1 / 30

แนวทาง/ตัวอย่างการเขียน TOR ที่ถูกต้อง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แนวทาง/ตัวอย่างการเขียน TOR ที่ถูกต้อง. รายละเอียดข้อกำหนดสำหรับการจัดซื้อ/จัดจ้าง ( TOR ) คืออะไร. เอกสารแสดงข้อมูล รายการ รายละเอียด ที่ประกาศ หรือแจ้งให้ผู้ขายทราบถึงความต้องการและเงื่อนไขของผู้ซื้อ ประกาศแจ้งล่วงหน้า อย่างเปิดเผย

daphne
Download Presentation

แนวทาง/ตัวอย่างการเขียน TOR ที่ถูกต้อง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวทาง/ตัวอย่างการเขียนTORที่ถูกต้อง

  2. รายละเอียดข้อกำหนดสำหรับการจัดซื้อ/จัดจ้าง ( TOR )คืออะไร • เอกสารแสดงข้อมูล รายการ รายละเอียด ที่ประกาศ หรือแจ้งให้ผู้ขายทราบถึงความต้องการและเงื่อนไขของผู้ซื้อ • ประกาศแจ้งล่วงหน้า อย่างเปิดเผย • หากมีการเปลี่ยนแปลง ต้องแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ • สำหรับการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของภาครัฐ ต้องเป็นไปตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศแจ้งไว้ที่หน้าเว็บไซด์ของกระทรวง (ทั้งนี้เป็นไปตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547) • การกำหนด TOR ที่แตกต่างต้องแจงเหตุผล เป็นครั้งๆไป

  3. TOR ที่ดี จะช่วยให้ท่านได้พัสดุ ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้งาน ประหยัด เกิดประโยชน์สูงสุด • TOR ที่ดี จะระบุความจำเป็นและคุณลักษณ์ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างชัดเจน • TOR ที่ดี จะระบุข้อความที่ไม่กำกวม ตรวจสอบ วัด ได้ • TOR ที่ดี ไม่ระบุรายการที่เกินความจำเป็น • สเปกกลาง ของ ICT จะช่วยให้ท่านจัดซื้อคอมพิวเตอร์ที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ประหยัด รวดเร็ว

  4. แนวทางในการระบุข้อกำหนดสำหรับการจัดซื้อ/จัดหา คอมพิวเตอร์ มี 3 ส่วน • มาตรฐาน คุณภาพ การรับประกัน • สเปก/ความสามารถ ที่จำเป็น ต้องการ • ซอฟต์แวร์ สิทธิการใช้ และลิขสิทธิ์

  5. ส่วนที่ 1 ระดับคุณภาพ มาตรฐาน/ การรับประกันและเงื่อนไข • ใช้มาตรฐานไทย/เครื่องหมายรับรองไทย เป็นหลัก • ได้รับเครื่องหมายรับรอง มอก.1561 และมอก.1956 หรือ • ได้รับเครื่องหมายรับรอง เนคเทค • การรับประกันขึ้นต่ำ 3 ปี / ประกันอายุการใช้งาน 5 ปี

  6. ส่วนที่ 2 สเปก คุณลักษณะ หรือ ขีดความสามารถที่ต้องการ • ระบุตามสเปก • ระบุตามความสามารถที่ต้องการ • ระบุผสมกัน • ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดย กท. กท. • ดูสเปกกลางได้ที่....................

  7. ส่วนที่ 3 ซอฟต์แวร์ และลิขสิทธิ์ • ระบุซอฟต์แวร์พื้นฐานสำหรับการทำงานที่ต้องการ • ระบุลิขสิทธิ์ สิทธิการใช้ จำนวนสิทธิ ระยะเวลาสนับสนุนการถ่ายโอนสิทธิให้ครบถ้วน • แยกราคา ออกจากตัวฮาร์ดแวร์

  8. เลือกสเปกแตกต่างได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง • เลือกสเปกดีกว่า สเปกกลางได้ ตราบที่งบประมาณยังไม่เกินกรอบราคาที่ตั้งไว้ • หากงบประมาณเกินรอบ ต้องส่งเรื่องแจ้งให้ ทราบล่วงหน้า เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ • พึงระวัง การเลือกอุปกรณ์ขนาดใหญ่ / บริโภคทรัพยากรเยอะจะเป็นภาระในการใช้งาน

  9. คอมพิวเตอร์ที่ดี ควรมีคุณสมบัติพื้นฐานอย่างไร • ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย (มอก.1561) • ไม่มีสัญญาณรบกวนมากเกินไป (มอก. 1956) • ทนทาน มีความน่าเชื่อถือสูง อายุการใช้งานยาวนาน • มีประสิทธิภาพ และความสามารถเหมาะสม ตามการใช้งาน • ประหยัดพลังงาน/มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่ำ • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดีกับผู้ใช้ (สุขภาพ) • ราคาเหมาะสม

  10. วิธี ระบุความสามารถของคอมพิวเตอร์ ระบุผ่านสเปก CPU Clock Speed FSB Speed L1/L2 cache Size Memory Type / Memory Speed Memory Capacity HDD Type / Capacity Lan Speed VGA/GPU Type VGA Memory Capacity

  11. การเลือกสเปก เผื่อ....ความสิ้นเปลืองที่ควรระวัง • การเลือกสเปกเผื่อ หมายถึง การเลือกสเปกที่มีความสามารถมากกว่าที่ต้องการใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งเกิดได้จากหลายเหตุผล แต่มักจะเป็นการเผื่อไว้สำหรับการขยายระบบเพิ่มเติมในอนาคต • ต้องมีช่องเสียบแบบ PCI ไม่น้อยกว่า 4 ช่อง (ปัจจุบันใช้ 1 ช่อง) • หน่วยจ่ายกำลังไฟฟ้า (PSU) จ่ายไฟได้ไม่ต่ำกว่า 485 วัตต์ (ปัจจุบันใช้ 225 วัตต์) • หน่วยความจำหลักขยายได้ไม่น้อยกว่า 16 จิกะไบต์ (ปัจจุบันใช้ 1 จิกะไบต์) • ข้อควรระวัง • ราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสเปกเผื่อ (แต่ยังไม่ได้ใช้งาน) – ของฟรี ไม่มีในโลก • ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุง • ความคุ้มค่าในการขยายระบบ ในอนาคต • อาจเป็นการ ล็อก สเปก และทำให้ถูกร้องเรียนได้

  12. มอก.1561-2548

  13. มอก.1561-2548 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3468 (พ.ศ.2549) • ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ออกประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะด้านความปลอดภัย : ข้อกำหนดทั่วไป มาตรฐานเลขที่ มอก.1561-2548 • ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ประกาศและงานทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 600 วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2549 • มีผลเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  14. มอก. 1561 -2548 • อ้างอิง IEC 60950 • Information technology • Equipment-Safety-Part1: • General Requirement

  15. มอก.1561-2548 ขอบข่าย • บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ • บริภัณฑ์ไฟฟ้าทางธุรกิจ • บริภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องที่ใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน หรือใช้กำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 600 โวลต์

  16. มอก. 1561-2548 • เพื่อให้ผู้ออกแบบบริภัณฑ์เข้าใจพื้นฐานของข้อกำหนดตามมาตรฐาน และสามารถออกแบบบริภัณฑ์ให้มีระดับของความปลอดภัยไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ในหลักการของความปลอดภัย

  17. มอก. 1561-2548 • ลำดับความสำคัญในการพิจารณา • มาตรฐานที่จะกำจัด ลด หรือป้องกันอันตราย • มาตรการที่จะระบุการใช้วิธีการป้องกันที่ไม่ขึ้นกับบริภัณฑ์ • มาตรการที่จะระบุในการทำเครื่องหมายและข้อแนะนำเกี่ยวกับความเลี่ยงที่มีอยู่

  18. มอก. 1561-2548 อันตราย • ช็อกไฟฟ้า • อันตรายที่สัมพันธ์กับพลังงาน • ไฟ • อันตรายที่สัมพันธ์กับความร้อน • อันตรายทางกล • การแผ่รังสี • อันตรายทางเคมี

  19. มอก. 1561-2548 • การเลือกวัสดุและส่วนประกอบ  การเลือกและจัดวางวัสดุและส่วนประกอบในการสร้างบริภัณฑ์  การเลือกวัสดุและส่วนประกอบที่จะไม่ช่วยเสริมในการเกิด อันตรายจากไฟที่รุนแรง  การเลือกวัสดุและส่วนประกอบที่คงไว้สำหรับค่าพิกัดภายใต้ภาวะ ปกติและภาวะผิดพร่อง

  20. มอก. 1956 - 2548

  21. มอก. 1956 - 2548 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3431 (พ.ศ.2548) ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ออกประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ:ขีดกำจัดสัญญาณรบกวนวิทยุมาตรฐานเลขที่ มอก. 196-2548  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไปเล่มที่ 123 ตอนที่ 60 วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549  มีผลเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  22. มอก. 1956 - 2548 • CISPR 22 Information Technology equipment – Radio disturbance characteristics Limits and Methods of measurement • CISPR 22 มอก.1441-2545

  23. มอก. 1956 - 2548 จุดประสงค์ : เพื่อกำหนดระดับสัญญาณรบกวนวิทยุของบริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแบบเดียวกัน กำหนดขีดจำกัดของสัญญาณรบกวน อธิบายวิธีการวัดและกำหนดภาวการณ์ทำงานและการตีความผลการทดลอบให้เป็นมาตรฐานในแนวทางเดียวกัน

  24. มอก. 1956 - 2548 ขอบข่าย มอก. 1956-2548 ครอบคลุมถึงขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุของบริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีดำเนินการต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการวัดระดับสัญญาณที่เกิดจากบริภัณฑ์ฯและขีดจำกัดที่ระบุไว้ใช้สำหรับพิสัยความถี่ 9 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 400 กิโลเฮิรตซ์ สำหรับบริภัณฑ์ฯประเภท A และประเภท B

  25. มอก. 1956 - 2548 ประเภท ITE ITE ประเภท A หมายถึง กลุ่มที่ ITE อื่นๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นไปตามขีดกำจัดสำหรับ ITE ประเภท A แต่ไม่เป็นไปตามขีดจำกัดสำหรับ ITE ประเภท B

  26. มอก. 1956 - 2548 ประเภท ITE ITE ประเภท B หมายถึง บริภัณฑ์ซึ่งเป็นไปตามขีดกำจัดสัญญาณรบกวนสำหรับ ITE ประเภท B และบริภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์หลักสำหรับใช้งานในสิ่งแวดล้อมพักอาศัย รัศมี 10 เมตร

  27. มอก. 1956 - 2548 • มอก. 1956-2548 กำหนดขีดกำจัดสัญญาณรบกวน ดังนี้ • ขีดจำกัดสำหรับสัญญาณรบกวนที่นำตามสาย • - ช่องทางแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าประธาน • - ช่องทางโทรคมนาคม • 2. ขีดจำกัดสำหรับสัญญาณรบกวนที่แผ่กระจายเป็นคลื่น

  28. ระเบียบพัสดุ ที่ควรทราบ ข้อ 16(1) ห้ามกำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทยสามารถเข้าแข่งขันในการเสนอราคากับทางราชการ

  29. พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ • มาตรา 11 จนท.ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด ..................โดยทุจริตทำการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข..............อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคา โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือช่วยเหลือ.......หรือเพื่อกีดกัน ผู้เสนอราคารายใด มิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท

  30. มิติ ครม. เมื่อ 21 มีนาคม 2520 • “ ห้ามมิให้กำหนดลักษณะเฉพาะของสิ่งของ ที่จะซื้อให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และห้ามระบุยี่ห้อของที่ต้องการจะซื้อทุกชนิด เว้นแต่มีข้อยกเว้นไว้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่ เป็นต้น ซึ่งกำหนดให้ระบุยี่ห้อได้ “

More Related