1 / 208

บทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

บทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เรื่อง. เซต. โดย...นางมุกดา ภักดีพันธ์. โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1. บทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เรื่อง. เซต. โดย...นางมุกดา ภักดีพันธ์.

eze
Download Presentation

บทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต โดย...นางมุกดา ภักดีพันธ์ โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1

  2. บทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต โดย...นางมุกดา ภักดีพันธ์ โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1

  3. คำนำ บทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต เล่มนี้ จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน และสามารถนำไปศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาเรียนได้ โดยเนื้อหาที่ใช้ในการจัดทำนั้นยึดตามแนวที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนด และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544......... ในการจัดบทเรียนสำเร็จรูปครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากครูของโรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษกและโรงเรียนอื่น ๆในจังหวัดชุมพร จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้ จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของตน อีกทั้งยังเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุกดา ภักดีพันธ์

  4. คำแนะนำ 1. บทเรียนสำเร็จรูปนี้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนศึกษาบทเรียน 3. นักเรียนศึกษาบทเรียนที่ละกรอบตามลำดับ ไม่ควรข้ามกรอบ เพราะเนื้อหามี ความต่อเนื่องกัน 4. บางกรอบจะมีคำถามหรือแบบฝึก ให้นักเรียนตอบคำถามและทำแบบฝึกดังกล่าวทุกข้อ 5. นักเรียนสามารถตรวจคำตอบได้เองในกรอบถัดไป แต่ควรมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองไม่เปิดดูคำตอบก่อนตอบคำถามหรือทำแบบฝึก 6. ถ้าคำตอบของนักเรียนถูกต้อง ให้ศึกษาบทเรียนต่อในกรอบถัดไป หากคำตอบไม่ถูกต้องให้ย้อนกลับไปศึกษากรอบเดิมอีกครั้ง จนกว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง 7. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เมื่อศึกษาบทเรียนครบทุกกรอบแล้ว

  5. สารบัญ

  6. สารบัญ (ต่อ)

  7. สารบัญ (ต่อ)

  8. แบบทดสอบก่อนเรียน คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว (1) สิ่งที่สำคัญที่สุดในการใช้คำว่า “เซต” กล่าวถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ คือข้อใด ก. มีสิ่งที่อยู่ในกลุ่มมาก ๆ ข. บอกลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกลุ่มได้ ค. บอกได้ว่าสิ่งที่อยู่ในกลุ่มนั้นมีจำนวนเท่าไร ง. ทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือ ไม่อยู่ในกลุ่มนั้น (2) ข้อความใดใช้คำว่า “เซต” ได้ถูกต้อง ก. เซตของจำนวนนับที่มีค่ามาก ข. เซตของดอกไม้ที่มีสีสวย ค. เซตของจำนวนจริง ง. เซตของคนขยัน

  9. (4) ถ้า C=x  x เป็นจำนวนคู่, 3x  32  แล้วจะเขียนเซต C แบบแจกแจงสมาชิก ได้อย่างไร ก. 2, 4, 6, … ข. 2, 4, 6, 8, 10 ค. 2, 4, 6, … ,30  ง. … , -4, -2, 0, …,10 (3) ถ้าให้สมาชิกของเซต B เป็นราก ที่สองของ 100 แล้ว เซต B คือเซตในข้อใด ก. 10 ข. -10, 10 ค. 50 ง. -50, 50

  10. (6) ถ้า E = -2, 2 แล้ว จะเขียนเซต E แบบบอกเงื่อนไขของ สมาชิกได้อย่างไร ก. x  x2 + 3 = 7  ข. x  2x2 + x = 2  ค. x  4x2+ x = 18  ง. x  5x2  5x = 10  (5) ถ้า D = 1, 2, 3, 4, 5 แล้ว จะเขียนเซต D แบบบอกเงื่อนไขของ สมาชิกได้อย่างไร ก. x  x  I, x  6 ข. x  x  I, x  6 ค. x  x  I, 1  x  5  ง. x  x  I, 1  x  6 

  11. (7) เซตใดเป็นเซตว่าง ก. x  x  I, x  1 ข. x  x  I, x  1 ค. x  x  I, x  1 ง. x  x  I, x  1 (8) กำหนด A =x  x  N, 0x  1 B=x  x  P, x เป็นจำนวนคู่ C=x  x  I, x  0 D=x  x  I, x2 0 ข้อใดถูกต้อง ก. A   ข. B   ค. C   ง. D  

  12. (10) เซตใดเป็นเซตจำกัด ก. x  x  N, 2x  0 ข. x  x  I, x2  0  ค. x  x  I, x2 x 0 ง. x  x  I, 2x2 + x = 0 (9) เซตใดเป็นเซตจำกัด ก. … , 0 , 1, 2  ข.  0, 1, 2, 3, …  ค. … , 0, 1, 2, …  ง.  0, 1, 2, …, 100 

  13. (12) กำหนด A = x  x  I, 1  x  2 B = x  x  I, 1 ≤ x ≤ 2 C = x  x  I, x  5 D = x  x  I, x  10 ข้อใดถูกต้อง ก. เซต A เป็นเซตจำกัด ข. เซต B เป็นเซตอนันต์ ค. เซต C เป็นเซตอนันต์ ง. เซต D เป็นเซตจำกัด (11) เซตใดเป็นเซตอนันต์ ก. x  x  I, x  10 ข. x  x  I, x  1  ค. x  x  I, x  1  ง. x  x  I ,1  x 10

  14. (13) กำหนด A =x  x เป็นพยัญชนะในคำว่า“มดแดง” B =x  x เป็นพยัญชนะในคำว่า“มืดดำ” C =x  x เป็นพยัญชนะในคำว่า“แมงเม่า” D =x  x เป็นพยัญชนะในคำว่า“ดงไม้” ข้อใดถูกต้อง ก. A = C ข. A = D ค. B = C ง. B = D (14) กำหนด A = x  x2 = 100 B = x  x  9  C = x  x  9 = 1 D = x  x =  ข้อใดถูกต้อง ก. A = B ข. B = C ค. A = C ง. C = D

  15. (15) กำหนด U = 1, 2, 3, … ,9 A = x  x2 = 100 ข้อใดถูกต้อง ก. A = 10 ข. A = 50 ค. A =   ง. A = -10, 10 (16) เซตใดเป็นสับเซตของ 0,5,6 ก. 0, 5, 6 ข. 0,5 ค. 5, 6 ง. 5

  16. (17) ถ้า A = 1,  2, 5  แล้ว ข้อใดถูกต้อง ก. 1  A ข. 1, 2  A ค. 2, 5  A ง. 1, 2, 5  A (18) ถ้า B = 4, 5, 6แล้ว สับเซต ทั้งหมดของเซต B มีกี่เซต ก. 4 ข. 8 ค. 12 ง. 16

  17. (20)กำหนด A = , 1, 2 เซตใดเป็นสมาชิกของ P(A) ก. 1 ข. 2 ค. , 1 ง. , 1, 2 (19) ถ้า A = 2แล้ว P(A) คือ เซตใด ก. 2 ข. , 2 ค. , 2 ง. , 2

  18. (22) แผนภาพที่กำหนดสอดคล้องกับเซตในข้อใด ก. A =1, 2, B =2, 3, C =1, 2, 3, 4 ข. A =1, 2, B =3, 4, C =1, 2, 3, 4 ค.A =1, 2, B =2, C =1, 2, 3, 4 ง. A =2, B =3, C =1, 2, 3, 4 U (21)ถ้า n (P(A)) = 32 แล้ว n(A) เท่ากับเท่าไร ก. 4 ข. 5 ค. 6 ง. 16 A B C

  19. (23) ข้อใดเป็นการแสดงความสัมพันธ์ของเซต ในแผนภาพ ก. A  C, C  B และ A  C = ข. C  A, C  B และ A  B = ค. A  C, B  C และ A  B = ง. B  A, B  C และ A  C = ใช้เซตต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 24 U = -4, -3, -2, …, 9 A = -2, 1, 7, 9 B = -3, 0, 1, 4, 9 U A B C (24) AB คือเซตในข้อใด ก. -3, -2, 0, 1, 4, 7, 9 ข. 1, 7, 9 ค. 1, 9 ง.  

  20. ใช้เซตต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 25 – 26 U = -4, -3, -2, …, 9 A = -2, 1, 7, 9 B = -3, 0, 1, 4, 9 (25) AB คือเซตในข้อใด ก. -3, -2, 0, 1, 4, 7, 9 ข. 1, 4, 7, 9 ค. 1, 7, 9 ง. 1, 9 (26) Aคือเซตในข้อใด ก. -4, -3 ข. 0, 2, 3, 5, 6, 8 ค. -4, -3, -1, 0, 2, 3, 4, 5, 6, 8 ง. -4, -3, -1, 0, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 9

  21. ถ้า n (U) = 60 • n (A) = 10 • n (B) = 5 • n ( AB) = 2 • แล้ว n ((AB))เท่ากับข้อใด • ก. 13 • ข. 45 • ค. 47 • ง. 49 ใช้เซตต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 27 U = -4, -3, -2, …, 9 A = -2, 1, 7, 9 B = -3, 0, 1, 4, 9 (27) A  B คือเซตในข้อใด ก. -3, -2, 0, 1, 4, 7, 9 ข. -2, 7 ค. 7, 9 ง. -2

  22. กล้วย เงาะ (29) จากการสำรวจนักเรียนห้องหนึ่งซึ่ง มี 50 คน พบว่ามีนักเรียนได้รับรางวัล เรียนดี 23 คนได้รับรางวัลความประพฤติดี 32 คน ได้รับรางวัลเรียนดีและความ ประพฤติดี 10 คน นักเรียนที่ได้รับรางวัล เรียนดีเพียงอย่างเดียวมีกี่คน ก. 13 ข. 15 ค. 22 ง. 23 9 15 16 10 12 8 13 ทุเรียน U แผนภาพแสดงจำนวนผลไม้ที่ปลูกของประชากร 100 คน • จากแผนภาพ มีประชากรกี่คนที่ • ไม่ได้ปลูกพืชสามชนิดนี้ • ก. 8 • ข. 12 • ค. 14 • ง. 17

  23. เซต

  24. กรอบที่ 1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเซต สามารถหายูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ และผลต่างของเซตได้ 2. เขียนแผนภาพแทนเซต(Venn-Euler Diagram) และนำไปใช้แก้ปัญหา ที่เกี่ยวกับการหาสมาชิกของเซตได้

  25. เซต ( SET ) กรอบที่ 2 1 จุดประสงค์การเรียนรู้ 1) ใช้คำว่า “เซต”ได้ถูกต้อง 2) เขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิกและแบบบอกเงื่อนไขของสมาชิกได้ 3) บอกได้ว่าเซตที่กำหนดเป็นเซตว่างหรือไม่ 4) บอกได้ว่าเซตที่กำหนดเป็นเซตจำกัดหรือเซตอนันต์ 5) บอกได้ว่าเซตที่กำหนดเท่ากันหรือไม่

  26. เซต ( SET ) กรอบที่ 3 เกออร์ก คันทอร์(George Cantor) นักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า “เซต” เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ความรู้เรื่องเซต สามารถนำมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์หลาย ๆ เรื่อง เช่น การให้เหตุผล ความน่าจะเป็น และฟังก์ชัน เป็นต้น 1 (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547:1) ( “George Cantor.” 2008, Online)

  27. กรอบที่ 4 1.1 การใช้คำว่า “เซต” ใช้คำว่า “เซต”เมื่อกล่าวถึงกลุ่มของ สิ่งต่าง ๆ และเมื่อกล่าวถึงสิ่งใดแล้ว สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนั้น (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547:1) พิจารณา การใช้คำว่า “เซต”ในกรอบถัดไป

  28. กรอบที่ 5 เซตของอำเภอในจังหวัดชุมพร อำเภอของจังหวัดชุมพรมี 8อำเภอ ได้แก่ ปะทิว ท่าแซะ เมืองชุมพร สวี ทุ่งตะโก หลังสวน พะโต๊ะ และ...(1) ดังนั้น ใช้คำว่า “เซต”กับอำเภอในจังหวัดชุมพรได้เพราะสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนี้ ( “แผนที่จังหวัดชุมพร.” 2551, ออนไลน์) บอกหน่อยได้ไหม “คุริง” อยู่ในเซตนี้หรือไม่? เพราะอะไร ?(2)

  29. กรอบที่ 6 เฉลย กรอบที่ 5 (1) ละแม (2) “คุริง” ไม่อยู่ในเซตนี้ เพราะคุริงไม่ใช่อำเภอ แต่เป็นตำบลอยู่ในอำเภอท่าแซะ ตอบถูกหมดเลยใช่ไหม......... เก่งมากเลยครับ

  30. กรอบที่ 7 เซตของเดือนในหนึ่งปี หนึ่งปี มีสิบสองเดือน ได้แก่ มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และ... (1) ดังนั้น ใช้คำว่า “เซต”กับเดือนในหนึ่งปีได้ เพราะ..................................................................(2) บอกหน่อยได้ไหม “วันอังคาร” อยู่ในเซตนี้หรือไม่ ? เพราะอะไร ?(3)

  31. กรอบที่ 8 เฉลย กรอบที่ 7 (1) ธันวาคม (2) สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนี้(3) “วันอังคาร” ไม่อยู่ในเซตนี้ เพราะวันอังคารไม่ใช่เดือน แต่เป็นวัน ตอบถูกอีกแล้ว......... สุดยอดเลยครับ

  32. กรอบที่ 9 เซตของจำนวนนับ จำนวนนับ ได้แก่ 1, 2, 3, … ดังนั้น ใช้คำว่า “เซต”กับจำนวนนับ......................(1)เพราะ ......................................................................(2) บอกหน่อยได้ไหม “0” อยู่ในเซตนี้หรือไม่ ? เพราะอะไร ?(3)

  33. กรอบที่ 10 เฉลย กรอบที่ 9 (1) ได้ (2) สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนี้(3) “0” ไม่อยู่ในเซตนี้ เพราะ 0 ไม่ใช่จำนวนนับ เห็นไหมล่ะไม่ยากเลย......... พยายามให้มาก ๆ นะครับ

  34. กรอบที่ 11 ช่วยคิดหน่อยซิว่า กลุ่มของสิ่งต่อไปนี้ ใช้คำว่าเซตได้หรือไม่? เพราะอะไร ?

  35. กรอบที่ 12 ผลไม้ที่อร่อยของประเทศไทย ผลไม้ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วง และมังคุด เป็นต้น แต่เราไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าชนิดใดเป็นผลไม้ที่อร่อย ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ดังนั้น ใช้คำว่า “เซต”กับผลไม้ที่อร่อยของประเทศไทยไม่ได้ เพราะ............................................. .......................................................

  36. กรอบที่ 13 เฉลย กรอบที่ 12 ไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนี้ เยี่ยมมาก......... พยายามต่อนะครับ

  37. กรอบที่ 14 คนหล่อในประเทศไทย คนหล่อ เราไม่สามารถให้คำจำกัดความได้ว่าหมายถึงอะไร ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าคนไหนเป็นคนหล่อ และคนหล่อของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ใช้คำว่า “เซต”กับคนหล่อในประเทศไทย............................(1)เพราะ................................................ .....................................................(2)

  38. กรอบที่ 15 เฉลย กรอบที่ 14 (1)ไม่ได้ (2)ไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนี้ เยี่ยมมาก......... พยายามต่อนะครับ

  39. กรอบที่ 16 คนสวยในประเทศไทย คนสวย เราไม่สามารถให้คำจำกัดความได้ว่าหมายถึงอะไร ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าคนไหนเป็นคนสวย และคนสวยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ใช้คำว่า “เซต”กับคนสวยในประเทศไทย............................(1)เพราะ................................................ .....................................................(2)

  40. กรอบที่ 17 เฉลย กรอบที่ 16 (1)ไม่ได้ (2)ไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนี้ เก่งจริง ๆ......... แจ๋วครับ

  41. กรอบที่ 18 แบบฝึก จงพิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้ใช้คำว่าเซตได้ถูกต้องหรือไม่ โดยทำเครื่องหมาย หน้าข้อที่ถูกและหน้าข้อที่ผิด ...... (1) เซตของจังหวัดที่อยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ...... (2) เซตของคนเก่งในโรงเรียนของเรา ...... (3) เซตของดอกไม้ที่สวยงาม ...... (4) เซตของพยัญชนะในคำว่า “สามัคคี”...... (5) เซตของจำนวนนับที่มากกว่า 5 อย่าลืมนะ...จะใช้คำว่า “เซต” ได้นั้น ต้องทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนั้น

  42. กรอบที่ 19 เฉลย กรอบที่ 18  (1) (2) (3) (4) (5) คนเก่งของผม......ตอบถูกอยู่แล้ว

  43. กรอบที่ 20 ขอย้ำอีกครั้ง......เราใช้คำว่า “เซต”เมื่อกล่าวถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ และเมื่อกล่าวถึงสิ่งใดแล้ว สามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่หรือไม่อยู่ในกลุ่มนั้น เข้าใจแล้วนะคะ...ศึกษาเรื่องต่อไปเลยค่ะ

  44. กรอบที่ 21 1.2 สมาชิก (element)ของเซต เมื่อเราใช้คำว่า “เซต”กล่าวถึงกลุ่มของ สิ่งใดแล้ว เรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า “สมาชิก” ของเซตนั้น (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547:1) บอกได้ไหม......สมาชิกของเซตของอำเภอในจังหวัดชุมพรได้แก่สิ่งใดบ้าง ?

  45. กรอบที่ 22 เฉลย กรอบที่ 21 อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอละแม คงบอกสมาชิกได้ครบนะ เพราะคุณเป็นคนเก่งอยู่แล้ว

  46. กรอบที่ 23 “เป็นสมาชิกของ” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  “ไม่เป็นสมาชิกของ” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547:2)

  47. กรอบที่ 24 กำหนดให้ A =  1, 2, 3  เช่น จะได้ว่า 1 เป็นสมาชิกของ A เขียนด้วย 1  A 2 เป็นสมาชิกของ A เขียนด้วย 2  A 3 เป็นสมาชิกของ A เขียนด้วย ........(1) แต่ 4 ไม่เป็นสมาชิกของ A เขียนด้วย 4  A 5 ไม่เป็นสมาชิกของ A เขียนด้วย ........(2)

  48. กรอบที่ 25 เฉลย กรอบที่ 24 (1) 3  A(2)5  A ถูกต้อง...เก่งมากครับ

  49. กรอบที่ 26 1.3 การเขียนแทนเซต เขียนได้ 2 แบบ ตั้งใจศึกษานะจะได้เข้าใจ

  50. กรอบที่ 27 แบบที่ 1 แบบแจกแจงสมาชิก เขียนสมาชิกทุกตัวของเซตลงในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา และใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , )คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547:1) เช่น 1) 1 , 2 , 3 , 4 , 5 2) ก, ข, ค, ง 3) เหลือง, แดง, น้ำเงิน

More Related