1 / 35

ความคืบหน้าของการเจรจาใน WTO

ความคืบหน้าของการเจรจาใน WTO. โดย นางสาวศิรินารถ ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักเจรจาการค้าพหุภาคี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 18 มกราคม 2548 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี. เค้าโครงการบรรยาย. Background จุดเริ่มต้นของการเจรจารอบ Doha

Download Presentation

ความคืบหน้าของการเจรจาใน WTO

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความคืบหน้าของการเจรจาในWTOความคืบหน้าของการเจรจาในWTO โดย นางสาวศิรินารถ ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักเจรจาการค้าพหุภาคี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 18 มกราคม 2548 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี

  2. เค้าโครงการบรรยาย • Background จุดเริ่มต้นของการเจรจารอบDoha • ความคืบหน้าของการเจรจาในปี 2547 และท่าทีของไทยในเรื่องที่เจรจาต่างๆ • นัยสำคัญของJuly Package • การเตรียมตัวของประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนา

  3. จุดเริ่มต้นของการเจรจาการค้ารอบโดฮาจุดเริ่มต้นของการเจรจาการค้ารอบโดฮา • ที่ประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เดือนพฤศจิกายน 2544 มีมติให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ เรียกว่า การเจรจารอบการพัฒนา (Development Round) หรือระเบียบการพัฒนาโดฮา (Doha Development Agenda: DDA) • การเจรจารอบโดฮามีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 1 มกราคม 2548

  4. เรื่องที่กำหนดให้เจรจาเรื่องที่กำหนดให้เจรจา เกษตร บริการ การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม จดทะเบียนไวน์ & สุรา กฎเกณฑ์ของ WTO สิ่งแวดล้อม การระงับข้อพิพาท การปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย อื่นๆ การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง การเสริมสร้างขีดความสามารถและความร่วมมือทางเทคนิค พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เศรษฐกิจขนาดเล็ก การค้า หนี้ และการเงิน การค้าและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องที่กำหนดให้เจรจาตามปฏิญญาโดฮา • เรื่องที่จะต้อง • ตัดสินใจที่ MC5 • การลงทุน • นโยบายแข่งขัน • ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ • การอำนวยความสะดวกทางการค้า

  5. การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 5 ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก • เป็นเพียง Mid-Term Review เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการสิ้นสุดการเจรจา • กำหนดให้รัฐมนตรีตัดสินใจว่าจะเปิดการเจรจาหรือไม่ ในเรื่องการลงทุน นโยบายแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า • ให้ take stock และให้ political guidance เรื่องที่มีปัญหาในการเจรจา

  6. ประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจาประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจา • ความต้องการที่แตกต่างกันของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา • ประเทศพัฒนาแล้ว • สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเกาหลี ต้องการผลักดันให้เปิดการเจรจาเรื่อง Singapore Issues (การลงทุน นโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า), services, และ NAMA • ไม่ต้องการเปิดเสรีสินค้าเกษตร

  7. ประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจาประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจา ประเทศกำลังพัฒนา • ต้องการเปิดเสรีสินค้าเกษตร แต่ไม่ต้องการเจรจาเรื่องใหม่ๆ • ประเทศกำลังพัฒนาเช่น อินเดีย มาเลเซียและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มประเทศแอฟริกา แคริเบียนและแปซิฟิก (ACP) ต่อต้านการเจรจาเรื่อง Singapore Issues เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อนและตนเองยังไม่มีความพร้อม แต่ให้ความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณี ปัญหาความยากจน การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา

  8. ผลการประชุมฯ • ประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้ • ที่ประชุมจึงมีมติให้ประธานคณะมนตรีใหญ่ร่วมกับผู้อำนวยการใหญ่ WTO สานงานต่อ และให้จัดการประชุมคณะมนตรีใหญ่ในระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูง ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2546 เพื่อดำเนินการให้สามารถสรุปการเจรจาได้ภายในเวลาที่กำหนด

  9. สาเหตุความล้มเหลว • ประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้เรื่อง Singapore Issues • ปัญหาเรื่องการอุดหนุนการส่งออกฝ้าย กลุ่มประเทศแอฟริกาเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกการอุดหนุนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ • ความไม่โปร่งใสในการเจรจา (หลายประเทศไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Green Room)

  10. เหตุการณ์หลังแคนคูน • สหรัฐและสหภาพฯ มีหนังสือถึงรัฐมนตรี WTO เรียกร้องให้สมาชิกกลับมาเจรจากันอีกครั้งเพื่อไม่ให้ปี 2547 เป็นปีสูญเปล่า โดยเป้าหมายของการเจรจา คือ การจัดทำกรอบการเจรจาในเรื่องสำคัญให้เสร็จในเดือนกรกฎาคม 2547

  11. สถานะล่าสุดของการเจรจาเรื่องสำคัญๆสถานะล่าสุดของการเจรจาเรื่องสำคัญๆ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2547 ประเทศสมาชิกสามารถตกลงกันได้ เกี่ยวกับกรอบการเจรจาใน 4 เรื่อง JULY PACKAGE • การปฏิรูปสินค้าเกษตรโลก • การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม • การเปิดตลาดสินค้าบริการ • เปิดการเจรจาการอำนวยความสะดวกทางการค้า

  12. การเจรจาสินค้าเกษตร

  13. การลด/ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกการลด/ยกเลิกการอุดหนุนส่งออก • กำหนดวันยกเลิกการอุดหนุนส่งออกของทุกสินค้า โดย ให้ลด/ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทุกรูปแบบซึ่งรวมถึง • การให้สินเชื่อ / การค้ำประกัน / การรับประกันเพื่อการส่งออก ที่มีระยะเวลาชำระคืนเกิน 180 วัน • การระบายสต๊อกสินค้าส่วนเกินในรูปของการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร • การอุดหนุนส่งออกในรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อการส่งออก

  14. การลดการอุดหนุนภายใน • ลดยอดรวมการอุดหนุนภายในลงอย่างมากจากระดับที่ ผูกพันไว้ • ประเทศที่ให้การอุดหนุนสูงจะต้องลดในอัตราที่มากกว่า • จะมีการกำหนดเพดานการอุดหนุนของแต่ละสินค้า • ในปีแรก ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดยอดรวมการอุดหนุน ที่บิดเบือนการค้าทันทีร้อยละ 20

  15. การเปิดตลาด • ลดภาษีสินค้าทุกรายการลง • อัตราภาษีสูงจะต้องลดลงมากกว่าอัตราภาษีต่ำ • ขยายโควตาภาษี / ลดอัตราภาษีในและนอกโควตา รวมถึงปรับปรุงวิธีการบริหารโควตาให้มีความโปร่งใส • ให้ความยืดหยุ่นแก่สินค้าอ่อนไหว อาทิ อนุญาตให้เปิด ตลาดโดยการขยายปริมาณโควตาภาษีแทนการลดภาษี

  16. ประเด็นอื่นๆ • การเปิดตลาดสินค้าเกษตร จะต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาและความจำเป็นพิเศษของประเทศกำลังพัฒนาด้วย อาทิ • ความมั่นคงด้านอาหาร / การพัฒนาชนบท • ความอยู่ดีกินดี • การพึ่งสิทธิประโยชน์ทางการค้า • การพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์เพียงบางรายการ • การเป็นผู้นำเข้าอาหารสุทธิ • การเปิดเสรีฝ่ายเดียวไปก่อนหน้านี้แล้ว

  17. ท่าทีไทย การเปิดเสรีภาคเกษตรโลกจะทำให้สินค้าส่งออกสำคัญของไทย เช่น ข้าว น้ำตาล ส่งออกได้มากขึ้น จึงผลักดันการเจรจาในประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้ • การอุดหนุนการส่งออก ให้ลดการอุดหนุนส่งออกอย่างมากโดยเร็ว เพื่อนำไปสู่การยกเลิกทั้งหมดภายในเวลาที่กำหนด • การอุดหนุนภายใน ให้ลดการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนตลาดซึ่งประกอบด้วย การอุดหนุนภายในที่มีผลบิดเบือนตลาดโดยตรง (Amber box) การอุดหนุนภายที่เชื่อมโยงกับการจำกัดการผลิต (Blue box) และการอุดหนุนภายในขั้นต่ำที่สามารถทำได้ (De minimis) รวมทั้งทบทวนมาตรการอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนการค้า (Green box: เช่นโครงการของรัฐที่ทำการวิจัย, การกำจัดวัชพืช, การอบรมเกี่ยวกับการเกษตร) ให้มีความชัดเจนละรัดกุมมากขึ้น

  18. ท่าทีไทย • การเปิดตลาด ให้ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรลง ขยายปริมาณการนำเข้าภายใต้ระบบโควตาภาษีมากขึ้น รวมทั้ง ปรับปรุงวิธีการจัดสรรโควตาให้มีความโปร่งใสและมีความแน่นอน • เรียกร้องให้มีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่มีการแบ่งกลุ่มระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง

  19. การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (NAMA) • การกำหนดสูตรการลดภาษี ซึ่งประเทศสมาชิกตกลงใช้ สูตรการลดภาษีแบบ Non-linear • การลดภาษีรายสาขา • การลด/เลิกอุปสรรคทางการค้าในรูปที่มิใช่ภาษี (NTBs) • การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง

  20. ท่าทีไทย • ให้การสนับสนุน โดยมีเป้าหมายที่จะขยายสินค้าออกของไทยไปยัง ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา • สำหรับเรื่อง การลดภาษีแบบรายสาขานั้น ไทยมีความประสงค์จะให้เป็นวิธีเสริมที่สมาชิกเข้าร่วมโดยสมัครใจซึ่ง critical mass ก็อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะพิจารณา

  21. การเปิดตลาดการค้าบริการการเปิดตลาดการค้าบริการ การเจรจาด้านนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการเปิดตลาดและการจัดทำกฏเกณฑ์ การเปิดตลาด การเจรจาเปิดตลาดมีความคืบหน้ามากกว่าการเจรจาจัดทำกฏเกณฑ์ ปัจจุบันมีสมาชิกยื่นข้อเสนอเปิดตลาดเบื้องต้น (initial offer) จำนวน 48 ประเทศจาก 148 ประเทศ ส่วนสมาชิกที่ยื่นไปแล้วต้องยื่นข้อเสนอเปิดตลาดฉบับปรับปรุงใหม่ ภายในเดือน พ.ค. 48

  22. การเปิดตลาดการค้าบริการการเปิดตลาดการค้าบริการ การจัดทำกฏเกณฑ์การค้าบริการ ไม่มีความคืบหน้ามากนัก หลายประเด็นยังตกลงกันไม่ได้ เช่นมาตรการปกป้องฉุกเฉิน (ESM) การอุดหนุน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และหลักเกณฑ์ในการกำหนดกฏระเบียบในประเทศ

  23. ท่าทีไทย • ไทยซึ่งได้เข้าร่วมกับสมาชิก 17 ประเทศร่วมกันผลักดันให้สมาชิกที่ยังไม่ได้ยื่น initial offer ต้องดำเนินการโดยเร็ว โดยมีเป้าหมายที่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน • ไทยต้องการให้ความคืบหน้าของการเจรจาเปิดตลาดและเจรจาด้านกฏเกณฑ์มีความคืบหน้าไปพร้อมกัน โดยเฉพาะเรื่องมาตรการป้องกันฉุกเฉิน

  24. การอำนวยความสะดวกทางการค้าการอำนวยความสะดวกทางการค้า • เปิดให้มีการเจรจาว่าด้วยความตกลงด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนทางการค้าที่ยุ่งยาก (Red Tape) ของพิธีการทางศุลกากรและลดต้นทุนในการส่งสินค้าข้ามพรมแดน • ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ในเรื่อง infrastructure building and capacity building

  25. การอำนวยความสะดวกทางการค้าการอำนวยความสะดวกทางการค้า • การปฏิบัติตามพันธกรณีจะขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่จำเป็นจะต้องลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานมากไปกว่าความสามารถที่มีอยู่ • ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องคำนึงถึงต้นทุนที่จะเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศกำลังพัฒนา

  26. ท่าทีไทย • สนับสนุนการเจรจาครั้งนี้เพราะเห็นว่าจะได้รับประโยชน์ เนื่องจากมีการศึกษาว่าปัญหาการอำนวยความสะดวกทางค้าเป็นปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการไทย • คาดการได้ว่าการเจรจาจะสามารถลดต้นทุนการส่งออกได้ถึงร้อยละ 5-15 และช่วยลดความยุ่งยากในด้านพิธีการศุลกากรลงด้วยโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

  27. Implication ของ July Package • July Package เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้การเจรจารอบโดฮาคืบหน้าและเสริมสร้างความมั่นใจต่อระบบการค้าพหุภาคีและ WTO ซึ่งเป็นสถาบันที่มีกฎเกณฑ์ มีกระบวนการยุติข้อพิพาทที่เชื่อถือได้ และสมาชิกทุกประเทศมีความทัดเทียมกัน (one man one vote – egalitarian in the world economy despites size of economy) • ข้อผูกพันการปฏิรูปสินค้าเกษตรนับเป็นความสำเร็จของประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถรวมพลังผลักดันประเทศพัฒนาแล้วยกเลิกมาตรการการอุดหนุนการส่งออกและลดการอุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตรลงอย่างเป็นรูปธรรม

  28. Implication ของ July Package (ต่อ) • ไทยจะได้รับประโยชน์มากโดยเฉพาะในรายการสินค้าที่ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เนื่องจาก ปัจจุบัน ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นคู่แข่งของไทยให้การอุดหนุนภายใน อุดหนุนการส่งออก และเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในอัตราที่สูงมาก ดังนี้

  29. Implication ของ July Package (ต่อ) • สหภาพฯ และสหรัฐฯ ให้การอุดหนุนการผลิตสินค้าข้าวสูงถึง 556 ล้านยูโรและ 607 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และให้การอุดหนุนการผลิตน้ำตาลถึง 5,800 ล้านยูโรและ 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ • สหภาพฯ และสหรัฐฯ ให้การอุดหนุนการส่งออกสินค้าข้าว 30 ล้าน ยูโร และ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสหภาพฯ ให้การอุดหนุนส่งออกน้ำตาล 400 ล้าน ยูโร • ญี่ปุ่นเรียกเก็บภาษีนำเข้าข้าวนอกโควตาในอัตราที่สูงมากถึง 1,000 % แคนาดาเรียกเก็บภาษีนำเข้าเนื้อไก่นอกโควตาสูงถึง 238%

  30. Implication ของ July Package (ต่อ) • การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมเป็นประโยชน์ในการขยายการส่งออกของไทยไปยังประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพในการเปิดตลาดใหม่ๆ (มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมคิดสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 75 ของการส่งออกทั้งหมด) • การอำนวยความสะดวกทางการค้าจะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้นำเข้าและส่งออก เพราะจะช่วยลดความยุ่งยากในด้านพิธีการศุลกากรและลดต้นทุนการส่งออกได้ถึงร้อยละ 5-15

  31. การเตรียมตัวของประเทศไทยการเตรียมตัวของประเทศไทย

  32. มติคณะรัฐมนตรีล่าสุด “ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมปรับตัว เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเจรจาอย่างเต็มที่ ”

  33. การเตรียมตัวของประเทศไทยการเตรียมตัวของประเทศไทย โดยรวมแล้วภาครัฐบาลและเอกชนควรมีการประสานงานกันมากขึ้น เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเจรจาอย่างสูงสุด ภาครัฐบาล • เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการร่างนโยบาย • เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศบางรายยังขาดความเข้าใจในเรื่องของข้อตกลงต่างๆและการเจรจาที่ดำเนินอยู่ จึงควรจัดทำฐานข้อมูลให้เพียงพอต่อความต้องการ

  34. การเตรียมตัวของประเทศไทยการเตรียมตัวของประเทศไทย ภาคเอกชน • ควรทำการศึกษานัยสำคัญของการเจรจาทางการค้าที่ดำเนินอยู่ (เช่นการเจรจาเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรม (NAMA) ซึ่งมีผลกระทบสูงต่อภาคธุรกิจ) เพื่อกำหนดแผนในการรับมือและเพื่อที่จะได้ให้ความร่วมมือในการปรึกษากับภาครัฐบาลได้อย่างเต็มที่

More Related