1 / 31

การจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาล

การจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาล. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล วนิดา พงษ์ธัญญะวิริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ. 22-25 มิ.ย. 2553. ปัญหาที่พบในการจัดการมูลฝอยของ โรงพยาบาล. ภาชนะไม่ถูกสุขลักษณะ การแยกประเภทของมูลฝอยไม่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้. ขยะหรือมูลฝอย คืออะไร ?.

Download Presentation

การจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาลการจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาล งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล วนิดา พงษ์ธัญญะวิริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 22-25 มิ.ย. 2553

  2. ปัญหาที่พบในการจัดการมูลฝอยของโรงพยาบาลปัญหาที่พบในการจัดการมูลฝอยของโรงพยาบาล • ภาชนะไม่ถูกสุขลักษณะ • การแยกประเภทของมูลฝอยไม่ถูกต้อง • ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้

  3. ขยะหรือมูลฝอย คืออะไร? • เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนหรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงาน ซึ่งมีกำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

  4. ประเภทของมูลฝอยในโรงพยาบาลประเภทของมูลฝอยในโรงพยาบาล (1) มูลฝอยทั่วไป - ขยะแห้ง - ขยะย่อยสลาย(เปียก) (3)มูลฝอยมีพิษ (4)มูลฝอยรีไซเคิล (2)มูลฝอยอันตราย - ของมีคม - แก้ว (5) มูลฝอยติดเชื้อ

  5. มูลฝอยทั่วไป • ขยะแห้ง: ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล ขยะมีพิษ และขยะอันตราย มีลักษณะย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร • ขยะย่อยสลาย(เปียก): ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ

  6. มูลฝอยอันตราย • ของมีคมที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่นใบมีด เข็มและวัสดุที่ทำจาก แก้ว กระเบื้อง เช่น Ampoule ยา เซรามิคแตก

  7. มูลฝอยมีพิษ • ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี

  8. มูลฝอยรีไซเคิล • มูลฝอยที่ยังใช้ได้: ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHTกระป๋องเครื่องดื่ม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นต้น

  9. มูลฝอยติดเชื้อ • มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ในปริมาณที่สามารถทำให้เกิดโรคได้ ถ้ามีการสัมผัส หรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้น และรวมถึงมูลฝอยดังต่อไปนี้ที่เกิดขึ้น หรือใช้ในกระบวนตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรค การทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพ หรือซากสัตว์รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว

  10. ชนิดมูลฝอยติดเชื้อ • ซาก หรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดการตรวจชันสูตร หรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง • วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์

  11. วัสดุซึ่งสัมผัส หรือสงสัยว่า จะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ วัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่างๆ ท่อยาง เป็นต้น • มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง

  12. ตัวอย่างมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลตัวอย่างมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล • ผ้าก๊อส สำลี ผ้าพันแผล (เฉพาะที่เปื้อนเลือด หรือหนอง) • สายยางทุกชนิดที่สอดใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เช่น IV set , IV catheter, Foley catheter, Cardiac cath, สายยาง drain ชนิดต่างๆ • Syringe พลาสติก ขวดเก็บอุจจาระ,ปัสสาวะ • ถุงมือ disposable ที่เปื้อนเลือด/สิ่งคัดหลั่ง

  13. ตัวอย่างมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลตัวอย่างมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล • Urine bag (ไม่มี urine) • ชิ้นส่วนของร่างกายมนุษย์ • ซากสัตว์ทดลองที่มีเชื้อโรค

  14. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 1.เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่สิ่งแวดล้อม 2. ป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน 3. ลดค่าใช้จ่าย

  15. ขั้นตอนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขั้นตอนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 1. การแยกประเภทและการบรรจุ 2. การเก็บกัก 3. การขนย้าย 4. การกำจัด

  16. 1. การแยกประเภทและการบรรจุ มูลฝอยทั่วไป ถุงดำ มูลฝอยติดเชื้อ ถุงแดง

  17. ถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ 1. วัสดุทนทานต่อการรับน้ำหนัก 2. ทนต่อสารเคมี 3. เหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย 4. ป้องกันการรั่วซึมได้ 5. ทิ้งมูลฝอย 3 ใน 4 ของถุง 6. ผูกปากถุงให้แน่น ห่างจากปากถุง1ใน4 ของความยาวถุง

  18. กรณีของมีคม • ภาชนะทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง • ของมีคมไม่แทงทะลุออกมา • ฝากล่องปิดมิดชิด

  19. 2. การเก็บกัก • ไม่ลากถุงมูลฝอย • ตั้งให้เป็นระเบียบให้ปากถุงตั้งขึ้น • ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป

  20. 3. การขนย้าย • สวมถุงมืออย่างหนา • ผ้าพลาสติกกันเปื้อน • ผ้าปิดปากและจมูก • รองเท้าบู๊ท

  21. ตัวอย่างการแต่งกาย

  22. 4. การกำจัด • การเผา • การนึ่งด้วยไอน้ำ • การใช้สารเคมี • การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

  23. วิธีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อวิธีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ • ของเหลว เช่น เลือด สิ่งคัดหลั่ง เทลงส้วม • ชิ้นเนื้อ ซากสัตว์ทดลอง เผา • ของมีคม เผาหรืออบไอน้ำร้อนเพื่อทำลาย เชื้อแล้วกำจัดเหมือนมูลฝอยทั่วไป

  24. อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้ออันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ • WHO estimated that, in 2000, contaminated injections with • contaminated syringes caused: • 21 million hepatitis B virus (HBV) infections (32% of all newinfections); • two million hepatitis C virus (HCV) infections (40% of allnew infections); and • at least 260,000 HIV infections (5% of all new infections).

  25. อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ(ต่อ)อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ(ต่อ) • คนงาน รพ. ศิริราช เคยถูกเข็มหรือของมีคมตำขณะ ทำงาน8.1% (นพ.สมหวังและคณะ, 2538) • พนักงานรักษาความสะอาด 1 ราย ติดเชื้อ HIV จากการถูกเข็มฉีดยาทิ่มตำขณะเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อใน รพ.ใน USA โดยไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIVมาก่อน (Belani, Dutta&Rosen,1984)

  26. อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ(ต่อ)อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ(ต่อ) • เจาะเลือดคนคุ้ยขยะจำนวน 100 คน เพื่อสำรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและโรคเอดส์ #พบติดเชื้อเอดส์ 6 คน #ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 19 คน (เทพนม เมืองแมนและชมภูศักดิ์ พูลเกษ, 2532)

  27. อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ(ต่อ)อันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ(ต่อ) • การศึกษาจาก UCLA • เจาะเลือดผู้ป่วย HIV 7 คน (เก็บทิ้งไว้ใน heparinized tube) • ตรวจหาเชื้อหลังทิ้งไว้ 7 วัน พบเชื้อ HIV 5 คน • เก็บไว้ที่ตู้เย็น 4 มีชีวิตอยู่ได้ 14 วัน

  28. องค์ประกอบของการทำให้เกิดการติดเชื้อองค์ประกอบของการทำให้เกิดการติดเชื้อ 1. เชื้อโรคในขยะนั้นต้องเป็นชนิดที่มีความร้ายแรง 2. เชื้อโรคเหล่านั้นต้องมีชีวิตอยู่ในขยะได้ 3. จำนวนของเชื้อต้องมากพอ 4. มีคนซึ่งสภาพร่างกายติดเชื้อได้มาสัมผัสโรค 5. เชื้อต้องมีทางเข้า เข้าสู่ร่างกายของคนที่มาสัมผัส

  29. กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง ต่อมูลฝอยติดเชื้อ ทั้งในขั้นตอนการก่อให้เกิดมูลฝอย การขนย้าย การกำจัด และการนำไปทิ้ง • บุคลากรทางการแพทย์ • ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ • คนงานที่เกี่ยวข้องกับมูลฝอย • คนงานขนมูลฝอย ซึ่งมีมูลฝอยติดเชื้อปนเปื้อนอยู่ด้วย โดยส่วน • ใหญ่ความเสี่ยงมักเกิดขึ้น ในคนงานที่ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกัน • อันตรายส่วนบุคคล หรือสวมเสื้อผ้าไม่เหมาะสม • คนไข้ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น มีการใช้อุปกรณ์ • การแพทย์ หรือเข็มฉีดยาแบบใช้ซ้ำ

  30. ขอขอบคุณทุกท่านที่ตั้งใจฟังThanks for your attention

More Related