1 / 40

โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่

โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่. 21 สิงหาคม 2553. ความเป็นมา.

efrat
Download Presentation

โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ 21 สิงหาคม 2553

  2. ความเป็นมา  รมต.ศธ.(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) มีนโยบายผลักดันให้ผลิตครูหลากหลายรูปแบบ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู โดยการให้ทุนการศึกษา และประกันการมี งานทำ จึงมอบให้ คกก.วางแผนการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (ที่มี รศ.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน) จัดทำกรอบแนวคิด

  3. ความเป็นมา คกก.วางแผน ฯ จัดทำ กรอบแนวคิด“โครงการผลิตครูแนวใหม่” แล้วนำเสนอ รมต. (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) เมื่อวันที่ ๖ พ.ค.๕๒ ซึ่งมีความเห็นดังนี้ ๑. ให้ใช้ชื่อ “โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่” ๒. ผลิตครูทั้ง ๒ รูปแบบ ได้แก่ ครูหลักสูตร ๕ ปี และครูหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต (๑ ปี) ๓. เงื่อนไขการให้ทุนการศึกษา ดำเนินการใน ๒ รูปแบบ ดังนี้ ๓.๑ การให้ทุนการศึกษา และบรรจุเข้ารับราชการครูเมื่อ สำเร็จการศึกษา ดำเนินการเมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ๓.๒ บรรจุเข้ารับราชการครูเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยได้รับ สิทธิการกู้เงิน กยศ. เป็นลำดับแรก ดำเนินการได้ทันที

  4. ความเป็นมา คกก.วางแผน ฯ จัดทำ กรอบแนวคิด“โครงการผลิตครูแนวใหม่” แล้วนำเสนอ รมต. (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) เมื่อวันที่ ๖ พ.ค.๕๒ ซึ่งมีความเห็นดังนี้ (ต่อ) ๔. การให้ทุนการศึกษาควรพิจารณาให้กับ สพท.ที่ขาดแคลน ผู้สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการครู โดยคัดเลือกนักเรียน/นักศึกษาใน ภูมิลำเนาที่ขาดแคลนครูเข้ารับทุนโครงการ ๕. ทบทวนการกำหนดผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ ของ นักศึกษาทุน ที่คัดเลือก คนดี คนเก่งเข้ามาศึกษาวิชาชีพครู เปรียบเทียบกับการให้ทุนการศึกษาของโครงการอื่น ๆ ๖. มอบหมายให้คณะกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาดูแลรับผิดชอบจัดทำ “โครงการผลิตครู พันธุ์ใหม่”

  5. หลักการ 1. ผลิตครูมืออาชีพ ที่มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญทาง วิชาชีพ และมีอุดมการณ์วิชาชีพครู โดยการดึงดูดคนดี คนเก่ง เข้ามาศึกษาวิชาชีพครูด้วยหลักสูตรและ กระบวนการที่เน้นการปฏิบัติและการฝึกอบรมที่เข้มข้น จัดทำเป็นภาพรวม 2. ผลิตครูในสาขาวิชาและพื้นที่ที่เป็นความต้องการของ หน่วยงานผู้ใช้ครู (สพฐ. สอศ.) โดยมีเงื่อนไขผูกพัน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องบรรจุเข้ารับราชการครู

  6. หลักการ (ต่อ) 3. คัดเลือกสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพ เป็นสถาบันฝ่ายผลิตครูในโครงการ 4. ทุนการศึกษาและงบดำเนินการ เป็นอัตราเหมาจ่าย 4.1 หลักสูตร ป.ตรี (5 ปี) ใช้อัตราตามมติ ครม. เมื่อ 8 มิ.ย.47 1) ทุนการศึกษา อัตรา 69,000บาท/คน/ปี 2) งบดำเนินการ อัตรา 15,000บาท/คน/ปี 4.2 หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตร 1 ปี) 1) ทุนการศึกษา อัตรา 103,500บาท/คน/ปี 2) งบดำเนินการ อัตรา 22,500บาท/คน/ปี

  7. หลักการ (ต่อ) 5. ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่เริ่มรับ นศ.รุ่นแรกจน นศ.รุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษา 6. อัตราที่จะบรรจุนักศึกษาเป็นอัตราเกษียณอายุราชการ ของข้าราชการครูที่ได้รับคืนให้แก่ ศธ. ในอัตราเกษียณ ร้อยละ100 7. การกำหนดเป้าหมายในแต่ละปี มีการปรับได้ตาม สถานการณ์ความต้องการ โดยยังคงจำนวนเป้าหมายรวม ตลอดโครงการไว้เท่าเดิม

  8. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อผลิตครูในสาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลนและจำเป็น ต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ของ ศธ. 2. เพื่อผลิตครูมืออาชีพ ที่มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และมีอุดมการณ์ในวิชาชีพครู ด้วยหลักสูตร และกระบวนการที่เน้นการปฏิบัติและ การฝึกอบรมที่เข้มข้น

  9. ข้อตกลงเบื้องต้น 1. ม/ส ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ เป็น ม/ส ที่มีการจัดการเรียน การสอนสาขาวิชาชีพครูในสาขาวิชาที่โครงการ ฯ กำหนด และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกสถาบัน ฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ และ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ร่วม ดำเนินการ โดยพิจารณาผลการประเมินของ สมศ. ความพร้อมของ ม/ส ศักยภาพของการผลิตบัณฑิตครู หลักสูตรระดับปริญญาตรี (5 ปี) และ/หรือหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู (1 ปี)

  10. ข้อตกลงเบื้องต้น 2. การคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการเป็นไปตาม มาตรฐานของโครงการ ฯ ที่กำหนดหรือตามที่ คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุน โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่กำหนด 3. ผู้รับทุนจะต้องเลือกเข้าศึกษาในสาขาวิชาและสถาบัน อุดมศึกษาที่โครงการ ฯ กำหนด 4.สกอ. จัดทำคำของบประมาณสำหรับ นศ.ชั้นปีที่ 1และ ม/สที่เป็นสถาบันผลิตครูแต่ละแห่ง จัดทำคำของบประมาณ ตามจำนวน นศ. ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2จนสำเร็จการศึกษา

  11. รูปแบบการผลิตครู 1. หลักสูตรที่ใช้ มี 2 หลักสูตร ได้แก่ 1.1 หลักสูตรระดับปริญญาตรี (5 ปี) 1.2 หลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู (1 ปี) 2. สาขาวิชาที่จะผลิตแบ่งเป็น 2.1 ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.2 ครูอาชีวศึกษา

  12. ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยครูการศึกษาปฐมวัย/อนุบาล ครูประถมศึกษา และครูมัธยมศึกษา ในกลุ่มสาระวิชา 1. คณิตศาสตร์ 2 . วิทยาศาสตร์ 3. ภาษาต่างประเทศ 4. ภาษาไทย 5. สังคมศึกษา 6. ศิลปะ 7. พลศึกษาและสุขศึกษา 8. สาขาวิชาด้านการอาชีพและเทคโนโลยี 9. อื่น ๆ ได้แก่ การศึกษาพิเศษ สาขาด้านการพัฒนา ผู้เรียน เช่น จิตวิทยาการให้คำปรึกษาและการแนะแนว เป็นต้น

  13. ครูอาชีวศึกษา ผลิตตามความต้องการของ สอศ.

  14. รูปแบบการผลิตครู (ต่อ) 3. เงื่อนไขการผูกพันมี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1ให้ทุนการศึกษาระหว่างเรียนและประกันการมีงานทำ เมื่อสำเร็จการศึกษา โดยบรรจุเข้ารับราชการครูในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. หรือ สอศ. นศ.ที่รับทุนในรูปแบบนี้ ได้แก่ นศ.ที่มีภูมิลำเนา ในพื้นที่เขตเฉพาะกิจได้แก่ พื้นที่ที่มีความขาดแคลนครูมาก พื้นที่ชายขอบจังหวัด พื้นที่ในเขตเฉพาะกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น เพื่อลดปัญหาการขาดแคนครูในพื้นที่ที่ไม่มีใครประสงค์ไป เป็นครู และแก้ปัญหาการโยกย้ายภายหลังการบรรจุเข้ารับราชการ

  15. รูปแบบการผลิตครู (ต่อ) 3. เงื่อนไขการผูกพัน (ต่อ) รูปแบบที่ 1 ให้ทุนการศึกษาระหว่างเรียนและประกันการมีงานทำ แบ่งการผลิตเป็นดังนี้  คัดเลือก นร.ที่จบชั้น ม.ปลาย ที่มีจิตวิญญาณ ความเป็นครู ความประพฤติดี และมีผลการเรียนดี เข้าศึกษา วิชาชีพครูด้วยหลักสูตร ป.ตรี (5 ปี)  คัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู ความประพฤติดี และมีผลการเรียนดี เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (1 ปี)

  16. รูปแบบการผลิตครู (ต่อ) 3. เงื่อนไขการผูกพันมี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 2ประกันการมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยบรรจุเข้ารับราชการครูในสถานศึกษาที่ขาดแคลนครู ในสังกัด สพฐ. หรือ สอศ. ตามภูมิลำเนาของนักศึกษา และระหว่างเรียนได้รับการพิจารณาสิทธิ์การกู้ยืม (กยศ.) เป็นลำดับต้นจำแนกเป็น

  17. รูปแบบการผลิตครู (ต่อ) 3. เงื่อนไขการผูกพัน (ต่อ) รูปแบบที่ 2 ประกันการมีงานทำ แบ่งการผลิตเป็นดังนี้  คัดเลือก นร.ที่จบชั้น ม.ปลาย ที่มีจิตวิญญาณ ความเป็นครู ความประพฤติดี และมีผลการเรียนดี เข้าศึกษา วิชาชีพครูด้วยหลักสูตร ป.ตรี (5 ปี)  คัดเลือก นศ.หลักสูตรครู ป.ตรี (5 ปี) ที่กำลังศึกษา ชั้นปีที่ 4 ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู ความประพฤติดี และมี ผลการเรียนดี คัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มี จิตวิญญาณความเป็นครู ความประพฤติดี และมีผลการเรียนดี เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (1 ปี)

  18. รูปแบบการผลิตครู (ต่อ) 4. การกำหนดเขตพื้นที่เฉพาะกิจ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ประสานงานกับ สพฐ. และ สอศ. ร่วมกันกำหนดเขตพื้นที่ โดยมีข้อมูลรายละเอียดที่แสดงถึงเขตพื้นที่ สาขาวิชา ประเภทโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนระดับประถม โรงเรียนระดับมัธยม โรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนสำหรับผู้พิการ เป็นต้น เพื่อจะได้ผลิตครูได้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนและพื้นที่

  19. เป้าหมาย เป้าหมายเชิงปริมาณ ผลิตครูจำนวน 5 รุ่น ตั้งแต่ปี 2554 – 2558 จำนวน 35,100 คน 1. จำแนกตามสาขาวิชา ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 27,600 คน ครูอาชีวศึกษา จำนวน 2,400 คน 2. จำแนกตามหลักสูตร หลักสูตร ป.ตรี 5 ปี จำนวน 17,500 คน - รับ นร. ม.ปลาย จำนวน 13,500 คน - รับ นศ.ครูชั้นปีที่ 4 จำนวน 4,000 คน หลักสูตร ป.บัณฑิต จำนวน 12,500 คน 3. จำแนกตามเงื่อนไขการผูกพัน รูปแบบที่ 1 ให้ทุนการศึกษา จำนวน 12,000 คน และประกันการมีงานทำ รูปแบบที่ 2 ประกันการมีงานทำ จำนวน 18,000 คน

  20. เป้าหมาย เป้าหมายคุณภาพ 1. ได้ครูที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการและ วิชาชีพ 2. ได้ครูที่มีความเป็นกัลยาณมิตรมีความรักและ ศรัทธาในวิชาชีพครู

  21. การบริหารโครงการ  หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ สกอ.  การบริหารโครงการในรูปแบบคณะกรรมการ 2 คณะดังนี้ 1. คกก.บริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ - กำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงาน ออกระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ และ ติดตามประเมินผล - องค์ประกอบ มีผู้บริหารสกอ. เป็นประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. คกก.คัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการ ฯ - คัดเลือก ม/ส และ นศ.ทุน ประชาสัมพันธ์โครงการ - มีองค์ประกอบ มี ศ.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ เป็นประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษา และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  22. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ ฯ 1.1 คกก.บริหารโครงการ ฯ กำหนดจำนวนทุนในแต่ละ สาขาวิชาแต่ละปีตามความขาดแคลนครูในแต่ละสาขาวิชาและ พื้นที่ตามความต้องการของ สพฐ. และ สอศ.ที่สามารถจำแนกตาม เขตพื้นที่ สาขาวิชา และประเภท รร. ได้แก่ รร.ประถม รร.มัธยม รร.ขยายโอกาส รร.สำหรับผู้พิการ 1.2 คกก. คัดเลือก ฯ กำหนดวิธีการและคัดเลือกม/ส และ นศ. ทุน โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้รับทุนโครงการ ตามแนวทาง ดังนี้

  23. ขั้นตอนการดำเนินงาน 2. การจัดการเรียนการสอนสำหรับนิสิตนักศึกษาของโครงการฯ  นักศึกษาต้องศึกษาวิชาต่างๆ ให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรปกติ  จัดอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอนตรงกับสาขาวิชาของ นศ.ทุน  จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนอย่างเหมาะสม  พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ เช่น - ทักษะทางภาษาและการสื่อสาร - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ คุณธรรมและจริยธรรม - ทักษะทางคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น - ทักษะการอยู่ร่วมกัน - ทักษะในการปรับตัวและการแก้ปัญหา - ทักษะการเป็นผู้จัดการเรียนรู้

  24. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3. เงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกรับทุนของโครงการ ฯ 1. ทำสัญญารับทุนแล้ว ต้องไม่สมัครเข้าศึกษาใน ม/ส อื่น ทั้งใน และต่างประเทศ 2. ต้องไม่สมัครเพื่อรับทุนอื่นใดในระหว่างการรับทุนของโครงการ ฯ ยกเว้น ทุนที่ไม่มีข้อผูกพัน และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหาร โครงการ ฯ 3. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษเสริมหลักสูตร และกิจกรรมพิเศษของสถาบัน ฝ่ายผลิตที่สังกัด และของโครงการฯ ที่จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ 4. สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่โครงการ ฯ กำหนด เช่น หลักสูตร ป.ตรี 5 ปี ต้องสำเร็จการศึกษาภายใน 5 ปีการศึกษา เป็นต้น 5. ต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา โดยจะต้องมีผลการเรียนดีตาม เกณฑ์ที่กำหนดรวมทั้งปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมได้ตามที่หลักสูตร กำหนดดังต่อไปนี้

  25. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3. เงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกรับทุนของโครงการ ฯ ชั้นปีที่ 1 ต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตามข้อบังคับของ ม/ส เมื่อสิ้นปีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 - คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) อยู่ระหว่าง 2.50 - 2.74 จะอยู่ ในเกณฑ์รอพินิจ หากปีการศึกษาถัดไปไม่สามารถแก้ไขได้ตามที่กำหนด จะหมด สิทธิ์ได้รับทุน ทั้งนี้ นศ.แต่ละคนจะอยู่ในเกณฑ์รอพินิจได้ เพียง 1 ครั้งเท่านั้น และหากยังมีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า2.75 จะหมดสิทธิ์การได้รับทุน ชั้นปีที่ 2-5 ในแต่ละปีการศึกษาจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตามข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) เมื่อจบการศึกษาต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาต้องบรรจุเข้ารับราชการครูในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. หรือ สอศ. ตามที่ สพฐ. หรือ สอศ. กำหนด เท่ากับระยะเวลาที่ได้รับทุน

  26. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3. เงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกรับทุนของโครงการ ฯ กรณีที่ผู้รับทุน ฯ จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาทุนในโครงการ ฯ และ ต้องคืนเงินทุนที่ได้รับไปทั้งหมด ในกรณีต่อไปนี้ 1) ผู้มีความประพฤติไม่เหมาะสม 2) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตามข้อบังคับของ ม/ส ในแต่ละ ปีการศึกษาต่ำกว่า 2.75 3) ไม่เข้าร่วมหรือไม่ผ่านกิจกรรมเสริม 4) เปลี่ยนสาขาวิชาหรือสถาบันอุดมศึกษา 5) ไม่สำเร็จการศึกษาภายในกำหนดระยะเวลาของหลักสูตร 6) หากผู้รับทุน ฯ ขอลาออกจากการเป็นนักศึกษา หรือผู้รับทุนไม่ยอม เข้ารับราชการต้องชดใช้เงินทุนที่ได้รับทั้งหมด พร้อมเบี้ยปรับอีกเป็น จำนวน 1 เท่าของเงินทุนทั้งหมดที่ได้รับ

  27. ขั้นตอนการดำเนินงาน 3. เงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกรับทุนของโครงการ ฯ กรณีที่ผู้รับทุน ฯ จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาทุนในโครงการ ฯ โดยไม่ต้องชดใช้เงินทุน ภายใต้เงื่อนดังต่อไปนี้ 1) ตาย 2) ม/ส พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้ ด้วยเหตุสุดวิสัย หรือเจ็บป่วยร้ายแรงหรือพิการที่ได้รับการ รับรองจากแพทย์ 3) เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ต้องชดใช้ทุน

  28. มาตรการประกันคุณภาพของโครงการมาตรการประกันคุณภาพของโครงการ 1. ขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ คัดเลือกผู้ที่มีคุณภาพ มีความประพฤติและผลการเรียนดี มีความรักและ ศรัทธาในวิชาชีพครู และมุ่งมั่นจะประกอบวิชาชีพครูในประเทศไทย 2. การกำหนดเงื่อนไขของผู้รับทุน ต้องมีผลการเรียนตลอดหลักสูตรที่เป็นไปตามที่โครงการกำหนด 3. การกำหนดเกณฑ์ปฏิบัติว่าต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีจุดมุ่งหมายให้ผู้รับทุนมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1) มีเจตคติที่ดีในวิชาชีพวิชาชีพครู 2) มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน 3) มีทักษะทางภาษาและการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 4) มีทักษะกระบวนการคิด 5) มีคุณธรรมและจริยธรรม 6) การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

  29. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.สามารถสร้างแรงจูงใจให้ นร.ที่มีความสามารถสูง มีผลการเรียนดี และ รักศรัทธาวิชาชีพครู เข้าศึกษาต่อสาขาวิชาที่ขาดแคลนในสถาบันการศึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาชีพครู 2. สามารถผลิตครูที่มีคุณภาพและความสามารถสูงเพื่อพัฒนาการศึกษา ของประเทศ 3. สถาบันที่ร่วมในโครงการได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของ หลักสูตรให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของนิสิตนักศึกษา และ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน 4. สถาบันที่ร่วมในโครงการมีการประสานงานในลักษณะเครือข่าย และ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนสร้างกำลังคนด้านวิชาชีพครู ให้ตรงกับความต้องการของประเทศมากขึ้น

  30. การดำเนินงาน สกอ. ได้นำเสนอโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ที่ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ไม่มีความเชื่อมโยงเรื่องงบประมาณกับโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อขอความเห็นชอบจาก ครม. ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 52 ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบ

  31. มติ ค.ร.ม. 1. เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการ 2. อนุมัติในหลักการค่าใช้จ่ายโครงการ ฯโดยให้เบิกจ่ายในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป เป็นทุนการศึกษา และงบดำเนินการ ตามที่ ศธเสนอ ในส่วนงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการ ฯ ในช่วงปี 2554–2563 ให้ ศธ ขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็นและความเหมาะสม 3. อนุมัติอัตราที่จะบรรจุนักศึกษาที่จบตามเกณฑ์ของโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ และโครงการผลิตครูภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ตามที่ ศธ.เสนอ ทั้งนี้ โดยยกเว้นการปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2551 (เรื่อง รายงานผลการศึกษาเรื่องสภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและข้อเสนอแนวทางแก้ไข) 4. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการจำนวน 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ และคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยในส่วนของคณะกรรมการบริหารโครงการ ฯ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ 31

  32. การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิต นโยบายการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิต เน้นคัดเลือก ม/ส ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา โดยจะคัดเลือกเป็นรายปีในแต่ละปี เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐาน • กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันผลิต • โดยแบ่งตามหลักสูตรที่ใช้ในการผลิตครู  หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 1 ปี

  33. การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิต กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิต โครงการพันธุ์ใหม่นำร่อง หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1. เกณฑ์คุณสมบัติของสถาบันฝ่ายผลิต 2. เกณฑ์การคัดเลือกสถาบันผลิตครู 3. การดำเนินงานตามเงื่อนไขที่โครงการ ฯ กำหนด

  34. ข้อมูลจำนวนนักศึกษาครู + แผนการผลิตอีก 5 ปีข้างหน้า เกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตครู โครงการพันธุ์ใหม่นำร่อง หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี จำนวนอาจารย์คณะที่รับผิดชอบ + ผู้เกษียณในอีก10 ปี หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เสนอ เข้าร่วมโครงการ ป๊2553 1. เกณฑ์คุณสมบัติของสถาบันฝ่ายผลิต 1.1 เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียน สอนหลักสูตรครูระดับ ปริญญาตรี (5 ปี) ที่ เสนอข้อมูลศักยภาพการผลิตครูให้กับ สกอ. แล้ว 1.2 ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ระดับคณะ 1.3 หลักสูตรครูระดับปริญญาตรี (๕ ปี) ที่เสนอ ต้องได้รับรองมาตรฐานหลักสูตรจาก คุรุสภา และ สกอ. รับทราบหลักสูตรแล้ว ผลการรับรองระดับคณะของ สมศ. การรับรองทราบหลักสูตร ของ สกอ. การรับรองหลักสูตรของ คุรุสภา

  35. เกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตครู โครงการพันธุ์ใหม่นำร่อง หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี 2. เกณฑ์การคัดเลือกสถาบันผลิตครู สถาบันอุดมศึกษาที่เสนอเข้าร่วมโครงการ ฯ ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 จะได้รับการพิจารณาตามเกณฑ์ดังนี้ 2.1 คุณภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร 2.2 คุณภาพของอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร 2.3 การบริหารจัดการและการพัฒนาคุณภาพ

  36. 3.การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง กรณีรับนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี นโยบายการคัดเลือกนักศึกษาทุน การคัดเลือกผู้รับทุน เน้นคัดเลือกคนดี + คนเก่งมารับทุนโครงการ ฯ แล้วบรรจุเข้าราชการเป็นข้าราชการครู กำหนดเกณฑ์ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00

  37. การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นำร่อง กรณีรับนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1. เกณฑ์คุณสมบัติ 2. เกณฑ์การคัดเลือก

  38. เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาครู โครงการพันธุ์ใหม่นำร่อง ฯ 1. เกณฑ์คุณสมบัติ 1.1 มีสัญชาติไทย และมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1.2 มีคุณสมบัติเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 และ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 1.3 กรณีสมัครขอรับทุนปีการศึกษา 2552 เป็นนักศึกษาครูหลักสูตรระดับ ปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสถาบันฝ่ายผลิตครูและสาขาวิชา ที่โครงการ ฯกำหนด กรณีสมัครขอรับทุนปีการศึกษา 2553 เป็นนักศึกษาครูหลักสูตรระดับ ปริญญาตรี ที่จะขึ้นชั้นปีที่ 4 ในสถาบันฝ่ายผลิตครูและสาขาวิชาที่ โครงการ ฯกำหนด

  39. เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาครู โครงการพันธุ์ใหม่นำร่อง ฯ 2. เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาครูต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุดังนี้ 2.1 มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) (รวมภาคฤดูร้อน) ตามข้อบังคับของ สถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงภาคเรียนที่ 1 ของชั้นปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 3.00 2.2 มีผลการเรียนในวิชาเอกสะสม (GPAX) (รวมภาคฤดูร้อน) ตามข้อบังคับ ของสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงภาคเรียนที่ 1 ของชั้นปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 3.00 2.3 มีผลการเรียนในวิชาชีพครูสะสม (GPAX) (รวมภาคฤดูร้อน) ตาม ข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงภาคเรียนที่ 1 ของชั้นปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 3.00

  40. เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาครู โครงการพันธุ์ใหม่นำร่อง ฯ 2. เกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษาครู 2.4 ผ่านการสอบสัมภาษณ์ เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี มีจิตสาธารณะ มีจิตอาสา และมีความเหมาะสมที่จะเป็นครู และเป็นแบบอย่าง ที่ดีแก่นักเรียน 2.5มีความยินดีและเต็มใจปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุนของ โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ที่มีเฉพาะรูปแบบที่ ๒ การประกัน การมีงานทำ 2.6 หากมีภูมิลำเนาตามพื้นที่ที่กำหนด จะได้รับการพิจารณาเป็น ลำดับแรก 2.7 เกณฑ์อื่น ๆ ที่สถาบันผลิตครูเห็นสมควร

More Related