1 / 17

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙. ความหมายของ “การพิจารณาทางปกครอง”. การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง. ความเห็นของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการฯ เรื่องเสร็จที่ 537/2541.

Download Presentation

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. ๒๕๓๙

  2. ความหมายของ “การพิจารณาทางปกครอง” การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

  3. ความเห็นของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการฯเรื่องเสร็จที่ 537/2541 ข้อหารือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 264 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยการเข้าไปตรวจสอบ ยึด หรืออายัดเอกสารหรือพยานหลักฐาน หรือสั่งให้บุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาเอกสารและหลักฐาน เป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ ความเห็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับผู้กระทำความผิด โดยเข้าไปในสถานที่ต่างๆ การยึด อายัดเอกสารหรือหลักฐานบางอย่าง หรือการสั่งให้บุคคลมาให้ถ้อยคำ ส่งหรือแสดงพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือดำเนินคดีตามมาตรา 264 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นเพียงการเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจะนำไปสู่การออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งอยู่ในความหมายของคำว่า “การพิจารณาทางปกครอง” จึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง

  4. กรณีการใช้อำนาจกำกับดูแลที่ถือว่าเป็นการพิจารณาทางปกครองกรณีการใช้อำนาจกำกับดูแลที่ถือว่าเป็นการพิจารณาทางปกครอง 1. กรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียน สหกรณ์มอบหมาย ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ หรือเชิญสมาชิกของ สหกรณ์มาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ หรือให้ส่งเอกสาร เกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของสหกรณ์ได้ (มาตรา 18) * หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 130) 2. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ หรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ บุคคลใดๆ ซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อ ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนสหกรณ์ (มาตรา 36 วรรคหนึ่ง) * หากผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว กฎหมายไม่ได้กำหนดโทษไว้

  5. กรณีที่เป็นการพิจารณาทางปกครองตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 1. การรายงานการสอบบัญชีหรือรายงานการตรวจสอบฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อให้นายทะเบียนสหกรณ์ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ (มาตรา 22) 2. การตรวจสอบหรือไต่สวนเกี่ยวกับการจัดตั้ง การดำเนินงานหรือฐานะการเงินของสหกรณ์

  6. “คำสั่งทางปกครอง” การใช้อำนาจตามกฎหมายของ “เจ้าหน้าที่” ที่มีผลเป็น การสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวร หรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออก “กฎ” การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

  7. การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้เป็น“คำสั่งทางปกครอง”การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้เป็น“คำสั่งทางปกครอง” การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำหรือให้สิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้ การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขายรับจ้างแลกเปลี่ยนให้เช่าซื้อเช่าหรือให้สิทธิประโยชน์ การอนุมัติสั่งซื้อจ้างแลกเปลี่ยนเช่าขายให้เช่าหรือให้สิทธิประโยชน์ การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา

  8. การใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง 1. กรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์สั่งยับยั้ง หรือเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์ (มาตรา 20) 2. กรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการ สหกรณ์กระทำการหรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา 22) ดังนี้ (1) แก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่กำหนด (2) ระงับการปฏิบัติบางส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดข้อบกพร่อง หรือเสื่อมเสียผลประโยชน์ ของสหกรณ์หรือสมาชิก (3) หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จตามวิธีการและ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (4) ให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือให้กรรมการซึ่งเกี่ยวข้องกับการนั้นพ้นจากตำแหน่ง กรรมการ

  9. การใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง 3. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชั่วคราว (มาตรา 24) 4. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์สั่งตั้งสมาชิกเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ นายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 25) 5. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์แก้ไขรายการ ในคำขอหรือข้อบังคับให้ถูกต้องหรือให้ไปดำเนินการตามมาตรา 34 กรณีที่ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์ 6. คำสั่งรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญรับจดทะเบียนให้แก่สหกรณ์ (มาตรา 37)

  10. การใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง 7. คำสั่งไม่รับจดทะเบียนสหกรณ์ (มาตรา 38) 8. คำสั่งรับจดทะเบียนและไม่รับจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของ สหกรณ์ (มาตรา 44) 9. กรณีนายทะเบียนสั่งยกเลิกสหกรณ์ (มาตรา 71) (1) สหกรณ์ไม่เริ่มดำเนินการภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน หรือหยุด ดำเนินกิจการติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันหยุดดำเนินกิจการ (2) สหกรณ์ไม่ส่งสำเนางบดุลและรายงานประจำปีต่อนายทะเบียนสหกรณ์เป็น เวลา 3 ปีติดต่อกัน (3) สหกรณ์ไม่อาจดำเนินกิจการให้เป็นผลดี หรือการดำเนินกิจการของสหกรณ์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ หรือประโยชน์ส่วนรวม

  11. การใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง 10. กรณีนายทะเบียนมีคำสั่งตั้งผู้ชำระบัญชี (มาตรา 75วรรคสองและวรรคสาม) 11. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์ตั้งผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบงบดุลของ สหกรณ์ (มาตรา 80 วรรคหนึ่ง) 12. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์อนุมัติงบดุลของสหกรณ์ (มาตรา 80 วรรคสาม) 13. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้ผู้ชำระบัญชีแก้ไขข้อบกพร่องและรายงาน ภายในเวลาที่กำหนด (มาตรา 85 วรรคสาม)

  12. การใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง 14. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการชำระบัญชี กิจการของสหกรณ์ที่ผู้ชำระบัญชีเสนอต่อนายทะเบียนสหกรณ์ (มาตรา 87 วรรคสอง) 15. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์ถอนชื่อสหกรณ์ออกจากทะเบียน (มาตรา 87 วรรคสาม) 16. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบการควบสหกรณ์ให้ เป็นสหกรณ์เดียวตามมติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์(มาตรา 90)

  13. การใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครองการใช้อำนาจกำกับดูแลสหกรณ์ที่ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง 17. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนสหกรณ์ที่ควบเข้ากันเป็น สหกรณ์ใหม่ และถอนชื่อสหกรณ์เดิมที่ได้ควบเข้ากันนั้นออกจาก ทะเบียน (มาตรา 94 วรรคหนึ่ง) 18. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้มีการแยกสหกรณ์หรือ ไม่แยกสหกรณ์ (มาตรา 97 วรรคหนึ่ง) *คำวินิจฉัยของนายทะเบียนสหกรณ์ให้เป็นที่สุด (มาตรา 97 วรรคสอง) 19. กรณีนายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียน จัดตั้งเป็นชุมนุมสหกรณ์ (มาตรา 103 และมาตรา 104) 20. กรณีนายทะเบียนรับจดทะเบียนกลุ่มเกษตรกรเป็นสหกรณ์ (มาตรา 123)

  14. “กฎ” พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปโดย ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

  15. กฎตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 1. กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสหกรณ์ที่รับจดทะเบียน พ.ศ. 2548 2. กฎกระทรวง (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ว่าด้วยอัตราการจ่ายเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว 3. ระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ การจัดการและการจำหน่ายทรัพย์สินของ กพส. (มาตรา 29)

  16. 4. ระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์ (มาตรา 69 วรรคสอง) 5. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการช่วยเหลือดำเนินกิจการของสหกรณ์ พ.ศ. 2543 6. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ พ.ศ. 2545 7. ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติการตามกฎหมายสหกรณ์ พ.ศ. 2543

  17. 8. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ เรื่อง ข้อกำหนดการฝากหรือลงทุนอย่างอื่นของสหกรณ์ ลงวันที่ 10 มีนาคม 2543 9. ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง กำหนดประเภทของสหกรณ์ที่สามารถรับสมาชิกสมทบได้ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2543 10. ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง อัตราเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว ในกรณีเลิกสหกรณ์ ลงวันที่ 4 เมษายน 2543

More Related