1 / 16

จำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อเสนอเพื่อพิจารณา เรื่อง “แนวทางการจัดสวัสดิการ ของพนักงานมหาวิทยาลัย ตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550. จำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล. ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2550. การเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร. บุคลากรที่ต้องปรับ/เปลี่ยนสถานภาพทันทีที่ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ

Download Presentation

จำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อเสนอเพื่อพิจารณาเรื่อง “แนวทางการจัดสวัสดิการของพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550

  2. จำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลจำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2550

  3. การเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากรการเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร • บุคลากรที่ต้องปรับ/เปลี่ยนสถานภาพทันทีที่ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน 2,855 คน • อธิการบดี 1 คน • รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี 9 คน • บุคลากรที่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพภายใน 60 วัน นับตั้งแต่พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ (ตั้งแต่ 17 ตุลาคม 2550) • คณบดี , ผู้อำนวยการวิทยาลัย/สถาบัน/สำนัก/ศูนย์ 33 คน • หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา 122 คน (จำนวนภาควิชาทั้งหมด 127 ภาควิชา)

  4. การเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากรการเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร • บุคลากรที่สามารถแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย มหิดล พ.ศ.2550 • ข้าราชการ 8,026 คน • ลูกจ้างของส่วนราชการ (ลูกจ้างที่จ้างจากเงินงบประมาณ) 2,556 คน • บุคลากรที่ยังคงสถานภาพเดิม • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ 5,005 คน • ลูกจ้างเงินรายได้ 5,943 คน • พนักงานราชการ 74 คน • พนักงานวิทยาลัยในกำกับ 503 คน

  5. แนวทางการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลแนวทางการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาล สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่บุคลากรได้รับอยู่เดิมก่อนเปลี่ยนสถานภาพ • บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันตามประเภทบุคลากร • ข้าราชการและลูกจ้างจากเงินงบประมาณมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ตามระเบียบของทางราชการ • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน พนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินรายได้ และลูกจ้างที่จ้างเงินรายได้ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  6. สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่บุคลากรได้รับอยู่เดิมก่อนเปลี่ยนสถานภาพสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่บุคลากรได้รับอยู่เดิมก่อนเปลี่ยนสถานภาพ ปัญหา • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน ประเภทประจำ • จ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานเต็มตามวงเงินที่ได้รับจัดสรร • สายวิชาการเพิ่มขึ้น 70% สายสนับสนุนเพิ่มขึ้น 50% ของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ • มหาวิทยาลัยหักเงินเดือนไว้ 10% ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2546 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการโดยให้มีสิทธิได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียนบุตรเหมือนข้าราชการ • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 – 2550 จ่ายเกินกว่าจำนวนเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานไว้ 10% ในอัตรา 22.73% และ 30.12% ตามลำดับและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยกลุ่มพนักงานที่เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงเกิน 100,000 บาทต่อปี มีประมาณ 3% และเบิกค่ารักษาพยาบาลประมาณ 40% ของค่ารักษาพยาบาล

  7. สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหลังจากปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.ใหม่ เมื่อพ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับมหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรของมหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคม ปัญหา • พระราชบัญญัติประกันสังคม ให้สิทธิการรักษาพยาบาลเฉพาะตัวพนักงานไม่ครอบคลุมถึงบุคคลในครอบครัว ต้องใช้สิทธิเฉพาะโรงพยาบาลที่เลือก และใช้สิทธิได้ตามที่กองทุนประกันสังคมกำหนดซึ่งมีข้อจำกัดกว่าการใช้สิทธิของข้าราชการ • มาตรา 73 วรรค 3 กำหนดไว้ว่าให้พนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง (ข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ) ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นไม่น้อยกว่าเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่เคยได้รับอยู่ก่อนเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตามพ.ร.บ.ใหม่

  8. หลักการและแนวทางในการจัดสวัสดิการการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยเมื่อเปลี่ยนสถานภาพหลักการและแนวทางในการจัดสวัสดิการการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยเมื่อเปลี่ยนสถานภาพ • สวัสดิการจากทางราชการในฐานะผู้รับบำนาญ • ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพ โดยเป็นผู้รับบำนาญให้ใช้สิทธิในฐานะผู้รับบำนาญจากทางราชการ ซึ่งสามารถใช้สิทธิได้เหมือนข้าราชการ โดยมหาวิทยาลัยขอยกเว้นการเข้าประกันสังคมสำหรับผู้รับบำนาญ • สวัสดิการจากกองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน และส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด • พนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินอุดหนุนเดิมที่ปรับสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เข้าใหม่ ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 • ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยมิได้เป็นผู้รับบำนาญจากทางราชการ (เป็นสมาชิก กบข. ต่อเนื่อง หรือเป็นผู้รับบำเหน็จ)

  9. ส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด • พนักงานมหาวิทยาลัยที่ปรับสถานภาพมาจากพนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน และพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 • พนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลจากประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนก่อน • บุคคลในครอบครัวของพนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิสวัสดิการตามสิทธิพื้นฐานของ แต่ละบุคคลก่อน • มหาวิทยาลัยจัดสวัสดิการเพิ่มเติม ในส่วนที่ไม่สามารถเบิกได้ตามข้อ 1 หรือ 2 โดยกำหนดวงเงินไว้ไม่เกินคนละ 20,000 บาทต่อปี • กรณีมีความจำเป็นต้องเบิกสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเกินวงเงินที่กำหนดตามข้อ 3 พนักงานมหาวิทยาลัยอาจเบิกในส่วนที่เกินได้โดยจ่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยเป็นสัดส่วนตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด (CO-Pay) • กรณีพนักงานมหาวิทยาลัยมิได้ใช้สิทธิเบิกสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม หรือใช้เพียงบางส่วนไม่เต็มวงเงิน มหาวิทยาลัยจะจัดประโยชน์ตอบแทนอื่นเพิ่มเติมให้กับพนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  10. ส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการที่มิได้เป็นผู้รับบำนาญ • พนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลจากประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนก่อน • บุคคลในครอบครัวของพนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิสวัสดิการตามสิทธิพื้นฐานของแต่ละบุคคลก่อน • มหาวิทยาลัยจัดสวัสดิการเพิ่มเติม ในส่วนที่ไม่สามารถเบิกได้ตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามอัตราที่ข้าราชการมีสิทธิได้รับ

  11. สวัสดิการเกี่ยวกับเงินออมสวัสดิการเกี่ยวกับเงินออม • มหาวิทยาลัยจัดตั้ง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” • ระยะแรกกำหนดอัตราในการส่งเงินสะสมของพนักงานมหาวิทยาลัยในอัตรา 3% ของอัตราเงินเดือน และมหาวิทยาลัยสมทบในอัตราที่เท่ากัน (ในระยะต่อไปมหาวิทยาลัยอาจพิจารณากำหนดเพิ่มอัตราเงินสะสมและเงินสมทบในอัตราก้าวหน้าตามระยะเวลาของการเป็นสมาชิก) • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการและเป็นสมาชิก กบข.ต่อเนื่อง ไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้

  12. แนวทางการดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัยแนวทางการดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยส่งเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราร้อยละ 5 ของอัตราเงินเดือนพนักงาน ไม่เกิน 750 บาทต่อคนต่อเดือน ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 0.2 ของอัตราเงินเดือนพนักงานต่อคนต่อปี สูงสุดไม่เกินคนละ 480 บาทต่อปี และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราร้อยละ 3 ของอัตราเงินเดือนพนักงานต่อคนต่อเดือน • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการที่มิได้เป็นผู้รับบำนาญ ให้มหาวิทยาลัยกันเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลเข้ากองทุนสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและหรือกองทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ในอัตรา 30 % ก่อนนำไปกำหนดเป็นอัตราเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ (อัตราเงินเดือนของพนักงานกลุ่มนี้จะน้อยกว่าอัตราเงินเดือนของกลุ่มผู้รับบำนาญประมาณ 20%) • ให้ยกเลิกการหัก 10% ของพนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุนประเภทประจำ โดยในระหว่าง 3 เดือนที่ยังไม่มีสิทธิใช้สวัสดิการจากประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนให้ยังคงได้รับสวัสดิการเหมือนเดิมก่อนปรับสถานภาพ (หักเงินเดือน 10% ระยะเวลา 3 เดือน โดยใน 3 เดือนนี้มหาวิทยาลัยจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทั้งในส่วนของพนักงานและของมหาวิทยาลัย)

  13. ข้อเสนอเพื่อพิจารณาเรื่อง “เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550”

  14. หลักการ • ใช้หลักการ Broadbandingกำหนดกระบอกเงินเดือนสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 • ใช้แนวทางบริหารจัดการกำหนดเงินเดือนและสวัสดิการและ สิทธิประโยชน์ให้อยู่ในวงเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ในอัตราไม่น้อยกว่าเดิม • สายวิชาการ/วิจัย -ใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการก่อนเปลี่ยนสถานภาพคูณ อัตราไม่เกิน 1.5 • สายสนับสนุน -ใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการก่อนเปลี่ยนสถานภาพคูณ อัตราไม่เกิน 1.3 • มหาวิทยาลัยต้องกำหนดกลไกในการกำหนดเงินเดือนให้เป็นมาตรฐาน มีความเหมาะสมกับภาระงาน ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง รวมทั้งวางระบบการประเมินที่มีตัวชี้วัดชัดเจน โปร่งใส

  15. MAX 180,000 72,000 MINระดับสูง MINระดับกลาง 43,000 35,000 MINระดับต้น ระดับต้น หมายถึง ตำแหน่ง รองคณบดี / หัวหน้าภาควิชา หรือเทียบเท่า ระดับกลางหมายถึง ตำแหน่ง คณบดี / รองอธิการบดี หรือเทียบเท่า ระดับสูง หมายถึง ตำแหน่งอธิการบดี

  16. MAX 150,000 20,000 ป.เอก 15,000 ป.โท MIN

More Related