้ำเตรียมจากโปรตีนผิวนอกของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี • เด็กแรกเกิดทุกคนต้องได้รับ • Intramuscular 3 doses 0, 1-2 เดือน , 6-12 เดือน • ระดับภูมิคุ้มกันโรคได้หลังเข็มที่2 เข็มที่3 กระตุ้นให้อยู่ได้นาน • อาจพบอาการปวด บวม บริเวณที่ฉีดหรือมีไข้ต่ำๆ อาการมักเริ่ม 3-4 ชั่วโมงหลังฉีด

  10. Hepatitis B vaccine (ต่อ)

  11. วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน(DTP vaccine) • ขนาด 10 doses ต่อ vial • ฉีด IM 0.5 ml ต้นขา อายุ 2,4,6 และ 15-18 เดือน • หลังรับวัคซีนอาจมีไข้ บางรายอาจปวด บวม แดงร้อนบริเวณที่ฉีดอาการมักเริ่ม 3-4 ชั่วโมงหลังฉีด และมีอาการไม่นานเกิน 2 วัน • ภูมิคุ้มกันหลังฉีดจะเริ่มเกิดประมาณ 2 สัปดาห์หลังฉีดสำหรับโรคคอตีบและบาดทะยัก

  12. วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก(DT หรือ dT) • เป็นวัคซีนที่ให้ในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ในการฉีดวัคซีนไอกรน • DT สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ฉีด 0.5 ml เข้ากล้ามเนื้อบริเวณกึ่งกลางต้นขา ด้านหน้าค่อนไปทางด้านนอก • dT ใช้สำหรับเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป หรือผู้ใหญ่ ฉีด 0.5 ml เข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน • เด็กทุกคนที่อายุน้อยกว่า7 ปี ที่ไม่สามารถรับวัคซีนไอกรนได้ควรรับ DT แทน DTP ทุกครั้งเมื่ออายุ 2,4,6,18 เดือนและ 4-6 ปี • เด็กที่ได้รับ DTP,DT ครบตามกำหนดควรรับ dT เมื่ออายุ 12-16 ปี และกระตุ้นทุก 10 ปี

  13. DT หรือ dT (ต่อ) สำหรับหญิงมีครรภ์ • หญิงมีครรภ์หากไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน ให้เข็มแรกเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก จนครบ 3 เข็ม โดยมีระยะห่าง 0,1,6 เดือนและกระตุ้นทุก 10 ปี • หากรับมาแล้ว 1 เข็ม ให้ฉีดอีก 2 เข็มโดยมีระยะห่าง 0,6 เดือน • หากรับวัคซีนแล้ว 2 เข็ม ให้ฉีดเพิ่มอีก 1 เข็มเว้นระยะห่าง 6 เดือน • หากรับวัคซีนแล้ว 3 เข็มและเข็มสุดท้ายนานกว่า 10 ปี ให้ฉีดซ้ำอีก 1 ครั้ง

  14. DT หรือ dT (ต่อ)

  15. วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (OPV) • 5 doses : อายุ 2,4,6,8 เดือน และ 4-6 ปี • มี 2 ชนิด • OPV ชนิดรับประทาน ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ • IPV ชนิดฉีด ใช้ได้ในผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา streptomycin, neomycin, polymycin • OPV ให้โดยการรับประทาน doseละ 0.1-0.5 ml (2-3 หยด) • เก็บวัคซีนไว้ในตู้แช่แข็ง แต่ขนาดนำมาใช้ควรแช่น้ำแข็ง(อุณหภูมิ 2-8 )หลังเปิดขวดใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง

  16. วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน(MMR)วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน(MMR) • เป็นวัคซีนมีชีวิตชนิดผงแห้งละลายใน diluent ตามคำแนะนำจากบริษัทผู้ผลิต หลังผสมใช้ภายใน 6 ชั่วโมง และเก็บในตู้เย็น • เริ่มเมื่ออายุ 9-12 เดือนกระตุ้นที่อายุ 4-6 ปี • กรณีระบาดสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน แต่ต้องฉีดอีก 2 เข็มที่อายุ 12 เดือน และ 4-6 ปี เนื่องจากเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ภูมิคุ้มกันของแม่รบกวนการกระตุ้นการสร้างภูมิของวัคซีน • ฉีดเข้าใต้หนัง ขนาด 0.5 ml บริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าค่อนไปด้านนอก หรือต้นแขน

  17. ข้อห้ามใช้ MMR vaccine • ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ • ได้รับยาสเตียรอยด์มากว่าหือเท่ากับ2 มก/กก หรือ 20mg/วันมากกว่า14 วันผู้ป่วยเหล่านี้ควรงดวัคซีนมีชีวิตจนกว่าจะครบ 1 เดือนหลังหยุดยา • หลังให้ Chemotherapy ไม่น้อยกว่า 3 เดือน • ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน • มักเกิด 5-12 วันหลังฉีด และมีไข้นาน 1-2 วัน • ผื่นคล้ายโรคหัด เกิด 7-10 วันหลังฉีดวัคซีน มักเกิด 1-2 วันแล้วหายเอง • ต่อมน้ำเหลืองโต, ต่อมน้ำลายอักเสบ • ลมพิษ ,บวม, แดงบริเวณฉีด

  18. วัคซีนป้องกันโรคหัด (M) • เป็นวัคซีนผงแห้งชนิดแช่แข็ง • ให้วัคซีนขนาด 0.5 ml ครั้งเดียวบริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าค่อนไปด้านนอก หรือต้นแขน • เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนหัดอย่างน้อย 2 ครั้งเมื่ออายุ 9-12เดือน และอายุ 4-6 ปี โดยครั้งแรกอาจฉีดในรูป M หรือ MMR ก็ได้แต่ครั้งที่2 ควรให้ MMR

  19. วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ (JE) • เชื้อที่นำมาผลิตมาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Nakayama และ Beijing • ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เด็กต่ำกว่า 3 ปี ฉีดครึ่งโดส 0.25 ml (Beijin) 0.5 ml (Nakayama) อายุมากกว่า 3 ปีฉีดเต็มโดส • เด็กต่ำกว่า3 ปี ฉีดบริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าค่อนไปด้านนอก มากกว่า 3 ปี ฉีดบริเวณต้นแขน • ฉีด 2 เข็มแรก ห่าง 1-4 สัปดาห์ และเข็มที่3 ห่างจากเข็มแรก 1 ปี • หลังฉีดอาจมีอาการปวด บวม คัน แดง หรือเจ็บบริเวณที่ฉีด บางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ จะเกิดน้อยลงในเข็มที่2

  20. วัคซีน JE (ต่อ) • ไม่ควรให้วัคซีนในกรณีต่อไปนี้ • ผู้ป่วยมีไข้สูงหรือมีการติดเชื้ออย่างรุนแรง • หญิงตั้งครรภ์ • ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ประมาณ 1 เดือน • เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส • หลังผสมน้ำยาทำละลายแล้วเก็บได้ 1 วัน

  21. อาการที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับวัคซีน(AEFI)อาการที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับวัคซีน(AEFI) • Toxoid  ฉีดแล้วมีไข้ บวมแดงเฉพาะที่ เคยฉีดหลายครั้งยิ่งมีอาการมาก • Inactivated หรือ Killed vaccine • ผลิตจากเชื้อทั้งตัว  ฉีดแล้วมีไข้ บวมแดงเฉพาะที่ เริ่มเร็วหลังฉีด 3 - 4 ชั่วโมง นาน 1 - 3 วัน • ผลิตจากบางส่วนของเชื้อ ไม่ค่อยพบอาการข้างเคียง • Live attenuated vaccine  อาการข้างเคียงพบได้ช้า เหมือนเป็นโรคอ่อนๆ

  22. ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน ผลข้างเคียงที่เกิดจากการให้วัคซีนแบ่งได้ดังนี้ • ผลข้างเคียงจากปฏิกิริยาวัคซีน หรือส่วนประกอบ • ผลข้างเคียงจากการบริหารจัดการและการให้วัคซีน • สาเหตุอื่นแต่บังเอิญเกิดหลังรับวัคซีน • ไม่ทราบสาเหตุ เช่น อาการเป็นลม มักพบในวัยรุ่น

  23. ระบบลูกโซ่ความเย็นและการจัดเก็บวัคซีนระบบลูกโซ่ความเย็นและการจัดเก็บวัคซีน

  24. OPV Measles, MMR DTP,DTP-HB, YF , DTP-HB-Hib BCG Hib (liquid), DT dT, TT, HB, JE Heat sensitivity Most sensitive Least sensitive Immunization in practice, Module 3: The Cold Chain; WHO/IVB/04.06

  25. HB Hib (liquid) DTP, DTP-HB, DTP-HB-Hib DT dT TT Freeze sensitivity Most sensitive Least sensitive

  26. วัคซีนในอุณหภูมิที่เหมาะสมวัคซีนในอุณหภูมิที่เหมาะสม ลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain) Heat 8oC HB DTP, dT, DTP-HB Rabies JE 2oC Measles, MMR, BCG OPV Freezing

  27. ผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น Heat เสื่อมคุณภาพ ก่อนวันหมดอายุ เช่น ที่ 37 °C เสื่อมคุณภาพหมดใน 72 ชม. 8oC 2oC OPV Freezing

  28. ผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและต่ำลงผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและต่ำลง Heat เสื่อมคุณภาพ ก่อนวันหมดอายุ เช่น ที่ 37 °C เสื่อมคุณภาพหมดใน 4 สัปดาห์ 8oC HB 2oC เมื่อแข็งตัว เสื่อมคุณภาพทันที Freezing Temperature sensitivity of vaccines: WHO/IVB/06.10

  29. สรุปผลของอุณหภูมิที่มีต่อวัคซีนสรุปผลของอุณหภูมิที่มีต่อวัคซีน • วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์(Live attenuated vaccine) ทนต่อการแช่แข็งหรือความเย็นจัด เสื่อมสภาพได้ง่าย ภายหลังนำออกมาจากตู้เย็น/ช่องแช่แข็ง • วัคซีนเชื้อตาย(Inactivated vaccine) และ Toxoid ถูกทำลายให้เสื่อมสภาพเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ทำให้แข็งตัว สามารถอยู่นอกตู้เย็นได้ในระยะเวลาหนึ่ง

  30. ระบบลูกโซ่ความเย็น(Cold chain system) • หมายถึง ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บ และการกระจายวัคซีนให้คงคุณภาพ ตั้งแต่ผู้ผลิตวัคซีนจนถึงผู้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค • ประกอบด้วย การจัดเก็บและการขนส่งที่เชื่อมต่อกัน ออกแบบเพื่อให้วัคซีนอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม จนถึงมือผู้ใช้

  31. Vaccine cold chain ผู้ผลิตวัคซีน ต่างประเทศ กรมควบคุมโรค ท่าอากาศยานกรุงเทพ รถห้องเย็น รถห้องเย็น ผู้ผลิตวัคซีนในประเทศ สคร. สสจ. สอ./ PCU รพ. (CUP) / สสอ.

  32. ทำไมต้องให้ความสำคัญกับระบบลูกโซ่ความเย็นทำไมต้องให้ความสำคัญกับระบบลูกโซ่ความเย็น • อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ความแรงของวัคซีนลดลงเร็วขึ้น • วัคซีนบางชนิดจะสูญเสียความแรงไปเลย ถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ทำให้แข็งตัว • เมื่อวัคซีนเสื่อมสภาพ ผู้รับบริการไม่ได้รับการป้องกันโรค • วัคซีนที่เสื่อมสภาพจาก freezingฉีดแล้วจะเกิดเป็นไตแข็ง

  33. การรักษาคุณภาพของระบบลูกโซ่ความเย็นการรักษาคุณภาพของระบบลูกโซ่ความเย็น วัคซีนต้องขนส่งจากผู้ผลิต ไปสนามบินและคลังต่างๆ ในอุณหภูมิที่เหมาะสม จัดเก็บในอุณหภูมิที่ถูกต้อง ในคลังแต่ละระดับ ในระหว่างให้บริการ เก็บไว้ในอุณหภูมิ 2- 8 °c การให้บริการนอกสำนักงาน ต้องอยู่ในอุณหภูมิ 2- 8 °c

  34. การเก็บรักษาวัคซีนในคลังอำเภอและสถานีอนามัยการเก็บรักษาวัคซีนในคลังอำเภอและสถานีอนามัย ตัวทำละลาย (diluent) เก็บที่อุณหภูมิห้องหรือในตู้เย็น

  35. เก็บวัคซีนที่ไวต่อการแช่แข็งไว้ตรงกลางตู้เย็นเก็บวัคซีนที่ไวต่อการแช่แข็งไว้ตรงกลางตู้เย็น • ห้ามเก็บวัคซีนไว้ที่ประตูตู้เย็น • วางขวดใส่น้ำมีฝาปิดไว้ในช่องล่างของตู้เย็น • วางเทอร์โมมิเตอร์และ Freeze watch • ไว้ตรงกลางวัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัด • หลีกเลี่ยงการเปิดประตูตู้เย็นโดยไม่จำเป็น ปรับThermostatให้อุณหภูมิ +2 ถึง+4 °cในเช้าวันที่เย็นที่สุด ห้ามปรับ Thermostat หลังไฟดับ หรือในบางครั้งที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 8°c

  36. คุณสมบัติของตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนคุณสมบัติของตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีน • สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ตลอดทั้งปี • ตู้เย็นฝาเปิดหน้าควรมี 2 ประตู • เก็บรักษาความเย็นได้นาน เมื่อไฟฟ้าดับ • ป้องกันแสงได้ • มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 10 ปี • ใช้ในการจัดเก็บวัคซีนเพียงอย่างเดียว

  37. การดูแลตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนการดูแลตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีน ปรับอุณหภูมิในช่องแช่แข็งให้ต่ำกว่า -15°C • ปรับอุณหภูมิในช่องธรรมดาให้อยู่ในช่วง 2-8 °C • ตรวจสอบอุณหภูมิทั้ง 2 ช่อง วันละ 2 ครั้งและบันทึกทุกวัน • มีไอซ์แพคในช่องแช่แข็ง และมีขวดใส่น้ำวางไว้ในช่องล่างของตู้เย็น เพื่อช่วยเก็บรักษาความเย็น • ติดป้ายว่า “ห้ามดึงปลั๊กตู้เย็น”

  38. การรักษาอุณหภูมิในตู้เย็นให้คงที่การรักษาอุณหภูมิในตู้เย็นให้คงที่ ๏ นำกล่องแช่ผักออกและใส่ขวดน้ำ มีฝาปิดในช่องเก็บผักและประตูตู้เย็น ๏ เก็บ Cold-packในช่องแช่แข็ง

  39. การจัดเก็บวัคซีนในตู้เย็นการจัดเก็บวัคซีนในตู้เย็น • ควรเก็บวัคซีนไว้ในกล่อง โดยเฉพาะวัคซีนที่ไวต่อแสง (M, MMR, BCG) • วางกล่องวัคซีนไว้ในตะกร้าโปร่ง เพื่อให้ความเย็นไหลเวียนได้ทั่วถึง • ติดป้ายชื่อวัคซีนที่ชั้นวางหรือตะกร้าเพื่อป้องกันการหยิบผิด • วางเทอร์โมมิเตอร์ไว้ตรงกลางวัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัด

  40. วัคซีนที่เปิดใช้แล้ว วัคซีนที่เปิดใช้แล้ว • ชนิดผงแห้ง ผสมแล้วเก็บในอุณหภูมิ 2 - 8oC ได้ไม่เกิน 6 ช.ม. ยกเว้นBCGไม่เกิน 2 ช.ม. •  ชนิดน้ำ (HB, DTP, dT) เปิดใช้แล้วเก็บในอุณหภูมิ 2 - 8oC ได้ 8 ช.ม. หรือภายในวันที่ให้บริการ

  41. หีบเย็น • ใช้เก็บวัคซีนในระหว่างการขนส่ง • หรือเมื่อไฟฟ้าดับนาน/ตู้เย็นเสีย • ขนาดใหญ่พอที่จะ ใช้ขนส่งวัคซีน • ในแต่ละเดือน • ควรเก็บความเย็นได้ 2 - 7 วัน Vaccine cold box

  42. กระติกวัคซีน • ใช้ในการขนส่งหรือเก็บวัคซีนชั่วคราว เหมือนหีบเย็น แต่มีขนาดเล็กกว่า • ควรเก็บความเย็นได้นาน 48 ชั่วโมง •  ควรมีไอซ์แพคขนาดพอดีกับกระติก Vaccine carrier

  43. การจัดเรียงวัคซีนลงในกระติก/ หีบเย็น • วางไอซ์แพคที่เริ่มละลายแล้ว ไว้รอบๆทั้ง 4 ด้าน • ห่อวัคซีนแล้ววางไว้กลางกระติก / หีบเย็น • ปิดฝาให้สนิท • วางหีบเย็น/กระติกวัคซีน • ไว้ในที่ร่ม Vaccine cold box

  44. ถ้ามีแผ่นฟองน้ำ (foam pad) วางใต้ฝาปิดจะช่วยกันความร้อนได้ Foam pad in use

  45. ถ้ามีขวดวัคซีนที่เปิดใช้แล้วให้เสียบขวดวัคซีนไว้ที่แผ่นฟองน้ำ จะทำให้วัคซีนไม่ปนเปื้อนเมื่อวางแช่อยู่ในน้ำที่ก้นกระติก Vaccine carrier with foam-pad

  46. ไอซ์แพค คือซองพลาสติกใส่น้ำมีฝาปิดและนำไปแช่แข็ง • ควรนำออกมาวางนอกตู้เย็นให้มีหยดน้ำเกาะ (Conditioning Ice-pack) ก่อนนำไปใส่ในกระติกวัคซีน • ระหว่างให้บริการ ห้ามวางวัคซีนบนไอซ์แพคที่ยังเป็นน้ำแข็ง ให้วางวัคซีนในแผ่นโฟมที่อยู่ในกระติก Ice-packs

More Related