1 / 80

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพิจารณาโครงการเบื้องต้น รุ่นที่ 1 24 – 26 มีนาคม 2557

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพิจารณาโครงการเบื้องต้น รุ่นที่ 1 24 – 26 มีนาคม 2557. ณ. ห้องประชุมอาคาร NEWMASIP สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน ( ปากเกร็ด ) จังหวัดนนทบุรี. กำหนดการบรรยาย 24 มีนาคม 2557 หัวข้อ “มาตรฐานงานวางโครงการ” 3 ชั่วโมง ( 13.00-16.00 น. )

eunice
Download Presentation

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพิจารณาโครงการเบื้องต้น รุ่นที่ 1 24 – 26 มีนาคม 2557

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพิจารณาโครงการเบื้องต้น รุ่นที่ 1 24 – 26 มีนาคม 2557 ณ. ห้องประชุมอาคาร NEWMASIP สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน (ปากเกร็ด) จังหวัดนนทบุรี

  2. กำหนดการบรรยาย • 24 มีนาคม 2557 หัวข้อ “มาตรฐานงานวางโครงการ” 3 ชั่วโมง (13.00-16.00 น.) 13.00 - 14.00 น. จัดทำมาตรฐานวางโครงการ และกฎหมายและระเบียบที่ เกี่ยวข้องกับงานวางโครงการ 14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 14.45 - 16.00 น. การจัดทำรายงานศึกษาโครงการเบื้องต้น (RR) และ แนวทางการเขียนรายงาน

  3. หัวข้อวิชา “มาตรฐานวางโครงการ” โดย นายอาทร สุทธิกาญจน์หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานวางโครงการ24 มีนาคม 2556 13.00 - 16.00 น.

  4. มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอามาเป็นเกณฑ์ที่รองรับกันทั่วไป เช่น กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็น ปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามความข้อกำหนดที่วางไว้ (จากคู่มือ การปฏิบัติตามข้อบังคับกรมชลประทาน ว่าด้วย จรรยาข้าราชการ กรมชลประทานพ.ศ.2553)

  5. 1. โครงการ (Projects) คืออะไร? โครงการ หมายถึง: • กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร • เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อม • เป็นกิจกรรมที่สามารถจะวิเคราะห์ –วางแผน และนำไปปฏิบัติได้ • เป็นกิจกรรมที่สามารถดำเนินการบริหารได้โดยอิสระ • เป็นกิจกรรมที่มีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดไว้ • เป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

  6. 2. ประเภทของโครงการ โครงการต่างๆ โดยทั่วไปอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ • โครงการประเภทหวังผลกำไร (Profit making project) • โครงการประเภทไม่หวังผลกำไร (Non – Profit masking project)

  7. 3. การวางโครงการ (Project Planning) คืออะไร การวางโครงการ หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้อย่างฉลาด ระมัดระวัง โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง การวางโครงการ เป็น ขั้นตอน ที่สำคัญที่สุดในการทำงานเพราะเป็นขั้นที่ต้องกำหนดนโยบายวัตถุประสงค์และวิธีการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรวมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การวางโครงการ จะช่วยให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีระบบ (Systematic) สามารถควบคุมการดำเนินงานได้ทุกขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยรวดเร็ว

  8. 3. การวางโครงการ (Project Planning) คืออะไร (ต่อ) การวางโครงการ เป็นการวางแผน เพื่อผลประโยชน์ในอนาคตเพื่อให้ผู้ตัดสินใจสามารถจะตัดสินใจได้ในปัจจุบันว่าโครงการใดควรดำเนินการ โครงการใดควรชะลอไว้ก่อน หรือ โครงการใดควรระงับ กล่าวโดยสรุป การวางโครงการก็คือการศึกษารายละเอียดและการจัดทำรายงานความเหมาะสม (Feasibility Study) ของโครงการนั้นเอง

  9. แนวคิดในการจัดทำมาตรฐานการศึกษาแนวคิดในการจัดทำมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการศึกษาที่ดี ควรประกอบด้วย 2 สิ่งดังนี้ • เนื้อหาที่จะต้องปรากฏในรายงานการศึกษาระดับต่างๆ ที่เหมาะสม • ระดับความถูกต้องของการศึกษาที่เหมาะสม

  10. คำว่า “เหมาะสม” หมายถึงอะไร - ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไข หรือ ข้อจำกัดต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ เวลา งบประมาณ ข้อมูล องค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ใช้

  11. มาตรฐานการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ความการเปลี่ยนแปลง หรือ ข้อจำกัดต่างๆ และมาตรฐานที่ดีควรได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมและอยู่ในวิสัยที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่เสมอ

  12. การจัดทำมาตรฐานวางโครงการการจัดทำมาตรฐานวางโครงการ • เนื้อหาของมาตรฐานวางโครงการ จะต้องให้เหมาะสมกับระดับการศึกษาด้านต่างๆของรายงานแต่ละประเภท • การเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงมาตรฐานวางโครงการจะต้องได้รับการพิสูจน์เทคโนโลยีก่อน โดยเป็นการศึกษานำร่อง • การปรับปรุงมาตรฐานใดๆ จะต้องผ่านการประชุมสัมมนากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับข้อคิดเห็น ปรับปรุงและยอมรับร่วมกัน

  13. การพัฒนาลุ่มน้ำ • การวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำ (Basin Planning) แบ่งเป็น 3 ระดับ1.1.การศึกษาการพัฒนาลุ่มน้ำเบื้องต้น (Desk Study) 1.2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำ (Preliminary Study) 1.3 การศึกษาแผนพัฒนาลุ่มน้ำ (Comprehensive Study) • การวางแผนพัฒนาโครงการ (Project Planning) 2.1 การศึกษาโครงการเบื้องต้น (Reconnaissance Study) 2.2 การศึกษาวางโครงการ (Pre-feasibility Study) 2.3 การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study)

  14. 2. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานวางโครงการ • พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 - มีจำนวน 42 มาตรา ข้อปฏิบัติ ที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 • กรมชลประทานมีหน้าที่หลักคือ 1. การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม 2.การอุปโภคบริโภค 3.การพลังงาน 4.การคมนาคม 5.การกักเก็บ รักษา และการระบายน้ำ 6.การบรรเทาอุทกภัย 7.การไล่น้ำเค็ม

  15. 2. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานวางโครงการ (ต่อ) • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่2) พ.ศ. 2497 • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่3) พ.ศ. 2407 • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่4) พ.ศ. 2518 • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่5) พ.ศ. 2530 • พระราชบัญญัติกันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 • พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 • พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร ศก 121 (พ.ศ.2445) ที่มา:www.moac.go.th/more-news.php?cid=107, 17 มีนาคม 2557

  16. กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ • พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 • ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2552 และ2553) • ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2555) • มติ ครม. เกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (พ.ศ.2554) • มติครม. เกี่ยวกับทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระดับนานาชาติ และระดับชาติ (พ.ศ.2543 และ พ.ศ.2582)

  17. แผงผัง แสดงขั้นตอนการพิจารณาระดับการศึกษาจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

  18. เกณฑ์การจัดทำรายงานการศึกษาโครงการเบื้องต้น (RR) บทที่ 1 บทนำ • 1.1. ความเป็นมาของโครงการ • เพื่อให้ทราบถึงที่มาของโครงการ ลำดับเหตุการณ์ หนังสือและ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอให้กรม/สำนักบริหารโครงการทำการศึกษาโครงการ • วิธีการเขียนรายงาน • การเรียบเรียง จัดลำดับ เหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง เป็นร้อยแล้ว จากหนังสือ (บันทึกข้อความ)

  19. ตัวอย่าง บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมา กรมชลประทานได้รับหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ กร.0007.4 1248 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ขอให้กรมพิจารณา................................. .......................................................................... สำนักบริหารโครงการ โดยกลุ่มงานวางโครงการ 3 จึงได้มีแผนงานในการศึกษาโครงการเบื้องต้น โครงการ..........ในปีงบประมาณ 2550

  20. 1.2. เหตุผลความจำเป็น • สาระสำคัญ เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลความจำเป็นที่ผู้ร้องขอโครงการคาดว่าจะได้รับบริการจากกรมชลประทาน โดยเป็นการชี้ปัญหาจากเรื่องเดิม • กรอบแนวคิด/วิธีเขียนรายงาน วิเคราะห์ความต้องการโครงการจากหนังสือและเอกสารในข้อ 1.1 แล้ว พรรณนาเป็นร้อยแก้ว

  21. 1.3. วัตถุประสงค์ของโครงการ • สาระสำคัญ เพื่อบรรเทาหรือแก้ไขความเดือดร้อนในระดับที่ส่งผลให้เกิดความพึ่งพอใจแก่ผู้ร้องขอโครงการ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งภายใน และ ภายนอก โครงการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม มวลชน และสิ่งแวดล้อม • กรอบแนวคิด/วิธีเขียนรายงาน ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของผู้ร้องขอโครงการ พร้อมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ร้องขอโครงการและผู้เกี่ยวข้องในช่วงออกงานสนาม • ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ของโครงการ • เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ สำหรับการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง • เพื่อชะลอน้ำ ในช่วงฤดูน้ำหลาก • เพื่อเป็นแหล่งน้ำ สำหรับการอุปโภค-บริโภค

  22. 1.4 วัตถุประสงค์ของรายงานการศึกษา • สาระสำคัญ • เพื่อให้ศึกษาให้ทราบถึงปัญหา และ แนวทางในการเปิดโครงการ มีลู่ทางดำเนินการหรือไม่ • เพื่อกำหนดประเภทโครงการเบื้องต้นว่าควรเป็นโครงการประเภทใด มีพื้นที่โครงการ และราคาค่าก่อสร้าง โดยประมาณเบื้องต้นเท่าใด • เพื่อกำหนดขอบเขตสำรวจ และ รายละเอียดต่างๆ อาทิ แผนที่สำรวจภูมิประเทศ แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม การศึกษาสำรวจสภาพการใช้ที่ดิน และ จำแนกประเภทที่ดินเพื่อชลประทาน • เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในตอนขอร้องเรียน หรือ ปัญหาข้อชี้แจ้งต่างๆในทุกระดับ • วิธีการ เขียนเป็นเชิงพรรณนา แยกเป็นข้อๆ

  23. บทที่ 2 สภาพทั่วไปของพื้นที่โครงการ 2.1 ที่ตั้งและขอบเขตของพื้นที่ศึกษา • สาระสำคัญ • เป็นการชี้ให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของโครงการเบื้องต้น • จัดทำบนแผนที่ 1 : 50,000 • แผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ • แผนที่พื้นที่ชุ่มน้ำ

  24. 2.2 สภาพภูมิประเทศ • สาระสำคัญ สรุปลักษณะภูมิประเทศในภาพรวมครอบคลุมทั้งพื้นที่โครงการอาณาบริเวณใกล้เคียงและลุ่มน้ำ เป็นการกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานที่นำมาสู่ความเข้าใจพื้นที่โครงการและประโยชน์ในการพิจารณาโครงการต่อไป • วิธีการ • ข้อมูล ทุติยภูมิ • แผนที่มาตรส่วน 1 : 50,000 • เอกสารสรุปด้านการผลิตพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรจากจังหวัด • ข้อมูลจาก INTERNET

  25. 2.3 สภาพภูมิอากาศ • สาระสำคัญ เพื่อให้ทราบข้อมูลในภาพรวม อิทธิพลของลมมรสุม ช่วงเวลาของฤดูกาล ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา โดยเป็นข้อมูลของบพื้นที่อำเภอ สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อโครงการและลุ่มน้ำ • วิธีการ • ข้อมูลทุติยภูมิ • ตรวจสอบสถานีอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อโครงการ • นำเสนอข้อมูลการตรวจวัดในรูปแบบตารางและการสรุปประกอบการบรรยายความ

  26. 2.4 สภาพเศรษฐกิจสังคม และ การเกษตร • สาระสำคัญ • อธิบายลักษณะชุมชน จำนวนประชากร โครงสร้างของครัวเรือน การประกอบอาชีพ รายได้ และรายจ่ายของครัวเรือน ตลอดจนปัญหาต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม • รายได้ทางการเกษตรการประกอบด้วยปริมาณผลผลิต ราคาขาย มูลค่าของต้นทุน ค่าใช้จ่าย ในเขตพื้นที่ โครงการ หรือ ใกล้เคียงในสภาพปัจจุบัน • วิธีการ • รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ข้อมูลจาก Internet • จัดทำเป็นตาราง หรือ กราฟ และพยายามสรุป

  27. 2.5 การใช้ที่ดินและการถือครองที่ดิน • สาระสำคัญ • เป็นการรวบรวมข้อมูลการใช้ที่ดิน และการถือครองที่ดินในเขตพื้นที่โครงการไปถึงระดับอำเภอ • ความสำคัญของข้อมูลคือการนำไปใช้กำหนดขอบเขตพื้นที่โครงการและระบบส่งน้ำของโครงการ • วิธีการ • ข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักงานที่ดินอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ และ เกษตรจังหวัด • ข้อมูลจากแผนที่ลักษณะและชนิดที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

  28. 2.6 สภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ • สาระสำคัญ • เพื่อตรวจสอบข้อมูลป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่มีการประกาศใช้ พรบ. และ มติ ครม. • สำหรับทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ในระดับอำเภอ • วิธีการ • ข้อมูลทุติยภูมิ • แผนที่ป่าสงวน, แผนที่ชั้นคุณภาพของลุ่มน้ำ • ข้อมูลจาก Internet

  29. 2.7 ปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ • สาระสำคัญ • เพื่อให้ทราบปัญหาความเดือดร้อน ในด้านต่างๆของราษฎรในเขตอำเภอที่ตั้งโครงการ • ปัญหาเหล่านั้น จะนำมาประมวลผล เพื่อบรรเทาในส่วนของงานชลประทาน • วิธีการ • ข้อมูลปฐมภูมิ เช่นการไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น นายอำเภอ ปลัดปกครอง พัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน • ข้อมูลทุติยภูมิ เช่น การจัดหา รายงานประจำปีของอำเภอนั้นๆ

  30. 2.8 การสาธารณสุข และ สาธารณูปโภค • สาระสำคัญ • รวบรวมข้อมูลบริการสาธารณสุข และ จำนวนประเภทสถานบริการในเขตอำเภอที่ตั้งโครงการ • รวบรวมข้อมูลการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นการบริการด้านประปา ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรศัพท์ • ข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนาโครงการชลประทานในอนาคต • วิธีการ • ข้อมูลปฐมภูมิ ได้จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ • ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานประจำปีของอำเภอนั้นๆ • จัดทำเป็นตารางและสรุปบรรยาย

  31. 2.9 การศาสนา และ การศึกษา • สาระสำคัญ • การรวบรวมข้อมูลทางด้านศาสนาและการศึกษา จำนวน ประเภท ของ ศาสนสถาน และโรงเรียน เพื่อการสนับสนุนโครงการชลประทาน • วิธีการ • ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ หรือ บรรยายสรุปในภาคสนาม • จัดทำเป็นตาราง และ บรรยายสรุป

  32. 2.10 ทรัพยากรการท่องเที่ยว • สาระสำคัญ • เป็นการนำเสนอศักยภาพในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่อำเภอที่เป็นที่ของตั้งโครงการ • โครงการชลประทาน หรือ พัฒนาแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ สำหรับการท่องเที่ยวอย่างไร • วิธีการ • รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ พัฒนาการอำเภอ • จัดทำเป็นตารางและบรรยายสรุป

  33. บทที่ 3 สภาพแหล่งน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำในปัจจุบัน 3.1 ระบบลำน้ำและข้อมูลอุทกวิทยา • สาระสำคัญ • ข้อมูลพื้นฐานแสดงพื้นที่ลุ่มน้ำที่ศึกษาอยู่ในลุ่มน้ำหลักใด ขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา ชื่อของลำน้ำย่อย และลำน้ำที่ไหลผ่านหัวงานโครงการ ความยาวของลำน้ำ ทิศทางการไหล และจุดบรรจบกับลำน้ำหลัก • วิธีการ • ใช้แผนที่ มาตรส่วน 1:50,000 • จัดทำเป็นแผนภูมิลำน้ำ • แสดงเป็นตาราง,แผนที่บริเวณหัวงาน,แผนภูมิ • บรรยายสรุป

  34. ข้อมูลอุทกวิทยา • สาระสำคัญ • ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนในพื้นที่ลุ่มน้ำของโครงการ • ปริมาณน้ำท่ารายเดือนที่ผ่านผัวงานโครงการ ในกรณีที่มีสถานีวัดน้ำตั้งอยู่ในลุ่มน้ำนั้นๆ หรือได้จากการคำนวณทางอุทกวิทยา • ข้อมูลปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่ (Average Annual Runoff Yield) ของสถานีวัดน้ำท่าที่มีคุณลักษณะลุ่มน้ำใกล้เคียงลุ่มน้ำที่ศึกษา

  35. ข้อมูลอุทกวิทยา (ต่อ) • วิธีการ • การคำนวณปริมาณน้ำท่าไหลผ่านหัวงาน มี 2 วิธีดั่งนี้ • ใช้ Specific yield • ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิประเทศ ฝนเฉลี่ย และ สัมประสิทธิ์การเกิดน้ำท่า • นำเสนอในรายงานในรูปของตาราง สมการ หรือ วิธีการที่ใช้คำนวณปริมาณน้ำท่า บรรยายสรุป

  36. 3.2 แผนพัฒนาลุ่มน้ำและสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบัน • สาระสำคัญ • เพื่อนำเสนอแผนพัฒนาและศักยภาพการพัฒนาในลุ่มน้ำ รวมทั้งโครงการที่ก่อสร้างแล้ว • มีการวิเคราะห์ผลของการดำเนินโครงการที่กำลังศึกษาจะมีผลอย่างไรต่อระดับลุ่มน้ำ • วิธีการ • รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลสารสนเทศกรม • ศึกษาข้อมูลจากแผน MTEF ตลอดจน แผนพัฒนาลุ่มน้ำเน้นผลที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาในภาพรวม

  37. 3.3 สภาพอุทกวิทยาทั่วไป • สาระสำคัญ • รวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม อาทิ น้ำไหล ตลอดปี หรือ ขาดน้ำบางช่วง การเกิดสภาพน้ำท่วมในลุ่มน้ำ โดยเปรียบเทียบกับผลทางอุทกวิทยาที่ได้ มีการเปรียบเทียบ จะนำไปสู่การพิจารณาลักษณะโครงการต่อไป • วิธีการ • บรรยายผลเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ แล้วพิจารณาเบื้องต้นว่า ควรมีลักษณะโครงการประเภทใด

  38. 3.4 การใช้น้ำและความต้องการน้ำโดยทั่วไป • สาระสำคัญ • ศึกษาสภาพตามต้องการน้ำในภาพรวมของพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง โดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมในสนาม • วิธีการ • ศึกษาข้อมูลจากการสอบถามในภาคสนาม และข้อมูลทุติยภูมิ • บรรยายในเชิงพรรณนา ลักษณะทั่วไปของการใช้น้ำ และความต้องการน้ำ

  39. บทที่ 4 การพิจารณาลักษณะโครงการเบื้องต้น 4.1 ความต้องการใช้น้ำเบื้องต้นของโครงการ • สาระสำคัญ • ประเมินความต้องการใช้น้ำตาม ลักษณะที่ได้จาก 3.4 ในปัจจุบัน และ อนาคตไปข้างหน้า 20 ปี • ประเมินความต้องการใช้น้ำสำหรับการเกษตร อุปโภค บริโภค การปศุสัตว์ อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศ • ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้สำหรับการศึกษาลักษณะโครงการต่อไป • วิธีการ • ประเมินประชากร,ปศุสัตว์ และ อุตสาหกรรม ใน 20 ปีข้างหน้า • ความต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ใช้ 200 ลิตร/คน/วัน • ความต้องการใช้น้ำ เพื่ออุตสาหกรรม ใช้ 10 ลบ.ม./ไร่/วัน

  40. 4.1 ความต้องการใช้น้ำเบื้องต้นของโครงการ (ต่อ) • วิธีการ (ต่อ) • ความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร คำนวณจากค่า ETO และ ค่า Kd หรือประมาณ 1,700- 2,000 ลบ.ม. /ไร่ สำหรับข้าว และ 800 ลบ.ม. /ไร่ สำหรับพืชไร่ • ความต้องการน้ำเพื่อปศุสัตว์ : โคนม 200 ลิตร /ตัว/วัน ปศุสัตว์ อื่นๆ 50ลิตร/ตัว/วัน • ความต้องการใช้น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศท้ายน้ำประเมินจากปริมาณน้ำต่ำสุดในช่วงฤดูแล้งจากสถิติน้ำท่าเฉลี่ยรายปี หรือ พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ยในช่วงข้อมูลหลายปีต่อเนื่องกันกับ %Flow duration โดยพิจารณาปริมาณน้ำท่า 90%Flow duration

  41. 4.2 การศึกษาปริมาณน้ำท่า • สาระสำคัญ • ศึกษาปริมาณน้ำท่าที่ไหลผ่านหัวงานรายเดือน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาลักษณะโครงการและประเภทของโครงการ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการไหลของน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนหรือ ปริมาณน้ำต้นทุนของโครงการ • วิธีการ • การประเมินปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนสามารถใช้วิธี • อ่านค่า Specific yieldจากแผนที่ • คำนวณปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยจากค่า Yield • การกระจายน้ำท่ารายปี เป็นน้ำท่ารายเดือน โดยมี 3 วิธี คือ • กระจายตาม % การกระจายของสถานีวัดน้ำที่อยู่ใกล้เคียง • กระจายตามปริมาณฝนโดย Rational Formulor Q=CIA • กระจายโดยใช้ % เฉลี่ย ของ 2 วิธีข้างต้น

  42. 4.3 การศึกษาปริมาณตะกอน • สาระสำคัญ • ตะกอนเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ ไหลปนมากับปริมาณน้ำท่า • ตะกอนจะถูกดักเก็บ หรือ ตกลงสู่พื้นหน้าอาคารชลประทาน ทำให้เกิดการตื้นเขิน ส่งผลให้อาคารใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ • อ่างเก็บน้ำจะเผื่อปริมาตรอ่าง สำหรับการตกตะกอน เรียกว่า ความจุใช้การไม่ได้ (Dead Storage) • การเกิดตะกอนขึ้นอยู่กับปริมาณและความเข้มของฝน ลักษณะของดิน และการใช้ที่ดิน ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำ และสภาพภูมิประเทศ • วิธีการ • คำนวณปริมาณตะกอนโดยใช้สมการV = C x d x A x m x 103 (ม3) • กรณีอ่างเก็บน้ำ นำปริมาณตะกอนไปเทียบหาค่าความจุอ่างเก็บน้ำ ใช้การไม่ได้ต่อไป

  43. 4.4 การกำหนดประเภทของโครงการ • สาระสำคัญ • การกำหนดประเภทโครงการในระดับ RR พิจารณาบนพื้นฐานข้อมูลทางด้านอุทกวิทยา สภาพภูมิประเทศ การใช้งานความต้องการใช้น้ำ ฯลฯ • พิจารณาจากปริมาณความต้องการน้ำ เทียบกับน้ำต้นทุนตลอดทั้งปี เช่น หากมีน้ำต้นทุน เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ ทั้งฤดูฝนและแล้ง ลักษณะโครงการอาจะเป็นฝายทดน้ำ เขื่อนทดน้ำ หรือ สถานีทดน้ำ • พิจารณาจากสภาพปัญหาน้ำท่วม หากต้องการเก็บกักน้ำไว้ในช่วงหน้าแล้ง แต่ต้องการระบายน้ำได้ มาก และรวดเร็วในช่วงน้ำหลาก อาจพิจารณาเป็นเขื่อนทดน้ำ หรือ ฝายแบบพับได้

  44. 4.4 การกำหนดประเภทของโครงการ • สาระสำคัญ (ต่อ) • พิจารณาที่ระดับน้ำ หากอยู่ต่ำกว่าพื้นที่ชลประทาน หรือ พื้นที่รับประโยชน์ ก็อาจจะพิจารณา เป็นสถานีสูบน้ำ • วิธีการ • บรรยายลักษณะเบื้องต้น เพื่อสนับสนุนลักษณะโครงการที่เลือก

  45. 4.5 การกำหนดโครงการเผื่อเลือก • สาระสำคัญ • การสร้างทางเลือกของการพิจารณาในระดับต่างๆที่จะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร/ผู้ร้องขอโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ • เริ่มจากโครงการขนาดเล็ก ไปถึงโครงการขนาดใหญ่ • วิธีการ • การนำเอาวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นเป้าหมาย • ใช้ข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้ อาทิ สภาพภูมิประเทศ ปริมาณน้ำต้นทุนที่ไหลผ่านหัวงาน ความต้องการใช้น้ำ หรือ ชนิดของพืช ความคุ้มค่าลงทุนเบื้องต้น และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม นำมาเป็นเกณฑ์คัดเลือก โครงการที่สมควรได้รับการพัฒนาต่อไป

  46. 4.6 การมีส่วนร่วมของประชาชน • สาระสำคัญ • เพื่อนำแนวคิด การพิจารณาโครงการ ตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะโครงการไปร่วมประชุม หาหรือ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โครงการ • สำนักบริหารโครงการ กำหนดการประชุม การมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการประชุมกับผู้นำชุมชนในพื้นที่โครงการทั้งได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์จำนวน 30 คน ครั้งที่ 2 ประชุมระดับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย จำนวน 100 คน • วิธีการ • จัดประชุม จำนวน 2 ครั้ง • รับฟังความคิดเห็น ตอบแบบสอบถาม • ประเมินผลการประชุม • สรุปผลการประชุมและข้อคิดเห็นเป็นร้อยละ และ พรรณนา นำสรุป

More Related