1 / 19

ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching

จัดทำโดย นายชัชวาล เตียประภางกูร 54402602. ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching. 1. ปะการัง 2. ความสำคัญของแนวปะการัง 3. สาเหตุทำให้เกิดปะการังฟอกขาว 4. ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง 5. ปรากฏการณ์ Greenhouse Effect 6. อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน 7. แนวทางการแก้ไข.

dorcas
Download Presentation

ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จัดทำโดย นายชัชวาล เตียประภางกูร54402602 ปะการังฟอกขาว Coral Reef Bleaching

  2. 1. ปะการัง 2.ความสำคัญของแนวปะการัง 3. สาเหตุทำให้เกิดปะการังฟอกขาว 4.ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง 5. ปรากฏการณ์ Greenhouse Effect 6. อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน 7. แนวทางการแก้ไข หัวข้อที่นำเสนอ

  3. ปะการัง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่าง เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง และปะการังยังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล ปะการัง ( Coral )

  4. ปะการังมีสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวอาศัยอยู่ร่วมกันภายในเนื้อเยื่อของปะการัง สาหร่ายซูแซนเทลลีให้พลังงานที่เป็นผลจากการสังเคราะห์แสงแก่ปะการังที่ใช้เป็นที่อาศัยอีกทั้งให้สีสันที่หลากหลายกับปะการังด้วยดังนั้นหากปะการังเหล่านี้ไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีแล้วปะการังจะได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และปะการังก็จะมีแต่สีขาว ซึ่งเป็นสีของโครงร่างหินปูนที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเท่านั้นสีสันของโลกใต้น้ำบริเวณแนว ปะการังก็คงไม่งดงามเหมือนที่เห็นเช่นปัจจุบัน ปะการัง ( Coral ) ต่อ

  5. 1.เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำหลายชนิด 2. ความสวยงามของปะการัง รูปร่างต่าง ๆ ใช้ในการประดับสถานที่และที่อยู่อาศัย 3. โครงสร้างหินปูนของปะการังสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ 4. หินปูนจากปะการังและสาหร่ายบางชนิดใช้เป็นองค์ประกอบของยาบางชนิด 5.ปลาในแนวปะการัง ซึ่งเป็นปลาสวยงาม ใช้ประดับในตู้ปลาและกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ 6.ทัศนียภาพความสวยงาม จากตัวแนวปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยอยู่ เช่น ฝูงปลาสวยงาม เป็นต้น นับเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวที่สำคัญ 7.แนวปะการังจะช่วยป้องกันการกัดเซาะของชายหาดเนื่องจากคลื่นและพายุ 8.คุณค่าในด้านการศึกษาและการอนุรักษ์ สภาพไว้เพื่อการทดลอง ความสำคัญของแนวปะการัง

  6. สาเหตุเกิดหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ปรากฏการณ์ แอลนิลโญ่ อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง รังสีจากดวงอาทิตย์ การถูกแดด-ลมฝนกระทำ ตะกอนและความขุ่นของน้ำทะเล ความเค็ม สภาพและธาตุอาหารในน้ำทะเล สารเคมี หรือสารชีวภาพที่มนุษย์ใช้ในชีวิตปะจำวัน สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะโลกร้อน โดยอุณหภูมิน้ำในทะเลสูงขึ้นประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส หรือผลจากความเข้มข้นของแสง หรือสองปัจจัยนี้ร่วมกัน ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลี ที่อาศัยอยู่ในปะการังทนอยู่ไม่ได้และหนีออกจากปะการัง ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว ไม่มีสีสัน คล้ายหินปูน หากอุณหภูมิน้ำทะเลหรือสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ ปะการังจะสามารถปรับสภาพและฟื้นตัวได้ ดังนั้นหากในช่วง 2-3 สัปดาห์ อากาศมีอุณหภูมิลดลง หรือมีฝนตกลงมาเล็กน้อย จะช่วยให้อุณหภูมิน้ำลดลง ปะการังจะกลับมามีชีวิตและมีสีสันอีกครั้ง สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว

  7. ปะการังที่ปราศจากสาหร่ายเหล่านี้ก็ไม่มีโอกาสได้รับพลังงานเสริมที่เพียงพอในการดำรงชีวิตหากสถานการณ์ดำรงเช่นนี้ต่อไปปะการังก็จะตายในที่สุดเมื่อสาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งเป็นสีสันของปะการัง ออกจากตัวปะการังไปแล้วปะการังก็จะกลับคืนมาเป็นสีขาวซึ่งคือสีของปะการังเองดังนั้นปรากฏการณ์ที่ทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกจากปะการังจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) สำหรับในพื้นที่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ควรลดหรืองดกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อช่วยลดมลพิษที่จะถูกปล่อยลงสู่ทะเล และให้เวลาปะการังในการฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพเดิมอีกครั้ง สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว (ต่อ)

  8. ภาวะโลกร้อน (global warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจาก ปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะ ปัจจัยที่เกิดจาก ภาวะ เรือนกระจก (green house effect) ตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ได้หันไปพึ่งพาการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ได้มาจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานในกระบวนการการเผาผลาญเชื้อเพลิงทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นจำนวนมาก ก๊าซนี้เมื่อถูกปล่อยออกไปแล้วจะถูกสะสมอยู่ที่ชั้นบรรยากาศ และคอยกันความร้อนต่างๆ ที่ถูกปล่อยออกจากพื้นผิวโลกไม่ให้ความร้อนสามารถระบายออกสู่นอกชั้นบรรยากาศได้จึงเรียกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกและเรียกภาวะที่เกิดขึ้นว่าภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นตามมา ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง

  9. สันนิษฐานว่าเป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์ เอลนินโญ่ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของ โลกและน้ำทะเล สูงขึ้น จนทำให้ปะการัง และสัตว์อื่นในบริเวณ แนวปะการังได้แก่ ดอกไม้ทะเล ถ้วย ทะเลและปะการังอ่อน เปลี่ยนจากสีต่างๆ เป็นสีขาวและค่อยๆ ตายไป จากการสำรวจพบว่าขณะนี้ปะการังในอ่าวไทยเปลี่ยนสีไปแล้วประมา ณ 60 - 80% ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง (ต่อ)

  10. ปรากฏการณ์ Greenhouse Effect • http://www.weatherquestions.com/What_is_the_greenhouse_effect.htm

  11. กระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำเย็น • http://emmarrggh.diaryis.com

  12. แนวปะการังบริเวณฝั่งตะวันตกตามเกาะต่าง ๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน มีแนวโน้มการเกิดฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่นของเกาะ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลน้ำจากทะเลลึกที่เข้ามาช่วยบรรเทาผลของอุณหภูมิน้ำทะเล นอกจากนี้ยังพบว่า ปะการังลายดอกไม้ (Pavonadecussata) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastreaheliopora ) เป็นชนิดที่มีแนวโน้มต้านทานต่อการฟอกขาวได้ดี วิกฤตปะการังฟอกขาวในไทย

  13. ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่บนโลกมานานกว่า 200 ล้านปี ปัจจุบันแนวปะการังได้ลดลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปะการังถูกทำลายและลดจำนวนลงอย่างมากเนื่องมาจากกิจกรรมที่เป็นผลจากการกระทำ ของมนุษย์ เช่นการทำประมงที่มากเกินไป การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าร้อยละ 70 ของปะการังจะตายภายใน 40 ปีข้างหน้าหากพวกเรา ไม่ช่วยกันป้องกันหรืออนุรักษ์ปะการัง การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบที่ตามมาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่สามารถสร้างความเข้าใจให้ประชาชนร่วมกันปกป้องรักษาปะการังได้ผลกระทบที่ตามมาเหล่านี้ สุดท้ายอาจสะท้อนกลับมาสู่มนุษย์เราผู้เริ่มต้นของปัญหาต่าง ๆ นั่นเอง เมื่อปะการังได้รับผลกระทบสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ หลากหลายที่อาศัยแนวปะการังเป็น ที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งหาอาหารหรือเป็นแหล่งหลบภัย ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมทั้งสัตว์เศรษฐกิจอีกมากมายที่มนุษย์เราใช้ประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังก็จะลดน้อยลง อีกทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายก็จะสูญหายไปด้วย หากมนุษย์เราไม่คำนึงกันตั้งแต่บัดนี้ วันที่เราไม่อยากเห็นก็อาจปรากฏได้เร็วมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน

  14. พื้นที่ที่มีปะการังฟอกขาวในแนวปะการังเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วง 15 ปีที่ผ่าน Yellow spots indicate major bleaching events. จุดสีเหลืองบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญการฟอกสี • http://www.marinebiology.org/coralbleaching.htm

  15. อุณหภูมิน้ำทะเล ปี 2553 • http://mrvop.wordpress.com

  16. กราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ตกราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ต • http://www.dmcr.go.th/marinecenter/coral-lesson6.php

  17. บริเวณที่เกิดปะการังฟอกขาวในไทยบริเวณที่เกิดปะการังฟอกขาวในไทย • http://www.dmcr.go.th/marinecenter/coral-lesson6.php

  18. 1. ลดการใช้สารเคมีที่มี ปฏิกิริยาเรือนกระจกและเพิ่มเติมการปลูกป่า สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวดิน 2. สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว 3.ลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ด้วยการกำหนดพื้นที่รูปแบบกิจกรรม 4.ผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ 5.มีการจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อลดปริมาณตะกอนจากแผ่นดินลงสู่ทะเล 6.กำหนดมาตรการป้องกันกิจกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง 7.ปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ในพื้นที่แนวปะการัง 8.จัดสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ หรือปะการังเทียมเสริมในบริเวณที่เหมาะสม แนวทางการแก้ไข

  19. ขอบคุณครับ

More Related