1 / 19

ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม ( Social Responsibility Theory )

ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม ( Social Responsibility Theory ) . สมาชิกในกลุ่ม. นางสาวประภา ฝ่ายแก้ว นางสาวประภัสรา ประกอบสุข นางสาวอรนิภา เผยศิริ นางสาวอารดา ลอยเลื่อย นางสาวอนัญญา ทวีไกรกุล นางสาววิกานดา ตั้งเตรียมใจ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้นปีที่ 3. ความเป็นมา.

donelle
Download Presentation

ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม ( Social Responsibility Theory )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม (Social Responsibility Theory)

  2. สมาชิกในกลุ่ม นางสาวประภา ฝ่ายแก้ว นางสาวประภัสรา ประกอบสุข นางสาวอรนิภา เผยศิริ นางสาวอารดา ลอยเลื่อย นางสาวอนัญญา ทวีไกรกุล นางสาววิกานดา ตั้งเตรียมใจ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้นปีที่ 3

  3. ความเป็นมา • พฤติกรรมในทางลบของหนังสือพิมพ์เสรีในสหรัฐอเมริกาผลักดันให้นักคิดนักวิชาการเข้ามาช่วยนักหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์โฆษณาสร้างจรรยาบรรณสำหรับวิชาชีพมาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ผู้ที่มีส่วนในการวางรากฐานทฤษฎีนี้เป็นอย่างมากก็คือ โจเซฟ พูลิทเซอร์ (Joseph Pulitzer) ที่ได้พยายามต่อสู้เพื่อตั้งสถาบันการศึกษาวารสารศาสตร์ขึ้น (ปัจจุบันนี้อยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ค)

  4. ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ในวารสาร American Reviewเมื่อปี ค.ศ. 1904 ว่า“ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ความรู้ถูกถ้วนที่สุดเกี่ยวกับปัญหาที่จะต้องเผชิญ และความรู้สึกรับผิดชอบทางศีลธรรมด้วยความจริงใจ สามอย่างนี้จะช่วยปกป้องวิชาชีพวารสารศาสตร์ให้พ้นจากความยอมจำนนต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เห็นแก่ตัวและเป็นศัตรูต่อสวัสดิการของประชาชน”  (Joseph Pulitzer, อ้างถึงในสมควร กวียะ, 2545 : 91) 

  5. นับแต่นั้นมาการพูดถึงความรับผิดชอบก็ขยายกว้างออกไป หนังสือพิมพ์ต้องมีเสรีภาพตามแนวความคิดอิสรภาพนิยม แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรับผิดชอบควบคู่กันไปด้วย เกิดเป็นแนวความคิดเสรีนิยมอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า Neo-liberalism  ในแนวความคิดนี้เสรีภาพถูกจำกัดขอบเขตด้วยความรู้สึกรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพภายใต้จรรยาบรรณของสมาคมวิชาชีพ และโดยการควบคุมของสถาบันรัฐที่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลหรือผู้ใด (Public but independent institutions) 

  6. อันที่จริงทฤษฎีเสรีนิยมแนวใหม่เพิ่งจะกลายเป็นทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมอย่างชัดแจ้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อคณะกรรมาธิการเสรีภาพสื่อมวลชน (Commission on Freedom of the Press) ได้ศึกษาและรายงานชื่อว่า สื่อมวลชนที่มีเสรีภาพและความรับผิดชอบ (A Free and Responsible Press)  แม้ว่าผลงานของคณะกรรมาธิการจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากจากวงการวิชาชีพ แต่ส่วนใหญ่ก็มิได้ขัดแย้งในหลักการ จึงเท่ากับว่าช่วยตบแต่งให้ทฤษฎีนี้มีรูปร่างชัดเจนยิ่งขึ้น

  7. ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน • บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีเสรีนิยมแบบดั้งเดิม แต่เจาะเน้นที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เหล่านั้นให้เกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง • ประการแรกจะต้องถือเป็นภาระหน้าที่หลักที่จะให้บริการแก่ระบบการเมือง โดยการให้ข่าวสารและให้มีการอภิปรายโต้เถียงในเรื่องของส่วนรวมหรือกิจการสาธารณะ

  8. ประการที่สองซึ่งเป็นหน้าที่รองลงมาก็คือ ควรจะต้องส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและให้ความสว่างทางปัญญา(Enlightening) แก่สาธารณชนเพื่อจะได้เกิดความสามารถในการปกครองตนเอง

  9. ประการที่สามควรจะต้องพิทักษ์รักษาสิทธิของบุคคลโดยคอยเฝ้าดูรัฐบาล (Watchdog against government) • ประการที่สี่ควรจะต้องให้บริการแก่ระบบเศรษฐกิจ โดยเน้นส่งเสริมผลประโยชน์ของผู้ซื้อผู้ขายสินค้าและบริการด้วยสื่อการโฆษณาแต่รายได้จากการนี้จะต้องไม่บั่นทอนอิสรภาพของสื่อมวลชน

  10. ประการที่ห้าควรจะต้องให้ความบันเทิงแก่สาธารณชน แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นความบันเทิงที่ “ดี” มีคุณภาพ • ประการที่หกควรจะต้องหลีกเลี่ยงไม่เสนอเนื้อหาเรื่องราวที่อาจนำไปสู่การประกอบอาชญากรรม ความรุนแรง ความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือการก้าวร้าวต่อชนกลุ่มน้อย

  11. ประการที่เจ็ดสื่อมวลชนควรจะต้องเป็นพหุนิยม คือสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ใช้สิทธิโต้ตอบ

  12. คณะกรรมาธิการเสรีภาพสื่อมวลชน (The Commission on Freedom of the press) ในสหรัฐอเมริกา ได้เสนอแนะหลักการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบของสื่อมวลชนไว้ดังนี้

  13. สื่อมวลชนจะต้องเสนอสิ่งที่เป็นจริงเข้าใจได้ และเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ประจำวัน • สื่อมวลชนควรทำหน้าที่เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนการวิพากษ์วิจารณ์ • สื่อมวลชนควรให้ภาพที่เป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆในสังคม • สื่อมวลชนควรนำเสนอค่านิยมของสังคมให้ชัดเจน • สื่อมวลชนควรให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้อย่างเต็มที่

  14. ลักษณะความรับผิดชอบของสื่อมวลชนลักษณะความรับผิดชอบของสื่อมวลชน 1.ความเป็นอิสระ(Freedom)ได้แก่ ความเป็นอิสระที่จะรู้(Freedom to know)ความเป็นอิสระที่จะบอก(Freedom to tell) และความเป็นอิสระในการค้นหาความจริง(Freedom to find out) แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีอิสระในด้านต่างๆข้างต้น แต่ก็จำเป็นต้องใช้ความเป็นอิสระเหล่านั้นอย่างมีความรับผิดชอบ และในขณะเดียวกัน ก็ต้องปกป้องความเป็นอิสระของตนจากการแทรกแซงของสิ่งต่างๆ

  15. 2. ต้องไม่เสนอข่าวในลักษณะที่อาจทำให้เสียความยุติธรรมในการพิจารณาคดี(Fair Trial) 3. ต้องไม่เสนอในเรื่องที่เป็นความรับของทางราชการ(Government Secrecy) 4. ต้องเสนอข่าวด้วยความถูกต้อง (Accuracy)หากมีความผิดพลาดในการเสนอข่าวสื่อมวลชนจะต้องแก้ไขข่าวนั้นในทันที เช่น ถ้าเสนอข่าวผิดหนึ่งประโยค ก็ต้องแก้ไขประโยคนั้นในหน้าเดียวกันในตำแหน่งเดียวกันที่ผิดพลาด

  16. 5.ต้องเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา (Objective)โดยแยกแยะระหว่างเนื้อข่าวและความคิดเห็น 6.ต้องเสนอข่าวโดยเสมอภาคกัน(Balance) โดยเสนอข่าวจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น 7.ต้องไม่แทรกแซงสิทธิส่วนบุคคล(Privacy)

  17. 8.ต้องอ้างถึงแหล่งที่มาของข่าวได้(Using Source Responsibly)เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ในบางกรณีที่ผู้ให้ข่าวอาจไม่ต้องการเปิดเผยตัวเพราะกลัวว่าอาจได้รับอันตราย ก็เป็นความรับผิดชอบของสื่อมวลชนที่จะปิดข่าวไว้ 9.ต้องเสนอรายการบันเทิงในรูปแบบที่หลากหลาย(Pluralism in Programming)

  18. สรุป • จะเห็นได้ว่าทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม แตกต่างจากทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยมตรงประเด็นที่ว่า เสรีภาพมิได้เป็นแต่เพียงอิสรภาพที่ไร้จุดหมายปลายทาง และเสนอสนองสิทธิมนุษยชนในการแสดงออกเท่านั้น หากจะต้องเป็นอิสรภาพที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลประโยชน์ของส่วนรวมให้เกิดผลอย่างจริงจัง สื่อมวลชนมิได้เกิดมาเพื่อเป็นเครื่องมือของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สร้างความสัมฤทธิผลให้กับสังคมด้วย สรุปได้ว่าเสรีภาพเชิงลบ (negative freedom) ได้กลายมาเป็นเสรีภาพเชิงบวก (positive freedom) นั่นเอง

  19. จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ

More Related