1 / 144

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย. ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 9 พ.ศ.25 53 ). โดย... อ. สมยศ สรรพัชญา หัวหน้างานระเบียบพัสดุท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. การบริหารงานพัสดุ. หมายถึง การนำเอาวิทยาการหรือศิลปะในการบริหาร

Download Presentation

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 9 พ.ศ.2553) โดย... อ. สมยศ สรรพัชญา หัวหน้างานระเบียบพัสดุท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

  2. การบริหารงานพัสดุ หมายถึง การนำเอาวิทยาการหรือศิลปะในการบริหาร มาใช้ในการจัดการพัสดุ เพื่อสนับสนุนและสนอง ความต้องการในการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือ โครงการ

  3. ชื่อระเบียบ ระเบียบ มท. ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535(แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 8 พ.ศ.2547) ระเบียบ มท. ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538(แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 4 พ.ศ.2547)

  4. โครงสร้างระเบียบ หมวด 1 ข้อความทั่วไป ส่วนที่ 1 คำนิยาม ส่วนที่ 2 การใช้บังคับ / การมอบอำนาจ ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษ หมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 การจัดซื้อ การจ้าง ส่วนที่ 3 การจ้างที่ปรึกษา

  5. โครงสร้างระเบียบ ต่อ ส่วนที่ 4 การจ้างออกแบบ และควบคุมงาน ก่อสร้างอาคาร ส่วนที่ 5 การแลกเปลี่ยน ส่วนที่ 6 การเช่า ส่วนที่ 7 สัญญา / หลักประกัน ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน

  6. โครงสร้างระเบียบ ต่อ หมวด 3 การควบคุม และการจำหน่ายพัสดุ ส่วนที่ 1 การยืม ส่วนที่ 2 การควบคุม ส่วนที่ 3 การจำหน่าย หมวดที่ 4 บทเฉพาะกาล

  7. สาระสำคัญของระเบียบพัสดุสาระสำคัญของระเบียบพัสดุ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ - การจัดหา - การควบคุม - การจำหน่าย

  8. จัดหา จำหน่าย ควบคุม วงจรพัสดุ

  9. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุท้องถิ่นกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุท้องถิ่น 1. กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน 2. ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยงบประมาณ และการคลัง 2544 3. กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ม.23 4. กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 5. กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 6. กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 7. กฎหมายอาญา ม.157 8. กฎหมาย ป.ป.ช. 9. กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

  10. พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

  11. มาตรา 4 ผู้ใดตกลงร่วมกันเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงสามปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดนั้นหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  12. วรรคสอง ผู้ใดเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันในการกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่ง

  13. มาตรา 5 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการเสนอราคา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจูงใจให้ผู้นั้นร่วมดำเนินการให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นทำการเสนอราคาสูงหรือต่ำจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้า บริการ หรือสิทธิที่จะได้รับหรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นไม่เข้าร่วมในการเสนอราคาหรือถอนเสนอราคา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  14. วรรคสอง ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อกระทำการตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดด้วย

  15. มาตรา 6 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมร่วมดำเนินการใดๆในการเสนอราคาหรือไม่เข้าร่วมในการเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคาหรือต้องทำการเสนอราคาตามที่กำหนด โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญด้วยประการใดๆให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  16. มาตรา 7 ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมหรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  17. มาตรา 8 ผู้ใดโดยทุจริตทำการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐโดยรู้ว่าราคาที่เสนอนั้นต่ำมากเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้าหรือบริการ หรือเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐสูงกว่าความเป็นจริงตามสิทธิที่ได้รับ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและการกระทำเช่นว่านั้น เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  18. วรรคสอง ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ตามวรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของสัญญาดังกล่าว ผู้กระทำผิดต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นด้วย วรรคสาม ในการพิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ถ้ามีการร้องขอให้ศาลพิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องรับภาระเพิ่มขึ้นให้แก่หน่วยงานของรัฐตามวรรคสองด้วย

  19. มาตรา 9 ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลใด ให้ถือว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้นเป็นตัวการร่วมในการกระทำผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดนั้น

  20. มาตรา 10 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดซึ่งมีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติการพิจารณา หรือการดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้การเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น มีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งและหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

  21. มาตรา 11 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐผู้ใด โดยทุจริตทำการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใดได้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยไม่เป็นธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

  22. มาตรา 12 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกระทำการใดๆโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

  23. มาตรา 13 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการหรืออนุกรรมการในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใดๆต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณาหรือการดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาเพื่อจูงใจหรือทำให้จำยอมต้องยอมรับการเสนอราคาที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท

  24. มติ ครม. ( 17 มิ.ย. 51 ) การช่วยเหลือผู้ประกอบการอาชีพงานก่อสร้าง

  25. มาตรการที่ 1 : การชะลอการยกเลิกสัญญา • การชะลอการยกเลิกสัญญา 30 วัน นับแต่วันที่ 17 มิ.ย. 51 • บอกเลิกสัญญาระหว่าง 2 ต.ค. 50 - 17 มิ.ย. 51 ไม่ถือว่า เป็นผู้ทิ้งงาน หากยังไม่จ้างใหม่ให้จ้างรายเดิมโดยวิธีพิเศษ (เงื่อนไขเดิม - วงเงินเดิม) • ถ้าผู้รับจ้างรายเดิมปฏิเสธ จึงไปจัดหาใหม่

  26. มาตรการที่ 2 : การขยายเวลา (1) • สัญญาที่ลงนามก่อน 1 ต.ค. 50 ซึ่งยังมีนิติสัมพันธ์ และยังไม่ส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือได้มีการส่งมอบงาน งวดสุดท้ายแล้ว ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 ให้ขยายได้ 180 วัน หรือเท่ากับอายุสัญญาเดิม • สัญญาที่ลงนามหลัง 1 ต.ค. 50 ขยาย 180 วัน หรือเท่าอายุสัญญาเดิม

  27. มาตรการที่ 2 : การขยายเวลา(2) • สัญญาที่เสนอราคาตั้งแต่ 2 ต.ค. 50 ถึง 17 มิ.ย. 51 และยังไม่มีการลงนามให้เจรจารายเดิมว่าจะยกเลิกหรือไม่ • หากไม่ยกเลิก ให้เพิ่มเวลาเท่าสัญญาเดิม แต่ไม่เกิน 120 วัน • การขยายเวลาตามระเบียบไม่ถือว่าทับซ้อน • หากขยายแล้วทำให้ผู้รับจ้างไม่ถูกปรับ ก็ให้งด ลด หรือคืนค่าปรับ

  28. มาตรการที่ 3 : ปฏิเสธการลงนามหรือขอยกเลิกสัญญา • เสนอราคาก่อน 17 มิ.ย. 51 และอยู่ระหว่างรอ การลงนาม ผู้เสนอราคาขอถอนได้ • ลงนามในสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำงาน หรือยังไม่ได้ส่งงวดแรก ผู้รับจ้างขอยกเลิกสัญญาได้ • ทั้ง 2 กรณีข้างต้นไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงาน และให้คืนหลักประกัน

  29. มาตรการที่ 4 : การเพิ่มคู่สัญญา • ขาดสภาพคล่อง ขอเพิ่มคู่สัญญาได้ • อปท. เป็นผู้พิจารณาคู่สัญญาที่เพิ่มขึ้นใหม่ • คู่สัญญาทั้งสองรับประกันสัญญาร่วมกัน • หลักประกันสัญญาใช้ของรายเดิม หรือรายใหม่ก็ได้ • ต้องทำเป็นสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม

  30. มาตรการที่ 5 : การจ่ายเงินล่วงหน้า 15% (1) • สัญญาที่ยังมีนิติสัมพันธ์ หากยังไม่ส่งงานหรือส่งงวดใด งวดหนึ่ง และไม่มีเงินล่วงหน้าในสัญญา ก็ให้แก้สัญญา เพิ่มเงินล่วงหน้า 15% ของค่าจ้างส่วนที่เหลือ • สัญญาที่มีเงินล่วงหน้าแต่จ่ายไม่ถึง 15% ก็ให้แก้ไขสัญญา ให้จ่าย15% • ผู้รับจ้างต้องนำหลักประกันการรับเงินล่วงหน้า มาค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกแต่ละครั้ง

  31. มาตรการที่ 5 : การจ่ายเงินล่วงหน้า 15% (2) • ผู้รับจ้างจัดทำบัญชีแสดงวัตถุประสงค์และแผนการใช้เงิน • หากใช้เงินผิดแผนหรือผิดวัตถุประสงค์ ให้ยึดหลักประกัน การรับเงินล่วงหน้าทันที • การหักเงินที่เบิกล่วงหน้าไปแล้ว ให้หักเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานและรับค่างานไปแล้วประมาณ 20%

  32. มาตรการที่ 6 : การหักเงินประกันผลงาน • สัญญาที่ยังไม่แล้วเสร็จนับแต่ 17 มิ.ย. 51 ถ้ามีเงื่อนไข การหักเงินประกันผลงาน ผู้รับจ้างขอรับคืนได้ โดยนำ BG มาวางแทน • งานที่เสนอราคาไว้ก่อน 17 มิ.ย. 51 และยังไม่ได้ลงนาม ถ้าเอกสารประกวดราคากำหนดการหักเงินประกัน ผลงานไว้ ผู้รับจ้างมีสิทธินำ BG มาวางแทน

  33. มาตรการที่ 7 : การแบ่งงวดงาน/งวดเงินใหม่ สัญญาที่ลงนามแล้ว หากการแบ่งงวดงาน ไม่สอดคล้องระหว่างงานที่ทำกับเงินค่าจ้าง ก็ให้แก้ไขสัญญาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้องาน ให้สอดคล้องกับค่าจ้าง

  34. มาตรการที่ 8 : กำหนดเวลายื่นซอง กำหนดวันยื่นซองให้คำนึงถึงวงเงิน ความซับซ้อนของงาน ระยะเวลาส่งมอบ เพื่อให้ผู้สนใจมีเวลาเตรียมตัว

  35. มาตรการที่ 9 : กำหนดราคากลางให้เป็นปัจจุบัน • ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบราคากลางแล้ว และยังไม่ประกาศ ให้คกก.กำหนดราคากลาง คำนวณราคากลางใหม่ • เมื่อคำนวณราคากลางใหม่แล้ว ราคาสูงกว่าเงินงบประมาณ ให้พิจารณา ดังนี้ 1. โอนงบประมาณมาเพิ่ม/หรือขอทำความตกลงไปยัง สงป. กรณีเป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 2. หากไม่มีงบประมาณเพิ่มเติม ให้ปรับลดรายการตามความจำเป็น

  36. มาตรการที่ 10 : ระยะเวลาการขอใช้สิทธิ • ผู้ประกอบการต้องแจ้งความประสงค์ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ ครม. มีมติ ( ภายใน 15 สิงหาคม 2551 )

  37. มาตรการที่ 11 : ผู้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหา กวพ. กรมบัญชีกลาง 0-2273-9024 ต่อ 4553

  38. มติ ครม. 8 ก.ค. 51 1. ค่า Kต้องระบุในสัญญา 2. จ้างก่อสร้าง หมายถึง จ้างก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และปรับปรุง ซ่อม บำรุง และขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำ 3. ส่งมอบงานระหว่าง 1 ต.ค. 50 - 30 ก.ย. 51 เท่านั้น 3.1 ส่งมอบงาน 1 ต.ค. 50 - 8 ก.ค. 51 ต้องขอใน 90 วันทำการ นับจาก 8 ก.ค. 51 (17 พ.ย. 51) 3.2 ส่งมอบงาน 9 ก.ค. 51 - 30 ก.ย. 51 ต้องขอความช่วยเหลือ+ขอชดเชยใน 90 วัน นับแต่วันส่งมอบงานงวดสุดท้าย

  39. มติ ครม. 2 ธ.ค. 51 2.1 สัญญาก่อน 1 ต.ค. 50 - 1 ต.ค. 50 ยังไม่ส่งงานงวดสุดท้ายหรือส่งแล้วตั้งแต่ 1 ต.ค. 50 ผรจ.ขอใน 18 ส.ค. 51 มีสิทธิ ไม่มากกว่า 180 วัน - ไม่มีการเลิกสัญญา 1 ต.ค. 50 - 17 มิ.ย. 51 2.2 สัญญา 1 ต.ค. 50 - 17 มิ.ย. 51 มีสิทธิ 2.3 สัญญาก่อน 17 มิ.ย. - 30 ก.ย. 51 - จ่ายเงินล่วงหน้า ไม่มากกว่า 15 % ของค่าจ้างที่เหลือ - แบ่งงวดงานให้สอดคล้องค่างาน 2.4 สัญญาต่อเรือ ไม่รวมค่า K 2.5 สัญญาซื้อขายงานก่อสร้าง ค่าจ้าง มากกว่า ค่าพัสดุที่ติดตั้ง 2.6 ต้องขอใน 5 ม.ค. 52

  40. การจัดหา มีหลายวิธี ได้แก่  การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การยืม

  41. การริบหลักประกันซอง(ต้องระบุในประกาศ/เอกสารและสัญญา 3 ฝ่าย ให้ชัดเจน) 1. ผู้ค้าต้อง Login เข้าในระบบตลาดกลาง 2. ผู้ค้าต้องเสนอราคาอย่างน้อย 1 ครั้ง และราคาที่เสนอต้องต่ำกว่าราคาเริ่มต้น ; ราคาเริ่มต้น 100 บาท ต้องเสนอราคาต่ำกว่า 100 บาท เช่น 99.99 บาท 3. เมื่อสิ้นสุดเวลาประมูล ผู้ค้าต้องยืนยันราคาสุดท้าย และราคา ที่ยืนยันต้องตรงกับราคาที่เสนอในเวลาประมูลครั้งสุดท้าย 4. ผู้ค้าที่ได้รับการคัดเลือกให้มาทำสัญญา แต่ไม่มาทำสัญญา

  42. ข้อเสนอการริบหลักประกันซอง (เพิ่มเติม)(ต้องระบุในประกาศ/เอกสารและสัญญา 3 ฝ่าย ให้ชัดเจน) 1. ผู้ค้าที่ยื่นเอกสารปลอม 2. ผู้ค้าที่มีพฤติการณ์สมยอมราคากัน หรือหลีกเลี่ยง หรือขัดขวาง หรือกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม 3. ผู้ค้าที่เสนอราคาผิด เช่น ต้องการเสนอราคา 3,000,000 บาท แต่เสนอราคาเป็น 300,000 บาท หรือเสนอราคาหนึ่งราคาใดแล้วอ้างว่าเสนอราคาผิด ความจริงไม่มีเจตนาจะเสนอราคานั้น เป็นต้น

  43. ข้อสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหาย (ต้องระบุในประกาศ/เอกสารและสัญญา 3 ฝ่าย ให้ชัดเจน) 1 . ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกให้มาทำสัญญา แต่ไม่มา ทำสัญญา จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย เช่น ค่าเสียหายจากการที่ต้องเรียกผู้เสนอราคารายต่ำถัดไปมาทำสัญญา ทำให้ต้องเสียค่าซื้อ/จ้าง สูงขึ้น หรือมีการเสนอราคาใหม่แล้วราคาต่ำสุดมีราคาสูงกว่าเดิม เป็นต้น 2. จุดอ่อนหรือปัญหาที่ อปท. พบบ่อยๆ

  44. การซื้อ – การจ้าง ( 5 วิธี ) 1. กรณีใช้วงเงินกำหนดวิธีการ วิธีตกลงราคาครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 100,000 บาท วิธีสอบราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า 100,000 บาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท วิธีประกวดราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า 2,000,000 บาท

  45. การซื้อ – การจ้าง ( 5 วิธี ) (ต่อ) • 2. กรณีใช้วงเงินและเงื่อนไขกำหนดวิธีการซื้อ 2.1 โดยวิธีพิเศษ • - เกินกว่า 100,000 บาท • - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ 17 • 2.2 จ้างโดยวิธีพิเศษ • - เกินกว่า 100,000 บาท • - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ 18 • 3. กรณีใช้เงื่อนไขกำหนดวิธีการ • - วิธีกรณีพิเศษ

  46. รายงาน (20) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง ให้ความเห็นชอบ (20) เสนอสั่งซื้อ/จ้าง ผู้ขาย / ผู้รับจ้าง หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ สั่งซื้อ / จ้าง (32) ขั้นตอนการซื้อและการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ข้อยกเว้น : กรณีจำเป็นเร่งด่วน - ไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน - ดำเนินการตามปกติไม่ทัน วิธีการ : - เจ้าหน้าที่พัสดุ / ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการไปก่อน - รายงานขอความเห็นชอบผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง - ใช้รายงานเป็นหลักฐานการตรวจรับ - รายงานการซื้อ / จ้างเฉพาะรายการ เท่าที่จำเป็น

  47. รายงาน (20) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง ให้ความเห็นชอบ (22) - ก่อนวันเปิดซอง 10 วัน- นานาชาติ 45 วัน- ปิด ณ ที่ทำการโดยเปิดเผย- ส่งให้ผู้มีอาชีพขาย/รับจ้าง โดยตรงทางไปรษณีย์ จัดทำประกาศ (33)ออกประกาศ (34)รับซอง คณะกรรมการเปิดซอง (35) - ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอราคา - เปิดซอง - ตรวจสอบคุณภาพ / คุณสมบัติของพัสดุ - คัดเลือก - เกณฑ์ปกติต่ำสุด - เท่ากันหลายราย - ยื่นซองใหม่ - รายเดียว - ดำเนินการ ขั้นตอนการซื้อและการจ้างโดยวิธีสอบราคา กรณีเกินวงเงิน (36) 1. เรียกรายต่ำสุดมาต่อรองให้อยู่ในวงเงิน หรือสูงกว่าไม่เกิน 10% 2. ถ้า 1 ไม่ได้ผล ให้ทุกรายยื่นซองใหม่ พิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อ 1 3. ถ้า 2 ไม่ได้ผล - ลดรายการ - ลดงาน - ยกเลิก - ลดจำนวน - ขอเงินเพิ่ม

  48. รายงาน (20) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง ให้ความเห็นชอบ (22) หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ คณะกรรมการรับและเปิดซอง (42) - รับซอง - ตรวจหลักประกันซอง - รับเอกสารหลักฐาน - เปิดซอง,อ่านราคา,ลงชื่อในเอกสาร - จัดทำเอกสารตามตัวอย่าง (37)- ประกาศเผยแพร่ (37)- วิธีประกาศ (38)- ให้หรือขายแบบ (39)- ประกาศเพิ่มเติม (40)- ข้อห้าม,ร่น เลื่อน ,เปลี่ยนแปลง (41) คณะกรรมการพิจารณาผลฯ (43) - ตรวจสอบคุณสมบัติ / เงื่อนไข - คัดเลือกสิ่งของ / งานจ้าง - พิจารณาราคา * เกณฑ์ปกติ * ราคาต่ำสุด * เท่ากันหลายราย * ยื่นซองใหม่ * ถูกต้องรายเดียว (44) * ยกเลิก * ไม่มีผู้เสนอราคา (45) * ดำเนินการต่อไป * มีแต่ไม่ถูกต้อง * ยกเลิก เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญก่อนทำสัญญา - ยกเลิก (46)ยื่น 2 ซอง (47-48) - คำนึงถึงเทคโนโลยีข้อกำหนดพิเศษ - ข้อเสนอไม่อยู่ในฐานเดียวกัน - การพิจารณาเทคนิคและการเงิน ให้มีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ด้านละ 1 คน ร่วมเป็นกรรมการ ขั้นตอนการซื้อและการจ้างโดยวิธีประกวดราคา

  49. รายงาน (20) ให้ความเห็นชอบ (22) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อ คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เงื่อนไข (ข้อ 17) วิธีการ (ข้อ50) 1. จะขายทอดตลาด เจรจาตกลงราคา2. เร่งด่วน เชิญผู้มีอาชีพขายมาเสนอราคาและต่อรอง 3. ซื้อจากต่างประเทศ สั่งซื้อโดยตรงโดยให้หน่วยงานอื่นในต่างประเทศสืบราคาให้ 4. จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เชิญผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายมาเสนอราคาและต่อรอง 5. ใช้วิธีอื่นไม่ได้ผล สืบราคาผู้มีอาชีพรายอื่นเปรียบเทียบกับผู้เสนอราคาเดิม และต่อรอง6. ซื้อที่ดิน/สิ่งก่อสร้างเฉพาะแห่ง เชิญเจ้าของมาเสนอราคาและต่อรอง ขั้นตอนการซื้อโดยวิธีพิเศษ

  50. รายงาน (20) ให้ความเห็นชอบ (22) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งจ้าง คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ เงื่อนไข (ข้อ 18) วิธีการ (ข้อ51) 1. ช่างฝีมือ/ชำนาญพิเศษ 2. ซ่อมพัสดุที่ต้องถอดตรวจ - เชิญผู้มีอาชีพโดยตรงมาเสนอราคา 3. เร่งด่วน-ช้าเสียหาย และต่อรอง 4. ใช้วิธีอื่นไม่ได้ผล - สืบราคาผู้มีอาชีพรับจ้างรายอื่น เปรียบเทียบกับผู้เสนอราคาเดิมและต่อรอง ขั้นตอนการจ้างโดยวิธีพิเศษ

More Related