1 / 40

รูปแบบการวิจัย Research Design

รูปแบบการวิจัย Research Design. การวิจัย.

Download Presentation

รูปแบบการวิจัย Research Design

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รูปแบบการวิจัยResearch Design

  2. การวิจัย • เป็นการค้นคว้า อย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล เพื่อผลิตความรู้ใหม่ ซึ่งความรู้ใหม่ อาจเป็นความรู้ใหม่ เชิงทฤษฏี หรือการประยุกต์ปฏิบัติก็ได้ แต่ต้องอยู่บนรากฐาน ของความถูกต้อง โดยต้องพยายาม หลีกเลี่ยง ความแปรปรวน และอคติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้รูปแบบการวิจัย วิธีการวิจัย และสถิติที่เหมาะสม

  3. ปัญหา วัตถุประสงค์ และประเภทของงานวิจัย

  4. ปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนสำคัญเบื้องต้นของการวิจัย คือ การระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจในหัวข้อนั้นๆ ลักษณะของปัญหาการวิจัยที่ดี • เป็นปัญหาที่เฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง • เข้าใจง่าย • น่าสนใจ • กำหนดขอบเขตของปัญหาชัดเจน • อธิบายความหมายของข้อความต่างๆ

  5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objective) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัย มีความชัดเจน และเจาะจงมากกว่าปัญหาการวิจัย โดยจะอธิบายโครงสร้าง แนวทางในการพัฒนาทฤษฎี แนวทางที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะศึกษา เงื่อนไข ขอบเขต ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้วิจัยจะทำอะไรตลอดจนได้รับผลอย่างไร โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 3 ประการ นั่นคือ • เพื่อการแก้ปัญหา (Problem-Solving) • เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory-Developing Research) • เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี (Theory-Testing Research)

  6. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย และกรอบแนวคิด การกำหนดกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical Framework) นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญและมีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อแสดงแนวความคิดที่อยู่เบื้องหลังการทำวิจัยในการค้นหาข้อเท็จจริง และเชื่อมโยงประเด็นของปัญหาที่ทำการวิจัยเข้ากับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

  7. ลักษณะของวัตถุประสงค์ของการวิจัยลักษณะของวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เป็นรายละเอียดของหัวข้อเรื่องที่ศึกษาที่ผู้วิจัยต้องการทราบ • กำหนดทิศทาง เงื่อนไขเฉพาะเจาะจง เน้นถึงผลที่จะได้รับในเชิงปฏิบัติจริง • ใช้เป็นเครื่องมือติดตามผลการวิจัยว่า ครบถ้วนตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ • งานวิจัยโดยทั่วไปจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์เพียง 2-3 ประเด็น เริ่มจากประเด็นหลักไปสู่ประเด็นที่สำคัญรองลงมา • มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับชื่อเรื่องการวิจัย

  8. รูปแบบการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัยทางสังคมศาสตร์รูปแบบการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ ตัวอย่าง หัวข้อ “การประเมินความพึงพอใจในการให้บริการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และแนวทางแก้ไข” 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการรับบริการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัย 2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

  9. ตัวอย่างการวิจัยเชิงทดลองตัวอย่างการวิจัยเชิงทดลอง • การลดของเสียในกระบวนการผลิตกุนเชียง • เพื่อลดของเสียที่เกิดจากการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องอัดไส้กุนเชียงระบบไฮดรอลิค • การใช้มันสำปะหลังทดแทนข้าวโพดในอาหารสุกรแม่พันธุ์ • เพื่อศึกษาผลของมันสำปะหลังต่อประสิทธิภาพการผลิตของสุกรแม่พันธุ์ • เพื่อหาระดับปริมาณการใช้มันสำปะหลังที่เหมาะสมในสูตรอาหารสุกรแม่พันธุ์

  10. จุดมุ่งหมายของการวิจัยจุดมุ่งหมายของการวิจัย • ระบุความต้องการหรือสิ่งที่อยากจะทราบจากการวิจัย • มีความชัดเจน • มีความสมบูรณ์ ทำอะไร ในแง่มุมใด • อยู่ในขอบเขตของประเด็นปัญหาอย่างครบถ้วน • มีลักษณะตามแนว SMART คือ 5.1 Sensible จำเป็น-สำคัญ 5.2 Measurable ตรวจสอบ-วัดได้ 5.3 Attainable บรรลุ-ทำได้ 5.4 Reasonable เหมาะสม-สมเหตุสมผล 5.5 Time ใช้เวลาให้พอเหมาะ

  11. ความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยความจำเป็นที่ต้องทำวิจัย • เพราะเหตุขัดข้อง (หาทางแก้ไขให้เป็นปกติ) เช่น ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง

  12. ความจำเป็นที่ต้องทำวิจัย (ต่อ) • เพื่อหาทางป้องกัน (มิให้เกิดขึ้นอีก) เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาโสเภณี

  13. ความจำเป็นที่ต้องทำวิจัย (ต่อ) • ต้องการพัฒนา เช่น เพิ่มความพึงพอใจในการรับบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

  14. ประโยชน์ของการวิจัย • ช่วยให้ได้ความรู้ใหม่ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ • ช่วยพิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการ และทฤษฎีต่างๆ • ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่างๆ • ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่างๆอย่างถูกต้อง • ช่วยแก้ปัญหาให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ • ช่วยการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม • ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น • ช่วยปรับปรุงพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และวิถีดำรงชีวิตให้ดีขึ้น

  15. ประเภทของงานวิจัย

  16. ประเภทของงานวิจัย (ต่อ)

  17. ประเภทของงานวิจัย (ต่อ)

  18. ประเภทของงานวิจัย (ต่อ)

  19. ประเภทของงานวิจัย (ต่อ)

  20. ประเภทของงานวิจัย (ต่อ)

  21. งานวิจัยเชิงคุณภาพ • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ (Naturalistic inquiry) ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ (Holistic perspective) ด้วยตัวผู้วิจัยเอง เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์ และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Inductive analysis)

  22. การวิจัยเชิงคุณภาพ • การวิจัยเชิงคุณภาพ (เชิงคุณลักษณะ) • เครื่องมือคือนักวิจัย ถามเฉพาะคนที่รู้เรื่องดี • การสังเกต (Observation) • Participant Observation • Non-Participant Observation • Focus Group • In-depth Interview • Life history collection

  23. การวิจัยเชิงคุณภาพ • การสังเกต- Structured Observation- Unstructured Observation • สัมภาษณ์ทางลึก (In-depth Interview) คำถามปลายเปิด (Open ended questions) • การสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้มีความรู้ (Key Informants) มีนักวิจัย ผู้จดบันทึก ใช้เทปบันทึก ถอดเทปสรุปวิเคราะห์ข้อมูล • การศึกษาเฉพาะราย (Case study, Life history collection)

  24. การวิจัยเชิงปริมาณ • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริง โดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษาต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุปเพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด

  25. การวิจัยเชิงปริมาณ • ต้องมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนที่กำหนด มีเครื่องมือ เช่น แบบสอบถามใช้หลักวิชาสถิติวิเคราะห์ จำแนกตามวิธีการวิจัย แบ่งเป็น Observational Study และ Experimental study

  26. ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) เป็นต้นเหตุ เป็นปัจจัยเสี่ยง เป็นตัวกำหนด มีอิทธิพล

  27. ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม • โดยที่ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรที่อาจเป็นต้นเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) หรือเป็นตัวที่กำหนด (Determines) หรือเป็นตัวที่มีอิทธิพล (Influences) ต่อตัวแปรตาม

  28. ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม • เช่น ถ้าตัวแปรอิสระ คือการสูบบุหรี่ ตัวแปรตาม คือโรคมะเร็งปอด • ถ้าตัวแปรอิสระ คือระดับการศึกษา ตัวแปรตาม คือระดับรายได้ หรือระดับตำแหน่งหน้าที่ • ถ้าตัวแปรอิสระ คือระดับโปรตีนในอาหาร ตัวแปรตาม คือการเจริญเติบโต เป็นต้น • ถ้าตัวแปรอิสระ คือระดับสายเลือดของโคนม ตัวแปรตาม คือปริมาณน้ำนม เป็นต้น

  29. ความแตกต่างระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณความแตกต่างระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

  30. ความแตกต่างระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (ต่อ)

  31. ความแตกต่างระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (ต่อ)

  32. กระบวนการวิจัย เก็บข้อมูล ประมวลข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความผลการวิเคราะห์ เขียนรายงาน เผยแพร่งานวิจัย กำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม กำหนดกรอบทฤษฎี กำหนดตัวแปร กำหนดวัตถุประสงค์ และสมมติฐาน ออกแบบวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ

  33. หลักการออกแบบแผนการวิจัยหลักการออกแบบแผนการวิจัย เพื่อให้ได้แผนการวิจัยที่1. เหมาะสมกับปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2. ให้ได้ผลตรงตามข้อเท็จจริง มีความน่าเชื่อถือ หลักการออกแบบการวิจัย 3 หลักการ คือ1. ความเชื่อมั่น (Reliability)2. ความตรง (Validity)3. การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน (Control Extraneous Variables)

  34. กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประชากร (ความจริงของข้อสงสัย ปัญหา) ค่าพารามิเตอร์ ค่าสถิติ X, S, S2 กลุ่มตัวอย่าง

  35. กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร คือ กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยสุ่มจากประชากรโดยใช้หลักความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และมีขนาดตัวอย่างเพียงพอ วิธีสุ่มตัวอย่าง (Sampling Method) 1. สุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) 2. สุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling)

  36. กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย • วิธีสุ่มตัวอย่าง (Sampling Method) • สุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) • การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) • การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) • การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) • การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) • การสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling)

  37. กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย • วิธีสุ่มตัวอย่าง (Sampling Method) • 2. สุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) • การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ หรือตามความสะดวก (Accidental Sampling or Convenience Sampling) • การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) • การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling)

  38. กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย ขนาดตัวอย่าง ขึ้นกับ ลักษณะของประชากร อำนาจการทดสอบ ประเภทการวิจัย ระดับนัยสำคัญ ประเภทสมมติฐาน ขนาดของอิทธิพล สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ทรัพยากรสนับสนุน

  39. การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล - สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) - สถิติอ้างอิง (Inferential statistics)การประมาณค่า - การทดสอบสมมติฐาน สถิติพาราเมตริก - สถิตินอนพาราเมตริก Univariate- Multivariate Data Analysis

  40. การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกใช้สถิติในการวิจัย ขึ้นอยู่กับ • วัตถุประสงค์ และแบบของการวิจัย • มาตรวัดของข้อมูล (Nominal, Ordinal, Interval, Ratio Scale) • ลักษณะการแจกแจง (Normal distribution, Binomial distribution, ฯลฯ)

More Related