1 / 18

สัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน. โดย นางสาวศ ริยา พรมศรี. สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก ๑๕ ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕. แมวลายหินอ่อน. ชื่อสามัญ Marble Cat ชื่อวิทยาศาสตร์ Pardofelis marmorata

emmly
Download Presentation

สัตว์ป่าสงวน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัตว์ป่าสงวน โดย นางสาวศริยา พรมศรี

  2. สัตว์ป่าสงวนหมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก ๑๕ ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕

  3. แมวลายหินอ่อน ชื่อสามัญ Marble Cat ชื่อวิทยาศาสตร์Pardofelismarmorata ลักษณะ เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 4 - 5ก.ก. อาศัยอยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลง งู นก หนู และลิงขนาดเล็ก

  4. พะยูน ชื่อสามัญDugong ชื่อวิทยาศาสตร์Dugong dugon ลักษณะ ไม่ใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ตามท้องทะเลชายฝั่ง ไม่มีครีบหลัง น้ำหนักประมาณ 300 ก.ก. อยู่รวมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะมาหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามชายฝั่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 1 ปี

  5. เก้งหม้อ ชื่อสามัญFea's Barking Deer ชื่อวิทยาศาสตร์Muntiacus feai ลักษณะ ลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา แต่สีลำตัวคล้ำกว่า หางสั้น ด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน ชอบอาศัยอยู่เดี่ยวในป่าดงดิบตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกินใบไม้ ใบหญ้าและผลไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือน

  6. นกกระเรียน ชื่อสามัญSarus Crane ชื่อวิทยาศาสตร์Grus antigone ลักษณะ เป็นนกขนาดใหญ่ที่เคยพบตามท้องทุ่งที่ชื้นแฉะ และหนอง บึง เมื่อยืนมีความสูงราว 150 ซ.ม. ออกหากินเป็นคู่และกลุ่มครอบครัว และจะจับคู่อยู่ด้วยกันตลอดชีวิต มีความผูกพันกับคู่สูงมาก ชอบกินแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ เมล็ดข้าว และหญ้าอ่อน วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง

  7. เลียงผา ชื่อสามัญSerow ชื่อวิทยาศาสตร์Capricornis sumatraensis ลักษณะ เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาจำพวกแพะ ความสูงที่ไหล่ 85 - 94 ซ.ม. หนักประมาณ 85 - 140 ก.ก. อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผา หรือถ้ำตื้น ว่องไวและปราดเปรียวมาก สามารถว่ายน้ำข้ามระหว่างเกาะ และแผ่นดินได้ มีประสาทตา หู และรับกลิ่นได้ดีมาก ชอบกินพืชต่างๆ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7 - 8 เดือน

  8. กวางผา ชื่อสามัญGoral ชื่อวิทยาศาสตร์Naemorhedus griseus ลักษณะ มีลักษณะคล้ายแพะ ความสูงที่ไหล่ 50 - 70 ซ.ม. หนักประมาณ 22 - 32 ก.ก. มีขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดตามชะง่อนผาได้อย่างว่องไว พบตามยอดเขาสูงชันจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี อาหารได้แก่ พืชตามสันเขาและหน้าผาหิน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6 - 8 เดือน มีอายุประมาณ 8 - 10 ปี

  9. ละองหรือละมั่ง ชื่อสามัญEld's Deer ชื่อวิทยาศาสตร์Cervus eldi ลักษณะ ความสูงที่ไหล่ 1.2 - 1.3 เมตร หนักประมาณ 95 - 150 ก.ก. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เล็ก ๆ ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน กินใบหญ้าใบไม้และผลไม้เป็นอาหาร ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 7-8 เดือน

  10. สมัน ชื่อสามัญSchomburgk's Deer ชื่อวิทยาศาสตร์Cervus schomburgki ลักษณะ เป็นกวางขนาดกลาง และได้ชื่อว่ามีเขาสวยงามที่สุด ความสูงที่ไหล่ 1 เมตร การแตกแขนงของเขา แขนงทั้ง 2 จะทำมุมแยกออกไปเท่ากับลำกิ่งเดิม คล้ายสุ่ม ชาวบ้านจึงเรียกว่า "กวางเขาสุ่ม" ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ และอยู่เฉพาะในทุ่งโล่ง ไม่อยู่ตามป่าทึบ เพราะเขาจะเกี่ยวพันเถาวัลย์ได้ง่าย ชอบกินยอดหญ้าอ่อน ผลไม้และใบไม้

  11. กูปรี ชื่อสามัญKouprey ชื่อวิทยาศาสตร์Bos sauveli ลักษณะ เป็นสัตว์ป่าตระกูลเดียวกับกระทิงและวัวแดง ความสูงที่ไหล่ 1.7 - 1.9 เมตร หนักประมาณ 700 - 900 ก.ก. อยู่รวมกันเป็นฝูง 2 - 20 ตัว มีนิสัยปราดเปรียว ตัวเมียจะเป็นตัวนำฝูงหากินและหลบหนีศัตรู ตัวผู้ตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นจ่าฝูง ชอบกินหญ้า ใบไม้ และดินโป ่งเป็น ครั้งคราว ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 - 10 เดือน

  12. ควายป่า ชื่อสามัญWild Water Buffalo ชื่อวิทยาศาสตร์Bubalus bubalis ลักษณะ รูปร่างปราดเปรียวและขนาดลำตัวใหญ่กว่าควายบ้าน ความสูงที่ไหล่ 1.6 - 1.9 เมตร หนักประมาณ 800 - 1,200 ก.ก. ชอบนอนแช่ปลักให้ดินโคลนพอกลำตัว เพื่อป้องกันแมลงรบกวน มีนิสัยชอบอยู่เป็นฝูง จะดุร้ายมากถ้าบาดเจ็บ กินใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องประมาณ 10 เดือน

  13. แรด ชื่อสามัญJavan Rhino ชื่อวิทยาศาสตร์Rhinoceros sondaicus ลักษณะ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ความสูงที่ไหล่ 1.60 - 1.75 เมตร น้ำหนัก 1,500 - 2,000 ก.ก. ชอบนอนในปลักโคลนตมหนองน้ำ เพื่อไม่ให้หนังแตกและถูกแมลงรบกวน มีสายตาไม่ค่อยดีนักแต่มีประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นดีมาก ชอบกินยอดไม้ ใบไม้ และผลไม้ ออกลูกครั้งล ะ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 16 เดือน มีอายุยืนประมาณ 50 ปี

  14. กระซู่ ชื่อสามัญSumatran Rhino ชื่อวิทยาศาสตร์Didermocerus sumatraensis ลักษณะ จัดเป็นแรดที่พันธุ์เล็กที่สุด ความสูงที่ไหล่ 1 - 1.4 เมตร น้ำหนัก 900 - 1,000 ก.ก. มี 2 นอ ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทในการรับกลิ่นดีมาก เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะไม่ข้าม และมักใช้หัวดันให้พ้นทางเดิน ชอบกินกิ่งไม้ ใบไม้และผลไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7 - 8 เดือน

  15. สมเสร็จ ชื่อสามัญMalayan Tapir ชื่อวิทยาศาสตร์Tapirus indicus ลักษณะ มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก ชอบออกหากินในเวลากลางคืน มักมุดหากินตามที่รกทึบ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 13 เดือน

  16. นกแต้วแล้วท้องดำ ชื่อสามัญGurney's Pitta ชื่อวิทยาศาสตร์Pitta gurneyi ลักษณะ ขนาดลำตัวยาว 21 ซ.ม. ชอบทำรังบนกอระกำและกอหวาย ซึ่งมีหนามแหลม ใกล้ลำธารเล็ก ๆ เพื่อสะดวกต่อการหาอาหาร กินไส้เดือน ตัวอ่อนด้วง ปลวก จิ้งหรีด ตั๊กแตน หอยทาก และกบ เมื่อตกใจหรือมีอันตรายจะร้อง "แต้ว...แต้ว..." เพื่อเป็นสัญญาณเตือนนก ตัวอื่น วางไข่คราวละ 3 - 4 ฟอง

  17. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ชื่อสามัญWhite-eyed River-Martin ชื่อวิทยาศาสตร์Pseudochelidon sirintarae ลักษณะ นกนางแอ่นชนิดลำตัวยาว 15 ซ.ม. พบครั้งแรกในประเทศไทย ปี 2511 ในบริเวณ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จะเกาะนอนอยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ตามใบอ้อ และ ใบสนุ่น โฉบจับแมลงเป็นอาหาร

  18. สวัสดี...

More Related