1 / 20

ประวัติพัฒนาการสหกรณ์

ประวัติพัฒนาการสหกรณ์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุกูล กรยืนยงค์ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2550. เค้าโครงเนื้อหา. ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก

Download Presentation

ประวัติพัฒนาการสหกรณ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุกูล กรยืนยงค์ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2550

  2. เค้าโครงเนื้อหา • ตอนที่ 1 บทนำ • ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ • ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก • ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และสหกรณ์แปรรูปการเกษตร

  3. ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก • สมาคมของผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งเมืองรอชเดล The Rochdale Society of Equitable Pioneers • เมืองรอชเดล(Rochdale) อยู่ในมณฑลแลงคัชเชียร์ ทางเหนือของเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีอุตสาหกรรมการทอผ้า และได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ชาวเมืองรอชเดลได้ดิ้นรนต่อสู้กับความยากลำบากมาตลอด ตั้งแต่ปลาย คริสศตวรรษที่ 18 จนถึงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ปัญหาต่าง ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น และเข้าสู่จุดวิกฤตในช่วงเวลาของทศวรรษแห่งความอดอยาก หิวโหย(The Hungry Forties) คือ ทศวรรษ 1840s

  4. ก่อนหน้าที่จะมีการก่อตั้งสมาคมสหกรณ์ที่รู้จักกันดีในชื่อ สหกรณ์รอชเดล ขึ้นมานั้น ชาวเมืองรอชเดลได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เช่น สมาคมกรรมกร(Trade Union) สมาคมสงเคราะห์เพื่อน(Friendly Society) หรือขบวนการทางการเมืองอื่น ๆ เพื่อการแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ • นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์ในการตั้งร้านจำหน่ายสินค้าตามแนวความคิดของนายแพทย์คิง ถึงสองครั้ง ในเมืองนี้ แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็เป็นประสบการณ์และรากฐานทางความคิดที่สำคัญ ในเวลาต่อมา • ที่สำคัญก็คือชาวเมืองรอชเดลยังมีความเชื่อมั่นในแนวความคิดเกี่ยวกับนิคม ส หกรณ์ ตามแนวของโอเวนอยู่ และมีการนำเอาเรื่องนี้มาปรึกษาหารือกันเสมอ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ทั้งนี้เพื่อให้พวกคนงานมีโรงงานทอผ้า ที่นา บ้านพัก และโรงเรียน เป็นของชุมชนเอง สามารถจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาเองโดยไม่ต้องตกอยู่ใต้อำนาจกดขี่ของคนอื่น หรือต้องไป ทำงานเพื่อหากำไรให้แก่นายจ้างที่เป็นนายทุนหากแต่ได้ทำงานในโรงงานของตนเอง เป็นนายตนเอง

  5. คนงานเหล่านี้ทราบดีว่าพวกเขาไม่มีทุนรอน พอที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้ทันที เพราะรายได้ที่ต่ำจนไม่มีความสามารถในการออม • การนัดหยุดงานเพื่อต่อรอง ค่าแรงกับนายจ้างก็ไม่ได้ผลเพราะมีคนว่างงานที่ต้องการทำงานอยู่มาก • ทางออกเฉพาะหน้าในเวลาที่คับขันเช่นนั้น ก็คือต้องหาทางที่จะ ใช้จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้รับมาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ท่ามกลางภาวะตลาดที่สินค้ามีราคาแพงเกินจริง และคุณภาพเลวซ้ำยังปลอมปน หรือการจำยอมซื้อสินค้าจากร้านค้าที่เจ้าของโรงงานตั้งขึ้นและขายเป็นเงินเชื่อ (ให้เชื่อนาน ๆ และดอกเบี้ยแพง หรือบังคับให้ซื้อจากเงินค่าจ้างที่ได้รับ)

  6. ทางที่เป็นไปได้คือการตั้งร้านขายของของตนเองขึ้นในเบื้องต้น และขยายงานไปตามแนวทางที่กำหนดเพื่อเป็นนิคมสหกรณ์ในที่สุด • ผู้นำของรอชเดลในขณะนั้นมีอยู่หลายคน ที่มีบทบาทมากได้แก่ James Smithies และ Charles Howarth ซึ่งมีความมั่นคงในแนวความคิดทางสหกรณ์มาก และมักพยายามใช้โอกาสที่มีในการชักจูงอธิบายคนงานให้เข้าใจ และเลื่อมใสวิธีการสหกรณ์ ทั้งยังได้ร่างโครงการของรอชเดล (The Rochdale Programme)หรือLaw Firstขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานด้วย

  7. โครงการของรอชเดล(The Rochdale Programme)หรือLaw First • บอกถึงกิจกรรมที่จะทำเป็นลำดับไป เริ่มต้นจากการตั้งร้านจำหน่าย สินค้าที่จำเป็นในการอุปโภคบริโภคก่อน จากนั้นจะดำเนินการจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้สมาชิก จัดหาที่ดินทำ การเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้สมาชิกมีงานทำ สุดท้ายคือการจัดระบบการผลิต การแจกจ่าย การบริโภค หรือก็คือการเปลี่ยนวิธีการทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เวลานั้นให้เป็นวิธีการสหกรณ์ในรูปของนิคมสหกรณ์ ตามแนวของ นายแพทย์คิง และ โอเวนนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายที่จะ ส่งเสริมการงดเว้นการดื่มสุรายาเมาแก่สมาชิก โครงการนี้ได้มีการประกาศให้ทราบ ทั่วกัน ในวันเปิดร้านจำหน่ายสินค้าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1844 ด้วย

  8. เมื่อมีโครงการแน่นอนแล้ว ผู้นำรอชเดลก็เริ่มดำเนินการสะสมทุนเพื่อก่อตั้งร้านจำหน่ายสินค้า โดยเก็บสะสมจากสมาชิกคนละ2 เพนนีต่อสัปดาห์ มีเป้าหมายว่าจะให้ได้เงินทุนเบื้องต้นจากสมาชิกคนละ 4ปอนด์ แต่หลังจากเก็บสะสมอยู่ถึง 2ปี ก็ปรากฏว่ามีสมาชิกที่ร่วมโครงการนี้เพียง 28 คน และสะสมทุนได้คนละ 1 ปอนด์ เป็นเงินทุนรวม28 ปอนด์เท่านั้น (ลองเทียบกับเงินลงทุนในนิคมของโอเวน 125,000 ดอลลาร์)

  9. การประชุมใหญ่สมาชิกมีขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 1844 • จดทะเบียนเป็นสมาคม ได้ในเดือนตุลาคม 1844 • ยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้เพราะมีปัญหาเรื่องที่ตั้งร้านค้าจนกระทั่งสามารถเช่าห้องชั้นล่างของตึกเก่า ๆ ในตรอกคางคก(Toad Lane)ได้ จึงสามารถเปิดร้านจำหน่ายสินค้าได้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1844 • ในครั้งนั้นมีสินค้าจำหน่าย 5 ชนิด คือ เนยอ่อน น้ำตาล แป้ง ข้าวโอ๊ต และเทียนไข

  10. แม้การเปิดร้านจำหน่ายสินค้าของนักสหกรณ์รอชเดล จะนำมาซึ่งการเย้ยหยันจากผู้คนรอบข้าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นและอดทนของผู้นำทั้ง 28 คน ร้านค้าแห่งนั้นจึงเป็นกำเนิดของสหกรณ์แห่งแรกของโลกในสมัยปัจจุบัน ที่ยังดำรงอยู่จนทุกวันนี้ • ในระยะเวลา 3 เดือนแรกของการดำเนินงาน ร้านสหกรณ์แห่งนี้สามารถเฉลี่ยคืนตามยอดซื้อได้ถึง 3 เพนนีต่อยอดซื้อ 1 ปอนด์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นให้เห็นคุณค่าของการซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์ และอาจกล่าวได้ว่าสิ่งนี้เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของร้านสหกรณ์รอชเดล

  11. หลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดลหลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดล ซึ่งต่อมามักเรียกว่า หลักสหกรณ์รอชเดล ได้แก่ 1. การควบคุมแบบประชาธิปไตย (หนึ่งคน หนึ่งเสียง) 2. การมีเสรีภาพในการเข้าเป็นสมาชิก (สมัครใจ) 3. การจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินทุนในอัตราจำกัด 4. การเฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งการซื้อ 5. การขายสินค้าเป็นเงินสด ไม่ปลอมปน ไม่โกงตาชั่ง 6. การส่งเสริมการศึกษาในหมู่สมาชิก 7. การเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา

  12. ความก้าวหน้าของสหกรณ์รอชเดลความก้าวหน้าของสหกรณ์รอชเดล • เมื่อร้านสหกรณ์รอชเดลดำเนินงานอย่างได้ผลดี ในเวลาต่อมาก็มีร้านสหกรณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมาก และอิงกับสหกรณ์รอชเดลในฐานะที่เป็นต้นแบบ • ในปี 1850 ร้านสหกรณ์รอชเดลจึงตั้งแผนกขายส่งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ขายส่งให้สหกรณ์อื่น แต่การดำเนินงานไม่ได้ผลดีนักเพราะยังต้องซื้อสินค้าจากพ่อค้าส่งอยู่เช่นเดิม ทางที่จะได้ผลดีคือต้องมีสหกรณ์ขายส่ง เป็นสหพันธ์ของร้านสหกรณ์ แต่กว่าจะจัดให้มีสหกรณ์ ขายส่งได้อย่างถูกต้องก็ถึง ปี 1863 เพราะก่อนนั้นกฎหมายไม่เปิดโอกาสให้ทำได้ • จนถึงปี 1862 จึงมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการตั้งสหพันธ์สหกรณ์ได้ สหกรณ์ขายส่งแห่งแรกที่ตั้งขึ้นมีชื่อว่า สหกรณ์ขายส่งแห่งภาคเหนือของอังกฤษ (The North of England Co-operative Wholesale Society Ltd.) เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 1864 และในปี 1872 กได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหกรณ์ขายส่ง (The Co-operative Wholesale Society : C.W.S.) ในเวลาต่อมาไม่เพียงทำหน้าที่ขายส่งเท่านั้น แต่ยังผลิตสินค้าเองด้วยจัดว่าเป็นสหกรณ์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง

  13. จนถึงปี 1862 จึงมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการตั้งสหพันธ์สหกรณ์ได้ สหกรณ์ขายส่งแห่งแรกที่ตั้งขึ้นมีชื่อว่า สหกรณ์ขายส่งแห่ง ภาคเหนือของอังกฤษ(The North of England Co-operative Wholesale Society Ltd.)เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 1864 และใน ปี 1872 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหกรณ์ขายส่ง(The Co-operative Wholesale Society : C.W.S.) ในเวลาต่อมาไม่เพียงทำหน้าที่ขายส่งเท่านั้น แต่ยังผลิตสินค้าเองด้วยจัดว่าเป็นสหกรณ์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง

  14. สหกรณ์ขายส่ง ถือว่าเป็นสหพันธ์สหกรณ์ คือเป็นองค์การ ขั้นสูงของสหกรณ์ผู้บริโภค(มีสมาชิกเป็นร้านสหกรณ์) ซึ่งทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นบรรดาร้าน สหกรณ์ต่าง ๆ จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง สหภาพสหกรณ์ (Co-operativeUnion)ขึ้นในปี 1873 เป็นองค์การขั้นสูงที่ทำหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า ได้แก่ การเผยแพร่กิจการสหกรณ์ การปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของสหกรณ์การให้การศึกษาอบรม การกำหนดแนวนโยบายส่วนรวมสำหรับสหกรณ์สมาชิก

  15. สหกรณ์รอชเดลในปัจจุบันอยู่ที่ไหนสหกรณ์รอชเดลในปัจจุบันอยู่ที่ไหน • www.co-op.co.uk The Co-operative Group the Co-operative GroupCustomer RelationsFreepost MR9473Manchester M4 8BA • www.coop.co.ukUnited.coop United Co-operatives LimitedSandbrook ParkSandbrook WayRochdaleOL11 1RY

  16. The Rochdale Pioneers Museum • http://www.co-op.ac.uk • http://museum.co-op.ac.uk • The Rochdale Pioneers Museum was opened in April 1931 at 31 Toad Lane, Rochdale in the building where the Rochdale Equitable Pioneers Society opened their first store on 21st December 1844.

  17. ภาพในMuseum

  18. ตอนต่อไป • ตอนที่ 1 บทนำ • ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ • ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก • ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และสหกรณ์แปรรูป ทางการเกษตร

More Related