1 / 25

การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ

การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ. กรณีศึกษา โครงการ ศุภาลัยปาร์ค @ รัชโยธิน. การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง การตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้าง ขั้นตอนในการก่อสร้าง ข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้าง. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง.

fallon
Download Presentation

การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะการก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ กรณีศึกษา โครงการ ศุภาลัยปาร์ค@รัชโยธิน

  2. การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะการก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ • เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • การตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้าง • ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้าง

  3. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง กล้อง Total station Tremie pipe Vibrohammer Kelly bar

  4. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง Slurry สารละลาย Bentonite เหล็กเสริม คอนกรีต Bucket, Auger ปลอกเหล็ก Steel casing

  5. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • กล้อง Total station ในการตรวจเช็คตำแหน่งของเสาเข็ม สามารถใช้กล้อง Theodolite หรือใช้กล้อง Total station ได้ แต่ที่เป็นที่นิยม มักจะใช้กล้อง Total station เพราะมีความสะดวก และมี function การใช้งานที่หลากหลายกว่า

  6. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Tremie pipe ท่อ Tremie ใช้สำหรับเทคอนกรีต ลงไปในเสาเข็ม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-12 นิ้ว เชื่อมต่อกันด้วยระบบเกลียว ท่อ Tremie จะหย่อนลงไปถึงก้นหลุม เพื่อส่งคอนกรีตลงไปยังใต้หลุมและดัน สารละลายขึ้นมาทางปากหลุม

  7. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Vibrohammer เครื่องหัวเขย่า ที่มีความถี่ในการสั่นสูงมาก จะทำหน้าที่คีบปลอก Casing และกดลงไปในดินตามตำแหน่งที่กำหนด

  8. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Kelly bar คือก้านเจาะที่เป็นแบบ Telescopic ซึ่งสามรถเจาะลงไปในดินในแนวดิ่งได้ตรงและมีความสม่ำเสมอ ตลอดทั้งความยาวของเสาเข็ม

  9. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Bucket และ Auger เป็นหัวเจาะที่ติดอยู่ที่ปลายก้าน Kelly bar ซึ่งใช้งานแตกต่างกัน โดยที่หัวเจาะแบบ Auger(สว่าน)จะใช้สำหรับการเจาะแบบ Dry process ในชั้นดินที่ไม่มีน้ำซึมเข้ามา และหัวเจาะแบบ Bucket (บุ้งกี๋) จะใช้สำหรับการเจาะแบบ Wet process ในชั้นดินที่มีน้ำซึมเข้ามา

  10. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Slurryสารละลาย Bentronite คุณสมบัติของสารละลาย Bentronite ที่ใช้ในการก่อสร้าง 1. ค่าความหนาแน่น(Density) อยู่ระหว่าง 1.02-1.1 ton/sq.m 2. ค่าความหนืด(Viscosity) อยู่ระหว่าง 30-50 s 3.ค่า PH อยู่ระหว่าง 7.5-12 4.อัตราส่วนระหว่างทราย(Sand content) ต้องไม่เกิน 6%

  11. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • เหล็กเสริม ประเภทเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้าง 1.เหล็กเส้นกลม(SR24) RB (6mm.,9mm.) 2.เหล็กข้ออ้อย(SD40,SD50) DB (12mm.,16mm.,20mm.,25mm.,28mm.,32mm.) *ประเภทของเหล็กที่ใช้ในงานเสาเข็ม ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

  12. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • ปลอกเหล็ก (Casing) ปลอกเหล็กที่ใช้มีลักษณะ หนา 1 นิ้ว ยาว 14-15 เมตร เหล็กปลอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ดินด้านข้างเกิดการพังทลายขณะที่ทำการเจาะ และยังช่วยป้องกันแรงสั่นสะเทือนที่จะส่งผลการะทบอาคารบริเวณข้างเคียง

  13. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • คอนกรีต คอนกรีตที่ใช้ในงานเสาเข็ม จะต้องมีกำลังประลัยของคอนกรีตมาตรฐานในรูปทรงลูกบาศ์ก 15*15*15 ไม่น้อยกว่า 280 ksc. ที่ 28 วัน และมีค่าการยุบตัวอยู่ที่ 15-20 ซม. โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอตแลนด์ประเภทที่ 1

  14. ข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้างข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้าง • ค่าผิดพลาดที่ยอมให้ในแนวดิ่งของเสาเข็ม จะต้องไม่เกิน 1 ต่อ 100 ของความยาวเสาเข็ม • ระยะมากที่สุดที่ยอมให้เสาเข็มลงผิดตำแหน่งในแนวราบไม่เกิน5เซนติเมตร โดยวัดจากแกน Coordinate ทั้งสองแกน • ในขณะเทคอนกรีต ท่อTremie จะต้องอยู่ในเนื้อคอนกรีต ประมาณ 2เมตร หรือประมาณ 3-5 เมตร แล้วแต่สถานการณ์และห้ามหยุดเทเด็ดขาด • เมื่อเจาะหลุมเสาเข็มเสร็จแล้วต้องเทคอนกรีตภายในวันนั้นห้ามปล่อยทิ้งไว้ หรือหากมีเหตุสุดวิสัย ก่อนการเทคอนกรีตในหลุมเจาะต้องมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของหลุมเสียก่อน • สำหรับSlurry ที่ล้นออกมาสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้โดยต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดที่ถูกต้องเสียก่อน • ในการเทคอนกรีตต้องทำการคำนวณปริมาณคอนกรีต เพื่อตรวจสอบความลึกจริงของเสาเข็มด้วย

  15. การตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้างการตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้าง • ติดตั้งกล้อง Total station ที่หมุดมาตรฐาน และทำการส่อง BS ไปที่หมุดอ้างอิง อ่านค่าและจดบันทึก จากนั้นเปิดมุมไปยังตำแหน่งของเสาเข็มต้นนั้นๆเป็นตำแหน่ง FS อ่านค่าและจดบันทึก เมื่อได้ค่า BS,FS ของตำแหน่งเสาเข็มที่จะทำการก่อสร้างจริงแล้วจึงนำมาตรวจสอบกับข้อมูล BS,FS ที่ได้จากการทำ Survey โดยตำแหน่งของเสาเข็มจะคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน5 ซ.มวัดในแนวแกน Coordinate

  16. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • การติดตั้งปลอกเหล็ก(Casing) เมื่อระบุตำแหน่งของเสาเข็มแล้วจึงทำการลงปลอกเหล็ก โดยใช้ Vibrohammer กดปลอกเหล็กลงไปในดินตามตำแหน่งที่กำหนด เช็คระยะในแนวราบโดยคนงานจะวัดระยะจากจุดศูนย์กลางทั้งสองแนวแกน และตรวจสอบระยะในแนวดิ่งโดยจะต้องผิดพลาดได้ไม่เกิน 1ต่อ 100 ของความยาวเสาเข็ม

  17. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • การติดตั้งปลอกเหล็ก(ต่อ) ในการที่จะทำให้ปลอกเหล็กวางได้ตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ ใช้วิธีการปักหมุดแกนไม้ไว้ทั้งสองแกน โดยวัดออกจากปลอกเหล็ก ในที่นี้ใช้ 1.2 ม. และใช้ไม้หรือเหล็ก ทิ่มไปที่ปลอกเหล็กและดูระยะว่าได้ตามที่กำหนดหรือไม่ ให้ทำการตรวจสอบตลอดการติดตั้งเหล็กปลอก

  18. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • นำดินออกด้วยวิธี Dry Process เมื่อลงปลอกเหล็กเสร็จเรียบร้อย จากนั้นใช้ หัวเจาะแบบสว่านAugerในการเจาะเพราะในช่วงแรก ยังไม่มีน้ำทลายเข้ามาในดินและเมื่อเจาะถึงระดับดินอ่อนหรือระดับที่น้ำสามารถเข้ามาได้ ให้ทำการเติม slurry (สารละลาย) เพื่อช่วยในการพยุงหลุม และเปลี่ยนหัวเจาะให้เป็นแบบ Bucket เพื่อทำการเจาะต่อไป

  19. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • นำดินออกด้วยวิธี wet Process เมื่อเจาะถึงระดับดินอ่อน ให้ทำการเติม slurry (สารละลาย) ลงไปในหลุมเจาะเพื่อช่วยในการพยุงหลุม จากนั้นใช้ Bucket Type ในการเจาะเมื่อเจาะหลุมความลึกเพิ่มขึ้น ให้เติม slurry ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า2เมตรวัดจากปากหลุม และเมื่อเจาะได้ถึงระดับที่กำหนดแล้ว ก่อนที่จะทำการชัก Kelly Bar ขึ้นให้ทำความสะอาดก้นหลุมด้วย Bucket ให้แน่ใจว่าก้นหลุมมีความเรียบได้ระดับ

  20. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ตรวจสอบรูเจาะ หลังจากชัก Kelly Bar ขึ้นทำความสะอาดก้นหลุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบรูเจาะ หาความลึกที่แท้จริงโดยใช้ลูกตุ้มน้ำหนักผูกติดกับเทปวัดที่ทำจากเหล็ก หย่อนลงไปในหลุมแล้วอ่านค่าความลึกของหลุม และตรวจสอบการพังทลายของรูเจาะ หากตรวจพบการพังทลายให้ทำความสะอาดก้นหลุมอีกครั้งจนกว่าจะเรียบร้อย

  21. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ลงเหล็กเสริมและท่อ เพื่อเตรียมเทคอนกรีต จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการลงเหล็กเสริมและตรวจสอบเหล็กเสริมให้ตั้งฉากโดยใช้การวัดลูกดิ่งอย่างน้อยสี่จุดจากนั้น เชื่อมต่อโครงเหล็กแต่ละท่อนเข้าด้วยกันโดยใช้ยูกริ๊ปรัดและมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเสริมตรวจสอบระยะหุ้มของคอนกรีต โดยที่ในเหล็กเสริมจะมีลูกปูนที่ใช้สำหรับหนุนให้เกิดระยะหู้มและประคองเหล็กให้ทรงตัวอยู่ในรูเจาะ

  22. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ติดตั้งท่อ Termie นำท่อ Termie ขนาด 8-10 นิ้ว ลงไปในโครงเหล็กที่เตรียมไว้ ต่อกันลงไปทีละท่อนด้วยเกลียว ส่วนปลายของท่อ จะอยู่สูงจากก้นหลุมประมาณ 50 ซม. พอที่จะให้คอนกรีตไหลออกได้สะดวก จากนั้นติดตั้งกรวยรับคอนกรีตที่ปลายท่อด้านบน

  23. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • เทคอนกรีต เทคอนกรีตผ่าน ท่อTremie โดยก่อนการเทคอนกรีตให้เทโฟมหรือสารเคมีที่กำหนดลงไปในท่อTremie ก่อนเพื่อกั้นระหว่างSlurryกับคอนกรีต เมื่อเริ่มเท slurry จะถูกคอนกรีตดันให้ล้นออกจากปากหลุม และคอนกรีตจะเข้าไปแทนที่ ในขณะที่ทำการเท ท่อTremie จะต้องอยู่ในคอนกรีตตลอดการเทห้ามหยุดเด็ดขาด เมื่อปริมาณคอนกรีตเพิ่มขึ้นจะต้องตัดท่อ Tremie เป็นระยะๆเพื่อให้ท่ออยู่ในคอนกรีตประมาณ 2เมตร หรือ3-5เมตร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บริเวณหน้างาน จนกว่า Slurry จะถูกแทนที่ด้วยคอนกรีตจนหมด

  24. ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ถอนปลอกเหล็ก เมื่อเทคอนกรีตจนเต็มแล้ว ให้ถอนปลอกเหล็กขึ้นก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวโดยใช้ Vibrohammer ในการถอน ในขณะที่ทำการถอนต้องควบคุมปลอกเหล็กให้อยู่ในแนวดิ่งเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน หลังจากนั้นหลุมต้นถัดไปจะต้องอยู่ห่างจากต้นที่เสร็จแล้วเป็นระยะ6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็มและเป็นเวลา24ชั่วโมง

  25. ระยะเวลาที่ใช้ในงานเสาเข็มระยะเวลาที่ใช้ในงานเสาเข็ม • เวลาที่ใช้ในงานเสาเข็ม นับตั้งแต่เริ่มเจาะดิน จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย ใช้เวลา 6 ชั่วโมง/ต้น • จากข้อมูลหน้างานในหนึ่งวัน สามารถก่อสร้างเสาเข็มได้ 2 ต้นเป็นอย่างมาก เมื่อมีเครื่องจักรในการทำงาน 1 ชุด

More Related