1 / 23

“ แพทย์กับการเสียภาษี ”

“ แพทย์กับการเสียภาษี ”. มูลค่าหุ้น 738,000,000 ภาษีเงินได้พึงประเมิน (2540) 273,060,000 เงินเพิ่ม 273,060,000 รวม 546,120,000. จำเลยทั้งสามเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะกระทำผิดฐานให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร จำเลยที่ 2

Download Presentation

“ แพทย์กับการเสียภาษี ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “แพทย์กับการเสียภาษี”“แพทย์กับการเสียภาษี”

  2. มูลค่าหุ้น 738,000,000 ภาษีเงินได้พึงประเมิน (2540) 273,060,000 เงินเพิ่ม 273,060,000 รวม 546,120,000

  3. จำเลยทั้งสามเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะกระทำผิดฐานให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร จำเลยที่ 2 เป็นภริยาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับผู้บริหารประเทศ จำเลยทั้งสาม จึงนอกจากมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนเยี่ยงพลเมืองดีทั่วๆไปแล้ว ยังควรดำรงตน ให้เป็นตัวอย่างที่ดีสมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย แต่จำเลยทั้งสามกลับร่วมกันกระทำการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อสังคมและระบบภาษี ทั้งๆที่จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามกฎหมายและจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนในที่สุดนั้น เทียบ ไม่ได้กลับจำนวนทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และครอบครัวมีอยู่ในขณะนั้น การที่ จำเลยที่ 1จะชำระภาษีอากรไปตามกฎหมายเช่นพลเมืองดีทุกคนจึงมิได้มีผล กระทำต่อฐานะของจำเลยที่ 2 แต่อย่างไดการกระทำความผิดของจำเลยทั้ง สามจึงร้ายแรง

  4. พิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 37(2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมาลรัษฎากรมาตรา 37(1) ประกอบประมวลกฏหมายอาญามาตรา 38 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ฐานร่วมกันโดย ความเท็จโดยฉ้อโกง หรือ อุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 2 ปี ฐานโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจ ร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 1 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 3 ปี

  5. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาตรา 83 ตามประมวลกฎหมายอาญาระบุ “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้น เป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

  6. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 มาตรา 91 เมื่อปรากฎว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตามเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ 1. สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี 2. ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี 3. ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปี ขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

  7. วิวัฒนาการของ ภาษีเงินได้ของแพทย์

  8. พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่า ใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พศ.2502 มาตรา 6 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พศ. 2496 ให้หักจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาดังต่อไปนี้ (1) เงินได้จากวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะให้หักค่าใช้จ่าย ในการเหมาร้อยละ 60 (2) เงินได้จากวิชาชีพอิสระนอกจาก (1) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการ เหมาร้อยละ 30

  9. มาตรา 8.เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่10) พศ.2496 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาดังต่อไปนี้ (12) การทำกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเฉพาะที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา ร้อยละ 75 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ส. ธนะรัชต นายกรัฐมนตรี

  10. วิวัฒนาการของ ม. 40 (6) 2533-2543  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2533 นายสุเมธ ชื่นตระกูล โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย “เงินที่โจทก์ได้รับจากการรักษาคนไข้ ในโรงพยาบาลนอกเวลาทำงานปกติ เป็นเงินได้จากการประกอบอาชีพอิสระ ตาม ป.รัษฎากร ม.40 (6) มิใช่เงินได้ 40 (1)”

  11. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2033 นายศักดิ์ชัย ผลประเสริฐ โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย “เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยที่มารับการรักษานอกเวลาทำการปกติของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6)”

  12. บันทึกข้อความที่ กค 0811 (กม)/03785 27 มีนาคม 2541 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระฯ 1. กรณีแพทย์ทำงานในสถานพยาบาลของรัฐ หรือเอกชนโดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน หรือค่าจ้าง ให้ถือเป็นเงินได้ตาม ม.40 (1) 2. กรณีแพทย์ตาม (1) แล้วมีรายได้พิเศษจาก สถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่ เช่น เงินค่าล่วงเวลาจาก การเข้าเวร หรือค่าตอบแทนพิเศษในการรักษาผู้ป่วย ให้ถือเป็นเงินได้ตาม ม.40 (1)

  13. 3. กรณีแพทย์ ตาม (1) แล้วไปทำงานเป็นครั้งคราว ในสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งโดยได้รับค่าตอบแทน หรือค่าจ้างจากการทำงานเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ในแต่ละเดือน ไม่ว่า หน้าที่หรือตำแหน่งงานหรือ งานที่รับทำให้จะเป็นงานประจำหรือชั่วคราว ค่าตอบแทนถือเป็นเงินได้ตาม 40 (2)

  14. 4. กรณีแพทย์ทำสัญญาหรือข้อตกลงพิเศษกับ สถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่เพื่อประกอบโรคศิลปะ เป็นการส่วนตัวนอกเวลาทำการปกติโดยการตรวจ และรักษาผู้ป่วยและมีข้อตกลงแบ่งเงินที่ตนได้รับ จากผู้ป่วยให้แก่ สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร ค่าตอบแทนถือเป็นเงินได้ตาม ม.40 (6)

  15. 5. กรณีแพทย์ทั้งที่ทำงานประจำ และมิได้ทำงานประจำในสถานพยาบาลของรัฐ หรือเอกชน แต่ได้ประกอบโรคศิลปะ โดยการรับตรวจและรักษาที่สถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง เป็นครั้งคราว ค่าตอบแทนถือเป็นเงินได้ตาม ม.40 (6) 6. กรณีแพทย์มีเงินได้จากการเปิดสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเป็นของตนเองเฉพาะ ที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ค่าตอบแทนถือเป็นเงินได้ ตาม 40 (6)

  16. บันทึกข้อความ กค 0811/ว.2497 29 มีนาคม 2543 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้จากวิชาชีพอิสระฯ 1. กรณีแพทย์ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้ พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานได้ตาม ม. 40 (2) ให้ผู้จ่ายเงินคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ทุกคราว ที่จ่ายเงินตาม ม. 50 (1)

  17. 2. เงินได้พึงประเมิน ตาม ม. 40 (6) แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 2.1 กรณีแพทย์ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาล เพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบ โรคศิลปะในนามของแพทย์เพื่อตรวจและรักษา ผู้ป่วย โดยแพทย์เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และมีข้อตกลงแบ่งเป็นค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย ให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร

  18. 2.2 กรณีแพทย์ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับ สถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์เพื่อตรวจ และรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษา ที่ได้รับจากผู้ป่วยโดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้เรียก เก็บเงินค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้แก่ แพทย์เพื่อแบ่งรายได้ให้แก่สถานพยาบาลต่อไป

  19. ทั้งกรณี 2.1 และ 2.2 ได้ถือว่าเงินที่แพทย์ เรียกเก็บจากผู้ป่วยเป็นเงินได้พึงประเมิน ตาม ม. 40 (6) มิใช่เฉพาะเงินส่วนแบ่ง ที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของ สถานพยาบาลออกแล้ว

  20. วิบากรรมทางภาษีของแพทย์วิบากรรมทางภาษีของแพทย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2549

  21. 1. คลินิกนอกเวลาที่โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้เก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินในนามโรงพยาบาล แล้วจึงจ่ายเงินให้แพทย์โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแพทย์มิได้มีนิติสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้ป่วยโดยตรง • 2 .แพทย์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากเพียงใดที่จะแสดงว่าค่าใช้จ่ายในการประกอบวิชาชีพอิสระอันจะถือว่าเป็นรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) ต่างจากแพทย์ที่เปิดคลินิกในฐานะเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว จึงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและในการบริหารคลินิกสูง • 3. แพทย์นำสืบไม่ได้ว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาไม่ใช่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ใบเสร็จรับเงินก็ออกในนามโรงพยาบาลหาใช่ในนามแพทย์ไม่

More Related