1 / 21

ไอคิโด

ไอคิโด. AIKIDO.

dwayne
Download Presentation

ไอคิโด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ไอคิโด AIKIDO

  2. หลังจากช่วงเวลายาวนานในอดีตของทางประเทศซีกโลกตะวันออก ในช่วงเวลาที่ศิลปะการ ต่อสู้ เป็นที่รู้จักเพียงในวงจำกัด ไอคิโด ได้ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ ที่อ่อนโยน และ ละเอียดอ่อนแขนงหนึ่ง และในระดับสูงๆ เป็นการฝึกฝนระเบียบวินัยในการพัฒนา การรวมพลัง และ การเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของกำลังกาย และใจของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่อาจจะแสดงให้เห็นในครั้งแรกอาจจจะเห็นได้ว่า เป็นการใช้ยุทธวิธีในการป้องกันตนเอง จากการ โจมตีทุกรูปแบบ ซึ่งโดยความจริงแล้ว ไอคิโดไม่เพียงเป็นการป้องกันตนเอง โดยใช้วิธีการที่มาจาก Bujitsu ศิลปะของนักรบญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมีจุด ซึ่งดึงดูดผู้คน ให้มา ทำการฝึกฝนยังโดโจ (Dojo) หรือสถานที่ฝึก จุดดังกล่าวนี้ก็คือ "ระเบียบวินัยในการ เป็นอัน หนึ่ง อันเดียวกัน" เป็นวิธีการในการเพิ่มความแข็งแกร่งของร่างกาย และจิตใจ โดยการรวมกันของ ร่างกาย และจิตใจนี้จะช่วยให้เขา หรือเธอกลายเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ ความหมายของ คำว่า " ไอคิโด" หมายถึง " วิธีหรือวิถีในการรวม หรือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" ของพลังทางวิญญาณ กับ พลังทางกาย

  3. ไอคิโดเป็น ศิลปะการต่อสู้พิเศษซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย ปรมาจารย์ โมริเฮอิ อูเอชิบา ซึ่งในญี่ปุ่นถูกเรียกว่า ไอคิโดนี้ได้รวมเอาวิธีการป้องกันตัว/ต่อสู้ ซึ่งนำมาจากการต่อสู้ด้วยดาบ/หอก , jujitsu,aiki-jitsu และศิลปะการต่อสู้แบบโบราณอื่น ๆ ซึ่งมุ่งเน้นการฝึก แม้กระทั่งขณะเริ่มฝึกไปที่ การรักษาศูนย์กลาง ทั้งด้านความคิด และการกระทำ และการขยายเพิ่มออกของพลังภายใน (ki) วิธีการป้องกันตัว ไอคิโด เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องด้วย 1. ไอคิโด โดยเนื้อแท้ในการประยุกต์ใช้ เป็นศิลปะในการป้องกันตนเอง ที่มีความยืดหยุ่น และ มีหลักปรัชญามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ไม่มีการเข้าทำร้ายก่อนในไอคิโด ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีแพ้ ไม่มี ชนะ เมื่อเทคนิคต่าง ๆ ถูกใช้โดยนักไอคิโดผู้ได้รับการฝึกฝนเป็นเวลานาน และมีความเชี่ยวชาญสูง ผู้ทำร้ายจะไม่ได้รับความเจ็บปวด หรือบาดเจ็บสาหัสในระหว่างฝึก          2. มีการกล่าวอ้างถึงอย่างต่อเนื่องถึง " ฮารา" หรือจุดศูนย์กลางของร่างกายมนุษย์ ว่าเป็น จุดรวม ของพลังให้มี คิ ( ki) เกิดขึ้น และมีการนำมาใช้ โดยในภายหลังได้มีการนำเอาแนวคิดนี้ไปใช้กับศาสตร์ อื่น ๆ นอกเหนือไปจากโลกของศิลปะการต่อสู้          3. ไอคิโดมีการนำเอาหลักแนวคิดของทรงกลมมาใช้ในการเคลื่อนที่ หรือในเทคนิคต่าง ๆ

  4. ความหมายของคำว่า " ไอคิโด" ไอ  (Ai)   การรวม, ความสามัคคี, ความรักคิ   (Ki)   กำลังใจ, ความกล้า, พลังจิตโด (Do) วิถีทางไอคิโด (Aikido) วิถีทางแห่งการรวมพลังจิต หลักการของไอคิโด คือ จิตใจควบคุมร่างกาย 1. ควบคุมร่างกายด้วยความสมดุล 2. ควบคุมจิตใจด้วยการมีสมาธิ

  5. ลักษณะของไอคิโด ไอคิโดเป็นเอกลักษณ์แบบหนึ่งของศิลปะป้องกันตัวโดยเฉพาะ ใช้วิธีการควบคุมแรง และจูงใจ คู่ต่อสู้ พร้อมกับฝึกจิตใจให้เป็นผู้มีน้ำใจของนักต่อสู้ มีคุณธรรม และรักความยุติธรรม     1. เป็นการป้องกันตัวจากการกระทำทุกรูปแบบ ทั้งมือ และมีอาวุธ ในระยะกระทำประชิดตัว     2. การป้องกันตัวโดยการหักข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ ข้อมือ ข้อศอก คอ หลัง หัวเข่า ข้อเท้า และพร้อม ๆ กันนั้นมีลักษณะการเหวี่ยงทุ่มกระแทกพื้น     3. เป็นศิลปะการเข้าจับกุม ควบคุม นำพาโดยสุภาพ แต่เจ็บปวดและอันตราย (ปัจจุบัน ตำรวจ ทหาร นิยมฝึกเป็นส่วนมาก) พร้อม ๆ กันนั้นก็ศึกษาลักษณะการแก้ ถูกจับกุม และถูกล็อคต่าง ๆ     4. เป็นวิชาที่ใช้พลังจิต (กำลังภายใน) ควบคุมคู่ต่อสู้โดยใช้แรง ( กำลังกาย) ของคู่ต่อสู้ทำ ตัวเขาเอง (สุภาพสตรีฝึกได้ดี เพราะไม่ต้องใช้กำลังของตัวเองมาก)

  6. หลักเกณฑ์การใช้วิชา ศิลปะป้องกันตัวไอคิโดให้เกิดประโยชน์ 1. เพื่อเสริมสร้างพลานามัยให้ร่างกายสมบูรณ์ สร้างบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี 2. เพื่อฝึกจิตใจให้มั่นคง มีพลังจิต มีความกล้า และสุภาพอ่อนโยน 3. เพื่อให้รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความร่วมมือระหว่างกัน 4. เพื่อปลูกฝังมารยาท และศีลธรรมอันดีงาม มีความประพฤติดี มีความเสียสละ ซื่อสัตย์และอดทน 5. เพื่อช่วยตนเอง และผู้อื่นให้พ้นอันตรายจากภัย และอุบัติเหตุต่าง ๆ ช่วยระงับเหตุร้ายที่จะเกิด แก่ท้องถิ่นหรือประเทศชาติ

  7. การป้องกันตนเอง การระวังไม่ให้ตัวเองตกอยู่ในอันตราย เป็นสิ่งแรกที่คุณต้องกระทำ เพราะมันเป็นการป้องกันตัวที่ดีที่สุด  ซึ่งคุณสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ไม่พกสิ่งของมีค่าติดตัวโดยเปิดเผย แต่งตัวให้มิดชิด ไม่เดินในทางที่เปลี่ยวหรือมืด หรือแม้แต่การเดินทางโดยยานพาหนะ เช่นบนรถประจำทาง คุณควรเลือกนั่งข้างสตรีด้วยกัน หรือยืนในส่วนที่ทำให้คนอื่นเห็นคุณได้ชัดเจน  ไม่ควรไปอยู่ทางด้านหลังสุดของรถ   บนรถตู้ ไม่ควรเป็นผู้โดยสารคนเดียวบนรถ  หรือ หากมีผู้โดยสารคนสุดท้ายลงก่อนคุณ คุณก็ควรจะลงไปพร้อมกันเลย  บนรถแท็กซี่  คุณควรจดจำ เลขทะเบียน ชื่อคนขับ  และระหว่างโดยสารคุณควรโทรศัพท์ ไปบอกพ่อแม่ หรือ เพื่อน ว่าคุณกำลังโดยสารรถอะไร จากที่ไหน และจะไปที่ไหน ด้วย หรือแม้กระทั่งบนสะพานลอยในยามค่ำคืน คุณควรระวังตัวให้ดี ถ้ารู้สึกว่าจะเกิดอันตราย คุณอาจจะใช้การข้ามถนนได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น เมื่อคุณได้ระวังเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังมีเหตุร้ายเกิด วิธีป้องกันตัวที่ดี ไม่ใช้การประจันหน้า กับคนร้าย แต่เป็น...การวิ่งหนี  และร้องตะโกนขอความช่วยเหลือ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ควรศึกษาเส้นทางที่คุณต้องเดินทางก่อน จะช่วยคุณได้ในยามคับขัน

  8. จุดอ่อนในร่างกายมนุษย์จุดอ่อนในร่างกายมนุษย์ หากท่านต้องการจะหยุดคนร้าย ด้วยการโจมตี ไปบนร่างกายคนร้าย  หากไม่ถูกจุดอ่อน ต่อให้ท่านเพิ่มกำลังเป็น 2 เท่าก็ยากที่จะหยุด คนร้ายได้  การจะหยุดคนร้ายให้ได้ผลนั้น ท่านจำต้องรู้จุดอ่อนในร่างกายคนเรา ซึ่งไม่ต้องลึกซึ้งขนาดผู้ฝึกศิลปะป้องกันตัวอย่างจริงจัง ก็เพียงพอแล้ว ในการป้องกันตัวท่านเอง • บริเวณศีรษะ มีจุดอ่อนมากมาย  จุดที่สำคัญคือ ดวงตา หู จมูก ขมับ ท้ายทอย ปลายคาง ซึ่งเราสามารถใช้นิ้วจิ้มหรือ ใช้หมัดชก ส่วนปลายคางนั้น ใช้อุ้งมือกระแทก บ้องหู เราอาจใช้มือตบ ซึ่งถ้าโจมตีโดนด้วยความแรง จะสามารถหยุดคนร้ายได้ • บริเวณลำคอ เราสามรถใช้ปลายนิ้วจิ้ม ใช้หมัดต่อย  หรือใช้สันมือสับ ไปที่ลูกกระเดือกได้ • ลิ้นปี่ ชก เตะ หรือถีบ • อวัยวะสืบพันธุ์ชาย • จุดอื่นๆ ตามสถานการณ์จะอำนวย เช่น ไหปลาร้า  หัวเข่า เป็นต้น

  9. อาวุธต่างๆ ในร่างกาย หากเราไม่มีอาวุธใดๆ ในการป้องกันตัวแล้ว อย่าลืมว่าเรายังมีร่างกายที่ใช้ได้ • ศีรษะ ใช้โขกไปยังใบหน้า • สันมือ ใช้สับ ไปที่บริเวณใบหน้า ขมับ หรือ คอ • หมัด ใช้ชก หรือ ทุบ • หมัดแบน นิยมใช้ในวิชาคาราเต้ ใช้ชกไปที่ ลูกกระเดือก • ปลายมือ ใช้แทงไปที่ลูกกระเดือกถ้าได้รับการฝึกฝนมาดี อาจใช้แทงบริเวณลิ้นปี่ได้ • ศอก เป็นส่วนที่มีความแข็งแรงมาก ใช้ตี กระทุ้ง ไปยังจุดอ่อนต่างๆ • หัวเข่าใช้กระแทก บริเวณ ใบหน้า ลิ้นปี่ หรือ ส่วนที่ง่ายที่สุด คือ อวัยวะสืบพันธุ์ • จมูกเท้าส้นเท้า หลังเท้าใช้เตะตรง ใช้กระทืบใช้เตะเหวี่ยงตามลำดับ • ด้านข้างเท้า ใช้ถีบ

  10. วิธีป้องกันตัวด้วยมือเปล่า เมื่อเราหนีไม่ได้ หรือ ไม่มีทางที่จะหนี จำเป็นต้องสู้  ก็ให้ตั้งสติ อย่าตื่นตกใจมากไป หายใจเข้าออกลึกๆ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการป้องกันตัวจากคนร้ายมือเปล่า ผู้ที่จ้องทำร้ายผู้อื่นเพราะเห็นว่าผู้อื่นไม่มีทางสู้ มักจะประมาทไม่ระวังตัว นับเป็นโอกาสที่ดีในการเอาตัวรอดของคุณ เมื่อคนร้ายจับมือข้างหนึ่ง แทงเข่า ไปที่อวัยวะสืบพันธุ์ของคนร้าย แล้ววิ่งหนี ขอความช่วยเหลือ ให้คุณใช้มืออีกข้างจิ้มไป ที่ดวงตา ของคนร้าย อย่างแรง คนร้ายคว้าข้อมือ ข้างหนึ่งของคุณไว้

  11. เมื่อถูกคนร้ายจับข้อมือทั้งสองข้าง คนร้ายจับข้อมือทั้งสองข้างของคุณ เอาไว้พร้อมดึงคุณเข้าหา ใช้แรงที่คนร้ายดึงคุณเข้าหาโดย ไม่ทันระวังตัว ยกเข่าขึ้นแทง ไปที่อวัยวะสืบพันธุ์ของคนร้าย จากนั้นคนร้ายจะอ่อนแรงลง ให้รีบตีศอก เข้าไปที่บริเวณขมับ หรือ ขากรรไกรของคนร้าย จากนั้นวิ่งหนี ขอความช่วยเหลือ

  12. เมื่อคนร้ายเข้ามาจับไหล่จากทางด้านหลัง คนร้ายเข้ามาทางด้านหลัง พร้อมกับจับไหล่ของคุณไว้ ให้คุณยกขาถีบไปด้านหลัง ไปที่บริเวณหัวเข่าของคนร้าย ผลักคนร้ายให้เสียหลักแล้ววิ่งหนี ขอความช่วยเหลือ

  13. เมื่อคนร้ายเข้ามาข้างหน้า คนร้ายเคลื่อนที่เข้ามาทางด้านหน้า ด้วยท่าทีประสงค์ร้าย พยายามใช้มือเค้าไว้ แล้วเตะผ่าหมากใส่ ให้แรงที่สุด จากนั้นวิ่งหนีขอความช่วยเหลือ

  14. เมื่อถูกคนร้ายจิกหัวจากด้านหลังเมื่อถูกคนร้ายจิกหัวจากด้านหลัง คนร้ายเข้ามาจิกหัวจากด้านหลัง ให้ท่านรีบนำมือทั้ง สองข้างไป ประกบมือคนร้ายไว้ให้แน่น ถอนเท้าด้านใน พร้อมกับเบี่ยงตัวออกไปด้านนอก จะทำให้แขนคนร้ายบิดไปด้วย

  15. ถีบไปที่ขาพับ ของคนร้าย เพื่อให้เค้าเสียหลัก จากนั้น แทงเข่าใส่บริเวณขมับ หรือขากรรไกร จากนั้น วิ่งหนีขอความช่วยเหลือ

  16. คนร้ายใช้อาวุธปืนพก จี้จากทางด้านหลัง คนร้ายใช้อาวุธ ปืนจี้จากทางด้านหลัง หมุนเบี่ยงตัวออกด้านนอก พร้อมใช้แขนปัดแนวปืนไปทางอื่น

  17. ดึงให้คนร้ายเสียหลักมาข้างหน้า พร้อมเอามือจับที่ไหล่ของคนร้าย พยายามให้แขนเหยียดตึง เข่าไปที่ใต้ข้อศอกให้แรงที่สุด จากนั้นวิ่งหนี ขอความช่วยเหลือ

  18. คนร้ายใช้มีดจี้ล็อกคอไว้จากด้านหลัง   คนร้ายใช้มีดจี้ล็อกคอท่านไว้ ให้ใช้มือกุมที่มือคนร้าย เพื่อให้มีระยะห่างระหว่างมีดกับคอ พร้อมกับใช้หลังหมัดตีไปที่หน้า ของคนร้าย ลองศอกใส่ลิ้นปี่

  19. ก้มตัวมุดลอดแขนไปด้านหลังก้มตัวมุดลอดแขนไปด้านหลัง บิดหักข้อมือ ของคนร้ายขึ้น เตะเหวี่ยงใส่หน้าคนร้าย

  20. ข้อมูลอ้างอิง ยูโด ไอคิโด: http://www.japan007.8m.comไอคิโด คลับ: http://www.geocities.com/aikidoclipไอคิโด: http://www.geocities.com/aikidokasetสมาคมไอคิโดประเทศไทย: http://www.thaiaikikai.com http://www.knu-kni.prempree.com

More Related