1 / 18

Advance Excel

Advance Excel. อ.สมาภรณ์ เย็นดีภาควิชาคอมพิวเตอร์อาคาร 18 ชั้น 2 Tel. 0839893141. ฟังก์ชันทางการเงิน. ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการเงิน มักจะเป็นการคำนวณหาค่าของเงินปัจจุบัน - อนาคต อัตราดอกเบี้ย และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายรายเดือน เช่น PMT (Payment)

deidra
Download Presentation

Advance Excel

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Advance Excel อ.สมาภรณ์ เย็นดีภาควิชาคอมพิวเตอร์อาคาร 18 ชั้น 2 Tel. 0839893141

  2. ฟังก์ชันทางการเงิน ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการเงิน มักจะเป็นการคำนวณหาค่าของเงินปัจจุบัน - อนาคต อัตราดอกเบี้ย และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายรายเดือน เช่น PMT (Payment) =PMT คำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละงวดเวลา

  3. การใช้ฟังก์ชัน PMT ฟังก์ชัน PMT เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณหาจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายในแต่ละงวดเวลา รูปแบบ =PMT (Rate, Nper, Pv, Fv, Type) rate อัตราดอกเบี้ย Nper งวดเวลา Pv ค่าเงินปัจจุบันหรือเงินต้นFv ค่าเงินในอนาคต Type มีค่าเป็น 0 (จ่ายทุกสิ้นเดือน) หรือ 1 (จ่ายทุกต้นเดือน)

  4. Example 07.xls นายวีรภาพ ต้องการซื้อรถยนต์ราคา 474,500 บาท สามารถผ่อนชำระได้ทุกต้นเดือน เดือนละ 3,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี อยากทราบว่านายวีรภาพจะซื้อรถยนต์ได้หรือไม่ rate อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี ดังนั้น rate ต่อเดือนคือ 12/12 = 1%nper งวดเวลา 5 ปี (1 ปีเท่ากับ 12 เดือน) งวดเวลาคือ 5*12=60 เดือนpv มูลค่าเงินปัจจุบันหรือเงินต้นคือ 474,500 บาทfv มูลค่าของเงินในอนาคต (จ่ายจนหมด ค่า fv จะเป็น 0)type มีค่าเป็น 1 (จ่ายทุกต้นเดือน) =PMT(1%, 60, 474500 ,0 ,1) ผลลัพธ์= (10,461.15)

  5. โจทย์ • สมศรีต้องการซื้อคอนโดในราคา 650000 บาท มีเงินผ่อนชำระเดือนละ 4000 บาท สมศรีต้องผ่อนชำระกับธนาคารทุก ๆ ต้นเดือน อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 6.5% ต่อปี เป็นเวลา 15 ปี อยากทราบว่าสมศรีจะซื้อคอนโดได้หรือไม่

  6. การใช้ฟังก์ชัน FV ฟังก์ชัน FV ย่อมาจาก Future Value เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณหามูลค่าของเงินในอนาคต รูปแบบ =FV (rate, nper, pmt, pv, type) rate อัตราดอกเบี้ยต่อปี nper งวดเวลา (ปี) pmt จำนวนเงินที่จ่ายเป็นรายงวด pv ค่าเงินของการลงทุน type มีค่าเป็น 0 (จ่ายทุกสิ้นปี) หรือ 1 (จ่ายทุกต้นปี)

  7. นายสะสมทรัพย์วางแผนฝากเงินจำนวน 10,000 บาท เป็นก้อนแรก จากนั้นฝากทุกสิ้นปี จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 10 ปีโดยในระหว่างนี้ไม่มีการถอนคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี อยากทราบว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะได้รับเงินทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าใด rate อัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี nper จำนวนปีที่ฝาก 10 ปี pmt เงินที่ฝากเป็นรายงวด -5,000 บาท (เนื่องจากต้องจ่ายออกไป)pv เงินทุนก้อนแรก -10,000 บาทtype มีค่าเป็น 0 (จ่ายทุกสิ้นปี) =FV(8%, 10,-5000 , -10000 , 0) ผลลัพธ์ 94,022.06

  8. Work 1. นายทวีทรัพย์เปิดบัญชีเงินฝากครั้งแรก 5,000 บาท จากนั้นฝากทุกต้นปี จำนวน 8,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี โดยในระหว่างนี้ไม่มีการถอนคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี อยากทราบว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจะได้รับเงินทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าใด

  9. การใช้ฟังก์ชัน NPER ฟังก์ชัน Nper เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณหาระยะเวลาจำนวนปี หรือเดือน ที่จะต้องลงทุน รูปแบบ=NPER (Rate, Pmt, Pv, Fv, Type) rate อัตราดอกเบี้ย Pmt จำนวนเงินที่ต้องชำระรายงวด (จะเป็นค่าติดลบ เพราะเป็นเงินที่จ่ายออกไป) Pv ค่าเงินปัจจุบันหรือเงินต้น (เป็นค่าติดลบ) Fv ค่าเงินในอนาคตType มีค่าเป็น 0 (จ่ายปลายงวด) หรือ 1 (จ่ายทุกต้นงวด)

  10. นายทรัพย์วางแผนว่าจะฝากเงินจำนวน 1,000,000 บาท แต่ปัจจุบัน มีเงินเพียง 100,000 บาท จึงนำไปฝากกับธนาคาร โดยได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี และจะฝากเพิ่มทุก ๆ สิ้นปี ปีละ 25,000 บาท อยากทราบว่านายทรัพย์จะต้องฝากเงินกี่ปี จึงจะครบ 1,000,000 บาท rate อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี = 10%Pmt จำนวนเงินที่จ่ายเป็นรายงวด = -25,000 บาท pv มูลค่าเงินปัจจุบันหรือเงินต้นคือ -100,000 บาทfv มูลค่าของเงินในอนาคต 1,000,000 บาทtype มีค่าเป็น 0 (จ่ายทุกสิ้นปี) =Nper (10%, -25000, -100000 ,1000,000 ,0) = 13.4 ปี

  11. ถ้านายทรัพย์ทรัพย์ตัดสินใจนำเงิน 1 ล้านบาทไปฝากกับธนาคารและถอนมาใช้ประมาณ 80,000 บาทต่อปี ทุก ๆ ต้นปี โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี อยากทราบว่าจะใช้เงินจำนวนที่ฝากกี่ปี จึงจะหมด rate อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี = 5%Pmt จำนวนเงินที่จ่ายเป็นรายงวด = 80,000 บาท pv มูลค่าเงินปัจจุบันหรือเงินต้นคือ -1,000,000 บาทfv มูลค่าของเงินในอนาคต 0 type มีค่าเป็น 1 (จ่ายทุกต้นปี) =Nper (5%, 80000, -1000000 , 0 , 1) = 18.5 ปี

  12. โจทย์ • ถ้าต้องการซื้อรถยนต์ราคา 800,000 บาท จ่ายเงินดาวน์ 20 % แล้วผ่อนชำระกับธนาคาร อัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปี อยากทราบว่าถ้าจะผ่อนชำระต่องวด ๆ ละ 10,000 บาท จะต้องใช้เวลาผ่อนชำระทั้งหมดกี่งวด (เดือน)

  13. การใช้ฟังก์ชัน PV (ผลลัพธ์ที่ได้จะติดลบ) ฟังก์ชัน Pv เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณหามูลค่าของเงิน ในปัจจุบัน รูปแบบ=PV (Rate, Nper, Pmt, Fv, Type) rate อัตราดอกเบี้ย Nper จำนวนระยะเวลาPmt จำนวนเงินที่จ่ายเป็นรายงวดFv มูลค่าของเงินในอนาคตType มีค่าเป็น 0 (จ่ายปลายงวด) หรือ 1 (จ่ายทุกต้นงวด)

  14. นายดวงดี ต้องเดินทางไปทำงานที่มาเลเซีย โดยประมาณว่าค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ เดือนละ 2,000 บาท ตลอดระยะเวลา 1 ปี รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยจำนวน 800 บาท โดยต้องเปิดบัญชีไว้กับธนาคาร เพื่อใช้เบิกเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6% ต่อปี อยากทราบว่านายดวงดีต้องฝากเงินไว้กับธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่าใด rate อัตราดอกเบี้ย 6% ต่อปี ดังนั้น rate ต่อเดือน 6/12 = 0.5%Nper จำนวนงวด 1 ปี ทำให้เป็นเดือน 1*12 = 12 เดือน Pmt จำนวนเงินที่จ่ายเป็นรายงวด = 2,000 บาท fv มูลค่าาของเงินในอนาคต = 800 บาทtype มีค่าเป็น 0 (ถ้าไม่ได้ระบุว่าต้นงวด หรือปลายงวด) =Pv (0.5% , 12 , 2000 , 800 , 0 ) = (23,991.39) บาท

  15. 1. สดใส ต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศ จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเดือนละ 5,000 บาท ตลอดระยะเวลา 2 ปี รวมทั้งตั๋วเครื่องบินขากลับด้วย 20,000 บาท สดใส ไปเปิดบัญชีกับธนาคารออมทรัพย์ โดยธนาคารให้อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี อยากทราบว่าจะต้องฝากเงินกับธนาคารเป็นจำนวนเงินเท่าใด

  16. การใช้ฟังก์ชัน Rate ฟังก์ชัน Rate เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยรูปแบบ=Rate (Nper, Pmt, Pv, Fv, Type) Nper จำนวนระยะเวลาPmt จำนวนเงินที่จ่ายเป็นรายงวด Pv มูลค่าของเงินปัจจุบันFv มูลค่าของเงินในอนาคตType มีค่าเป็น 0 (จ่ายปลายงวด) หรือ 1 (จ่ายทุกต้นงวด)

  17. นายมนตรีมีเงินอยู่ 20000 บาท และต้องการให้มีเงินเพิ่มเป็น 50000 บาท ภายในระยะเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า อยากทราบว่า นายมนตรีต้องฝากเงินกับธนาคารที่ให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด Nper จำนวนงวด 5 ปี = 5Pmt จำนวนเงินที่จ่ายเป็นรายงวด = 0 บาท Pv มูลค่าของเงินปัจจุบัน = -20000 fv มูลค่าาของเงินในอนาคต = 50000 บาทtype มีค่าเป็น 0 (เพราะไม่ได้ระบุว่าต้นงวด หรือปลายงวด) =Rate (5 , 0 , -20000 , 50000 , 0 ) = 20.1 %

  18. โจทย์ • นายมั่นคงต้องการได้เงินไปเรียนต่อในอีก 5 ปี ข้างหน้า โดยต้องใช้เงินทุน 1,500,000 บาท และเขามีเงินฝากกับทางธนาคาร เพียง 100,000 บาท อยากทราบว่า นายมั่นคงต้องฝากเงินกับธนาคารที่ให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด

More Related