1 / 40

โครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช

โครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช. บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข. 1. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ. ๑. พัฒนา/ปรับปรุงโรงพยาบาล สถานบำบัดรักษา รพ.สต. ให้สามารถรองรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในระบบสมัครใจ

Download Presentation

โครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราชโครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช

  2. บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข 1. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ๑. พัฒนา/ปรับปรุงโรงพยาบาล สถานบำบัดรักษา รพ.สต. ให้สามารถรองรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในระบบสมัครใจ ๒. เตรียมความพร้อมของบุคลากร สถานที่ ในการรองรับผู้เสพเข้าค่าย/ระบบสมัครใจ ๓. พัฒนาประสิทธิภาพการายงานข้อมูลผู้เข้าบำบัดฯ ผ่านระบบรายงาน บสต. ทั้งหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. มอบหมายให้บุคลากรสังกัดสาธารณสุขสนับสนุนการดำเนินงานอำนวยการด้านการบำบัดรักษาฯในทุกพื้นที่และสนับสนุนงบประมาณในการนำผู้เสพเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  3. บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข 2. ยุทธศาสตร์การปลุกพลังแผ่นดินและการป้องกัน ๖. ควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ที่อาจจะนำมาใช้ในการผลิตยาเสพติด ๗. การดูแลรักษาและทำลายยาเสพติดให้โทษของกลางเพื่อมิให้รั่วไหลกลับคืนสู่สังคม ๘. การเฝ้าระวังวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์มิให้ถูกนำไปใช้นอกวัตถุประสงค์หรือนำไปใช้ร่วมกับยาเสพติด ๕. สนับสนุนโครงการ TO BE NUMBER ONE 3. ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและสารเคมี

  4. แผนงานที่ ๒ แผนการแก้ไขปัญหายาผู้เสพ/ผู้ติด (Demand) • เป้าหมายผลผลิต (output) ๑) บำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ประมาณ ๗,๕๒๙ คน จำแนกดังนี้ ๑.๑) บำบัดรักษาในระบบสมัครใจ และค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประมาณ ๖,๒๑๑ คน ๑.๒) ในระบบบังคับบำบัด ประมาณ ๙๔๒ คน ๑.๓) ในระบบต้องโทษ ประมาณ ๓๗๖ คน ๒) ติดตามผู้เสพที่ผ่านการบำบัดรักษา ไม่ให้กลับมาเสพซ้ำอีก ร้อยละ ๘๐ ใน ๑ ปี จำนวน ๖๐๒๓

  5. เป้าหมาย (input) • จัดตั้ง ๑ อำเภอ ๑ค่าย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อำเภอละ ๑ ค่าย รวม ๒๓ ค่าย • จัดตั้งชุดวิทยากรค่ายฯครู ก. จำนวน ๑ ชุด • จัดตั้งชุดวิทยากรค่ายฯครู ข. อำเภอละ ๑ ชุดรวม ๒๓ ชุด • จัดให้มีศูนย์ข้อมูลด้าน Demand ระดับจังหวัด ๑ ศูนย์ ระดับอำเภอ ๒๓ ศูนย์ • จัดให้มีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ ในจังหวัดที่ยังไม่มีศูนย์ฟื้นฟูฯ (บังคับบำบัด) จำนวน ศูนย์

  6. ๑. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ 1.1 การค้นหา จูงใจให้ผู้เสพ/ผู้ติดเข้าบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ 1.๒ การจำแนกคัดกรอง ผู้เสพ ผู้ติด ผู้ติดรุนแรงและการส่งต่อ สู่การบำบัดฟื้นฟูฯ 1.๓ การบำบัดฟื้นฟูฯ 1.๔ การสำรวจคุณภาพชีวิตและความต้องการความช่วยเหลือ 1.๕ การติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ ฟื้นฟูฯ และพัฒนาผู้ผ่าน การบำบัดฟื้นฟูฯ

  7. ศักยภาพการบำบัดรักษาผู้เสพ/ติดยาเสพติดของจังหวัดนครศรีธรรมราชศักยภาพการบำบัดรักษาผู้เสพ/ติดยาเสพติดของจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบบการบำบัดรักษา บังคับ ต้องโทษ สมัครใจ ระบบ หน่วยรับผิดชอบหลัก กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ราชทัณฑ์(เรือนจำ) 3 แห่ง สถานพินิจฯ 1 แห่ง • คุมประพฤติ 2 แห่ง • (โปรแกรมบำบัดของกรมคุมประพฤติ) • โรงพยาบาล 19 แห่ง (Matrix Program) • โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง • โรงพยาบาลชุมชน 18 แห่ง • รพสต.251 แห่ง • (Matrix Program/ชุมชนบำบัดให้คำปรึกษา) จำนวนสถานบำบัด - ค่ายฝึกการรบพิเศษ / ค่ายวชิราวุธ / ค่ายศรีนครินทรา/ค่ายพลังแผ่นดิน 23 อำเภอ (จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม/ค่ายบำบัดในชุมชน) • กองร้อย อสจ. 1 แห่ง • ค่ายวิวัฒน์พลเมือง 1 แห่ง • (บำบัดและฟื้นฟูแบบควบคุมตัว) องค์กรสนับสนุนภาคเอกชนและประชาชน (รับบำบัดแบบสมัครใจ) - วัด 2 วัด - คลินิก 1 แห่ง - มูลนิธิ 1 แห่ง หน่วยรับผิดชอบร่วม 7

  8. เป้าหมายผู้เข้ารับการบำบัด จ.นศ.ปี 2555 7529 คน output สมัครใจ บังคับบำบัด ต้องโทษ ผู้เสพ 6011 คน ผู้ติด 200 คน 942 คน 376 คน ผู้ป่วยนอก200 คน • กห. • ยธ. • มท. • สตช. • ก.แพทย์ • ก.สุขภาพจิต • ก.ราชทัณฑ์ • ก.พินิจฯ 23 อำเภอ “1 อำเภอ 1 ศูนย์ฟื้นฟู” • สธ. 19 แห่ง • กห .2 แห่ง • มท. • กห. • วัด/มัสยิด • ศธ.(ค่ายลูกเสือ) • สตช. • กทม. ผู้ป่วยใน10 คน • ก.แพทย์ 7 แห่ง • ก.สุขภาพจิต 13 แห่ง ค่ายพลังแผ่นดิน 9 วัน 23อำเภอๆ input ติดตาม 1 ปี โดย อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) การเตรียมการ 1.อบรมทีมวิทยากรประจำค่าย 23 อำเภอๆละ 10 คน =230 คน 2.ปรับปรุงสถานที่ 23อำเภอ 3.อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เชี่ยวชาญยาเสพติดเพื่อการติดตามและเฝ้าระวัง จำนวน 800 คน

  9. โครงการอบรมวิทยากรค่ายพลังแผ่นดินโครงการอบรมวิทยากรค่ายพลังแผ่นดิน จำนวนวิทยากรผู้ผ่านการอบรม 200คน

  10. การบำบัดรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้เสพการบำบัดรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้เสพ (ค่ายพลังแผ่นดิน ตามนโยบาย 1 อำเภอ/ค่าย ปี 2555) เปิดค่ายบำบัด ใน 23 อำเภอ จำนวน 80ค่าย ผู้ผ่านการบำบัด 6,446คน=103.78%

  11. ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ ผู้นำชุมชน หรือ คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้แทนสถานศึกษา อบต. ฝ่ายปกครอง พัฒนาชุมชน ผู้แทนด้านการฝึกอาชีพและการจัดหางาน ทีมบำบัดสหวิชาชีพระดับอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นผู้อำนวยการค่าย

  12. โครงการอบรมวิทยากรค่ายติดตามผู้ผ่านการบำบัดโครงการอบรมวิทยากรค่ายติดตามผู้ผ่านการบำบัด อาสาสมัคร อสม.ผ่านการอบรม 1000 คน จาก 23 อำเภอ

  13. ให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคสมองติดยา บทบาท ในการติดตาม ผู้ผ่านการบำบัดในชุมชน

  14. โครงการพัฒนาระบบและแนวทางการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการพัฒนาระบบและแนวทางการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช

  15. ผลการดำเนินการตามเป้าหมายผลการดำเนินการตามเป้าหมาย จากระบบรายงาน บสต 20 สค.55

  16. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด(1 ตค. 54 - 31สค.55) ที่มา ระบบรายงาน บสต (31 สค.55) 16

  17. โครงการพัฒนาระบบการติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดปีงบประมาณ ๒๕๕๕ • พัฒนาศักยภาพบุคลากรประจำศูนย์ข้อมูลจังหวัด • พัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล • พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล • พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการติดตามช่วยเหลือ • พัฒนาระบบการตรวจสอบการปฏิบัติงานในพื้นที่

  18. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร จัดอบรมบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือดูแลสมาชิกผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน จัดอบรม อสม . อสค. แกนนำอาสาสมัครในชุมชน การจัดตั้งศูนย์การช่วยเหลือแบบครบวงจร ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดตั้งศูนย์และการช่วยเหลือแบครบวงจร จัดตั้งศูนย์การช่วยเหลือแบบครบวงจร รูปแบบ/กิจกรรมด้านการติดตาม กลุ่มปัญญาสังคม การเยี่ยมบ้าน กลุ่มติดตามในชุมชน และสถานบริการ กิจกรรมตามแนวทางการติดตามของ สธ. 18

  19. ปัจจัยของความสำเร็จ 1. ด้านผู้ให้การบำบัด - องค์ความรู้ - ความเชื่อมั่นในตนเอง - ทัศนคติต่อผู้เสพยาเสพติด และต่อบริการปรึกษา - การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านทักษะในการให้บริการ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้

  20. 2. ด้านการได้รับการสนับสนุน - ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงาน - การขยายเครือข่ายการบำบัดดูแลรักษาและการติดตามประเมินผล - ระบบการส่งต่อ เพื่อการบำบัดรักษา และหรือเพื่อการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

  21. ผลการดำเนินงานด้านการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการTO BE NUMBER ONE 1. ผู้ที่มีอายุ ๑๐-๒๔ ปี ทั้งหมด ๓๓๗,๒๔๙ คน เป็นสมาชิก ๒๒๙,๖๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๐๘ 2. จำนวนอำเภอที่มีชมรม TO BE NUMBER ONE และดำเนินงาน ศูนย์เพื่อนใจฯ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ๑๓ อำเภอ ร้อยละ ๕๒.๑๗ (๑๙ ศูนย์/๑๓ อำเภอ)

  22. โครงการพัฒนาการจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจTO BE NUMBER ONE ๒๕๕๕

  23. การควบคุมสารตั้งต้น/ตัวยาที่เป็นส่วนประกอบสารเสพติดการควบคุมสารตั้งต้น/ตัวยาที่เป็นส่วนประกอบสารเสพติด • ยาแก้ไอ (ส่วนผสมน้ำต้มกระท่อมหรือสี่คูณร้อย) การดำเนินการ - ประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหายาแก้ไอ (ศพส.จ.นศ) • แจ้งขอความร่วมมือจากร้านขายยาตามประกาศกระทรวง • การตรวจสอบเฝ้าระวังควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในคลินิก และร้านขายยา • ตรวจสอบบัญชี รับ- จ่าย • ดำเนินการตาม พรบ.ยา พ.ศ. 2510

  24. การดำเนินงานแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕

  25. ยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษายุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษา • การทำงานแบบบูรณาการ ผลการดำเนินงาน - ใช้กลไกตามคำสั่ง ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ 2/ 2555 - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งอนุกรรมการ ศพส.จ.นศ ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด - แต่งตั้งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธาน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทุกระบบ ร่วมเป็นคณะกรรมการ มีภารกิจดังนี้ 1) จัดทำข้อมูลผู้เสพสารสารเสพติดของจังหวัดและผู้เสพ / ผู้ติดที่ผ่านการบำบัดเป็นฐานข้อมูลร่วม 2) รณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยใช้แนวทางสร้างความรัก ความเมตตา ความห่วงใยให้โอกาสผู้เสพกลับตัวเป็นคนดี ให้เกิดกระแสสังคมให้นำผู้เสพซึ่งคือผู้ป่วย เข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจ

  26. 3) เตรียมความพร้อมของสถานบำบัดรักษาให้สามารถรองรับปริมาณผู้เสพที่เข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจวางแนวทางในการค้นหา คัดกรอง และนำผู้เสพเข้าบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ ตลอดจนแนวทางในการแสวงหาข้อมูล และความต้องการความช่วยเหลือ 4) ประสานเร่งรัดให้มีศูนย์ฟื้นฟู สำหรับผู้เสพในระบบบังคับบำบัด 5) กำหนดแนวทางในการติดตามดูแล ช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาผู้ผ่านการบำบัดทุกระบบอย่างครบวงจร 6) รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขให้ ผอ. ศพส.จ.นศ และที่ประชุมคณะกรรมการ ศพส.จ.นศ ทราบทุกระยะและทุกเดือน 7) สนับสนุนให้มีค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกอำเภอ และวางแนวทางในการพัฒนาวิทยากรค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน 9) คณะกรรมการระดับจังหวัดจึงมีการบูรณาการอย่างชัดเจน ส่วนในระดับอำเภอใช้กลไก คำสั่ง ศพส.อ. เป็นหลักในการบริหารจัดการระดับอำเภอในภารกิจด้านต่างๆ ดำเนินการภายใต้กรอบแนวทางนโยบายของจังหวัด ให้บรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงร่วมกัน

  27. 2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรจากหน่วยงานอื่น เพื่อเพิ่มจำนวนวิทยากรประจำค่ายและเน้นการมีส่วนร่วมในการร่วมทำค่าย ผลการดำเนินงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยวิทยากรครู ก. ที่รับการฝึกอบรมจากสถาบันธัญญารักษ์ จัดกิจกรรมการฝึกอบรมวิทยากรค่ายพลังแผ่นดิน (วิทยากรครู ข.) ให้กับบุคลากรสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาสังคมฯ ตำรวจ ทหาร รวมถึงภาค เอกชน อาสาสมัครต่างๆ ครอบคลุมทุกอำเภอ อำเภอละ 10 คนรวม 230 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถเป็นวิทยากรค่ายพลังแผ่นดิน ตามนโยบาย 1 ค่าย/1 อำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประสานรายชื่อผู้ผ่านการอบรมให้ ศพส.อ.ทุกอำเภอแต่งตั้งให้ผู้ผ่านการอบรมเป็นวิทยากรค่ายพลังแผ่นดินของแต่ละอำเภอ

  28. 3. การค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด เพื่อเข้าสู่ระบบการบำบัดฟื้นฟู ควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเบ้าหมายของจังหวัด ผลการดำเนินงาน จังหวัดสั่งการให้ทุกอำเภอดำเนินการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดในพื้นที่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามเป้าหมาย และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลไกบุคลากรในระดับพื้นที่ดำเนินการ เช่นในหมู่บ้านชุมชน คือผู้ประสานพลังแผ่นดิน อาสาสมัครสาธารณสุข ตำรวจชุมชน ผู้นำชุมชน ส่วนในสถานศึกษาให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการคัดกรองอย่างต่อเนื่อง จำแนกกลุ่มนักเรียนนักศึกษาตามประเด็นความเสี่ยง และปัญหา และรายงานผลการดำเนินการให้จังหวัดทุกเดือน

  29. 4. การเตรียมความพร้อมของครอบครัวเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของผู้เสพ/ผู้ติด ได้เรียนรู้แนวทางการดูแลและติดตามหลังการบำบัด ผลการดำเนินงาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทุกระดับในการให้การช่วยเหลือผู้เสพตามแนวนโยบายผู้เสพคือผู้ป่วย อย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง และให้ครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดตามแผนการบำบัด ในทุกระบบ

  30. 5. การดำเนินงานโครงการติดตาม ผู้ผ่านการบำบัดฯ โดยกำหนดให้อสม. ในพื้นที่เป็นผู้ติดตาม ผลการดำเนินงาน 1.จัดการฝึกอบรมวิทยากรติดตามผู้ผ่านการบำบัดครอบคลุมทุกอำเภอ ๆ ละ 10 คน โดยมี อสม.246เข้ารับการพัฒนาศักยภาพเพื่อสามารถเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมการติดตาม โดยใช้กลุ่มปัญญาสังคมได้ หลังการอบรมจบจังหวัดประสานรายชื่อผู้ผ่านการอบรมให้ ศพส.อ.ทุกอำเภอแต่งตั้งให้ผู้ผ่านการอบรมเป็นผู้ติดตามผู้ผ่านการบำบัด และแจ้งภารกิจในการติดตาม ระบบรายงานการติดตาม ศูนย์ข้อมูลอำเภอจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ทำหน้าที่ติดตามของทุกอำเภอ 2. จัดอบรม อสม 500 คน และบุคลากร รพ.สต 250 คน เพื่อติดตามผู้ผ่านการบำบัดครอบคลุมทุกอำเภอ

  31. 6. มีระบบการส่งต่อ และระบบการรายงานข้อมูลที่ชัดเจน โดยเน้นระบบรายงาน บสต ในทุกหน่วยที่รับผู้ป่วย ผลการดำเนินงาน - จัดระบบของศูนย์ข้อมูลด้านการบำบัดของจังหวัด ให้เป็นระบบมากขึ้น โดยจัดตั้ง เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการบำบัดและช่วยเหลือแบบครบวงจร - การพัฒนาระบบรายงาน ระบบติดตาม และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ปี 2555 - ตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แห่ง ละ 1 คน - จัดการประชุมเพื่อร่วมกำหนดแบบรายงานในการดำเนินการด้านการบำบัดและการ ติดตามช่วยเหลือร่วมกันนั้น สรุปให้ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลดังนี้ 1) แบบรายงาน บสต.1-5 2) แบบสรุปข้อมูลผู้ผ่านการบำบัด 3) บัตรประจำตัวผู้ผ่านการบำบัดเพื่อการติดตาม

  32. ๗. การตรวจซ้ำ ในรายที่สงสัยว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นระยะๆ และบูรณาการ ร่วมกับฝ่ายปราบปรามเพื่อการเฝ้าระวัง ผลการดำเนินงาน จังหวัดสั่งการให้ทุกอำเภอดำเนินการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด ในพื้นที่เพื่อเข้าสู่ กระบวนการบำบัดให้ได้ตามเป้าหมาย และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ กลไกบุคลากรในระดับพื้นที่ดำเนินการ เช่น ในหมู่บ้าน ชุมชน คือผู้ประสาน พลังแผ่นดิน อาสาสมัครสาธารณสุข ตำรวจชุมชน ผู้นำชุมชน ในสถานศึกษา มีการดำเนินการโดยกลุ่มสารวัตรนักเรียน

  33. ยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและแก้ไขยาเสพติดยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและแก้ไขยาเสพติด 8. การจัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงาน งบประมาณ แบบบูรณาการจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง • ผลการดำเนินงาน • ๑.โครงการ TO BE NUMBER ONE ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัดในปี ๒๕๕5 จำนวน ๑ ครั้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ที่ประชุมมีแผนการดำเนินงานในปี 55 คือ • ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ในการประชุม ศพส.จจัดค่ายเยาวชนแกนนำTO BE NUMBER ONE เพิ่มจำนวน 2 อำเภอ • เร่งรัดการดำเนินการอำเภอ TO BE NUMBER ONE • เพิ่มจำนวน สมาชิก และชมรม ในสถานประกอบการและในชุมชน • ส่งประกวดจังหวัดTO BE NUMBER ONE ในปี 2556

  34. ข้อดี • นโยบายชัดเจน มีการบูรณาการจากทุกภาคส่วน • เป้าหมายเชิงปริมาณชัดเจน • การทำMOU เกิดภารกิจร่วมทุกระดับ/เกิดกลไก/ เกิดการบริหารจัดการ • ทุกพื้นที่มีการดำเนินการพร้อมกันทำให้ลดปริมาณผู้เสพ • มีการสนับสนุนงบฯจากแหล่งงบประมาณหลายแหล่ง • สร้างกระแสทางสังคม • ได้รู้ข้อดี และข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ • ได้สถานที่ ทีมวิทยากร และบุคคล ที่มีศักยภาพของแต่ละอำเภอ • พัฒนาระบบงานเดิม

  35. ปัญหา อุปสรรค ด้านการดำเนินงานยาเสพติด 1) การจัดสรรงบประมาณการทำค่ายพลังแผ่นดินผ่านทางท้องถิ่น ทำให้ทุกอำเภอมุ่งเน้นการนำผู้เข้าค่ายให้ได้ตามเป้าหมาย โดยขาดการคัดกรองที่มีคุณภาพ 2) เกณฑ์การคัดกรองไม่ละเอียดพอที่จะใช้แยกสภาพผู้ป่วยว่าเป็นผู้เสพในระดับใด หรือผู้ติดระดับใด ทำให้รูปแบบการบำบัดที่ไดรับไม่เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย 3) เกิดความซ้ำซ้อนของผู้เข้าบำบัดในรูปแบบค่ายพลังแผ่นดิน ซึ่งบางส่วนมาจากผู้ป่วยในระบบบังคับบำบัดอยู่แล้ว 4) กลไกการดำเนินงานทั้งการคัดกรอง บำบัด และติดตามในระดับอำเภอ ยังไม่ชัดเจน และยังดำเนินงานไม่ครอบคลุมทุกภารกิจ

  36. ปัญหา อุปสรรค ด้านการดำเนินงานยาเสพติด 5) ผู้เสพผู้ติดยาเสพติดไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ป่วย ทำให้ไม่ได้รับโอกาสในการเข้ารับการบำบัด ผู้ผ่านการบำบัดรักษาไม่ได้รับการยอมรับและการช่วยเหลือจากสังคม ชุมชนตามสภาพปัญหาที่เพียงพอ 6) งบประมาณ ไม่เพียงพอกับการดำเนินงานของทุกหน่วย 7) จังหวัดขาดสถานที่รองรับผู้ป่วยติดยาเสพติด ที่มีอาการทางจิต ต้องส่งต่อจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องกาเดินทางค่าใช้จ่ายในการส่งต่อ และหน่วยรับส่งต่อไม่สามารถรับผู้ป่วยได้ 8) ชุดตรวจปัสสาวะไม่เพียงพอกับภาระกิจการบำบัดและการติดตามจากเป้าหมายที่จังหวัดต้องดำเนินการ โดยเฉพาะในระยะแรก งบประมาณมาช้ากว่าการปฏิบัติงานตามแผน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย

  37. ข้อเสนอแนะ • ปรับเกณฑ์การคัดกรองต้องมีความละเอียดพอในการจำแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วย • รายชื่อผู้ป่วยที่จะต้องเข้าสู่ระบบการบำบัดต้องมาจากการประชาคมของหมู่บ้านตำบลอย่างแท้จริง มีการเตรียมครอบครัว และเยาวชนอย่างชัดเจนก่อนนำเข้าค่ายบำบัด • การจัดโครงสร้างกลไกการดำเนินงาน ด้าน Demand ต้องชัดเจนทุกระดับโดยการรวมผู้ปฏิบัติงานในรูปคณะกรรมการ แบบสหวิชาชีพ และมีงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรที่ทำหน้าที่จากส่วนกลาง

  38. ข้อเสนอแนะ ๔) งบประมาณด้านการบำบัดทุกระบบที่เป็นเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ควรจัดให้หน่วยงานสาธารณสุขและครอบคลุมภารกิจ ตั้งแต่การคัดกรอง บำบัดและติดตามหลังการบำบัด ๕) กำหนดสถานที่รองรับการบำบัดตามความรุนแรงของผู้เข้ารับการบำบัดให้ชัดเจนและเพียงพอทุกพื้นที่มีการบูรณาการระบบการนำเข้าข้อมูลที่ชัดเจน 6) การสนับสนุนการดำเนินงานจากส่วนกลางควรรวดเร็วและทันเวลากับแผนการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น และควรชี้แจงแนวทางการปฏิบัติและการใช้งบประมาณให้เข้าใจตรงกันทุกหน่วยงานที่ต้องบูรณาการร่วมกัน

  39. แนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานโครงการ TO BE NUMBER ONE ๑. กำหนดแผนการประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด ปีละ 3 ครั้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่และเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรมซึ่งในปี ๒๕๕๕ จังหวัดจัดประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด จำนวน ๑ ครั้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ๒. เสนอผลงานด้านการป้องกันตามโครงการ TO BE NUMBER ONE เข้าประชุมในการประชุม ศพส.จ.นศ 3. จัดทำแผนการดำเนินงานโดยบูรณาการงบประมาณจากทุกภาคส่วน 4. ให้ทุกหน่วยงาน เร่งรัดการขยายจำนวนสมาชิกและการจัดตั้งชมรม รวมถึงการรายงานผลงานที่สะท้อนให้เห็นผลที่เกิดจากการณรงรงค์ป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม เน้นที่สถานประกอบการชุมชนต้องจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจTO BE NUMBER ONE ตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากมีผลงานในระดับต่ำ

  40. จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ

More Related