1 / 20

การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อ สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ

การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อ สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ. โดย นายมงคล วิทย์ ทาปลัด รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๑. ประเด็นนำเสนอ. พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับที่แก้ไข หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑

Download Presentation

การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อ สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ โดย นายมงคลวิทย์ ทาปลัด รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๑

  2. ประเด็นนำเสนอ • พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับที่แก้ไข • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา • การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษา • แนวทางการบูรณาการหลักสูตรสถานศึกษา

  3. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕และ(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๓ ความมุ่งหมาย มาตรา ๖“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข” มาตรา ๗“ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมายความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง”

  4. แนวการจัด มาตรา ๒๒ “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” มาตรา ๒๓ “การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

  5. มาตรา ๒๓ (ต่อ) • ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน • ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา • ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง • ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

  6. วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๒๔ “การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้ • จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และ การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้ สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

  7. มาตรา ๒๔ (ต่อ) ๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ ๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสาน ความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

  8. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ • ภาษาไทย • คณิตศาสตร์ • วิทยาศาสตร์ • สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม • สุขศึกษาและพลศึกษา • ศิลปะ • การงานอาชีพและเทคโนโลยี • ภาษาต่างประเทศ

  9. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สุขศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพ ควบคู่ไปด้วย พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือใน การพัฒนาโดยรวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา

  10. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กรอบเนื้อหาหรือขอบข่ายองค์ความรู้ • การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ • ชีวิตและครอบครัว • การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและ กีฬาสากล ๔. การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค ๕. ความปลอดภัยในชีวิต

  11. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในหลักสูตรแกนกลางแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนดคุณภาพผู้เรียนไว้ดังนี้ (บางข้อเท่านั้น) จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีสุขนิสัยที่ดีในเรื่องการกิน การพักผ่อนนอนหลับ การรักษาความสะอาดอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การเล่น และการออกกำลังกาย มีทักษะในการบริโภคอาหาร ของเล่น ของใช้ที่มีผลต่อสุขภาพ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสียงต่อสุขภาพและ การเกิดโรค มีทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้สร้างเสริมสุขภาพ

  12. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในหลักสูตรแกนกลางแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนดคุณภาพผู้เรียนไว้ดังนี้ (ต่อ) (บางข้อเท่านั้น) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เลือกกินอาหารที่เหมาะสม ได้สัดส่วน ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัย ป้องกันและหลักเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและ การเกิดโรค

  13. การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษา สุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชน ตลอดจน ประชาชนทั่วไปพึงปฏิบัติสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพ ที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม อันจะส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค เอกสาร“แนวทางการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติ แห่งชาติในสถานศึกษา” ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถใช้เป็นแนวทางการ ดำเนินงานกิจกรรมสำหรับพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

  14. การเจ็บป่วยด้วยโรคป้องกันได้ เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่เหมาะสม เช่น • การรับประทานอาหารไม่สะอาด • รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและออกกำลังกายน้อย ทำให้เป็นโรคอ้วน มีโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ๓. รับประทานอาหารที่มีสารปนเปื้อน สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ๔. ความเครียดจากปัญหาต่างๆ ทำให้มีปัญหาสุขภาพจิต

  15. การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัย ๓ กลุ่ม คือ • ปัจจัยนำ (Predisposing Factors) เป็นปัจจัยที่อยู่ในตัวบุคคล เช่น ความรู้ ความเชื่อ เจตคติ ค่านิยม ความมั่นใจ รวมถึงเพศ อายุ สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจและสังคม ๒. ปัจจัยเอื้อ (Enabling Factors) เป็นปัจจัยที่จำเป็นต้องมีและเหมาะสม เช่น ความสะดวก ความเพียงพอ เหมาะสม ระยะทางใกล้/ไกลในการใช้บริการหรือ เข้าร่วมกิจกรรม ๓. ปัจจัยเสริม (Reinforcing Factors)เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคคลรอบข้าง ซึ่งอาจสนับสนุนจูงใจ หรือขัดขวางการปฏิบัติตัวทางด้านสุขภาพ เช่น คำชมเชย จากเพื่อน การกระตุ้นจากครู/อาจารย์

  16. สุขบัญญัติ ๑๐ ประการ • ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด • รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง • ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย • กินอาหารสด สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหาร รสจัด สีฉูดฉาด ๕. งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ • สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น • ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี • ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ • มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม

  17. แนวทางการบูรณาการหลักสูตรสถานศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสูตรสถานศึกษา บูรณาการ (Integration) = การทำให้สมบูรณ์ การทำให้หน่วยย่อย ที่แยกกันมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือ การเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกชนิดที่บรรจุอยู่ในแผน ของหลักสูตรเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอนระหว่างหัวข้อและเนื้อหา ต่างๆ ที่เป็นความรู้ทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และ จิตพิสัย

  18. ลักษณะของการบูรณาการ • การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระหรือองค์ความรู้ในลักษณะของการหลอมรวมกัน โดยตั้งเป็นหน่วย (unit) หรือหัวข้อเรื่อง (theme) เนื้อหาสาระที่นำมาหลอมรวมกันจะมีลักษณะคล้ายกันหรือต่อเนื่องกัน • การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้าในการสอนแต่ละหน่วยการเรียนรู้หรือประเด็นที่ศึกษา โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย • การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้หรือทักษะต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนพัฒนาวิธีการแสวงหาความรู้

  19. ลักษณะของการบูรณาการ (ต่อ) ๔. การบูรณาการระหว่างพัฒนาการทางสติปัญญากับพัฒนาการทางจิตใจ เป็นการบูรณาการความรู้ ความคิด และคุณธรรมเข้าด้วยกัน ๕. การบูรณาการโดยใช้กิจกรรมโครงงาน การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน (project-based learning) ผู้เรียนและผู้สอนจะร่วมกันคิดโครงงานที่ต้องการเรียนรู้ตามความสนใจของผู้เรียน ๖. การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของผู้เรียน เป็นการให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ครูสอนไปเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียน

  20. จบการนำเสนอ สวัสดี

More Related