1 / 69

ดร.พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์ สมาคมผู้ผลิตผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่

การบริโภคไข่ไก่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : โอกาสและอุปสรรค. ดร.พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์ สมาคมผู้ผลิตผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ Pornsril@yahoo.com/ pornsri_l@cpf.co.th Tel. 085-801-7744 / 081-826-1800. 4. 6. 5. 1. การบริโภคไข่ไก่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : โอกาสและอุปสรรค.

Download Presentation

ดร.พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์ สมาคมผู้ผลิตผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริโภคไข่ไก่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โอกาสและอุปสรรค ดร.พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์สมาคมผู้ผลิตผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ Pornsril@yahoo.com/ pornsri_l@cpf.co.th Tel. 085-801-7744 / 081-826-1800

  2. 4 6 5 1 การบริโภคไข่ไก่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โอกาสและอุปสรรค สถานการณ์ไก่ไข่ในภาคอีสาน สถานการณ์ไก่ไข่โลก 2 พฤติกรรมการบริโภคของชาวอีสาน 3 สารอาหารบำรุงสมองด้วยไข่ไอโอดีน การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่จากประเทศต่างๆ การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ของประเทศไทย

  3. สถานการณ์ไก่ไข่ในภาคอีสานสถานการณ์ไก่ไข่ในภาคอีสาน

  4. สถานการณ์การเลี้ยงไก่ไข่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2551 ที่มา: www.dld.go.thกรมปศุสัตว์ , www.nesdb.go.th/

  5. สถานการณ์การเลี้ยงไก่ไข่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2551 (ต่อ) ที่มา : www.dld.go.thกรมปศุสัตว์ , www.nesdb.go.th/

  6. สถานการณ์การเลี้ยงไก่ไข่ของแต่ละภาค ปี 2551 ที่มา : www.dld.go.th, www.nesdb.go.th

  7. จำนวนไก่แยกเป็นจำนวนที่เลี้ยงและเกษตรกรแสดงเป็นรายภาคจำนวนไก่แยกเป็นจำนวนที่เลี้ยงและเกษตรกรแสดงเป็นรายภาค ที่มา: www.dld.go.th

  8. ปริมาณปศุสัตว์ในของไทย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลี้ยงทั้งหมด 1,444,961,735 ตัว เลี้ยงทั้งหมด 85,982,036 ตัว ที่มา: www.dld.go.th

  9. ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั่วประเทศ (ราคา ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2553) จากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ลดปริมาณการเลี้ยงไก่ลง ทำให้ปัจจุบันปริมาณแม่ไก่ไข่ยืนกรงทั่วประเทศแหลือเพียง ประมาณ 35-36 ล้านตัว ลดลงจากช่วงเดียวกับปีที่แล้วกว่า 20% ทั้งหมดนี้ ทำให้ปริมาณไข่ไก่ลดลงเหลือเพียง 25-26 ล้านฟองต่อวัน จากปกติที่มีปริมาณผลผลิตราว 28-30 ล้านฟองต่อวัน

  10. รายได้ของประชาชนในแต่ละภาครายได้ของประชาชนในแต่ละภาค ที่มา: www.nesdb.go.th

  11. สถานการณ์ไก่ไข่โลก

  12. ประเทศผู้ผลิตไข่ไก่ที่สำคัญของโลกประเทศผู้ผลิตไข่ไก่ที่สำคัญของโลก หน่วย : ล้านฟอง หมายเหตุ: (p) ข้อมูลเบื้องต้น, (f) ข้อมูลคาดคะเน และ สหภาพยุโรป ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 สมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ ที่มา : FAO , ของไทยจากสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่

  13. ประเทศผู้ส่งออกไข่ไก่ที่สำคัญของโลกประเทศผู้ส่งออกไข่ไก่ที่สำคัญของโลก หน่วย : ล้านฟอง หมายเหตุ: (p) ข้อมูลเบื้องต้น, (f) ข้อมูลคาดคะเน และ สหภาพยุโรป ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 สมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ ที่มา : FAO , ของไทยจากสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่

  14. ประเทศผู้นำเข้าไข่ไก่ที่สำคัญของโลกประเทศผู้นำเข้าไข่ไก่ที่สำคัญของโลก หน่วย : ล้านฟอง หมายเหตุ: (p) ข้อมูลเบื้องต้น, (f) ข้อมูลคาดคะเน และ สหภาพยุโรป ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 สมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ ที่มา : FAO

  15. การบริโภคไข่ไก่ของประเทศที่สำคัญการบริโภคไข่ไก่ของประเทศที่สำคัญ หน่วย : ล้านฟอง หมายเหตุ: (p) ข้อมูลเบื้องต้น, (f) ข้อมูลคาดคะเน และ สหภาพยุโรป ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 สมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ ที่มา : FAO , ของไทยจากสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่

  16. อัตราการบริโภคไข่ไก่ต่อคนต่อปีของบางประเทศอัตราการบริโภคไข่ไก่ต่อคนต่อปีของบางประเทศ หน่วย : ฟองต่อคนต่อปี หมายเหตุ: (p) ข้อมูลเบื้องต้น, และ สหภาพยุโรป ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 สมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ ที่มา : FAO , ของไทยจากสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่

  17. เปรียบเทียบปริมาณการบริโภค และอัตราบริโภคต่อคนต่อปี ของปี 2553 ที่มา : USDA, ของไทยจากสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่

  18. พฤติกรรมการบริโภคของชาวอีสานพฤติกรรมการบริโภคของชาวอีสาน

  19. การบริโภคในภาวะปกติ การบริโภคอาหารในภาวะปกติของคนอีสาน อาหารหลักของคนอีสานคือ ข้าว โดยเฉพาะกลุ่มชาวอีสานที่พูดภาษาลาว ผู้ไทบริโภคข้าวเหนียว ซึ่งกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานมีความสัมพันธ์กับข้าวมาเป็นเวลานาน อาหารหลักอีกประเภทคือ ปลา ซึ่งชาวอีสานสามารถจับปลาได้ตามฤดูกาลตามแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงมีการถนอมอาหารไว้เพื่อบริโภคตลอดปี นอกจากนี้ ชาวอีสานยังรับประทานอาหารประเภทแมง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานที่ให้คุณค่าทางอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น แมงกุดจี่ แมงกระชอน แมงจี่นูน แมงตับเต่า ตั๊กแตน กบ เขียด อึ่งอ่าง งู แย้ กระปอม(กิ้งก่า) ตุ๊กแก สำหรับพืชผัก จะบริโภคตามฤดูกาล เช่น ฤดูร้อน-ส้มป่อย ผักกูด มะระขี้นก, ฤดูหนาว-ยอดพริก โหระพา ยี่หร่า ผักแพว เป็นต้น ที่มา : www.siamsouth.com

  20. การบริโภคขนมหวานในโอกาสพิเศษการบริโภคขนมหวานในโอกาสพิเศษ การบริโภคอาหารหวานหรือขนมหวานของชาวอีสานส่วนใหญ่ก็ทำในโอกาสที่มีงานสำคัญของชุมชน ของครัวเรือน สำหรับเลี้ยงพระ เลี้ยงคนที่มากินมาทาน การปรุงขนมหวานของอีสานที่รับประทานเป็นประจำมีน้อย ส่วนประกอบจาก ไม้ผลและพืชลงหัว ส่วนประกอบจากข้าว ข้าวโคบ (หรือข้าวแตนหรือขนมนางเล็ด) ข้าวต้มมัด ข้าวตอกแตก ข้าวเม่า ข้าวหลาม ฯลฯ บวดหมากอึ(ฟักทอง) บวดเผือก บวดมัน นึ่งกลอย กล้วยบวดชี

  21. การบริโภคเนื้อในโอกาสพิเศษการบริโภคเนื้อในโอกาสพิเศษ สมัยอดีต ปัจจุบัน ไม่นิยมซื้อเนื้อจากตลาดส่วนใหญ่จะล้มวัวเอง เพราะเกรงว่าจะมีเนื้อกระบือปนหรือเนื้อไม่สด ชาวอีสานนิยมบริโภคเนื้อสดๆ บริโภคสุกๆ ดิบๆ ถือว่ามีรสอร่อยให้กำลังดี และเป็นสัญลักษณ์ความเป็นลูกผู้ชาย การจัดหาและได้มาของเนื้อจะเกิดจากผู้ประกอบการค้าเนื้อโคกระบือ ชำแหละเพื่อจำหน่ายและชาวบ้านสามารถบริโภคเนื้อโคกระบือได้ตลอดทั้งปี ไม่เฉพาะแต่ในโอกาสพิเศษเท่านั้น

  22. การบริโภคเนื้อปลา ทำไมชาวอีสานถึงนิยมบริโภคเนื้อปลา เนื่องจากปลามีพันธุ์ต่างๆ หลากหลาย ทำให้มีโอกาสได้เลือกว่าจะเอาปลาอะไร หลายอย่างจะต้องถูกใจบ้างจนได้ และสามารถหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปได้ตามฤดูกาลที่จับได้ด้วย เหมือนผลไม้ที่ออกตามฤดูกาลเช่นกัน อีกอย่างหนึ่งคือ รสชาติ ของปลาย่อมแตกต่างกัน ทำให้กินไม่เบื่อ กินกันได้ทุกวัน เปลี่ยนทั้งชนิดปลาและการปรุงแต่งก็ต่างกันไปด้วย ที่มา : “วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอีสาน” , ผศ.น.สพ.ดร.วรพล เองวานิช

  23. นักวิชาการเผยเด็กอีสานมีโปรตีนไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงเซลล์สมองนักวิชาการเผยเด็กอีสานมีโปรตีนไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงเซลล์สมอง เด็กอีสานทุกวันนี้ เป็นเด็กที่สุขภาพไม่ดี อ้วน เตี้ย ไอคิวต่ำ เพราะขาดไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโปรตีนที่เพียงพอในการหล่อเลี้ยงเซลสมอง จะเห็นได้จากภาวการณ์ขาดสารอาหารเด็กไทย อายุ 0-5 ปี ภาคอีสานมากสุด ร้อยละ 28.1 รองลงมา คือ ภาคใต้ ร้อยละ 26.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 19 และภาคกลาง ร้อยละ 17.3 ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2548 หน้า 10

  24. มข.เผยคนอีสานเสี่ยงเกิดโรคสูงเพราะการบริโภคมข.เผยคนอีสานเสี่ยงเกิดโรคสูงเพราะการบริโภค รศ.พิษณุ อุตตมะเวทิน คณบดีคณะสาธารสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ได้ทำการวิจัยมานานกว่า 19 ปี ครอบคลุมทั้ง 19 จังหวัด ในภาคอีสาน พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมของคนอีสาน ก่อให้เกิดสภาวการณ์เจ็บป่วยสูงกว่าประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ สุขอนามัยในการบริโภค อาหารไม่เหมาะสม บริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน การให้อาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย ไม่นิยมบริโภคไขมันหรือกะทิ การบริโภคอาหารที่เป็นพิษ ต่อร่างกาย พฤติกรรมความเชื่อในการ บริโภคอาหาร ที่มา : http://www.newswit.net

  25. สารอาหารบำรุงสมองด้วยไข่ไอโอดีนสารอาหารบำรุงสมองด้วยไข่ไอโอดีน

  26. ไข่ + ไอโอดีน ไข่ไอโอดีน ได้จากแม่ไก่ที่ได้รับอาหารเสริมไอโอดีนเพื่อให้ไข่ไก่มีปริมาณไอโอดีนสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 100 ไมโครกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวันของเด็ก เป็นที่ทราบกันดีว่าไอโอดีนมีประโยชน์ในการป้องกันโรคคอหอยพอก เสริมไอคิว ป้องกันการเตี้ยแคระแกร็น ไข่ไอโอดีนมีขายทั้งชนิดไข่สด ไข่เค็ม ไข่ไก่และไข่เป็ด ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

  27. ประโยชน์ของไข่ไก่

  28. ประโยชน์ต่อนักเรียนในด้านคุณค่าทางโภชนาการประโยชน์ต่อนักเรียนในด้านคุณค่าทางโภชนาการ โจอัน ลันน์ นักโภชนาการของมูลนิธิโภชนาการอังกฤษขานรับว่า ไข่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีสารอาหารครบครันถึง 13 ชนิด ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ในไข่แดง ขณะที่ในไข่ขาวมีอัลบูเมน ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ และไม่มีไขมัน ไข่อุดมด้วยวิตามินบี ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานในร่างกาย รวมถึงวิตามินเอที่ช่วยเรื่องการเติบโตและพัฒนาการ, วิตามินอีช่วยต่อต้านโรคหัวใจและมะเร็งบางประเภท, วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซับเกลือแร่และทำให้กระดูกแข็งแรง ไข่ยังมีไอโอดีน กระตุ้นการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน และฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อกระดูกและฟัน

  29. ประโยชน์ต่อนักเรียนในด้านคุณค่าทางโภชนาการประโยชน์ต่อนักเรียนในด้านคุณค่าทางโภชนาการ

  30. ประโยชน์ของไข่ไก่ ไข่แดง – สารอาหารครบ 13 ชนิด มีวิตามิน A ช่วย เรื่องการเติบโต พัฒนาการของเยาวชน ไข่ขาว – มีอัลบูมีนซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ + ไอโอดีน เพื่อกระตุ้นการผลิตไทรอยด์ ฮอร์โมน และฟอสฟอรัส ซึ่งจะเป็นต่อกระดูกและฟัน

  31. ไอโอดีน คือ อะไร สารไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่ไม่สม่ำเสมอ และมีมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พบมากในดินและแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายทะเล และทะเลซึ่งเป็นผลให้พืชผักและสัตว์จากทะเลมีสารไอโอดีนมากด้วย

  32. ประโยชน์ของไอโอดีน สารไอโอดีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้ในการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าสู่กระแสเลือดทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างของร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ โดยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะระบบสมองและประสาท นอกจากนี้ยังมีผลต่อการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อของร่างกาย และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามินอีกด้วย

  33. ประโยชน์ของไข่ไอโอดีนประโยชน์ของไข่ไอโอดีน • 1. มีปริมาณของไอโอดีนประมาณ 100 ไมโครกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน ของเด็ก • 2. ใช้วิธีการตามธรรมชาติ โดยการผสมสารไอโอดีนให้แม่ไก่กิน เพื่อถ่ายทอดเข้าสู่ฟองไข่ อีกขั้นตอนหนึ่ง • 3. ไข่ไอโอดีนเป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก เพราะประโยชน์จากไอโอดีน และประโยชน์อื่นๆ จากไข่ไก่ เช่น ไวตามินเอ ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี และธาตุซีลิเนียม เป็นต้น • 4. สามารถเก็บรักษาและคงความสดได้นานเนื่องจากนวลไข่ไม่ถูกทำลาย • 5. สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก โดยมีวิธีการไม่ยุ่งยากและมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ

  34. ไข่ไก่ช่วยเสริมธาตุไอโอดีนไข่ไก่ช่วยเสริมธาตุไอโอดีน ไข่ไก่ที่ผลิตจากฟาร์มไก่ในชุมชน ที่ได้รับอาหารเลี้ยงแม่ไก่ไข่ และเสริมอาหารด้วยสารโปแตสเซียมไอโอไดด์ เข้มข้นสูง จะทำให้ไข่ไก่มีปริมาณไอโอดีนเพิ่มสูงขึ้น และนำไข่ไปต้มให้อาสาสมัครในชุมชนตำบลนาพู่ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 124 คน กินกับอาหารเช้า 5 วันต่อเนื่องกัน พบว่าค่าระดับไอโอดีนในปัสสาวะมีสูงขึ้นจากค่าปกติก่อนที่จะเริ่มทดลอง ซึ่งจุดเด่นของนวัตกรรม นี้ คือความคงตัวของธาตุไอโอดีน ที่อยู่ในรูปของสารประกอบทางอินทรีย์ในเซลล์ของไข่แดง มีความคงตัว และไม่เสื่อมสลายเมื่อถูกความร้อน จากการนำไปต้มให้สุก ที่มา : ไข่ไก่-ผักสดเสริมไอโอดีนลดโรคเอ๋อ, กรุงเทพธุรกิจ, 2009

  35. อาหารภาคอีสาน ที่ทำจากไข่ • ไข่เจียวแหนม • ไข่คลุกปลาร้า • ก้อยไข่มดแดง !?(ไข่เหมือนกัน)

  36. กินไข่ กับ การพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคตชองอีสาน อาหารดี มีคุณประโยชน์ การเติบโตของเยาวชน ทั้งทางร่างกาย และมันสมอง(ไข่ไอโอดีน) มันสมองของชาวอีสาน ทุนมนุษย์ รายได้ / คน / ปี ของชาวอีสานสูงขึ้น อีสานพัฒนา

  37. EGG BOARD กับนโยบายการส่งเสริมบริโภคไข่ไก่

  38. นโยบายส่งเสริมบริโภคไข่ จาก EGG BOARD • ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มการบริโภคและขยายตลาดส่งออกไข่ไก่ • เป้าหมาย • เพิ่มการบริโภคจาก 160 เป็น 200 ฟอง/คน/ปี • มาตรการดำเนินงาน • รณรงค์การบริโภคไข่ไก่ในประเทศ • พัฒนาระบบตลาดไข่ไก่เพื่อรองรับการผลิต • วิจัย และพัฒนาการแปรรูปไข่ไก่

  39. มติครม. นายสมัคร สุทรเวช วันที่ 29 ก.ค 51 เรื่อง ขอปรับเพิ่มงบประมาณค่าอาหารกลางวันนักเรียน คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการปรับเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียน ตามโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา จากอัตราคนละ 10 บาทต่อวัน เป็นอัตราคนละ 13 บาทต่อวัน จำนวน 200 วัน ตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2552 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เพื่อแก้ปัญหาการขาดสารอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียน

  40. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่จากประเทศต่างๆการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่จากประเทศต่างๆ

  41. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในอเมริกาการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในอเมริกา รัฐบาล USAและ AEB(American Egg Board) ดำเนินการตามแผนการกระตุ้นการบริโภคไข่ไก่ ในเดือนตุลาคม ของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับงานวันไข่ไก่โลก (World egg day) ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมุ่งเน้นในเรื่อง การให้ความรู้ในเรื่องคุณประโยชน์ของไข่ การให้ความรู้เรื่องกระบวนการผลิต ซึ่งจะเสริมให้ผู้บริโภคทราบว่า เกษตรกรผู้ผลิตไข่ไก่จะต้องดูแล และจัดการฟาร์มอย่างไร เพื่อให้ได้ไข่ไก่คุณภาพดี และมีความปลอดภัยต่อการบริโภคของมนุษย์. กระตุ้นผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนร่วมกับผู้ผลิตไข่ไก่ในการต่อสู้กับความอดอยากและความหิวโหยของมวลมนุษยชาติ

  42. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในอังกฤษการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในอังกฤษ

  43. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในอังกฤษการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในอังกฤษ ปัญหาของธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่ คือ เรื่องที่ไข่ไก่ไม่มีความแตกต่างกัน (ไข่ไก่มองภายนอกเป็นไข่เหมือนกัน ไม่แตกต่างกัน) ดังนั้นรัฐบาลอังกฤษและผู้ผลิตไข่ไก่ของอังกฤษจึงต้องสร้างความแตกต่างระหว่างไข่ไก่ของพวกเขากับไข่ไก่ ของประเทศอื่นๆ และกระตุ้นให้สาธารณชนหันมาบริโภคไข่ไก่ของอังกฤษ

  44. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในญี่ปุ่นการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในญี่ปุ่น US Grain Council ได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ และสร้างความเติบโตให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกของญี่ปุ่น และนำไปสู่ความต้องการอาหารสัตว์จากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น โครงการบริโภคไข่วันละ 1 ฟอง จัดกิจกรรมแจกกล่องใส่ไข่ จัดกิจกรรมแจกกล่องใส่ไข่ เมื่อซื้อไข่ไก่ตั้งแต่ 6 ฟองขึ้นไป จะได้รับกล่องใส่ไข่ฟรี ผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมนี้ คือ สามารถแจกกล่องไปทั้งหมด 1.5 ล้านกล่อง ภายใน 10 โมงเช้า โครงการบริโภคไข่วันละ 1 ฟอง โดยทำการติดป้ายโฆษณาบนรถโดยสารสาธารณะ เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงสารอาหารที่ได้จากไข่

  45. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในแคนาดาการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในแคนาดา แคนาดามีตัวแทนตลาดไข่ไก่ (CEMA: The Canadian Egg Marketing Agency) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของคณะกรรมการการตลาดไข่ไก่จากทุกจังหวัด รับผิดชอบจัดการด้านการผลิตและการตลาดไข่ไก่ของ แคนาดา โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะบริหารผลผลิตไข่ไก่ ราคา การตลาดและส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในแคนาดาอย่างครบวงจร คณะกรรมการมีความมั่นใจว่าวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคชาวแคนาดา ได้บริโภคไข่ไก่คุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันผู้ผลิตไข่ไก่ได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจ และสามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับแรงงานในฟาร์มได้อย่างเหมาะสมเช่นกัน

  46. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในออสเตรเลียการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในออสเตรเลีย กลุ่มผู้ผลิตไข่ไก่ออสเตรเลีย ยังได้จัดให้มีการประสาน และความร่วมมือกันทั้งระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพไข่ไก่ การจัดเรียงสินค้าไข่ไก่ ณ จุดขาย ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อเพิ่มยอดขาย มีการรณรงค์ด้วยข้อความ “คุณชอบไข่ไก่แค่ไหน” กับอีก 4 ประโยคสั้น ๆ ที่น่าสนใจ ในนิตยสารชื่อดังทั่วออสเตรเลีย การตั้ง The Heart Foundation’s Tick เพื่อดูแลสุขภาพ โดยมูลนิธิโรคหัวใจแห่งออสเตรเลีย ออสเตรเลียประสบปัญหาไข่ล้นตลาด และราคาตกต่ำอย่างมาก ในปี 2548 และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในส่วนต่าง ๆ ของโลก

  47. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในต่างประเทศการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในต่างประเทศ

  48. การส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ของประเทศไทยการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ของประเทศไทย

  49. โครงการไข่โรงเรียนทำให้เกษตรกรรายได้มั่นคงโครงการไข่โรงเรียนทำให้เกษตรกรรายได้มั่นคง ที่มา : กรมการค้าภายใน, สำนักการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายเหตุ: 1. งบค่าอาหารกลางวัน คำนวนจาก ราคาไข่ขายส่งไข่ไก่ เฉลีย 5 เดือนแรกของปี 2553 ฟองละ 2.54 บาท2. เวลาเรียน จำนวน 200 วัน หรือประมาณ 40 สัปดาห์ ต่อปีการศึกษา

  50. 4.เกิดการพัฒนาด้านวิชาการและเทคโนโลยีการผลิตการตลาด อย่างต่อเนื่อง 5.สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศมากขึ้น 3.เกิดการจ้างงานมากขึ้น 1.สร้างรายได้ให้กับ เกษตรกรมากขึ้น 2.สร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจมวลรวมกับประเทศมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดการหมุนเวียน รัฐ เกษตรกรและผู้ผลิตส่งเสริมให้ประชาชนบริโภค มากขึ้น เกษตรกรและผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าคุณภาพ ประชากรบริโภคเสินค้าเกษตรมากขึ้น

More Related