1 / 36

กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ กับบทบาทของ IBC

กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ กับบทบาทของ IBC. ภัทรินทร์ แสงให้สุข สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบันภูมิภาค ประจำปี 2551 : ครั้งที่ 2 ภูมิภาคเหนือ โรงแรม ดิ เอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ 22 กันยายน 2551.

elinor
Download Presentation

กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ กับบทบาทของ IBC

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพกับบทบาทของ IBC ภัทรินทร์ แสงให้สุข สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบันภูมิภาคประจำปี 2551: ครั้งที่ 2 ภูมิภาคเหนือ โรงแรม ดิ เอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ 22 กันยายน 2551

  2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ • เหตุผลและหลักการตามร่าง พรบ. • ข้อกำหนดทั่วไป (คำจำกัดความขอบเขต) • การควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (การนำเข้า ส่งออก การใช้ในสภาพควบคุม การทดลองภาคสนาม การปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม การจำหน่าย การขนส่ง เคลื่อนย้าย) • ข้อกำหนดสนับสนุน (ความรับผิดและการชดใช้ความเสียหาย) • คณะกรรรมการและหน่วยงานรับผิดชอบ • บทบาทของ IBC

  3. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ • มีกฎหมายเพื่อการควบคุม และดูแลการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งอาจมาจากต่างประเทศหรือภายในประเทศได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม • มีขั้นตอนการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับการดำเนินงานในระดับสากล • อนุวัตการพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ

  4. หลักการตามร่างพระราชบัญญัติฯหลักการตามร่างพระราชบัญญัติฯ • การยินยอมโดยการแจ้งล่วงหน้า (Advance informed consent) • การพิจารณาให้อนุญาตเป็นกรณีและเป็นขั้นตอน (Case-by-case and step-by-step approach) • ความเข้มงวดในการควบคุมตามระดับความเสี่ยง (Risk-based regulation) • หลักการระมัดระวังไว้ก่อน (Precautionary principle) • การพิจารณาปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม (Socioeconomic and cultural considerations)

  5. หลักการตามร่างพระราชบัญญัติฯ (ต่อ) • การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับทราบและให้ความเห็น (Public participation and opinion) • หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (Science-based basis) • การดูแลทั้งสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Human health care and environment protection) • ความรับผิดและการชดใช้ความเสียหาย (Liability and redress) ตามหลักการพิสูจน์ความเสียหายเฉพาะในส่วนผู้เสียหาย

  6. องค์ประกอบ(9 หมวด 109 มาตรา) • ข้อกำหนดทั่วไป(หลักการและเหตุผล ขอบเขต คำจำกัดความคณะกรรมการและหน่วยงานผู้รับผิดชอบ) • ข้อกำหนดที่ใช้ในการดำเนินการ(การนำเข้า ส่งออก การใช้ การจำหน่าย การดูแล ขนส่ง เหตุฉุกเฉิน การมีส่วนร่วมของประชาชน) • ข้อกำหนดเสริมและสนับสนุน(กองทุน พนักงานเจ้าหน้าที่ การอุทธรณ์ ความรับผิดและการชดใช้ความเสียหาย บทกำหนดโทษ)

  7. คำจำกัดความ • ส่วนใหญ่ใช้คำจำกัดความตามพิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ เช่น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ การใช้ในสภาพควบคุม การปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมอย่างจงใจ • ใช้คำนิยามบางคำให้สอดคล้องกับในพระราชบัญญัติของประเทศไทยอื่น เช่น การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน การจำหน่าย และฉลาก • มีการนิยามคำใหม่บางคำเพื่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น การประเมินความเสี่ยง

  8. ขอบเขต • ครอบคลุมการควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมทุกกิจกรรม ยกเว้นเภสัชภัณฑ์สำหรับมนุษย์และสัตว์ • ความปลอดภัยทางชีวภาพในขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับ LMOs เท่านั้น ไม่รวมไปถึงการคุกคามจากสาเหตุอื่น • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ

  9. การควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมการควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

  10. การนำเข้า ส่งออก และนำผ่าน • ห้ามนำเข้าหรือส่งออก LMOs เว้นแต่จะได้รับอนุญาต • การนำเข้า: ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ LMOs (อาจให้จัดทำ รายงานการประเมินความเสี่ยง) • การส่งออก: ต้องทำตามขั้นตอนการแจ้งล่วงหน้าและได้รับ การยินยอมจากประเทศผู้นำเข้า • การนำผ่าน: ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ LMOs

  11. การใช้ในสภาพควบคุม • ระบุลักษณะต่างๆของการดำเนินงานที่จัดเป็นสภาพควบคุมไว้ชัดเจนในคำนิยาม • แบ่งการใช้ตามระดับความเสี่ยง • ประเภทที่ 1, 2 และ 3: ให้แจ้งการขอใช้/รายงานการใช้ • ประเภทที่ 4(อันตรายร้ายแรง/ขัดต่อศีลธรรม) : ห้ามการใช้ • หน่วยงานผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งห้ามการใช้ หากมีข้อมูลหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในภายหลังที่บ่งชี้ว่าการใช้อาจก่อให้เกิดอันตราย

  12. การใช้ในการทดลองภาคสนามสภาพจำกัดการใช้ในการทดลองภาคสนามสภาพจำกัด • ห้ามใช้ในการทดลองภาคสนามสภาพจำกัด เว้นแต่จะได้รับอนุญาต • ผู้ขออนุญาตจะต้องจัดทำแผนการทดลอง(แผนการป้องกันต่างๆ มาตรการควบคุมและลดความเสี่ยงตามแผนดังกล่าว) • หน่วยงานผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งห้ามการใช้หากมีข้อมูลหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในภายหลังที่บ่งชี้ว่าการใช้อาจก่อให้เกิดอันตราย

  13. การปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม • ห้ามปลดปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมสู่สิ่งแวดล้อมโดยเจตนา เว้นแต่จะได้รับอนุญาต • กำหนดให้ดำเนินการในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต • จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงประกอบมาพร้อมการขออนุญาต (การใช้การศึกษาในต่างประเทศ ขึ้นกับดุลยพินิจ) • ต้องพิจารณาผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และการคุ้มครองสิทธิของชุมชน • มีการกำหนดเขตอนุรักษ์ ห้ามการปลดปล่อยโดยเด็ดขาดและกำหนดเขตอนุญาตให้ปลดปล่อยได้เท่านั้น ใช้หลักการการอยู่ร่วมกัน

  14. การจำหน่ายเพื่อเป็นอาหาร หรืออาหารสัตว์และการใช้ในกระบวนการผลิต • ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายเว้นแต่จะได้รับอนุญาต • จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงประกอบมาพร้อมการขออนุญาต (การใช้การศึกษาในต่างประเทศ ขึ้นกับดุลยพินิจ) • ต้องจัดให้มีฉลากที่มีข้อมูลชัดเจนและเพียงพอต่อผู้บริโภคเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว

  15. การดูแล ขนส่ง เคลื่อนย้าย นำผ่าน เก็บรักษา บรรจุหีบห่อ และจำแนกระบุ • ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องดูแลขนส่ง เคลื่อนย้าย เก็บรักษา บรรจุหีบห่อ และจำแนกระบุด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และปลอดภัย • ต้องจำแนกระบุสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมขณะที่อยู่ในความครอบครองได้ (ฉลาก เอกสารกำกับ หรือ หลักฐานอื่น เพื่อแสดงแหล่งที่มาและการสืบค้นย้อนกลับ)

  16. การปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่เจตนา และกรณีฉุกเฉิน • ผู้แจ้งหรือผู้ขออนุญาตต้องจัดทำแนวทางและขั้นตอนปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน • เป็นการเตรียมการป้องกันล่วงหน้าหากเกิดกรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุขึ้น และการให้ความร่วมมือรวมถึงการให้ข้อมูลที่จำเป็นกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบเพื่อแก้ไข บรรเทาหรือระงับเหตุ

  17. การควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมการควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

  18. ข้อกำหนดสนับสนุนอื่นๆข้อกำหนดสนับสนุนอื่นๆ • กองทุนความปลอดภัยทางชีวภาพ • การมีส่วนร่วมของประชาชนและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร • พนักงานเจ้าหน้าที่ • การอุทธรณ์ • ความรับผิดและการชดใช้ควมเสียหาย

  19. ความรับผิดและการชดใช้ความเสียหายความรับผิดและการชดใช้ความเสียหาย • ระบุลักษณะความเสียหาย ผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย • หน่วยงานผู้รับผิดชอบประเมินค่าความเสียหายจากค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู การเยียวยา การดำเนินงานตามมาตรการแก้ไข/ป้องกัน • กำหนดกรณียกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดและชดใช้ความเสียหาย • สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายสิ้นสุดลงเมื่อพ้น 10 ปี

  20. การควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมการควบคุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

  21. คณะกรรมการและหน่วยงานผู้รับผิดชอบคณะกรรมการและหน่วยงานผู้รับผิดชอบ • มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างดุลยภาพในการตัดสินใจใดๆ รักษาความเป็นกลางและให้คำแนะนำแก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบต่างๆ โดยมีสำนักความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสำนักงานเลขานุการ • รัฐมนตรีโดยการแนะนำของคณะกรรมการฯและการยินยอมของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ สามารถประกาศหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ มีอำนาจในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้

  22. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพฯ กับ IBC มาตรา 14 (9) อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ “แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้และช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ประกอบด้วย....คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน...”

  23. บทบาทการดำเนินงานของIBCบทบาทการดำเนินงานของIBC • ควบคุมดูแลกิจกรรมการวิจัยพัฒนาและ/หรือการสอนของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ ที่เหมาะสมทางวิชาการและสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศ • ตรวจประเมิน ให้ความเห็นและอนุมัติเบื้องต้น เกี่ยวกับการขออนุญาตดำเนินงานโครงการวิจัยที่ใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมของนักวิจัยสังกัดสถาบัน ก่อนส่งให้หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงของรัฐ

  24. บทบาทการดำเนินงานของIBC(ต่อ)บทบาทการดำเนินงานของIBC(ต่อ) • พัฒนามาตรฐาน เกณฑ์ปฏิบัติ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพให้สอดคล้องกับที่ใช้และเห็นชอบโดยคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ • จัดทำทะเบียน เก็บรวบรวมข้อมูลของกิจกรรม โครงการและบุคลากรของสถาบันที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงและรายงานที่ถูกต้อง เชื่อถือได้

  25. บทบาทการดำเนินงานของIBC(ต่อ)บทบาทการดำเนินงานของIBC(ต่อ) • ติดตาม เฝ้าระวัง และตรวจสอบ กิจกรรม สถานที่ ห้องปฏิบัติการ พื้นที่ ที่สถาบันใช้เพื่อดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง • จัดทำรายงานสรุปการดำเนินงานและรายงานกรณีฉุกเฉินเสนอต่อคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติหรือหน่วยงานรับผิดชอบ

  26. บทบาทการดำเนินงานของIBC(ต่อ)บทบาทการดำเนินงานของIBC(ต่อ) • ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือนักวิจัยของสถาบันในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีสมัยใหม่ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคทั้งด้านวิชาการและบริหารจัดการ • จัดทำและดำเนินงานแผนฉุกเฉินของสถาบัน ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ การปนเปื้อนโดยไม่เจตนา • สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอย่างปลอดภัยต่อสาธารณชน ฯลฯ

  27. กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความปลอดภัยทางชีวภาพกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความปลอดภัยทางชีวภาพ http:// bch-thai.onep.go.th/ สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

More Related