1 / 28

เกณฑ์ประเมิน PCA หมวด ๕

เกณฑ์ประเมิน PCA หมวด ๕. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร. A.

desma
Download Presentation

เกณฑ์ประเมิน PCA หมวด ๕

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เกณฑ์ประเมิน PCA หมวด ๕

  2. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร A ทีมนำสุขภาพมีการวิเคราะห์องค์กรร่วมกัน ในปีที่ผ่านๆมา ในด้านการจัดสรรบุคลากรให้ครอบคลุมและเป็นธรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานสรรหาและจัดสรรบุคลากรในปีต่อไป (ประเมินจากระบบ GIS) ทีมนำสุขภาพมีการสร้างแผนปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบและบริหารงานบุคลากรในเครือข่ายบริการหรือในรพ.สต. (ประเมินจากแผนปฏิบัติการด้านบุคลากร โดยเฉพาะแผนการสรรหาบุคลากรส่วนขาด : GIS)

  3. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร A มี Job description ตามตำแหน่งให้ครบตามที่กำหนดไว้ (ประเมินความรู้ของผู้ถูกประเมินโดยการสอบถามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ) ทีมนำสุขภาพ มีการกำหนดตัวชี้วัด การดำเนินงานด้านการบริหารบุคลากรของเครือข่ายบริการหรือ รพ.สต.

  4. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร A ทีมนำสุขภาพ ดำเนินการสื่อสารสองทาง กระตุ้นให้บุคลากรในองค์กร รับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากรขององค์กร (องค์กรสามารถระบุว่าขาดบุคลากรประเภทใด จำนวนเท่าไรและควรจะสรรหาโดยวิธีใด) มีการกำหนดแนวทางการติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่สำคัญต่อการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากรขององค์กร อย่างเป็นระบบ

  5. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร A • เอกสารแสดงถึงการวิเคราะห์องค์กร ด้านส่วนขาดของบุคลากรและการบริหารบุคลากรในระดับ CUP หรือ รพ.สต. • แผนการจัดหาและจัดสรรบุคลากรตามระบบ GIS ในระดับ CUP หรือ รพ.สต. • แผนปฏิบัติงานด้านบุคลากรของ CUP หรือ รพ.สต. • KPI ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากรของ CUP หรือ รพ.สต.

  6. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร D มีการจัดสรรบุคลากรครอบคลุมประชากรในสัดส่วน 1. (นสค.) 1 : 1,2502. แพทย์ 1 : 12,000 3. พยาบาล 1 : 5,0004. มีทันตภิบาลใน รพ.สต.แม่ข่าย หรือมีบริการ ทันตภิบาล (มีการจัดสรรอย่างน้อย 1 ใน 4) 2. .มีการจัดสรรบุคลากรครอบคลุมประชากรในสัดส่วน 1. (นสค.) 1 : 1,2502. แพทย์ 1 : 12,000 3. พยาบาล 1 : 5,0004. มีทันตภิบาลใน รพ.สต.แม่ข่าย หรือมีบริการทันตภิบาล (มีการจัดสรรอย่างน้อย 2 ใน 4)

  7. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร D 3. มีการจัดสรรบุคลากรครอบคลุมประชากรในสัดส่วน 1. (นสค.) 1 : 1,2502. แพทย์ 1 : 12,000 3. พยาบาล 1 : 5,0004. มีทันตภิบาลใน รพ.สต.แม่ข่าย หรือมีบริการ ทันตภิบาล (มีการจัดสรรอย่างน้อย 3 ใน 4) 4. .มีการจัดสรรบุคลากรครอบคลุมประชากรในสัดส่วน 1. (นสค.) 1 : 1,2502. แพทย์ 1 : 12,000 3. พยาบาล 1 : 5,0004. มีทันตภิบาลใน รพ.สต.แม่ข่าย หรือมีบริการทันตภิบาล (มีการจัดสรรครบทั้ง 4 ส่วน)

  8. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร D มีการสร้างทีมสหวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด หรือแพทย์แผนไทยปฏิบัติงานในชุมชน ร่วมกับ นสค. มีการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่แสดงถึงการให้ความสำคัญแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน/ทีมงาน โดยเฉพาะบุคลากรผู้ที่ตั้งใจทำงานหรือเสียสละ หลักฐาน 1. แบบประเมินจำนวนบุคลากรต่อประชากรที่รับผิดชอบ 2. คำสั่งทีมสหวิชาชีพ ที่ลงไปปฏิบัติงานในชุมชน รวมทั้งการแสดงการจัดบริการในชุมชนของทีมสหวิชาชีพ 3. แนวทางการให้คุณค่า (ความดีความชอบ) แก่บุคลากรที่มีความตั้งใจทำงาน/เสียสละเป็นกรณีพิเศษ

  9. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร L มีการใช้กระบวนการ PDCAในการปรับปรุงแนวทางในการดำเนินงานระหว่างการดำเนินงานเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากร (ดูแนวทางของผู้บริหารเครือข่ายหรือ ผอ.รพ.สต. มีการประเมินผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมายที่สามารถระบุได้ว่าเครือข่ายบริการหรือรพ.สต. ขาดบุคลากรตำแหน่งใด เท่าไร มีการประเมินถึงการแก้ไขปัญหาในการสรรหาบุคลากรมาทดแทนบุคลากรส่วนขาด ทั้งในรูปแบบเป็นทางการ (การจัดสรรบุคลากร) และไม่เป็นทางการ (การแบ่งบันทรัพยากรบุคลากร ช่วยเหลืองานร่วมกัน)

  10. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร L 4. มีการพัฒนาบุคลากร ทั้งในระบบและนอกระบบ ในตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นๆ ให้สามารถทดแทนบุคลากรส่วนขาด ทั้งในภาพเครือข่ายบริการหรือ รพ.สต. (เช่นการดึงบุคลากรใน รพ.สต. มาช่วยปฏิบัติงานใน สสอ. การพัฒนาลูกจ้างใน รพ.สต. ให้สามารถกรอกข้อมูลใน 21 แฟ้มได้) 5. มีการนำผลงานการแก้ไขปัญหาด้านการจัดสรรบุคลากรเข้าสู่ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใน องค์กร/เผยแพร่สู่ภายนอกองค์กร (เช่นการประเมินตามเกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิในหมวดบุคลากร การประเมินตามเกณฑ์ DHS ตามประเด็นการทำงานเป็นทีม เป็นต้น)

  11. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร L 6. มีการนำผลงานไปสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงานที่ต่อเนื่องหรือขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆหรือนำผลงานไปสร้างเป็นรูปแบนวัตกรรมขององค์กรหรือเครือข่าย ในประเด็นการบริหารบุคลากร (เช่นการสร้างโปรแกรมในการบริหารงานแทนบุคลากร) หลักฐาน 1. ตารางการประเมิน PDCA เพื่อทบ ทวน/ปรับปรุงการดำเนินงานด้านบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากร 2. วาระการประชุมเรื่องบุคลากรของ CUP Board 3. เอกสารแสดงถึงการพัฒนาบุคลากรอื่นไปทำงานแทนในหน้าที่อื่นๆ เช่น หนังสือให้เข้ารับการอบรมทักษะ หนังสือสั่งการให้มาช่วยปฏิบัติงาน 4. เอกสารแสดงการจัดกิจกรรมหรือ เข้าร่วมกิจกรรม KM ภายในองค์กร หรือนอกองค์กร

  12. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร I มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการ ทำงานร่วมกันของทีมงานบุคลากรในระดับอำเภอ/รพ.สต. (Unity District Health Team) มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการการแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากร (Resource Sharing/Human Development) ในประเด็นการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากร มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการ ให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (Essential Care) ในประเด็นการการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากร เช่น การจัดทีมสหวิชาชีพในระดับ CUP ไปช่วยปฏิบัติงานสุขภาพในชุมชน)

  13. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร I 4. มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community Participation)ในประเด็นการการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากร เช่น การจัดหาบุคลากรของ อปท. การช่วยเหลือของอสม. ในการจัดคลินิกบริการ เป็นต้น 5. มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานจนเกิดคุณค่ากับผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ (Appreciation) ในประเด็นการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากร เช่น การพิจารณาเรื่องการเลื่อนเงินเดือน การให้สวัสดิการพิเศษ เป็นต้น 6. มีการดำเนินงาน เรื่องการบริหารบุคลากรและการจัดสรรบุคลากรที่เชื่อมโยงสอดคล้องกันจนเป็นเนื้อเดียวกันและมุ่งสู่ความสำเร็จของพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร

  14. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การจัดสรรบุคลากร หลักฐาน I 1. วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร 2. รูปภาพการจัดกิจกรรม ร่วมกันในชุมชนของทีมสหวิชาชีพ 3. CPG การจัดบริการร่วมกันของคลินิกบริการใน รพ.สต. โดยทีมสหวิชาชีพ 4. กิจกรรมที่จัดร่วมกับภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหาด้านบุคลากร เช่น การสร้างทีม อสม. แกนนำสุขภาพ อย.น้อย 5. กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของ ทีมบุคลากรหรือแกนนำ เช่น การ อบรม/ประชุม/ศึกษาดูงาน ในการแก้ไขปัญหาบุคลากร

  15. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร A ทีมนำสุขภาพมีการวิเคราะห์องค์กรร่วมกัน ในปีที่ผ่านๆมา ในด้านการพัฒนาบุคลากร ว่ามีส่วนขาดหรือมีปัญหา/อุปสรรคด้านใดเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานพัฒนาบุคลากรในปีต่อไป (ประเมินจากข้อมูลส่วนขาดของการพัฒนาบุคลากร เช่น การพัฒนาแบบซ้ำซ้อนต่างคนต่างพัฒนา การใช้งบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ) ทีมนำสุขภาพมีการประเมินส่วนขาดด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยสามารถระบุในภาพ Traning Need (ประเมินจากการสอบถามบุคลากรว่าทราบหรือไม่ว่าขาดองค์ความรู้ด้านใด สอดคล้องกับแผน Training Need)

  16. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร A 3. ทีมนำสุขภาพมีการสร้างแผนปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรในเครือข่ายบริการหรือใน รพ.สต. (ประเมินจากแผนปฏิบัติการด้านบุคลากร โดยเฉพาะแผนพัฒนาบุคลากร) 4. ทีมนำสุขภาพ มีการกำหนดตัวชี้วัด การดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรของเครือข่ายบริการหรือ รพ.สต. 5. ทีมนำสุขภาพ ดำเนินการสื่อสารสองทาง กระตุ้นให้บุคลากรในองค์กร รับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาบุคลากรขององค์กร (องค์กรสามารถระบุว่าบุคลากรในองค์กรขาดการพัฒนาด้านใดบ้าง)

  17. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร A 6. มีการกำหนดแนวทางการติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่สำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรขององค์กร อย่างเป็นระบบทีมนำสุขภาพมีการสร้างแผนปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบและบริหารงานบุคลากรในเครือข่ายบริการหรือในรพ.สต. (ประเมินจากแผนปฏิบัติการด้านบุคลากร โดยเฉพาะแผนการสรรหาบุคลากรส่วนขาด : GIS)

  18. หลักฐาน 1. เอกสารแสดงถึงการวิเคราะห์องค์กร ด้านส่วนขาดของการพัฒนาบุคลากรในระดับ CUP หรือ รพ.สต. (SWOT) 2. แผนการพัฒนาบุคลากรในระดับ CUP หรือ รพ.สต. (HRD) 3. ข้อมูล Training Need ของบุคลากรของ CUP หรือ รพ.สต. 4. KPI ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรของ CUP หรือ รพ.สต.

  19. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร D มีการพัฒนาบุคลากร ตามความต้องการของ หน่วยงานภายนอกที่จัดหลักสูตร เช่น สสจ.ระยอง หรือหน่วยงานอื่นๆ มีการพัฒนาบุคลากร ตามการพัฒนาสมรรถนะตามส่วนที่ขาดของบุคลากร มีการพัฒนาบุคลากร ตาม Training Needตามส่วนที่ขาดของบุคลากร มีการสร้างหลักสูตรการอบรมและการพัฒนาบุคลากรตามบริบทของพื้นที่ตามหลักสูตร CBL (ตามบริการที่จัดบริการ เช่น การพัฒนาทักษะการตรวจ PAP Smear ให้แก่บุคลากรสตรี)

  20. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร D 5. มีการประเมินความสามารถของบุคลากรในการให้บริการประชาชนโดยทีมสหวิชาชีพเพื่อแสดงถึงความถูกต้องในการให้บริการที่มีคุณภาพของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามประเด็นส่วนขาด (ประเมินทักษะบริการของทีมบุคลากร โดยการสังเกตุพฤติกรรมบริการหรือการสอบถาม) 6. มีการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่แสดงถึงการให้ความสำคัญแก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน/ทีมงาน โดยเฉพาะบุคลากรผู้ที่ตั้งใจทำงานหรือเสียสละ

  21. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร D หลักฐาน 1. เอกสารแสดงการเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร นอกองค์กร 2. เอกสารแสดงการเข้าร่วมพัฒนาตามแผนสมรรถนะ/Training Need 3. เอกสารการพัฒนาหลักสูตร CBL 4. แนวทางการให้คุณค่า (ความดีความชอบ) แก่บุคลากรที่มีความตั้งใจทำงาน/เสียสละเป็นกรณีพิเศษ

  22. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร L มีการใช้กระบวนการ PDCA ในการปรับปรุงแนวทางในการดำเนินงานระหว่างการดำเนินงานเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคด้านการพัมนาบุคลากร (ดูแนวทางของผู้บริหารเครือข่ายหรือ ผอ.รพ.สต.การพูดคุยใน CUP Board) มีการประเมินผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมายที่สามารถระบุถึงร้อยละของบุคลากรได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะ ร้อยละ 1-50 มีการประเมินผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมายที่สามารถระบุถึงร้อยละของบุคลากรได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะร้อยละ 51 - 100

  23. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร L 4. มีการประเมินผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมายที่สามารถระบุถึงร้อยละ ของบุคลากรได้รับการพัฒนาตาม Training Need ร้อยละ 1 – 50 5. มีการประเมินผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมายที่สามารถระบุถึงร้อยละ ของบุคลากรได้รับการพัฒนาตาม Training Need ร้อยละ 51–100 6. . มีการประเมินผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมายที่สามารถระบุถึงร้อยละ ของบุคลากรได้รับการพัฒนาตาม แนวทาง CBL มากกว่าร้อยละ 20

  24. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร L หลักฐาน 1. ตารางการประเมิน PDCA เพื่อทบ ทวน/ปรับปรุงการดำเนินงานด้านพัฒนาบุคลากร 2. วาระการประชุมเรื่องบุคลากรของ CUP Board 3. เอกสารแสดงถึงการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง - ตามสมรรถนะ - ตาม Traing Need - ตามหลักสูตร CBL

  25. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร I มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการ ทำงานร่วมกันของทีมงานบุคลากรในระดับอำเภอ/รพ.สต. (Unity District Health Team)ในประเด็นการพัฒนาบุคลากร (ดูการมีส่วนร่วมของ รพ./สสอ./รพ.สต. ในการพัฒนาบุคลากร) มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการการแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากร (Resource Sharing/Human Development) ในประเด็นการพัฒนาบุคลากร (ดูการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร ทีมงานพัฒนาบุคลากร)

  26. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร I 3. . มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการ ให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (Essential Care) ในประเด็นการพัฒนาบุคลากร (ดูการพัฒนาหลักสูตรสอดคล้องกับการจัดบริการของ เครือข่ายบริการหรือ รพ.สต.) 4. มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community Participation) ในประเด็นการพัฒนาบุคลากร โดยดูการมีหลักสูตรสำหรับการพัฒนาแกนนำหรือภาคีเครือข่ายสุขภาพ ที่สอดคล้องกับการจัดบริการหรือการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่)

  27. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร I 5. มีกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานจนเกิดคุณค่ากับผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ (Appreciation) ในประเด็นการพัฒนาบุคลากร เช่น การพิจารณาเรื่องการให้สวัสดิการพิเศษ สำหรับผู้เข้ารับการพัฒนา เป็นต้น 6. มีการดำเนินงาน เรื่องการพัฒนาบุคลากรที่เชื่อมโยงสอดคล้องกันจนเป็นเนื้อเดียวกันและมุ่งสู่ความสำเร็จของพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร

  28. แนวทางการให้คะแนนตามเกณฑ์ ADLI ของหมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากร : การพัฒนาบุคลากร หลักฐาน I 1. วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร 2. การจัดกิจกรรม อบรมร่วมกันของทีมงานบุคลากร 3. หลักสูตร CBL ที่สอดคล้องกับบริบทของ CUP หรือรพ.สต. 4. แผนในการอบรมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายตามการจัดบริการ

More Related