1 / 79

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก. นพ.สุรศักดิ์ เกษมศิริ รพ.สำโรง อุบลราชธานี. เนื้อหา. โรคไข้เลือดออก การรักษา การป้องกันและควบคุม. ไข้เลือดออก. Dengue fever Dengue hemorrhagic fever Dengue shock syndrome. สาเหตุ. เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus)

feryal
Download Presentation

โรคไข้เลือดออก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคไข้เลือดออก นพ.สุรศักดิ์ เกษมศิริ รพ.สำโรง อุบลราชธานี

  2. เนื้อหา • โรคไข้เลือดออก • การรักษา • การป้องกันและควบคุม

  3. ไข้เลือดออก • Dengue fever • Dengue hemorrhagic fever • Dengue shock syndrome

  4. สาเหตุ • เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) • มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 • ทั้ง 4 serotypes มี antigen ร่วมบางชนิดจึงทำให้มี cross reaction และ cross protection ได้ในระยะเวลาสั้นๆ • เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิด นั้นตลอดไป (long lasting homotypic immunity) และจะมีภูมิคุ้มกัน cross protection ต่อชนิดอื่น (heterotypic immunity) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆประมาณ 6-12 เดือน • ดังนั้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุมอาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้

  5. วิธีการติดต่อ • โรคไข้เลือดออกเดงกีติดต่อกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นแมลงนำโรคที่สำคัญ • ในบางพื้นที่ จะมียุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นแมลงนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน

  6. แมลงนำโรค : ยุงลาย

  7. การติดต่อ ยุงลายตัวเมียดูดเลือดผู้ป่วยที่กำลังไข้ วงจรการเกิดโรคไข้เลือดออก ยุงถ่ายทอดเชื้อทางไข่ได้ กัดเด็กในชุมชน โรงเรียน ศูนย์เด็ก

  8. วงจรชีวิตของยุงลาย ไข่ยุงลาย 4-5 วัน ลูกน้ำ 1-2 วัน ตัวโม่ง ยุงลาย 7-10 วัน ตัวผู้ 7 วัน ตัวเมีย 30 - 45 วัน 1-2 วัน

  9. น้ำถูกใช้หรือระเหยหมดไปน้ำถูกใช้หรือระเหยหมดไป แต่ไข่ยังมีชีวิตอยู่ได้ ไข่ยุงลาย เหนือน้ำ 2-3 ซม.

  10. ๖๗.๘ % ๑.๒ % ๐.๙ % ๓๐.๑% ยุงลายชอบวางไข่ที่ใด ๔.๖ เมตร ๓.๐ เมตร ๑.๒ เมตร ๐ เมตร

  11. ยุงลายเกาะเสื้อผ้าที่ห้อยแขวนยุงลายเกาะเสื้อผ้าที่ห้อยแขวน ร้อยละ ๖๖.๕ สีวิกา แสงธาราทิพย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ยุงลายเกาะมุ้ง เชือกมุ้ง ตามเครื่องเรือน โคมไฟ ร้อยละ ๓๑ แหล่งเกาะพักของ ยุงลาย ยุงลาย เกาะข้างฝา ร้อยละ ๒.๕

  12. หลังจากดูดกินเลือดอิ่มแล้ว ยุงลายจะหาที่เกาะพัก รอให้เลือดย่อยและพัฒนาไข่ให้เจริญเติบโต ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๓-๕ วัน

  13. ระยะฟักตัว และระยะติดต่อ • ระยะฟักตัว • ระยะเพิ่มจำนวนของไวรัสเดงกี ในยุง ประมาณ 8-10 วัน • ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกี ในคน ประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน • ระยะติดต่อ • ระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 จะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก ระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อจากคนสู่ยุง และระยะเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในยุงจนมากพออีกประมาณ 8-10 วัน จึงจะเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คน

  14. อาการและอาการแสดง • โรคไข้เลือดออก มีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ดังนี้ • ไข้สูงลอย 2-7 วัน • มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง • มีตับโต กดเจ็บ • มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว/ภาวะช็อก

  15. อาการ

  16. อาการของโรคไข้เลือดออกอาการของโรคไข้เลือดออก • ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย • บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้ • ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้

  17. นิยามในการเฝ้าระวังโรคนิยามในการเฝ้าระวังโรค • เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical Criteria) แบ่งเป็น 2 ชนิด • ไข้เดงกี มีไข้เฉียบพลัน ร่วมกับ อาการอื่นๆ อย่างน้อย 2 อาการ • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อต่อ มีผื่น มีอาการเลือดออก tourniquet test ให้ผลบวก • ไข้เลือดออก มีไข้เฉียบพลัน และ tourniquet test ให้ผลบวกร่วมกับ อาการอื่นๆ อย่างน้อย 1 อาการ • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อต่อ มีผื่น มีอาการเลือดออก ตับโตมักกดเจ็บ มีการเปลี่ยนแปลงทางระบบไหลเวียนโลหิต หรือมีภาวะความดันโลหิตลดต่ำลง (shock)

  18. นิยามในการเฝ้าระวังโรคนิยามในการเฝ้าระวังโรค • เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Criteria) • ทั่วไป • Complete Blood Count (CBC) • มีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ (< 5,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร) โดยมีสัดส่วน lymphocyte สูง (ในกรณีของไข้เดงกี) • มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร (ในกรณีของไข้เลือดออก) • มีฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 - 20 จากเดิม (ในกรณีของไข้เลือดออก) • Chest x-rays (ในกรณีของไข้เลือดออก) - จะพบ pleural effusion ได้เสมอ โดยส่วนใหญ่จะพบทางด้านขวา แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจพบได้ทั้ง 2 ข้าง แต่ข้างขวาจะมีมากกว่าข้างซ้ายเสมอ

  19. นิยามในการเฝ้าระวังโรคนิยามในการเฝ้าระวังโรค • เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Criteria) • จำเพาะ • ตรวจพบเชื้อได้จากเลือดในระยะไข้ โดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อ หรือ • ตรวจ พบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อในน้ำเหลืองคู่ (paired sera) ด้วยวิธี Hemagglutination Inhibition (HI) > 4 เท่า หรือ ถ้าน้ำเหลืองเดี่ยว ต้องพบภูมิคุ้มกัน > 1: 1,280 หรือ • ตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิด IgM > 40 ยูนิต หรือการเพิ่มขึ้นของ IgG อย่างมีนัยสำคัญโดยวิธี Enzyme Immuno Assay (EIA)

  20. ประเภทผู้ป่วย(Case Classification) • ผู้ป่วยที่สงสัย(Suspected case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ผู้ป่วยที่เข้าข่าย(Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ • มีผลการตรวจเลือดทั่วไป • มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ • ผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีผลตามเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

  21. การรักษาโรคไข้เลือดออกการรักษาโรคไข้เลือดออก

  22. การดำเนินโรคไข้เลือดออกแบ่งเป็น 3 ระยะ o ระยะไข้ 2-7 วัน o ระยะวิกฤต 24-48 ชั่วโมง o ระยะฟื้นตัว 2-7 วัน

  23. การดูแลรักษาผู้ป่วย • ในระยะไข้สูง จำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกร็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญอาจทำให้เกิด Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เวลาที่ไข้สูงเท่านั้น (มากกว่า 39 องศาเซลเซียส) การใช้ยาลดไข้มากไปจะมีภาวะเป็นพิษต่อตับได้ ควรจะใช้การเช็ดตัวช่วยลดไข้ด้วย บางรายอาจมีการชักได้ถ้าไข้สูงมาก โดยเฉพาะเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน • ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือ สารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ และดื่มบ่อยๆ • จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ช็อกมักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลงประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วยเป็นต้นไป ทั้งนี้แล้วแต่ระยะเวลาที่เป็นไข้ อาการนำของช็อก อาจจะมีอาการเบื่ออาหารมากขึ้น หรือมีอาการถ่ายปัสสาวะน้อยลง มีอาการปวดท้องอย่างกะทันหัน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

  24. การดูแลรักษาผู้ป่วย • เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การรักษาได้ แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือดและ hematocrit และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือดและ hematocrit เป็นระยะๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลงและ hematocrit เริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย • โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการ หรือแพทย์นัดให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะๆ

  25. การวินิจฉัยในระยะแรก • ต้องนึกถึงโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยทุกรายที่มีไข้สูงลอย และมีอาการอื่นๆไม่ชัดเจน ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ • ในปัจจุบันพบผู้ป่วยผู้ใหญ่ (อายุ >15 ปี) ติดเชื้อไวรัสเดงกี่มากกว่าในเด็ก คือ 60% • ทำ Tourniquet test (TT) ทุกราย อาจต้องทำซ้ำถ้ายังให้ผลลบ ทั้งนี้ TT จะให้ผลบวก > 90% ในวันที่ 3 ของไข้เป็นต้นไป

  26. ทำ CBC ทุกวัน เริ่มทำอย่างช้าในวันที่ 3 ของไข้ (ประมาณ 2% ผู้ป่วยจะช็อกในวันที่ 3 ของโรค) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ CBC จะช่วยในการ management ผู้ป่วยดังต่อไปนี้ • WBC ≤ 5,000 cells/cumm. และมี Lymphocytosis แสดงว่าภายในระยะ 24 ชั่วโมงข้างหน้าไข้จะลง • Platelet count ≤ 100,000 cells/cumm. ถ้าเป็นผู้ป่วยไข้เลือดออกก็กำลังเข้าระยะวิกฤตที่มีการรั่วของพลาสมา ถ้า Platelet count < 50,000 cells/cumm. น่าจะนึกถึงว่าเป็นผู้ป่วยไข้เลือดออก> ไข้เดงกี่ ผู้ป่วยไข้เดงกี่ครึ่งหนึ่งอาจมี platelet count < 100,000 cell/cumm. • Hematocrit (Hct) เริ่ม rising 10-20% เป็นผู้ป่วยไข้เลือดออกที่กำลังอยู่ในระยะวิกฤต

  27. การดูแลในระยะไข้สูง • ให้ยาลดไข้ paracetamol ถ้ามีไข้สูงเท่านั้น เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นร่วมด้วยถ้าไข้ไม่ลงหลังให้ยา ไม่ให้ยาถี่กว่า 4 ชั่วโมง (การให้ยาลดไข้ Aspirin, NSAID, steroid จะทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรงได้) • ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้ารับประทานได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของปกติ ต้องแนะนำให้ดื่มนม น้ำผลไม้ หรือ น้ำเกลือแร่ • นัดตรวจติดตามทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 3 ของไข้เป็นต้นไป การทำ CBC เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยในการบอกระยะของโรคไข้เลือดออกได้ ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะช็อก

  28. Admition criteria sever vomiting / fatique hemoconcentration 10 -20% afebrile + clinical severe shock : cold skin , sweating,oliguria conciouse change sever abdominal pain ผู้ปกครองกังวลมาก bleeding

  29. การรับไว้ในโรงพยาบาล • ในระยะไข้ มี Moderate/ severe dehydration, มีเลือดออกมาก • อ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ หรืออาเจียนมาก • มีเลือดออก • มี WBC ≤ 5,000 เซล/ลบ.มม. + มี lymphocytosis + มี platelet ≤ 100,000 เซล/ลบ.มม. และผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ มีอาเจียนมาก (ผู้ป่วยบางรายที่มี WBC มากกว่า 5,000 เล็กน้อย และมี Platelet สูงกว่า 100,000 เล็กน้อย ควรได้รับการพิจารณารับไว้สังเกตอาการเช่นกัน) • มี platelets ≤ 100,000 เซล/ลบ.มม. และ/ หรือ Hct เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 - 20%*

  30. ไข้ลงและอาการเลวลง หรืออาการไม่ดีขึ้น • อาเจียนมาก หรือปวดท้องมาก • มีอาการช็อกหรือ impending shock • ไข้ลงและชีพจรเร็วผิดปกติ • capillary refill > 2 วินาที • ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก ตัวลาย กระสับกระส่าย • pulse pressure 20 mmHg. โดยไม่มี hypotension เช่น 100/80, 90/70 มม.ปรอท • hypotension • ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน 4-6 ชม. • มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติเช่น ซึม หรือเอะอะโวยวาย หรือพูดจาหยาบคาย (ต้องนึกถึงว่าผู้ป่วยน่าจะมีอาการทางสมองร่วมด้วย)

  31. การให้ IV Fluid • ระยะไข้ • ให้เฉพาะรายที่มี moderate to severe dehydration เมื่อแก้ dehydration แล้วให้ลดปริมาณลงให้น้อยที่สุด โดยไม่ควรเกิน M/2 • ให้ใน form 5%D/N/2 ถ้า WBC > 5,000 cells/cumm. / Platele count > 100,000 cells/cumm.

  32. ระยะวิกฤต (เมื่อ platelet count ≤ 100,000 cells/cumm.) 24-48 hours • ปริมาณ = M + 5% Deficit คิดตาม ideal body weight (IBW) • ชนิด Isotonic salt solution : 5%DAR, 5%DLR, 5%D/NSS • ปรับ rate ตามกราฟที่ผู้ป่วยมีภาวะช็อก หรือไม่มี (rate ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ดูตามตาราง) • ระยะเวลาที่ให้ IV fluid 24-48 ชั่วโมง (ดูตามเวลาที่มี plasma leakage) ถ้าให้เกินไปจนถึงระยะ reabsorption ผู้ป่วยอาจมีภาวะน้ำเกินได้

  33. การให้ IV fluid ในผู้ป่วยที่ช็อก ให้ปริมาณ M+5%Deficit ใน 24 ชั่วโมง • เริ่มที่ 10 ml/kg/hr ไม่ให้มากกว่านี้เพราะส่วนเกินจะรั่วเข้าไปในท้องและช่องปอด ทำให้ผู้ป่วยมี respiratory distress ในภายหลังได้ • ถ้าวัด BP ไม่ได้ (เป็นผู้ป่วย high risk)ให้ rate free flow 10 -1 5 นาที หรือจนกว่าจะเริ่มวัด BP ได้ (ไม่เกิน 1 ชั่วโมง) หรือ 20 ml/kg/hr แล้วจึงลด rate เป็น 10 ml/kg/hr

  34. ข้อควรพิจารณาก่อนส่งผู้ป่วยกลับบ้าน • ไข้ลงอย่างน้อย 24 ชม. โดยไม่ได้ใช้ยาลดไข้ • รับประทานอาหารได้ดี • อาการทั่วไปดีขึ้นอย่างชัดเจน • ปัสสาวะจำนวนมาก (> 1-2 ซีซี/กก/ชม.) • Hct ลดลงจนเป็นปกติ หรือ stable Hct ที่ 38 - 40% ในรายที่ไม่ทราบ baseline Hct อย่าง น้อย 2 วันหลังช็อก

  35. การดูแลรักษาระยะไข้ • การลดไข้ ใช้paracetamol อย่างเดียวเท่านั้น(10mg/kg/dose) ให้ห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชม. และต้องเช็ดตัวลดไข้ร่วมด้วยเสมอ • ห้ามให้ ASAหรือNSAIDเพราะจะเกิดGI bleedได้ง่าย • อาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารสีดำ แดง และน้ำตาล • ดื่มนม น้ำผลไม้ และORS • IV fluid จะให้เมื่อมี moderate dehydration • Domperidoneถ้าอาเจียน /H2 blocker ถ้ามีHx PU • Antibiotics ไม่ควรให้เพราะเพิ่มrisk ในการแพ้ยา • นัดFU CBC ทุกวันเริ่มจากD3 + แนะนำwarning sign

  36. การดูแลรักษาระยะวิกฤตการดูแลรักษาระยะวิกฤต การวินิจฉัยภาวะช็อก/leak ให้เร็วที่สุด • ยากถ้าไม่ได้วัดBPหรือจับpulse เนื่องจากช่วงแรกความรู้สึกตัวดี • ไข้ลง แต่ ชีพจรเบาเร็ว • Pulse pressure แคบ เช่น 100/80,110/90 • Capillary refill >2 sec • กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

  37. การดูแลรักษาระยะวิกฤตการดูแลรักษาระยะวิกฤต • ให้ IV fluid ให้เมื่อมีHct เพิ่มขึ้น 10-20%ร่วมกับ Plt ≤ 100,000/cu.mm • ชนิดของIV fluid ต้องเป็น isotonic solution เท่านั้น • 5%D/NSS, 5%DAR, 5%DLR แต่ถ้าProlong shock ไม่ควรมี dextrose • ถ้าเด็ก< 1 ปีให้5%D/N/2 ได้แต่ถ้า shock ให้5%D/NSSเหมือนกัน • ระยะเวลาให้ IVไม่ควรเกิน24-48ชม. ถ้าไม่ดีขึ้นหลัง48 ชม.ควรระวัง complication

  38. การดูแลรักษาระยะวิกฤตการดูแลรักษาระยะวิกฤต • เปลี่ยนIV fluid เป็น 5%D/NSS ถ้าPlt ≤ 100,000 • การวินิจฉัยว่าผู้ป่วย shock ให้ดูหลายอย่างประกอบกันไม่ใช่ดู Hct สูงอย่างเดียว • ผู้ป่วยDHF grade 3 ให้ load5%D/NSS 10cc/kg/hr • ไม่จำเป็นต้องให้ถึง 20cc/kg/hr

  39. ข้อควรระวังในผู้ป่วยDHFในผู้ใหญ่ข้อควรระวังในผู้ป่วยDHFในผู้ใหญ่ • ผู้ป่วยช็อคจะมีความรู้สึกตัวดีและcompensate ได้ดี ถ้าไม่วัดBPหรือจับชีพจรจะไม่รู้ว่ากำลังช็อค • คำนึงถึงunderlying dis:IHD,PU, HT,DM,CRF, anemia, G6PD deficiency , thalassemia, Pregnancy • ถ้าพบภาวะshock หาสาเหตุไม่ได้และมี TT+ve และwbc<5000 นึกถึง DHF เสมอ • ในผู้หญิงต้องซักประวัติประจำเดือนเสมอ ถ้ามีต้องให้primalute N • ถ้าปวดท้องมากและมีประวัติPUหรือประวัติยาแก้ปวดต้องคิดถึง GI bleeding เสมอต้องรีบให้เลือดถ้าให้ iv แล้วไม่ดีขึ้น • ถ้ามีunderlying HTอยู่เดิมในภาวะ shockผู้ป่วยอาจมีBP อยู่ในเกณฑ์ปกติ(แต่จะต่ำกว่าภาวะปกติของผู้ป่วย)

  40. HIGH RISK PATIENT • อายุ<1ปี มักมี unusual manifestation +มีน้ำเกินได้ง่าย • ผู้ป่วยอ้วน มักมีปัญหาน้ำเกินและภาวะหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว • ผู้ป่วยที่มี massive bleeding • ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง

  41. การดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นตัวการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นตัว • A: good appetite • B:BP stable , wide PP,bradycardia+full • C:convalescent rashตามแขนขาพบ 30%ของcase/isching • D:diuresis , hemodilution(38-40%) • หยุดให้ iv fluid • ให้lasix เมื่อมีข้อบ่งชี้ • Bleeding precaution ให้ผู้ป่วยพัก ป้องกันการกระทบกระแทก ห้ามหัตถการที่รุนแรง แปรงฟันอย่างระมัดระวัง • ถ้ายังไม่อยากทานอาหารอาจเกิดจากท้องอืด bowel ileus จาก hypokalemia

  42. ข้อควรพิจารณาก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้านข้อควรพิจารณาก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน • ไข้ลงอย่างน้อย 24 ชม.โดยไม่ได้ใช้ยาลดไข้ • รับประทานอาหารได้ดี • อาการโดยทั่วไปดีขึ้นอย่างชัดเจน • ปัสสาวะจำนวนมาก≥ 2cc/kg/hr • Hct ลดลงจนปกติ/stableที่ 38-40%ในรายที่ไม่ทราบbaseline • ถ้ามีshock ต้องอย่างน้อย 2 วันหลังช็อค • ไม่มี respiratory distress จาก pleural effusion / ascitis • ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆเช่น dual infection • ถ้า Plt <50,000 ตอนกลับบ้านควรย้ำไม่ให้มีการกระทบกระแหก เช่น งดออกกำลังกายมงดขี่จักรยาน ห้ามถอนฟันหรือฉีดยาเข้กล้ามภายใน 1-2 สัปดาห์

  43. การส่งต่อผู้ป่วย • DHF grade 4 • DHF with bleeding (hypermenorrhea) • Unusual manifestation :seizure ,conscious change • With pregnancy or Infant • DHF with underlying dis. • DHF with fluid over lode • DHFgrade 3 ที่ให้ 5%D/NSS 10cc/kg 2ชม. Hct ยังสูง และให้ dextrane-40 10cc/kg อีก1ชม.แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีช็อคซ้ำ

  44. การดูแลก่อนการส่งต่อผู้ป่วย DHF • ควรมีแพทย์/พยาบาลมาด้วยทุกครั้ง • รถrefer ควรมีอุปกรณ์ resuscitation พร้อมใช้ • ควรติดต่อมาที่โรงพยาบาลรับrefer ทุกครั้งก่อน refer • การเขียนใบreferต้องมีประวัติผู้ป่วย ,เวลาที่admit เวลาที่ช็อค ,dengue chart,I/O record รวมถึงน้ำทุกชนิดที่กิน, ยาทุกชนิดที่ได้รับ • ผู้ป่วยควรมีV/S stable ก่อน refer ควรมี set control iv ด้วยทุกครั้ง • Check iv ก่อนออกเดินทาง และคอยดูแลให้ได้ตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัดขณะเดินทาง • Record v/s เป็นระยะในช่วงเดินทางถ้ามีปัญหาให้โทรปรึกษาแผนการรักษา • ถ้า iv leakขณะเดินทาง และผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาวะ shock อาจให้ดื่ม ORS

  45. thrombophlebitis • pneumonia • UTI • septicemia ก่อนadmit หลังadmit DUAL INFECTION • UTI • GI:diarrhea • pneumonia • BONE& MUSCLE

  46. CAUSE OF DEATH • Prolong shock • Fluid overlode: puffy eye lids, tachypnea rapid and full pulse , wide PP แต่อาจพบ narrowing PPได้ในคนอ้วน ,fine crepitation /wheezing,rhonchi • Sever bleeding • Unusual manifestation

More Related