1 / 30

กะเทาะเปลือกเจนเดอร์

กะเทาะเปลือกเจนเดอร์. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คุณคิดว่า...บุคคลในรูปเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย. เพราะคำว่า...เพศ คน คนนี้ จึงท้องได้ เพราะจริงๆแล้ว เขาคนนี้เป็นผู้หญิงที่แปลงเพศ เป็นผู้ชาย แต่ไม่ได้ตัดมดลูก จึงยังตั้งท้องได้.

fay-barr
Download Presentation

กะเทาะเปลือกเจนเดอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กะเทาะเปลือกเจนเดอร์ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  2. คุณคิดว่า...บุคคลในรูปเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย เพราะคำว่า...เพศ คนคนนี้ จึงท้องได้ เพราะจริงๆแล้ว เขาคนนี้เป็นผู้หญิงที่แปลงเพศ เป็นผู้ชาย แต่ไม่ได้ตัดมดลูก จึงยังตั้งท้องได้

  3. เพศ(sex) เพศกำเนิด ธรรมชาติกำหนด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สรีระ อวัยวะ ร่างกาย เหมือนกันทุกสังคม ทุกประเทศ ผู้หญิงเต้านมผลิตน้ำนม มดลูก รังไข่ ประจำเดือน ช่องคลอด ผู้ชาย อวัยวะเพศชาย ต่อมลูกหมาก อัณฑะ อสุจิ

  4. บทบาทเพศ (sex roles) ผู้ชายผลิตอสุจิ ผู้หญิงตั้งครรภ์ เมื่ออสุจิของผู้ชายผสมกับไข่ของผู้หญิง ผู้หญิงตั้งครรภ์ และคลอดลูก ผู้หญิงให้ลูกดูดนมจากเต้านมของตน 4

  5. เกิดจากความคาดหวังของสังคม เป็นผู้กำหนด”และคาดหวัง ว่าบทบาทของหญิงและชาย “ควรเป็นอย่างไร เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา การศึกษา เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สัมพันธ์กับ ชนชั้น อายุ เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ เจนเดอร์ (Gender)หรือ ความเป็นหญิงเป็นชาย

  6. เจนเดอร์ – ความเป็นหญิงความเป็นชายขัดเกลาความเป็นหญิง อ่อนแอ อ่อนโยน เจ้าอารมณ์ จู้จี้ ขี้บ่น ชอบนินทา อาย ประนีประนอม ไม่มั่นคง ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มีเหตุผล ต้องมีผู้ดูแล ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อิจฉา เอาแต่ใจ ไม่หนักแน่น รักสวย รักงาม

  7. ฉลาด สร้างสรรค์ มีอำนาจ มีเหตุผล มีความเป็นอิสระ มีความเชื่อมั่นในตนเอง แข็งแรง กล้าหาญ กล้าคิดกล้าทำ รับผิดชอบ อารมณ์หนักแน่น มั่นคง ระมัดระวัง รอบคอบ สุขุม เฉียบขาด เปิดเผย มีหลักการ เจนเดอร์ – ความเป็นหญิงความเป็นชายขัดเกลาความเป็นชาย

  8. เจนเดอร์-ความเป็นหญิง เป็นชาย... ถูกสั่งสอน ถ่ายทอด เรียนรู้ ซ้ำๆ ผ่าน ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ทัศนคติ ระบบเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ศาสนา กฎหมาย สื่อ ภาษา วรรณคดี นิยาย ภาพยนตร์ ละคร โฆษณา เพลง นิทาน สำนวนสุภาษิต โดยเฉพาะ การสั่งสอน เลี้ยงดู ของสถาบันพื้นฐาน ซึ่งก็คือ ครอบครัว การขัดเกลาทางสังคมที่หล่อหลอมความเป็นหญิงเป็นชาย

  9. ครอบครัว(พ่อแม่ปู่ย่าตายายญาติพี่น้อง) ปฏิบัติต่อลูกสาว ลูกชาย หลานสาว หลานชาย อย่างไร ฟ้า ชมพู

  10. โรงเรียน /สถานศึกษา ครูอาจารย์ ระเบียบ กติกา สื่อการเรียนการสอน ปฏิบัติต่อนักเรียนหญิงและชาย อย่างไร สื่อแบบเรียน : สร้างภาพลักษณ์ความเป็นหญิง เป็นชาย

  11. วรรณคดี นิทาน นิยาย เพลง สำนวนสุภาษิต เหล่านี้นำเสนอภาพลักษณ์ผู้หญิงผู้ชายต่างกันอย่างไร ในนิทานส่วนใหญ่ บทบาทของผู้หญิงในเรื่องมักถูกเน้นให้เห็นถึงคุณค่าของสาวบริสุทธิ์ ความเป็นแม่บ้าน แม่เรือน ผู้หญิงกับความสาว ความสวย ที่เฝ้ารอพระเอกขี้ม้าขาวมาช่วย (นางเอกที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้) ในขณะที่ ผู้ชายถูกสะท้อนควบคู่กับการทำงาน การเป็นผู้นำ ความเป็นผู้กล้า

  12. วรรณคดี ตัวเอกฝ่ายชาย : ขุนช้าง ขุนแผน พระอภัยมณี ไกรทอง ตัวเอกฝ่ายหญิง : วันทอง กากี โมรา พระเพื่อนพระแพง • สังคมไทย ผู้หญิงเจ้าชู้ จะถูกประณามว่าเป็นนางวันทอง กากี โมรี • แต่ ผู้ชายเจ้าชู้ กลับมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นลูกผู้ชาย เก่ง และมีเสน่ห์

  13. ที่ทำงาน นโยบาย ระเบียบ เจ้านาย ฯลฯ ปฏิบัติต่อผู้ปฏิบัติงานหญิง/ชาย อย่างไร

  14. ความก้าวหน้าในอาชีพ ถ้าผู้หญิงลาคลอด ลาดูแลลูกป่วย ไปต่างจังหวัดไม่ได้ เพราะต้องดูแลครอบครัว แล้วเจ้านายอยากจะสนับสนุนใคร???

  15. สื่อมวลชน ปฏิบัติต่อผู้เป็นข่าว หรือผู้ชม หญิงชาย แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร สื่อต่างๆ เสนอข่าวอย่างไร สร้างภาพลักษณ์ และให้คุณค่าต่อหญิงชาย อย่างไร บทบาทของสื่อ ต่อการผลิตซ้ำความเป็นหญิงและความเป็นชาย

  16. เราเห็นอะไรในสื่อเหล่านี้เราเห็นอะไรในสื่อเหล่านี้ • เห็นผู้หญิงที่ต้องสวย รูปร่างดี • เห็นผู้หญิงที่ต้องมีคุณสมบัติของความเป็นแม่และเมียที่ดีคือ ต้องทำความสะอาดบ้าน ล้างจาน ซักผ้า ทำกับข้าว

  17. เราเห็นอะไรในสื่อเหล่านี้เราเห็นอะไรในสื่อเหล่านี้ • เห็นผู้ชายต้องเท่ห์ เก่ง และอดทน • เห็นผู้ชายต้องบทบาทเป็นคนทำงานเมื่ออยู่ นอกบ้าน และเป็นผู้รับบริการเมื่ออยู่ในบ้าน

  18. แต่ในโลกของความเป็นจริง ความเป็นหญิงและความเป็นชายไม่ได้มีอยู่เพียงรูปแบบเดียว ผู้หญิงก็เป็นฝ่ายกระทำความรุนแรงต่อผู้ชายได้เช่นกัน !!! 19

  19. สื่อผลิตซ้ำความเป็นผู้หญิง และความเป็นชาย

  20. แล้วเจนเดอร์-ความเป็นหญิงเป็นชายเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ...อย่างไร

  21. เจนเดอร์ - กำหนดความเป็นหญิง ความเป็นชาย ทำให้หญิง/ชาย ถูกจัดให้อยู่กันคนละกรอบ บทบาทของผู้หญิง : สังคมมอบหมายให้อยู่ในฐานะแม่บ้าน ดูแลความเป็นอยู่ของคนในบ้าน เป็นคนอ่อนโยน ไม่เด็ดขาด ไม่เก่งเรื่องการคำนวณ บทบาทของผู้ชาย : ทำงานนอกบ้าน เป็นผู้หารายได้เข้าสู่บ้าน เป็นคนเข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ เก่งเรื่องการคำนวณ/งานช่าง

  22. เจนเดอร์ - กำหนดความเป็นหญิง ความเป็นชาย ทำให้หญิง/ชาย ถูกจัดให้อยู่กันคนละกรอบ • ส่งผลให้ ความต้องการ ความสนใจ ทักษะ และวิถีชีวิต ของผู้หญิงและผู้ชาย แตกต่างกัน • ทำให้สถานะของผู้หญิงและผู้ชายในสังคมไทยภาพรวม แตกต่างกัน

  23. เช่น • ผู้หญิงเป็นเพศที่ไม่มีเหตุผล ชอบใช้อารมณ์ สังคมจึงไม่ยอมรับผู้หญิงให้เป็นผู้นำ • ผู้หญิงไม่เก่งทางคณิตศาสตร์ ไม่มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้หญิงไม่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกร

  24. เช่น • ผู้หญิงถูกมองว่าไม่มีความสามารถทางช่าง ทำให้ผู้หญิงเป็นได้เพียงแรงงานค่าแรงต่ำ • ผู้หญิงมีคุณลักษณะในการดูแลผู้อื่น เช่น เด็ก คนแก่ ทำให้ผู้หญิงต้องเป็นผู้รับภาระหลักในการดูแล

  25. ความเป็นหญิง ความเป็นชาย บทบาท หน้าที่ ระบบคิด ทัศนคติ พฤติกรรม คุณลักษณะ การวิเคราะห์บทบาทความสัมพันธ์หญิงชาย : Gender Analysis วิถีชีวิต โอกาสในชีวิตต่างกัน เข้าถึง / ควบคุม ทรัพยากรต่างกัน เวลา เงินทุนเครดิต การเป็นที่ยอมรับชื่อเสียง เทคโนโลยี การศึกษา สถานภาพต่างกัน อำนาจ การตัดสินใจ ประโยชน์ที่ได้ต่างกัน

  26. การมองข้ามประเด็นหญิงชายอาจส่งผลกระทบที่แตกต่างการมองข้ามประเด็นหญิงชายอาจส่งผลกระทบที่แตกต่าง • การวิเคราะห์ปัญหา • การกำหนดนโยบาย • การให้บริการ • ผลจากนโยบาย

  27. อุปสรรคบนเส้นทางการขับเคลื่อนในส่วนราชการอุปสรรคบนเส้นทางการขับเคลื่อนในส่วนราชการ ทัศนคติของข้าราชการต่อความเสมอภาคเป็นประเด็นที่โต้แย้งและเห็นต่างกันในหลายมิติ เช่น ความเสมอภาคระหว่างหญิงชายไม่เป็นปัญหา ไม่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความเสมอภาคระหว่างหญิงชายและภารกิจหลักของส่วนราชการ

  28. การสร้างกระแสความเสมอภาคการสร้างกระแสความเสมอภาค การนำ มุมมองมิติหญิงชาย และความหลากหลายอื่น ๆ ของผู้คน เช่น วิถีชีวิต บทบาท ประสบการณ์ ความต้องการ ความสนใจฯที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มต่างๆ มาพิจารณาในการกำหนดนโยบาย โครงการ การบริหาร การเงิน ตลอดจนวิธีปฏิบัติงานขององค์กร จะช่วยให้เกิด ความเสมอภาคและเป็นธรรม

  29. Q&A ขอบคุณค่ะ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว Tel./Fax 0 2642 7742 www.owf.go.th / www.gender.go.th www.facebook.com/GFPTHAILAND

More Related