1 / 57

โลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก

โลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก. โลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก โดย. นาง วร ลักษณ์ กอบหิรัญกุล. เปลือกโลก. เปลือกโลก  (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือน เปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม

ermin
Download Presentation

โลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกโลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก

  2. โลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกโดยโลกและการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกโดย • นางวรลักษณ์ กอบหิรัญกุล

  3. เปลือกโลก • เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม • เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีป • ที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ

  4. * ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง • สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้

  5. *ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล

  6. แมนเทิล • แมนเทิล(mantle หรือ Earth’s mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 – 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

  7. แก่นโลก • ความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,440 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของ โลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่

  8. แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 – 5,100 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 – 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว

  9. แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 – 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง • มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

  10. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

  11. แผ่นเปลือกโลกปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกปัจจุบัน

  12. แผ่นเปลือกโลก

  13. ภาพถ่ายทางอากาศของรอยแยกแซนแอนเดรียสในบริเวณที่ราบคาร์ริโซเมืองแซนหลุยส์โอบิสโปภาพถ่ายทางอากาศของรอยแยกแซนแอนเดรียสในบริเวณที่ราบคาร์ริโซเมืองแซนหลุยส์โอบิสโป

  14. การเกิดภูเขา

  15. ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ • ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  16. ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน • ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็นภูเขา • ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน • ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน

  17. ความสูงของภูเขาโดยทั่วไปจะวัดโดยความสูงที่ระดับเหนือน้ำทะเล เช่น เทือกเขาหิมาลัย โดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ระดับ 5 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยอดเขาเอเวอเรสต์บนเทือกเขาหิมาลัย และเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก สูงจากระดับน้ำทะเลราวๆ 8.8 กิโลเมตร (8,844 เมตร) ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 2,565 เมตร

  18. มุมมองที่กว๊านพะเยา เห็นทิวเขาผีปันน้ำอยู่เป็นฉากหลังมุมมองที่กว๊านพะเยา เห็นทิวเขาผีปันน้ำอยู่เป็นฉากหลัง

  19. ภูสอยดาว

  20. เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราชเขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช

  21. ภูกระดึงยอดเขาตัดแบนราบภูกระดึงยอดเขาตัดแบนราบ

  22. การเกิดภูเขาไฟ • เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น • สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ (หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)

  23. บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น 

  24. ประเภทของภูเขาไฟ • 1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) •      · เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone •      · รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ •      · ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก •      · ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง

  25. 2. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) •      · เกิดจากลาวาที่มีความเป็นเบส (Basic lava volcano) เพราะประกอบด้วยแร่เหล็กและแมกนีเซียม •      · ลาวามีลักษณะเหลว ไหลได้เร็วและแข็งตัวช้า •      · การระเบิดไม่รุนแรง จะมีเถ้าถ่านและเศษหินก้อนเล็ก และควันพ่นออกมาบริเวณปากปล่อง

  26. 4. แบบสลับชั้น (Composite cone) •     -  เป็นภูเขาที่มีรูปร่างสมมาตร (Symmetry)     -  กรวยของภูเขาไฟมีหลายชั้น บางชั้นประกอบด้วยลาวา และเถ้าถ่านสลับกันไป     -  ถ้ามีการระเบิดรุนแรงจะมีลาวาไหลออกมาจากด้านข้างของไหล่เขา     -  เป็นภูเขาไฟที่มีปล่องขนาดใหญ่ และมีแอ่งปากปล่อง (Crater) ขนาดใหญ่ด้วย

  27. ประโยชน์ของการเกิดภูเขาไฟประโยชน์ของการเกิดภูเขาไฟ •    1.แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น •      2.เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล •      3.ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ •      4.เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน

  28. โทษของการเกิดภูเขาไฟ •   1.เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ •      2.การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ •      3.ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย •      4.สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

  29. ภูเขาไฟในประเทศไทย •   - ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง •     - ภูพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

  30. ภูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวาในอินโดนีเซียภูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวาในอินโดนีเซีย

  31. ภูเขาไฟรูปโล่ในฮาวาย

  32. การกร่อน • การกร่อนเป็นกระบวนการที่ทำให้สารที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกโลกหลุดออกหรือสลายตัวไปจากผิวโลก เช่น กระแสน้ำกัดเซาะเปลือกโลกให้พังทลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย พัดพาให้เคลื่อนไปตามแนวทางน้ำไหล เมื่อฝนตกน้ำไหลบ่าลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกเกิดการกัดเซาะผิวหน้าดิน แล้วพัดพาไปทับถมภูมิประเทศที่มีพื้นที่ต่ำกว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนมีดังนี้

  33. 1.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากกระแสน้ำ1.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากกระแสน้ำ •  การกัดเซาะของกระแสน้ำเกิดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ซึ่งมีผลทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง การกัดกร่อน การพัดพา และการทับถมของตะกอน เนื่องจากกระแสน้ำสรุปได้ดังนี้

  34. จากรูป กระแสน้ำไหลตามลูกศรจากซ้ายไปขวา เริ่มจากลูกศรหมายเลข 1 กระแสน้ำพุ่งปะทะชายฝั่ง ก ทำให้ชายฝั่งถูกกัดเซาะพังทลาย ตะกอนถูกพัดพาไป กระแสน้ำจากลูกศรหมายเลข 2 พุ่งปะทะชายฝั่ง ค ทำให้ถูกกัดเซาะเช่นเดียวกัน แต่ตะกอนที่ถูกพัดพามา เมื่อถึงบริเวณที่กระแสน้ำไหลอ่อนลง จะเกิดตะกอนทับถมในบริเวณนั้น บริเวณ ข และ ง กระแสน้ำไหลอ่อนกว่า บริเวณ ก และ ค ดังนั้น ตะกอยจึงทับถม ณ บริเวณ ข และ ง ทำให้เกิดแผ่นดินยื่นออกมา

  35. 2.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากปฏิกิริยาเคมี 2.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากปฏิกิริยาเคมี  •  เกิดจากน้ำฝนละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศ ทำให้เกิดฝนกรดไปกัดกร่อนเปลือกโลกให้ผุพัง

  36. การกร่อนเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดหินงอกหินย้อยการกร่อนเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดหินงอกหินย้อย

  37. 3.การกัดกร่อนเปลือกโลกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ3.การกัดกร่อนเปลือกโลกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ • ทำให้เกิดการกัดกร่อนของเปลือกโลกได้ เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศทำให้เปลือกโลกเกิดการขยายตัวและหดตัว ถ้าการขยายตัวของหินชั้นในกับหินชั้นนอกไม่เท่ากันอาจทำให้หินเกิดการแตกร้าวได้ และในบางครั้งน้ำในโพรงก้อนหินกลายเป็นน้ำแข็ง อาจทำให้เกิดการขยายตัวดันให้ก้อนหินแตกเป็นชิ้นเล็กๆ

More Related