1 / 50

‘Train the Trainers’ Workshop

‘Train the Trainers’ Workshop. วัตถุประสงค์. เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับ โครงการการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ เว็บไซต์และแหล่งการเรียนรู้ การเข้าถึงและใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรัชญาด้านการศึกษาและแนวทางการปฏิบัติ

elijah
Download Presentation

‘Train the Trainers’ Workshop

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ‘Train the Trainers’ Workshop

  2. วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับ • โครงการการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ เว็บไซต์และแหล่งการเรียนรู้ • การเข้าถึงและใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ • ปรัชญาด้านการศึกษาและแนวทางการปฏิบัติ • หน่วยการเรียนรู้ 3 หน่วยและการศึกษารายละเอียด • การพัฒนาทีมที่มีประสิทธิภาพและสามารถส่งเสริมการพัฒนาครู โดยการสะท้อนผ่านเพื่อนร่วมงาน การโค้ช การให้คำแนะนำ และการทำ Action Research • การฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือ การติดตามและการรายงานผล

  3. กำหนดการ • วันที่ 1 นำเสนอเกี่ยวกับ • นำเสนอเกี่ยวกับโครงการการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ เว็บไซต์และแหล่งการเรียนรู้ • 5E learning cycle • การสืบเสาะค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ • การเตรียมตัวสำหรับการสอนด้วยหน่วยการเรียนรู้ • การศึกษารายละเอียดหน่วย นิทรรศการเซลล์ (Cell Expo) • วันที่ 2 • การศึกษารายละเอียดหน่วย Healthy Soda Unit • การศึกษารายละเอียดหน่วย (คนล่าฝน) Rain Maker Unit

  4. กำหนดการ • วันที่3 • การเตรียมตัวของผู้สอนในการใช้หน่วยการเรียนรู้ • การสร้างทีมงาน • การสะท้อนผ่านเพื่อนร่วมงาน กลุ่มครูผู้ทำวิจัย Action Research Monitoringand coaching • บทบาทของศึกษานิเทศก์ • Supporting, Monitoring, Reporting, Planning

  5. เป้าหมายของ วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ Inspiring Science • เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนาหลักสูตรรวมทั้งสื่อการเรียนการสอน • เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับระดับชั้นมัธยมปีที่ 1-3 เพื่อสารมารถนำไปจัดการเรียนรู้ ที่เน้น • การจัดการเรียนการสอนที่ใช้บริบทเป็นฐาน (Context-based teaching and learning) • การจัดการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน (Inquiry-based teaching and learning) • การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง • วัฎจักรการเรียนรู้แบบ 5 E ของ สสวท. • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ • การสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษ

  6. เป้าหมายของ วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ Inspiring Science • การขยายผลทั่วประเทศผ่านทาง • เว็บไชต์Inspiring Science • รายการโทรทัศน์ครู (Teachers TV ) • การฝึกอบรมระดับภูมิภาค • การนิเทศติดตามระดับภูมิภาค • การสร้างเครือข่ายวิจัยเชิงปฏิบัติการในโรงเรียน • การสะท้อนผ่านเพื่อนร่วมงาน • coaching and mentoring

  7. เว็บไชต์Inspiring Science • สื่อการเรียนรู้ที่แบ่งตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และระดับชั้น ม.1-3 • รายละเอียดและคำอธิบายหน่วยการเรียนรู้ และหลักสูตรการเรียนการสอน • รายละเอียดและคำอธิบายของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ (learning episode) • รูปแบบสื่อการเรียนรู้และการดาวน์โหลด • www.inspiringscience.obec.go.th

  8. องค์ประกอบของหน่วยการจัดการเรียนรู้องค์ประกอบของหน่วยการจัดการเรียนรู้ • ใช้บริบทเดียวกันตลอดหน่วยการเรียนรู้ • แต่ละหน่วยประกอบด้วย 3-4 แผนการจัดการเรียนรู้ • เน้นการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • มีกิจกรรม • การสอบ Quiz

  9. สื่อการเรียนการสอน Inspiring Science สื่อการเรียนการสอน Inspiring Science แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย • การนำเสนอของครู • PowerPoints เพื่อช่วยให้ครูได้สอนตามวัฎจักร 5E รวมทั้งบริบทในแต่ละขั้น • คลิปวิดีโอ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องราว บริบท เพื่อนำเข้าสู่แนวคิดและทักษะที่จะสอน • คู่มือครู • การนำเข้าสู่บริบทการเรียนการสอน • รายละเอียดของหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหมดของแผนการจัดการเรียนรู้ • แนวทางการวัดผลเรียนรู้ • แนวทางการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้ 5 E ในแต่ละขั้นตอน • แนวทางการเตรียมการสอน • ใบกิจกรรมสำหรับนักเรียน • วิดีโอการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ (เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพครู อย่างต่อเนื่อง)

  10. วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จะใช้วัฏจักร 5 E ตามขั้นตอนต่อไปนี้ • ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) • ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) • ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) • ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) • ขั้นประเมิน (Evaluation)

  11. การใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E • ดูคลิปวิดีโอการเรียนการสอนของครูที่ใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E ในชั้นเรียน • อภิปรายตามคำถามต่อไปนี้ • ครูสร้างความสนใจให้นักเรียนอย่างไร ? • ครูทำอย่างไรในการศึกษา(หรือ ดึง ‘Elicit’) แนวคิดของผู้เรียนออกมา (*เพื่อเข้าใจในความรู้เดิมของผู้เรียน - ผู้แปล) • ผู้เรียนสำรวจและค้นหาหน้าที่ของปอดได้อย่างไร • ครูช่วยนักเรียนในการอธิบายผลการสำรวจและค้นหาได้อย่างไร • ครูขยายแนวคิดของผู้เรียนได้อย่างไร • ครูประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างไร

  12. การสร้างความสนใจ • การนำเข้าสู่บริบทintroduces the context • การจัดเตรียมเรื่องราวหรือสถานการณ์สำหรับการเรียนรู้นั้น ๆ • การทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและมีความสอดคล้อง • สร้างความสงสัยใคร่รู้ในแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังจะเรียน • ช่วยในการหาความรู้เดิมและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียน • ช่วยให้ครูรู้ว่าควรจะสอนอย่างไร/ระดับใด จึงจะสามารถพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียน

  13. การสำรวจและค้นหา • เป็นขั้นที่สำคัญที่สุด • ผู้เรียนสร้างความเข้าใจจากประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ • เริ่มด้วยการตอบคำถามปัญหาสำคัญ ซึ่งอาจทำได้โดย • การทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกต้องการความรู้ใหม่เพิ่มเติม • การออกแบบการทดลองเพื่อสืบเสาะค้นคว้าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ลึกลับน่าค้นหา • การค้นหาแบบรูปหรือความสม่ำเสมอของปรากฏการณ์ • การค้นหาแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา • ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นพบทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตนเอง สามารถช่วยผู้เรียนได้ต่อดังนี้ • การให้คำแนะนำ • การให้ข้อมูลที่สำคัญและเทคนิคที่ช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน • สิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้เรียนต้องมีแนวคิดเป็นของตัวเอง • ผู้เรียนต้องสามารถสร้างความเข้าใจจากแนวคิดหรือความรู้เดิมของตนเอง

  14. การอธิบายและลงข้อสรุปการอธิบายและลงข้อสรุป • ครูมีบทบาทสำคัญในขั้นนี้ โดยการที่เด็กจะทำความเข้าใจได้ได้มากเท่าที่ทำได้ มักจะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างเป็นระบบของ • คำศัพท์เฉพาะทาง • คำนิยาม • แบบจำลอง • การเปรียบเทียบ • ครูควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างคำอธิบายโดยการสะท้อนความคิดผ่านการค้นพบในขั้นสำรวจและค้นหา • ครูสามารถวนซ้ำขั้นสำรวจและค้นหาได้หลายครั้ง หากจำเป็น : Explore → Explain → Explore → Explain

  15. ขั้นขยายความรู้ • ขยายความเข้าใจให้ลุ่มลึกและครอบคลุมจากการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ • ใช้ปัญหาหรือคำถามเพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญได้จริงในทางปฏิบัติ • ต้องมีการคิดเตรียมการว่าจะประยุกต์นำแนวคิดสำคัญไปใช้ ซึ่งจะทำให้การสอนขั้นนี้ง่ายขึ้น

  16. การประเมิน • การวัดผล • ควรมีการประเมินในทุกขั้นของ 5 E เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนในการทำความเข้าใจ – การประเมินแบบ Formative • การประเมินเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้เพื่อประเมินว่าสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของหน่วยหรือไม่ เป็นการประเมินแบบ Summative – เพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียน

  17. กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • ตั้งคำถาม • ระบุตัวแปร • ระบุตัวแปรอิสระ • การตั้งสมมติฐาน • การวางแผน • การดำเนินงาน • การวัด • การบันทึกข้อมูล • การวิเคราะห์และตีความหลักฐาน • การลงข้อสรุป • การประเมินหลักฐาน • การสื่อสาร

  18. การช่วยเหลือนักเรียนตลอดกระบวนการการช่วยเหลือนักเรียนตลอดกระบวนการ • คำถามที่ช่วยนักเรียนในการสืบเสาะหาความรู้ • ใบกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้ทั้ง แบบปิด (Closed) และแบบเปิด (open ended)แล้วแต่กรณี

  19. เคล็ดลับความสำเร็จ • พัฒนาทักษะกระบวนการจากนั้นจึงนำไปใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • ใช้การสืบเสาะหาความรู้แบบปิดในตอนเริ่มต้น โดยการตอบคำถามใน “คำถามที่ช่วยนักเรียนในการสืบเสาะหาความรู้ (Enabling Question)” จากนั้นจึงค่อยปรับพัฒนาให้เป็นการสืบเสาะหาความรู้แบบเปิดมากขึ้น • เริ่มต้นการเน้นแนวคิดของ Fair Test (การทดสอบที่ยุติธรรม)เช่น การเปลี่ยนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ตัวแปรต้น) ควบคุมทุกสิ่งให้เหมือนกัน (ตัวแปรควบคุม) และการวัดอะไรบางอย่าง (ตัวแปรตาม) • กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้นและการควบคุมตัวแปรควบคุมอย่างชัดเจน เป็นระบบ • กระตุ้นให้ผู้เรียนวางแผนเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (มีความเที่ยง)

  20. การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้ • เลือกหน่วยการเรียนรู้จากเว็บไซต์ • อ่านบทสรุปของแต่ละหน่วยการเรียนรู้และแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • ดาวน์โหลดและพิมพ์คู่มือครู PowerPoint ใบกิจกรรมนักเรียน และคลิปวิดีโอ สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 • ดูคลิปวิดีโอสำหรับการพัฒนาวิชาชีพครูแบบต่อเนื่อง (Continuing Professional development, CPD) ซึ่งเป็นการคลิปวิดีโอการเรียนการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ Inspiring Science ในชั้นเรียน • อ่านบทนำในคู่มือครู • อ่านคู่มือหลักสูตร

  21. การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้ • ศึกษาคำแนะนำของแต่ละขั้นของ 5 E เปรียบเทียบกับภาพนิ่ง ใน PowerPoint ดูคลิปวิดีโอ และศึกษาใบกิจกรรม เพื่อให้รู้ลำดับ และขั้นตอนในการเรียนการสอน • ดำเนินกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน • คิดคำถามเพิ่มเติม รวมถึงจังหวะและโอกาสที่จะใช้ • คิดถึงการส่งเสริมหรือช่วยเหลือเพิ่มเติมที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน • คำนึงถึงเวลาที่จะใช้ในกิจกรรมนอกเวลา

  22. Review: นิทรรศการเซลล์ • อ่านหัวข้อการเตรียมการใช้หน่วยการเรียนรู้ ศึกษาแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • อภิปรายกลุ่มถึงความคาดหวังที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ การจัดการเวลา คำถามเพิ่มเติม ความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับนักเรียน รวมถึงการนำไปฝึกอบรม เพื่อให้แน่ใจว่าการนำไปใช้จะประสบผลสำเร็จ • นึกถึงสิ่งที่ต้องการจะท้าทายผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิด • อภิปรายความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ • เตรียมข้อคิดเห็น/ข้อมูลย้อนกลับ • มีข้อสงสัยที่ต้องการถามหรือไม่

  23. Review : Thai Soda • อ่านหัวข้อการเตรียมการใช้หน่วยการเรียนรู้ ศึกษาแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • อภิปรายกลุ่มถึงความคาดหวังที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ การจัดการเวลา คำถามเพิ่มเติม ความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับนักเรียน รวมถึงการนำไปฝึกอบรม เพื่อให้แน่ใจว่าการนำไปใช้จะประสบผลสำเร็จ • นึกถึงสิ่งที่ต้องการจะท้าทายผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิด • อภิปรายความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ • เตรียมข้อคิดเห็น/ข้อมูลย้อนกลับ • มีข้อสงสัยที่ต้องการถามหรือไม่

  24. Review:คนล่าฝน (Rain Maker) • อ่านหัวข้อการเตรียมการใช้หน่วยการเรียนรู้ ศึกษาแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • อภิปรายกลุ่มถึงความคาดหวังที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ การจัดการเวลา คำถามเพิ่มเติม ความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับนักเรียน รวมถึงการนำไปฝึกอบรม เพื่อให้แน่ใจว่าการนำไปใช้จะประสบผลสำเร็จ • นึกถึงสิ่งที่ต้องการจะท้าทายผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิด • อภิปรายความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ • เตรียมข้อคิดเห็น/ข้อมูลย้อนกลับ • มีข้อสงสัยที่ต้องการถามหรือไม่

  25. หน่วยอื่น ๆ • Chaing Mai Rally • Fisherman’s Friend • Orchid Culture • Eco-home • Flood News • Astro Camp

  26. การเตรียมตัวครูผู้สอนในการใช้หลักสูตร Inspiring Science • เตรียมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูวิทยาศาสตร์ชั้น ม.1-3 จาก 10 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาของท่าน • ในการอบรมเชิงปฏิบัติการนำเสนอหัวข้อต่อไปนี้ • หลักสูตร Inspiring Science • เว็บไซต์ Inspiring Science สื่อ และแหล่งการเรียนการสอน • วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E และการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • สร้างกลุ่มครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน • ศึกษารายละเอียดของหน่วยการเรียนรู้ทั้ง 3 หน่วย • การสะท้อนความเข้าใจของแต่ละบุคคล • การนิเทศแบบ Coaching (การสอนแนะ, การสอนงาน) • การวางแผนปฏิบัติการทำงานของกลุ่ม

  27. การสร้างกลุ่ม • สร้างกลุ่มครูผู้สอนวิทยาศาสตร์โดยมีสมาชิกกลุ่มละ 4 คน • ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ แต่ละกลุ่มศึกษาหน่วยการเรียนรู้ร่วมกันและวางแผนเพื่อเตรียมตัวในการใช้หน่วยการเรียนรู้ทั้งระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการและเมื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน • จับคู่ครู 2 คนเพื่อให้เป็นผู้รับฟังและแลกเปลี่ยนการสะท้อนความคิด • จากกลุ่ม 4 คน กำหนดการสอนแนะแบบจัตุรัส (coaching square) • แต่ละกลุ่มของแต่ละโรงเรียนรวมเป็นกลุ่มสังคมของผู้วิจัยเชิงปฏิบัติการ • ใช้กรอบแนวคิดที่เรียกว่า “reality hexagon” ช่วยในการสะท้อนถึงสภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดปรัชญาและรูปแบบหลักการของหลักสูตร Inspiring Science รวมไปถึงเพื่อช่วยในการกำหนดจุดเน้นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

  28. The Reality Hexagon • การสร้างความสนใจ • การสำรวจและค้นหา • การอธิบายและลงข้อสรุป • การขยายความรู้ • การประเมิน • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ OR • การเรียนการสอนที่ใช้บริบทเป็นฐาน • วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • การเรียนการสอนที่ใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ • การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  29. การจับคู่สะท้อนความคิดการจับคู่สะท้อนความคิด • ครูในแต่ละทีมจับคู่เพื่อเป็นคู่สะท้อนความคิด • คู่สะท้อนความคิดสังเกตชั้นเรียนทุกเดือน (สังเกตให้ครบทั้งแผนการจัดการเรียนรู้) ในการสังเกตชั้นเรียนใช้คำถามต่อไปนี้ในแต่ละขั้นของ 5E • ผู้เรียนเรียนเข้าใจหรือไม่ว่าต้องทำอะไร • ผู้เรียนได้ทำตามที่คาดหวังหรือไม่ • การช่วยเหลือของครูเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพอย่างไร • ประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่มของผู้เรียนเป็นอย่างไร • บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้หรือไม่ • ครูสอนในบริบท (บริบทของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้) หรือไม่ • ครูกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนการสอนที่ใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นฐานหรือไม่ • นักเรียนได้พัฒนาความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หรือไม่

  30. การจับคู่สะท้อนความคิด (ต่อ) • หลังจากการสังเกตชั้นเรียน คู่สะท้อนความคิดควรจะพูดคุยและให้ข้อเสนอแนะ โดยใช้คำถามต่อไปนี้ • การสอนบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ • คุณคิดว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับบทเรียนนี้ • สิ่งใดที่ดำเนินไปได้ด้วยดี • สิ่งใดที่ไม่ค่อยดีนัก • จะปรับปรุงอย่างไรในการเรียนการสอนครั้งต่อไป • มีเป้าหมายอย่างไรในครั้งต่อไป • สลับกันถามโดยใช้คำถามเดิม ควรจะบันทึกสิ่งที่สะท้อนออกมาใน logbook

  31. Coaching and mentoring • จากกลุ่ม 4 คน สร้างการสอนแนะแบบจัตุรัส ให้แน่ใจว่า ผู้ถูกสอนแนะไม่ได้ coach ผู้ที่สอนแนะตนเอง • สอนแนะเดือนละครั้ง

  32. กระบวนการสอนแนะ • Preparation • Engage • Enrol • Review • Agree outcomes • Coach • Wrap up

  33. Preparation • ศึกษาบันทึกการประชุมครั้งที่ผ่านมา • สิ่งที่ได้พูดคุยไป • การดำเนินการที่เห็นพ้อง • สิ่งที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ • ตรวจสอบการวางแผนการทำงาน • ย้ำการนัดหมายการประชุม • ตรวจสอบห้องประชุมว่างพร้อมและเหมาะสมกับการประชุม • วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ • เตรียมความพร้อมของตนเอง

  34. Engage • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับการสอนแนะ • ต้องสนใจอย่างแท้จริงในผู้รับการสอนแนะ • สังเกตว่าผู้รับการสอนแนะเป็นอย่างไรในวันนี้ ดูเพื่อวัดว่าเป็นอย่างไรในช่วงเริ่มต้นของการสอนแนะ • ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับผู้รับการสอนแนะทั้งที่บ้านและที่ทำงาน • จริงใจและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตนเองต่อผู้สอนแนะ

  35. Enrol ในช่วงเริ่มต้นของการสอนแนะ • ยืนยันความพร้อมของผู้รับการสอนแนะว่าจะเข้ารับการสอนแนะ • ยืนยันเวลาที่ใช้ • ผู้รับการสอนแนะต้องการหยุดกิจกรรมเวลาใด • ผู้รับการสอนแนะมีการประชุมหรือคาบสอนต่อจากกิจกรรมการสอนแนะทันทีหรือไม่

  36. Review ทบทวนการสอนแนะครั้งที่ผ่านมากับผู้รับการสอนแนะ • ผู้รับการสอนแนะมีการพัฒนาการสอนอย่างไร • ผู้รับการสอนแนะได้เรียนรู้อะไรบ้าง นับตั้งแต่มีการพบปะครั้งที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแนะ • เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ดีขึ้น หรือแย่ลง หรือไม่ • ความต้องการของผู้รับการสอนแนะยังเหมือนเดิมหรือไม่

  37. Agree Outcomes • สิ่งใดที่ผู้รับการสอนแนะต้องการที่จะได้รับจากกิจกรรมในครั้งนี้ • สิ่งใดที่เกิดขึ้นกับผู้รับการสอนแนะซึ่งถือว่าเป็นคุณค่าที่ได้รับจากการสอนแนะ • ขอบเขตที่ต้องการในการรับการสอนแนะวันนี้ • ต้องการเริ่มต้นจากประเด็นใดก่อน

  38. Coach! • ต้องมีความสนใจใคร่รู้และให้ความสนใจ • ให้มีสิ่งที่เรียกว่า‘meta-state’ ตลอดเวลาและให้กระบวนการสอนแนะเป็นไปตามที่วางไว้ • มีความสนใจอย่างแท้จริง คอยดูว่าตนเองรู้สึกอย่างไร • พร้อมที่จะรับการสะท้อนความคิดจากผู้รับการสอนแนะ

  39. GROW • G Goal. เป็นเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งต้องชัดเจนเพียงพอ เพื่อให้รู้ว่าได้บรรลุเป้าหมายแล้ว • R Reality. สิ่งที่เป็นอยู่หรือความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย • O Options. ขั้นนี้เป็นการระบุอุปสรรคเพื่อหาวิธีการจัดการ • W Way Forward. จากขั้นที่ผ่านมาให้เปลี่ยนอุปสรรคเป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่เป้าหมาย

  40. Wrap Up • ในขั้นสุดท้ายของการสอนแนะแต่ละครั้ง ให้ตรวจสอบว่าผู้รับการสอนแนะได้บรรลุจุดประสงค์ มีความคิดริเริ่มและพร้อมที่จะเผชิญปัญหา • ทำข้อตกลงและให้คำมั่นที่จะดำเนินการต่อไป • นึกถึงคำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับการสอนแนะได้สะท้อนความคิด • เขียนบันทึกเกี่ยวกับการสอนแนะครั้งนั้นและสะท้อนความคิดของผู้สอนแนะในข้อค้นพบต่าง ๆ • อะไรที่ดำเนินไปด้วยดี • อะไรที่ดำเนินไปได้ไม่ดีนัก • จะทำอย่างไรให้แตกต่างจากเดิม

  41. Action Research Communities • แต่ละโรงเรียนสร้างกลุ่มทำงานที่เรียกว่า (ARC) • กระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสะท้อนความคิด • กระตุ้นให้ครูมีบทบาทสำคัญและเป็นผู้ตัดสินใจในรูปแบบหรือวิธีการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง (CPD) ตลอดทั้งกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ • พัฒนาความรู้และความเข้าใจในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

  42. Action Research Approaches • ครูแต่ละคนควรจะมีสมุดบันทึกที่เรียกว่า logbook เพื่อบันทึกกิจกรรม รวมทั้งร่องรอยหลักฐานต่าง ๆ เช่น • รูปถ่าย • ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียนในชั้นเรียน • บันทึกและแผนการทำงานของแต่ละคน • สามารถใช้เครื่องมือวิจัยดังต่อไปนี้ • อนุทินของผู้เรียน • การสังเกต • แบบสอบถาม • การสะท้อนจากเพื่อนร่วมงาน • การสัมภาษณ์ผู้เรียน หรือการสัมภาษณ์กลุ่ม

  43. คำถามสำหรับการเขียนอนุทินของผู้เรียนคำถามสำหรับการเขียนอนุทินของผู้เรียน • วันนี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไร • นักเรียนได้พัฒนาทักษะอะไรบ้าง • อะไรบ้างที่นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลิน • อะไรบ้างที่นักเรียนไม่เข้าใจ • มีประเด็นอื่นอะไรบ้างที่นักเรียนชอบในบทเรียนนี้ • คำถามเหล่านี้สามารถใช้เป็นคำถามในการสัมภาษณ์รายบุคคลและกลุ่มได้ด้วย

  44. แบบสอบถามสำหรับผู้เรียนแบบสอบถามสำหรับผู้เรียน

  45. วัฏจักรการวิจัยเชิงปฏิบัติการวัฏจักรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

  46. บทบาทของศึกษานิเทศก์ • จัดเตรียมและดำเนินการอบรม • สร้างกลุ่มการทำงานในโรงเรียน • ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและติดตามแต่ละโรงเรียนโดย • ติดต่อทางอีเมลล์และโทรศัพท์เดือนละครั้ง • นิเทศภาคเรียนละหนึ่งครั้ง(หากครูมีปัญหาสามารถนิเทศได้มากกว่าหนึ่งครั้งหรือนิเทศเร็วกว่ากำหนด) • จัดการพบปะในช่วงท้ายของภาคเรียนเพื่อให้ทุกโรงเรียนเข้าร่วมและนำเสนอประสบการณ์ที่ได้รับและผลที่ได้รับ • ในช่วงท้ายของปีการศึกษา จัดการนำเสนอโดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอยู่แล้ว ให้โรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการใหม่ • เขียนสรุปรายงานประจำเดือนแล้วอัพโหลดขึ้นเว็บไชต์Inspiring Science • ติดตามเพื่อให้แน่ใจว่าโรงเรียนได้อัพโหลดรายงานประจำภาคเรียนขึ้นเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว

  47. Supporting • ให้แน่ใจว่าโรงเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้ • ตอบรับจดหมายและโทรศัพท์เมื่อโรงเรียนหรือครูมีปัญหาหรือคำถาม • ติดต่อหัวหน้ากลุ่มประจำโรงเรียนทางอีเมลล์และโทรศัพท์ติดตามทุกเดือน • เยี่ยมโรงเรียนทุกภาคเรียน

  48. Reporting • แต่ละโรงเรียนเขียนรายงานสั้น ๆ ประจำแต่ละเดือน ส่งไปยังศึกษานิเทศก์ • ศึกษานิเทศก์สรุปรายงานประจำแต่ละเดือนแล้วอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ • แต่ละโรงเรียนสรุปรายงานเพื่อนำเสนอในวันที่มีการประชุมพบปะในช่วงท้ายของภาคเรียน รายงานฉบับนี้ต้องอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ด้วย

  49. Planning สิ่งที่ต้องวางแผน • หลักสูตรอบรม • การส่งอีเมลล์ประจำแต่ละเดือนของโรงเรียนและการโทรศัพท์ติดตาม • การเยี่ยมโรงเรียน • Magnifier day (การประชุมพบปะในช่วงท้ายของภาคเรียน) • Voice confident day (การประชุมพบปะในช่วงท้ายของปีการศึกษา)

  50. รายละเอียดติดต่อ : ดร.กานจุลี ปัญญาอินทร์ kanchulee@hotmail.com

More Related