1 / 12

สื่อการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ประกอบ. สื่อการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หน่วย การเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์. ผู้จัดทำ นางสาวเฉลิมขวัญ สุปิงคลัด ครูโรงเรียนเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วัตถุประสงค์.

Download Presentation

สื่อการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประกอบ สื่อการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ ผู้จัดทำ นางสาวเฉลิมขวัญ สุปิงคลัด ครูโรงเรียนเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

  2. วัตถุประสงค์ ๑.ผู้สอนได้จัดทำสื่อการเรียนรู้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้พื้นฐานงานศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔เป็นแผนที่เน้นกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์เป็นการจุดประกายไอเดียใหม่ๆ ให้กับนักเรียน ๒.ผู้สอนได้นำเอาสื่อการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสอนแบบ 4 Mat มาใช้ในการสอนให้เด็กนักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนและเกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาศักยภาพและทักษะ ในงานด้านศิลปะยิ่งขึ้น ๓.ผู้สอนได้จัดสื่อการเรียนรู้ให้ตรงกับกระบวนการสอนและพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสอดคล้องกับหลักสูตรมากยิ่งขึ้น ๔. สื่อการเรียนรู้ที่ดี ก็เหมือนกับ ครูมืออาชีพมีหน้าที่ค้นหาอัจฉริยะในตัวเด็ก มิใช่ค้นหาเด็กอัจฉริยะ

  3. ประกอบ สื่อการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ สนุกกับเส้น

  4. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ สนุกกับเส้น เส้นคือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรงเส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้นเส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง(Straight Line) และ เส้นโค้ง(Curve Line)  เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย

  5. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ สนุกกับเส้น ลักษณะของเส้น1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่งให้ความรู้สึกทางความสูงสง่ามั่นคงแข็งแรงหนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง 4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรงการเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง 8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่องขาดหายไม่ชัดเจนทำให้เกิดความเครียด

  6. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ สนุกกับเส้น ความสำคัญของเส้น 1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ 2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา 3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น 4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น 5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ

  7. ประกอบ สื่อการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ รูปร่างและรูปทรง Shape & Form

  8. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ รูปร่างและรูปทรง Shape & Form รูปร่าง(Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาว ไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขต ของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระ ที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล รูปทรง(Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดง ความกว้าง ความยาวแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เช่น รูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ ค่าน้ำหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน

  9. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ รูปร่างและรูปทรง Shape & Form รูปร่างและรูปทรง เป็นรูปธรรมของงานศิลปะ ที่ใช้สื่อเรื่องราวจากงานศิลปะไปสู่ผู้ชม รูปร่างและรูปทรงที่มีอยู่ในงานศิลปะมี 3 ลักษณะ คือ รูปเรขาคณิต (Geometric Form) มีรูปที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือ คำนวณได้ง่าย มีกฎเกณฑ์ เกิดจากการสร้างของมนุษย์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี นอกจากนี้ยังรวมถึงรูปทรงของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้น ขึ้นอย่างมีแบบแผน แน่นอน เช่น รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องบิน สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรม ก็จัดเป็นรูปเรขาคณิต เช่นกัน รูปเรขาคณิตเป็นรูป ที่ให้โครงสร้างพื้นฐานของรูปต่าง ๆ ดังนั้น การสร้างสรรค์รูปอื่น ๆ ควรศึกษารูปเรขาคณิตให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน

  10. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ รูปร่างและรูปทรง Shape & Form รูปอินทรีย์ (Organic Form) เป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือ คล้ายกับสิ่งมีชีวิต ที่สามารถ เจริญเติบโต เคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงรูปได้ เช่น รูปของคน สัตว์ พืช รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปที่ไม่ใช่แบบเรขาคณิต หรือแบบอินทรีย์ แต่เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพลและการกระทำจากสิ่งแวดล้อม เช่น รูปก้อนเมฆ ก้อนหิน หยดน้ำ ควัน ซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว มีพลัง รูปอิสระจะมีลักษณะ ขัดแย้งกับรูปเรขาคณิต แต่กลมกลืน กับรูปอินทรีย์ รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิต หรือรูปอินทรีย์ ที่ถูกกระทำ จนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพ เช่น รถยนต์ที่ถูกชนจนยับเยินทั้งคัน เครื่องบินตก ตอไม้ที่ถูกเผาทำลาย หรือซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง

  11. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ รูปร่างและรูปทรง Shape & Form ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเมื่อนำรูปทรงหลาย ๆ รูปมาวางใกล้กันรูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูดหรือผลักไสซึ่งกันและกันการประกอบกันของรูปทรง อาจทำได้โดย ใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันรูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ซ้อนกัน รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน รูปทรงที่แทรกเข้าหากันรูปทรงที่สานเข้าด้วยกัน หรือ รูปทรงที่บิดพันกันการนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูปอิสระมาประกอบเข้าด้วยกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด

  12. แหล่งอ้างอิง ที่มาโดย www.kids-dee.com

More Related