1 / 35

แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี

แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี. พญ. ช่อแก้ว โตวณะบุตร นพ.กิตติศักดิ์ ชมประเสริฐ นางสาว อรวรรณ พุ่มผกา โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2557. แผนผังภายในอาคารตรวจรักษา. ทางเข้า - ออก. ห้องฉายรังสี Linac. ห้องวางแผนการรักษา.

duc
Download Presentation

แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีแนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี พญ. ช่อแก้ว โตวณะบุตร นพ.กิตติศักดิ์ ชมประเสริฐ นางสาวอรวรรณ พุ่มผกา โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี2557

  2. แผนผังภายในอาคารตรวจรักษาแผนผังภายในอาคารตรวจรักษา ทางเข้า-ออก ห้องฉายรังสีLinac ห้องวางแผนการรักษา ห้อง simulator ห้องผสมยาเคมี ห้องตรวจแผนกรังสีรักษา ห้องตรวจเคมีบำบัด ห้องฉีดยาเคมีบำบัด ห้อง CT sim ห้องตรวจทันตกรรม ห้องฉายรังสี Cobalt ห้องฉายรังสี Linac MLC เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ห้องน้ำผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วยใน ทางเข้า-ออก

  3. กลุ่มงานรังสีรักษา บุคลากร - แพทย์รังสีรักษาประจำ 2 คน, แพทย์ที่ปรึกษา 3 คน - นักฟิสิกส์การแพทย์ประจำ 2 คน - นักรังสีการแพทย์ประจำ 9คน - ผู้ช่วยนักรังสีการแพทย์ 4 คน - ลาศึกษาต่อฟิสิกส์การแพทย์ 2 คน **พยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา 6 คน, ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คน

  4. กลุ่มงานรังสีรักษา เครื่องมือ - เครื่องจำลองการฉายรังสี conventional simulator - เครื่องจำลองการฉายรังสี CT Simulator - เครื่องฉายรังสีพลังงานสูง cobalt-60 - เครื่องฉายรังสีแบบเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานเดียว 6MV - เครื่องฉายรังสีแบบเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง (Linac MLC) - เครื่องใส่แร่ Ir-192 (High dose rate brachytherapy) - เครื่องวางแผนการรักษาแบบสามมิติ

  5. กลุ่มงานรังสีรักษา • การให้บริการแบ่งเป็นสองส่วน 1. แผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งให้บริการตรวจรักษา, รับปรึกษา, ให้คำแนะนำ และทำประวัติผู้ป่วยฉายรังสี รวมถึงการพยาบาลทั่วไป 2. ห้องฉายรังสี, ห้องใส่แร่, ห้องจำลองการฉายรังสี, ห้องวางแผนการรักษา • มีบริการคลินิกนอกเวลาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย ในวันจันทร์-พฤหัสบดี ตั้งแต่ 16.00-20.00 น. เฉพาะการจำลองการฉายรังสี และใส่แร่ (ยังไม่เปิดให้บริการตรวจรักษาและรับปรึกษานอกเวลา)

  6. กลุ่มงานรังสีรักษา • ให้บริการฉายรังสีผู้ป่วยโดยเฉลี่ย 130-140 ราย/วัน • ให้บริการใส่แร่ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช และวางแร่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่บริเวณผิวหนัง • ให้บริการจำลองการฉายรังสีก่อนเริ่มฉายรังสีจริง (simulation) สำหรับผู้ป่วยใหม่ทั้งหมด รวมถึงผู้ป่วยระหว่างฉายรังสีที่เปลี่ยนเทคนิคการฉายรังสี และผู้ป่วยระหว่างฉายรังสีที่ทำรอยเส้นบนผิวหนังลบ • ให้บริการวางแผนการฉายรังสีทั้งแบบสองมิติ และ สามมิติ • ให้บริการทำอุปกรณ์ยึดตรึงผู้ป่วยเพื่อเตรียมการฉายรังสี

  7. กลุ่มงานรังสีรักษา

  8. จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการฉายรังสีปีงบประมาณ แยกตามโรงพยาบาลแม่ข่าย

  9. แนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีที่ศูนย์มะเร็งชลบุรีแนวทางการส่งผู้ป่วยมารับบริการฉายรังสีที่ศูนย์มะเร็งชลบุรี **ผู้ป่วยทุกรายต้องเข้าระบบนัดคิวฉายรังสีโดยแนวทางดังต่อไปนี้ (ยกเว้นกรณีมีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษา) 1. ผู้ป่วย และ/หรือญาติ เดินทางมานัดด้วยตนเอง 2. โรงพยาบาลต้นสังกัดส่งนัดทางโทรสาร **ระยะเวลารอคอยของการนัดฉายรังสีเฉลี่ย 1.5-2 เดือน หากมีกำหนดระยะเวลาของการเริ่มฉายรังสี กรุณาส่งนัดล่วงหน้า

  10. ระบบนัดคิวฉายรังสีที่ผู้ป่วยหรือญาติเดินทางมานัดด้วยตนเองระบบนัดคิวฉายรังสีที่ผู้ป่วยหรือญาติเดินทางมานัดด้วยตนเอง

  11. เอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วยเอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วย 1.ใบส่งตัวจากแพทย์ ที่มีรายละเอียดการตรวจ วินิจฉัยโรค รวมถึงการรักษาที่ได้ทำไปแล้ว กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการรักษาหรือตรวจเพิ่มเติม หลังผู้ป่วยได้รับนัดฉายรังสีแล้ว กรุณาเขียนรายละเอียดการรักษา หรือ ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมมาให้ชัดเจน* 2. สำเนาใบรายงายผลทางพยาธิวิทยา** 3. ฟิล์มที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพร้อมผลอ่าน (ถ้ามี) 4. ใบรายงานผลทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วย 5. ใบรายงานการผ่าตัด กรณีที่อาจมีผลต่อการฉายรังสี

  12. เอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วยเอกสารสำคัญที่ผู้ป่วยต้องนำมาด้วย 6. Slide ชิ้นเนื้อ หรือ Paraffin Block (ในกรณีที่ผลอ่านชิ้นเนื้อไม่ชัดเจน) หมายเหตุ *กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวและมียาที่ใช้ประจำ กรุณาระบุโรคและนำยามาด้วย ** ขอสำเนา Pathology report ทุกใบที่เกี่ยวข้องและมีลายเซ็นพยาธิแพทย์กำกับ

  13. กรณีติดต่อรับวันนัดด้วยตนเองกรณีติดต่อรับวันนัดด้วยตนเอง **หากสามารถนัดได้ ผู้ป่วยจะได้รับวันนัดพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ -ใบส่งตัวเดิม ตอบกลับโรงพยาบาลต้นสังกัด พร้อมแจ้งสิ่งที่ทางศูนย์มะเร็งต้องการให้ผู้ป่วยกลับไปตรวจพิเศษเพิ่มเติม - กรณีเอกสาร และรายละเอียดที่ให้มาครบถ้วน ผู้ป่วยจะได้รับจดหมายเพื่อขอให้ตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานซ้ำ เนื่องจากผลการตรวจเดิมอาจที่การเปลี่ยนแปลง อันเกิดจากการดำเนินโรคที่เป็นมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องตรวจซ้ำ โดยให้ระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก่อนถึงวันนัดฉายรังสี - ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการฉายรังสี และการเตรียมตัวเพื่อมาฉายรังสี

  14. ระบบนัดคิวฉายรังสีทางโทรสารระบบนัดคิวฉายรังสีทางโทรสาร

  15. ระบบการนัดฉายรังสีทางโทรสารระบบการนัดฉายรังสีทางโทรสาร โรงพยาบาลต้นสังกัดส่งแบบฟอร์มการส่งผู้ป่วยนัดฉายรังสีทางโทรสาร เบอร์ 038 – 467833 (ศูนย์ประสานงานรับ-ส่งต่อ) เวลา 8.00-16.00น. งานพยาบาลผู้ป่วยนอกรังสีรักษารับนัด และส่งแบบฟอร์มยืนยันการนัด คิวผู้ป่วยเพื่อฉายรังสีทางโทรสารให้โรงพยาบาลต้นสังกัด โรงพยาบาลต้นสังกัดให้แบบฟอร์มยืนยันการนัดคิวผู้ป่วยฉายรังสีทางโทรสาร พร้อมเอกสารที่ใช้ประกอบการรักษาให้ผู้ป่วยนำมาในวันนัด

  16. เอกสารที่ต้องแนบมาด้วยกรณีนัดทางโทรสารเอกสารที่ต้องแนบมาด้วยกรณีนัดทางโทรสาร 1. ใบนำโทรสารตามแบบฟอร์มของกลุ่มงานรังสีรักษา 2. ใบส่งตัวที่มีรายละเอียดการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างละเอียด 3. ผลชิ้นเนื้อที่เป็น official report 4. ผล x-ray ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เช่น ผล CT, MRI หรือ plain film ที่สำคัญ 5. เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้ป่วย **การนัดทางโทรสารจะสามารถนัดได้หรือไม่ขึ้นกับความสมบูรณ์ และครบถ้วนของรายละเอียดที่โรงพยาบาลต้นสังกัดส่งมาให้

  17. ขั้นตอนการรับบริการผู้ป่วยใหม่เริ่มฉายรังสีขั้นตอนการรับบริการผู้ป่วยใหม่เริ่มฉายรังสี 1.ผู้ป่วยที่มารับวันนัดด้วยตนเอง สามารถยื่นบัตรโรงพยาบาลพร้อมใบส่งตัวได้ที่แผนกตรวจสอบสิทธิ์ที่อาคารตรวจรักษา เพื่อรอตรวจสอบสิทธิ์ และรอเวชระเบียนออกใบสั่งทำการ จากนั้นสามารถรอที่แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษาเพื่อดำเนินการต่อไป 2. ผู้ป่วยที่รับวันนัดทางระบบนัดทางโทรสาร ต้องยื่นเอกสารที่ศูนย์ประสานงานรับ-ส่งต่อ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  18. ระบบการรับผู้ป่วยใหม่ที่นัดฉายรังสีทางโทรสารระบบการรับผู้ป่วยใหม่ที่นัดฉายรังสีทางโทรสาร ผู้ป่วยถือแบบฟอร์มยืนยันการนัดคิวผู้ป่วยฉายรังสีทางโทรสาร พร้อมเอกสารสำคัญมาติดต่อที่ศูนย์ประสานงานรับ-ส่งต่อผู้ป่วย ศูนย์มะเร็งชลบุรี ตรวจสอบสิทธิ เอกสารประกอบการรักษาที่สำคัญ ลงทะเบียนรับส่ง-ต่อกับพยาบาลที่ศูนย์ประสานงานฯ และส่งต่อยังแผนกเวชระเบียนเพื่อออกเวชระเบียนให้ผู้ป่วย ส่งผู้ป่วยมายังแผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา เพื่อทำประวัติ พบแพทย์ และดำเนินการรักษา

  19. สิ่งที่สำคัญที่ควรเน้นให้ผู้ป่วยทราบสิ่งที่สำคัญที่ควรเน้นให้ผู้ป่วยทราบ • ผู้ป่วยที่ได้รับวันนัดทางโทรสาร กรุณาแจ้งให้ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลก่อน 8.00 น. เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาสำหรับผู้ป่วยใหม่แต่ละรายประมาณ 1 ชั่วโมงกรณีเอกสารที่เตรียมมาครบถ้วน และอาจถึง 3 ชั่วโมงกรณีเอกสารไม่ครบ ซึ่งอาจทำให้ส่งฉายรังสีไม่ทันในวันนั้น และเกิดผู้ป่วยตกค้างในแต่ละวัน ทำให้เกิดความติดขัดของระบบงานและเกิดความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วย

  20. สิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสีสิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสี 1. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานที่ทางรพ.มะเร็งขอให้ตรวจเพิ่มเติม เช่น CBC, BUN, Cr, Electrolytes, LFT และ CXR (มีจดหมายให้ผู้ป่วยกลับไปดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนมาเริ่มฉายรังสี) 2. X-ray ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (CT, MRI, Plain film) พร้อมผลอ่าน 3. ผลชิ้นเนื้อที่ได้รับการขอย้อมพิเศษเพิ่มเติม (มักจะได้ block ชิ้นเนื้อมาแทน ซึ่งผู้ป่วยต้องเสียเวลารอเพิ่มขึ้น) กรณีที่ไม่ส่งย้อมให้ในกรณีใดๆก็ตาม กรุณาให้ผู้ป่วยนำ paraffin block หรือ slideมาให้ล่วงหน้าก่อนถึงวันนัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์ เพื่อดำเนินการส่งตรวจ

  21. สิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสีสิ่งที่ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยเพื่อนำมาวันที่เริ่มฉายรังสี 4. ยารักษาโรคประจำตัวของผู้ป่วยให้เพียงพอสำหรับระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน 5. ใบส่งตัวใหม่ที่มีรายละเอียดการตรวจ รักษา กรณีมีการเปลี่ยนแปลงไปจากใบส่งตัวเดิม รวมถึงสิทธิการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน

  22. แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปากมดลูกแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปากมดลูก 1. ยังไม่ได้ผ่าตัด – ส่งนัดได้โดยยังไม่ต้องทราบผลตรวจ IVP, cystoscope, proctoscopeถ้ากรณีตรวจภายในแล้วไม่สงสัยว่ามีการลุกลามไปยัง bladder หรือ rectum แต่ขอให้ระบุวันที่จะได้นัดตรวจพิเศษข้างต้นมาด้วย แต่หากสงสัยจะเป็นต้องรอผลตรวจดังกล่าวก่อน เพราะอาจจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อตรวจเพิ่มเติมด้วย - สามารถอนุโลมให้ส่ง CT whole abdomen แทนการตรวจ IVP, cystoscope, proctoscopeโดยขอเป็น CT อย่างน้อย 16 สไลด์ และ ให้รังสีแพทย์ระบุให้ชัดเจนว่ามีการลุกลามเข้า bladder หรือ rectum หรือไม่ หากสงสัยหรือระบุได้ไม่ชัดเจน ยังคงต้องส่งผู้ป่วยไปส่องกล้องตามเดิม 2. หลังผ่าตัด - ส่งนัดโดยเร็วที่สุดหลังทราบผลชิ้นเนื้อ โดยกำชับผู้ป่วยให้มา รพ. มะเร็งชลบุรีทันทีหลังได้ใบส่งตัว เนื่องจากคิวฉายรังสีรอประมาณ 1.5-2 เดือน ถ้าส่งมาช้าผู้ป่วยจะได้รับการฉายรังสีช้า และมีโอกาสที่จะกลับเป็นซ้ำได้สูงขึ้น

  23. แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งเต้านมแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งเต้านม หลังผ่าตัด - ตามมาตรฐานควรได้รับการฉายรังสีภายใน 6 เดือนหากรับเคมีบำบัด หากไม่รับเคมีบำบัด ควรได้รับการฉายรังสีภายในไม่เกิน 8 สัปดาห์ - ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ที่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ให้ส่งนัดหลังได้ผลชิ้นเนื้อโดยเร็วที่สุด และกำชับให้ผู้ป่วยมานัดที่ รพ. ทันทีหลังได้ใบส่งตัว - กรณีมีข้อบ่งชี้ที่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ให้ส่งนัดหลังจากผู้ป่วยได้ยาเคมีบำบัดไปแล้วครึ่งแรกของจำนวน cycle ทั้งหมด เช่น ได้สูตร FAC 6 cycles ส่งนัดหลังได้ cycle ที่ 3 (ก่อนรับ cycle ที่ 4)และระบุ regimen ของยาเคมีบำบัดมาด้วย

  24. แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ก่อนผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลังได้ผลชิ้นเนื้อ, CT whole abdomen และ CXR หลังผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลังทราบผลชิ้นเนื้อ โดยระหว่างรอคิวฉายรังสี สามารถให้ adjuvant chemotherapy ได้

  25. แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปอดแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งปอด Concurrent chemoradiation • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลัง complete staging Sequential chemoRT • ส่งนัดคิวฉายรังสีหลังจากได้ยาเคมีบำบัดครึ่งแรกของจำนวน cycle ทั้งหมดที่คาดว่าจะให้ และระบุ regimen ของยาเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยได้รับมาด้วย

  26. แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งศีรษะและลำคอแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีโดยเร็วที่สุดหลังได้ผลตรวจครบตามที่ระบุในเอกสารประกอบ (ส่งตรวจสุขภาพช่องปาก และประเมินภาวะโภชนาการเบื้องต้นก่อนส่งมานัด) หลังผ่าตัด • ส่งนัดคิวฉายรังสีหลังจากทราบผลชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดโดยเร็วที่สุด (ผู้ป่วยควรได้รับการฉายรังสีหลังผ่าตัดภายใน 8สัปดาห์) และควรส่งตรวจพบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปากก่อนส่งมานัด

  27. แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษาแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษา - ติดต่อแพทย์รังสีรักษาที่อยู่เวรรับปรึกษาในวันนั้นๆ โดยตรง หรือส่งเอกสารมานัดทางโทรสาร - ไม่มีบริการรับผู้ป่วยฉุกเฉินนอกเวลาราชการ หากมีกรณีเร่งด่วนที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฉายรังสีภายในวันนั้นๆ และต้องการให้รับไว้ในโรงพยาบาลกรุณาติดต่อแพทย์รังสีรักษาที่อยู่เวรรับปรึกษาก่อน 10.30น. และผู้ป่วยจำเป็นต้องถึงที่ รพ. มะเร็งก่อน 14.00น. - งดรับผู้ป่วยที่สัญญาณชีพไม่คงที่ไว้เป็นผู้ป่วยใน เนื่องจาก ไม่มีแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรม และศัลยกรรม อยู่เวรนอกเวลาราชการทุกวัน ยกเว้นผู้ป่วยที่ไม่ต้องการ intensive care และ resuscitation

  28. แนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษาแนวทางการส่งนัดคิวฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษา ภาวะฉุกเฉินทางรังสีรักษาที่จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับการฉายรังสีภายใน 72 ชั่วโมงมีดังต่อไปนี้ • Brain metastasis • SVC obstruction • Bone metastasis ที่มี severe bone pain • Bleeding from tumor • Tumor obstruction อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆร่วมด้วยว่าจะสามารถฉายรังสีได้หรือไม่

  29. แนวทางการรับดูแลผู้ป่วยฉายรังสีแนวทางการรับดูแลผู้ป่วยฉายรังสี • เพื่อสนองตอบนโยบายเรื่องการบริหารจัดการเตียงและกำลังคนของ รพ. มะเร็งชลบุรี เรื่องการงดรับผู้ป่วยฉายรังสีเป็นผู้ป่วยใน • กลุ่มงานรังสีรักษาขอรับผู้ป่วยฉายรังสีเป็นผู้ป่วยในเฉพาะในกรณีดังนี้ • ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกับฉายรังสี • ผู้ป่วยที่ KPS < 70 (KPS 70 = Cares for self; unable to carry on normal activity or to do active work) **ไม่ขึ้นกับภูมิลำเนา, สิทธิ์การรักษา, อายุ และระยะของโรค

  30. จำนวนผู้รับบริการฉายรังสี(แยกตามจังหวัด) งบประมาณ 56

  31. ปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงานปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงาน

  32. ปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงานปัญหาที่พบในการติดต่อประสานงาน

  33. ตารางการออกตรวจแพทย์รังสีรักษาตารางการออกตรวจแพทย์รังสีรักษา - วันจันทร์-วันศุกร์ ปิดรับบัตรผู้ป่วยนอก (เก่า) 10.00น. ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเก่าที่มีภาวะฉุกเฉินที่ติดต่อล่วงหน้า - แพทย์รังสีรักษาออกตรวจและรับปรึกษา จันทร์-ศุกร์ 9.00 -12.00น. และมีเวรปรึกษาสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินถึง 15.00 น. - ตรวจตามระบบนัดหมาย กรณีไม่สามารถมาตามนัดได้ให้โทรศัพท์นัดใหม่ได้ที่เบอร์โทร. 038-784001-5 หรือ 038-455632-6 ต่อ 169, 174 (ห้องตรวจผู้ป่วยนอกรังสีรักษา) - ผู้ป่วยที่มาผิดนัดอาจไม่ได้รับการตรวจในวันที่ท่านมา แพทย์จะพิจารณาถึงความจำเป็นในการตรวจรักษาเป็นรายๆไป

  34. โรงพยาบาลที่มีหน่วยรังสีรักษาในบริเวณใกล้เคียงโรงพยาบาลที่มีหน่วยรังสีรักษาในบริเวณใกล้เคียง • รพ. มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี จ.ปทุมธานี, รพ. มะเร็งลพบุรี • รพ. ราชวิถี** สถาบันมะเร็งแห่งชาติ** รพ. รามาธิบดี • รพ. จุฬาลงกรณ์** รพ. พระมงกุฎฯ รพ. ภูมิพลฯ • รพ. ศิริราช** รพ. จุฬาภรณ์ • โรงพยาบาลเอกชน – รพ. บำรุงราษฎร์, รพ. วัฒโนสถ,ศูนย์มะเร็งกรุงเทพ, รพ. ธนบุรี **มีบริการคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ**

  35. ขอบคุณค่ะ

More Related